สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม
สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม | |||||
ครองราชย์ | 23 ธันวาคม ค.ศ. 1909 – 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934 (24 ปี 56 วัน) | ||||
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 | ||||
ถัดไป | สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 | ||||
พระราชสมภพ | 8 เมษายน ค.ศ. 1875 กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม | ||||
สวรรคต | 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934 (58 พรรษา) มาร์ช-เล-ดาม ประเทศเบลเยียม | ||||
คู่อภิเษก | เอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม | ||||
พระราชบุตร | สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม เจ้าชายชาลส์ เคานต์แห่งฟลานเดอร์ เจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา | ||||
พระราชบิดา | เจ้าชายฟิลิป เคานต์แห่งแฟลนเดอส์ | ||||
พระราชมารดา | เจ้าหญิงมารีแห่งโฮเฮนซอลเลิร์น-ซิกมาริงเงิน | ||||
ลายพระอภิไธย |
สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 (8 เมษายน ค.ศ. 1875 - 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียมตั้งแต่ปีค.ศ. 1909 ถึงค.ศ. 1934 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศเบลเยียมเนื่องจากอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 - 1918) เมื่อประเทศเบลเยียมเกือบทั้งหมดถูกบุกรุก ยึดครอง และปกครองโดยจักรวรรดิเยอรมัน นอกจากนั้นยังมีอีกเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ คือ การร่วมลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย, การปกครองเบลเยียมคองโกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเบลเยียม การปฏิรูปประเทศภายหลังสงคราม และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (ค.ศ. 1929 - 1934) สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 เสด็จสวรรคตเนื่องจากทรงประสบอุบัติเหตุจากการปีนเขาในภาคตะวันออกของเบลเยียมในปีค.ศ. 1934 มีพระชนมพรรษา 58 พรรษา ราชสมบัติจึงตกเป็นของพระโอรสพระองค์ใหญ่ คือ เจ้าชายเลโอโปลด์
พระราชประวัติ
[แก้]พระองค์ทรงมีพระนามเมื่อประสูติว่า อัลแบร์ เลโอโปลด์ เคลม็อง มารี ไมน์ราด (Albert Léopold Clément Marie Meinrad, เยอรมัน: Albrecht Leopold Clemens Marie Meinrad ประสูติ ณ กรุงบรัสเซลส์ ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 2 ของเจ้าชายฟิลิป เคานต์แห่งแฟลนเดอส์ กับเจ้าหญิงมารีแห่งโฮเฮนซอลเลิร์น-ซิกมาริงเงิน ซึ่งพระราชบิดา (เจ้าชายฟิลิป) นั้นทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 3 (พระองค์ที่ 2 ที่ยังทรงพระชนม์) ในพระเจ้าเลออปอลที่ 1 แห่งเบลเยียม กับสมเด็จพระราชินีหลุยส์-มารี พระราชบิดานั้นเป็นพระราชอนุชาของสมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2
ฝ่ายพระราชมารดา คือ เจ้าหญิงมารีแห่งโฮเฮนซอลเลิร์น-ซิกมาริงเงินนั้นเป็นพระญาติสนิทของสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี และยังเป็นสมาชิกของราชวงศ์โฮเฮนซอลเลิร์นสายโรมันคาทอลิก (ซึ่งมิได้ปกครองอาณาจักรใด ๆ) เจ้าชายอัลแบร์ ทรงเจริญพระชันษาในพระราชวังแห่งฟลานเดอร์ และทรงเป็นรัชทายาทอันดับที่ 4 แห่งการสืบสันตติวงศ์ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อองค์รัชทายาทซึ่งมีสิทธิในราชบัลลังซึ่งเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระราชปิตุลา สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และพระเชษฐาของพระองค์ คือ เจ���าชายโบดวงแห่งเบลเยียม ซึ่งได้เตรียมพระองค์ในการสืบราชสมบัติเป็นอย่างดี กลับสิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์เช่นกัน จึงทำให้พระองค์ทรงขยับขึ้นมาอยู่เป็นอันดับที่สองของการสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดาเมื่อมีพระชนมายุเพียง 16 พรรษา
พระองค์ทรงตระเตรียมพระองค์เพื่อรับราชสมบัติเป็นอย่างดี ในสมัยที่ยังทรงพระเยาว์ เจ้าชายอัลแบร์ทรงห่วงใยในความเป็นอยู่ของราษฎรชั้นกรรมาชีพในเบลเยียม และเสด็จประพาสส่วนพระองค์ไปตามเขตอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยมิให้ราษฎรรู้ เพื่อทรงทราบถึงความเป็นอยู่ของราษฎร[1] และภายหลังก่อนที่จะเสวยราชสมบัติในปีค.ศ. 1909 ได้เสด็จประพาสเบลเยียมคองโกอย่างจริงจัง ซึ่งได้รวมดินแดนเข้ากับราชอาณาจักรในปีค.ศ. 1908 (ภายหลังจากการถูกครอบครองในฐานะราชสมบัติส่วนพระองค์โดยสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2) ทรงพบเห็นว่าสภาพของดินแดนนั้นอยู่ในสภาพย่ำแย่ และเมื่อเสด็จนิวัติแล้ว ทรงให้จัดการปฏิรูปเพื่อปกป้องชาวพื้นเมืองคองโก และเพื่อพัฒนาอาณานิคมแห่งนี้ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป[2]
พระองค์ทรงเป็นอัศวินแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์เป็นลำดับที่ 851 ในปีค.ศ. 1914 และอัศวินแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขนแกะทองคำเป็นลำดับที่ 1,152
อภิเษกสมรส
[แก้]พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับดัชเชสเอลิซาเบธ กาบรีเอล วาเลรี มารี แห่งบาวาเรีย เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1900 ที่มิวนิก พระคู่หมั้นนั้นคือเจ้าหญิงในราชวงศ์วิตเตลส์บาคที่ทรงพบเป็นครั้งแรกในงานศพของครอบครัว ทรงเป็นพระธิดาของดยุกคาร์ล-ธีโอดอร์แห่งบาวาเรีย กับอินฟานตามาเรีย โจเซฟาแห่งโปรตุเกส พระองค์ประสูติที่ปราสาทโพสเซินโฮเฟิน ในรัฐบาวาเรีย เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1876 และสิ้นพระชนม์เมื่อ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965
จากพระราชสาสน์ที่ทรงตอบโต้กันในระหว่างช่วงทรงหมั้น (กล่าวถึงในบันทึกของพระราชธิดา คือ เจ้าหญิงมารี-โจเซ ว่าทรงรักใคร่ผูกพันกันมาก[3] และทั้งสองพระองค์ยังทรงสนับสนุนซึ่งกันและกันในบทบาทของทั้งสองพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์และพระราชินี ทั้งสองพระองค์ทรงมีส่วนร่วมในการอุทิศพระวรกายให้แก่ประเทศชาติและประชาชนของพระองค์ ทั้งสองพระองค์ยังมีความสนพระทัยในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ การดนตรี และปรัชญา ทำให้ราชสำนักของพระองค์ที่ลาเคินนั้นเป็นเหมือนดั่งศูนย์วัฒนธรรมอย่างกลาย ๆ[3][4]
พระโอรส-ธิดา
[แก้]- เลโอโปลด์ ฟิลิป ชาลส์ อัลแบร์ ไมน์ราด ฮิวเบอร์ตุส มารี มิเกล ดยุกแห่งบราบันต์, เจ้าชายแห่งเบลเยียม ซึ่งต่อมาในภายหลังได้สืบราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งเบลเยียม เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม (พระราชสมภพเมื่อ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1901 สวรรคตเมื่อ 25 กันยายน ค.ศ. 1983)
- ชาลส์-เธโอดอร์ อ็องรี อ็องตวน ไมน์ราด เคานท์แห่งฟลานเดอร์, เจ้าชายแห่งเบลเยียม, ผู้สำเร็จราชการแห่งเบลเยียม (ประสูติเมื่อ 10 คุลาคม ค.ศ. 1903 สิ้นพระชนม์เมื่อ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1983)
- มารี-โจเซ ชาร์ล็อตต์ อาเมลี อ็องรีเอ็ตต์ กาบรีเอล, เจ้าหญิงแห่งเบลเยียม (ประสูติเมื่อ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1906 สวรรคตเมื่อ 27 มกราคม ค.ศ. 2001) ทรงอภิเษกเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1930 กับเจ้าชายอุมแบร์โต นิโกลา ตอมมาโซ จิโอวานนี มาเรีย เจ้าชายแห่งปิเอมอนเต (ประสูติเมื่อ 15 กันยายน ค.ศ. 1904 สวรรคตเมื่อ 18 มีนาคม ค.ศ. 1983) พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอุมแบ���์โตที่ 2 แห่งอิตาลี
ขึ้นครองราชย์
[แก้]จากการสวรรคตของพระราชปิตุลา สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียม พระองค์จึงเสวยราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียมในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1909 เนื่องจากพระราชบิดานั้นสิ้นพระชนม์ไปแล้วตั้งแต่ปีค.ศ. 1905 ในอดีตนั้น พระมหากษัตริย์เบลเยียมนั้นจะทรงกล่าวคำปฏิญาณเป็นภาษาฝรั่งเศสเท่านั้น แต่พระองค์ได้ตรัสเป็นภาษาดัตช์ด้วย[1] พระองค์และพระราชินีนั้นเป็นที่รักใคร่ของราษฎรมากอันเนื่องมาจากความเป็นกันเองต่อพสกนิกร และความรักใคร่กลมเกลียวของทั้งสองพระองค์ ซึ่งล้วนแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับรัชกาลก่อน ซึ่งเข้มงวดทางพิธีรีตอง เผด็จการ และชีวิตส่วนตัวแบบลับ ๆ ของสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2
การเปลี่ยนแปลงสำคัญช่วงต้นรัชกาล ได้แก่การริเริ่มการปฏิรูปการปกครองของเบลเยียมคองโก ซึ่งเป็นอาณานิคมเพียงแห่งเดียวของราชอาณาจักรเบลเยียม[5]
สงครามโลกครั้งที่ 1
[แก้]ช่วงเริ่มต้นของสงคราม พระองค์ได้ทรงปฏิบัติตามคำร้องขอของสหราชอาณาจักร ที่ให้ปฏิเสธคำร้องขอของกองทัพเยอรมันในการเคลื่อนทัพผ่านเบลเยียมเพื่อเข้าโจมตีฝรั่งเศสซึ่งเป็นสัมพันธมิตรของอังกฤษในขณะนั้น ซึ่งฝ่ายเยอรมันได้คาดการณ์ไว้ว่าฝรั่งเศสจะประกาศสงครามกับเยอรมนีเพื่อสนับสนุนรัสเซีย (อังกฤษเป็นหนึ่งในชาติมหาอำนาจยุโรปในสมัยนั้นที่รับรองสถานะของการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของเบลเยียมภายใต้สนธิสัญญาลอนดอน ค.ศ. 1839) ซึ่งพระองค์ได้ทรงตอบปฏิเสธคำร้องขอของฝ่ายเยอรมัน กองทัพเยอรมันจึงเปิดฉากบุกรุกเบลเยียม ซึ่งพระองค์ ในฐานะพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญของเบลเยียม เป็นจอมทัพของเบลเยียมและทรงกำกับดูแลเพื่อต้านกองกำลังของฝ่ายเยอรมันเป็นเวลานานพอให้กองทัพของอังกฤษและฝรั่งเศสเตรียมการสำหรับการรบในยุทธการแห่งมาร์น (6-9 กันยายน ค.ศ. 1914) พระองค์ทรงนำทัพผ่านการปิดล้อมเมืองแอนต์เวิร์ป และยุทธการแห่งอิแซร์ เมื่อกองทัพเบลเยียมถูกผลักดันให้ล่าถอยไปยังส่วนปลายที่สุดของดินแดน ซึ่งติดกับทะเลเหนือ ซึ่งเป็นสถานที่ที่กองทัพเบลเยียมได้รับการช่วยเหลือจากกองทัพไตรภาคี และทำสงครามเต็มรูปแบบในดินแดนแถบนี้กินเวลายาวนานถึงสี่ปี ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ได้ทรงนำทัพและบัญชาการอยู่ที่แนวหน้าเคียงข้างกับกองทัพของพระองค์ ในขณะที่สมเด็จพระราชินีนั้นทรงดูแลงานพยาบาลอยู่ที่แนวหน้า นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีพระบรมราชานุญาตให้พระราชโอรส เจ้าชายเลโอโปลด์ พระชันษาเพียง 14 ปีเข้าเป็นพลทหารร่วมกับกองทัพเบลเยียมในขณะนั้น [2][5]
สงครามครั้งนั้นได้นำพาเบลเยียมเข้าสู่ช่วงยากลำบาก ซึ่งเกิดขึ้นจากการถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมัน พระองค์ด้วยทรงเกรงถึงผลลัพธ์อันร้ายแรงของสงครามต่อเบลเยียมและยุโรป รวมถึงจำนวนผู้สูญเสียอันมากมาย จึงได้ทรงเจรจาทางการทูตกับฝ่ายเยอรมันอย่างลับๆ และตกลงกันในพื้นฐานว่า "ไม่มีผู้ใดชนะ และไม่มีผู้ใดพ่ายแพ้" (no victors, no vanquished) แต่อย่างไรก็ตามทั้งฝ่ายเยอรมัน และฝ่ายไตรภาคีไม่มีผู้ใดเห็นด้วยต่อข้อเสนอของพระองค์ พระองค์จึงไม่สามารถเจรจาสันติภาพต่อไปได้อีก ท่ามกลางสถานการณ์นี้ พระองค์อาจจะพิจารณาถึงการเจรจาสงบศึกกับเยอรมนี หากแลกกับการรับรองอิสรภาพของเบลเยียม และนำพาเบลเยียมออกจากสงครามได้อย่างเด็ดขาด แต่ทัศนคติของฝ่ายเยอรมันในขณะนั้นทำให้ตัวเลือกนี้ดูจะเป็นไปไม่ได้เสียเลย เนื่องจากกองทัพฝ่ายเยอรมันนั้นกำลังใช้เบลเยียมเป็นแรงกดดันฝ่ายไตรภาคี และดังนั้นจึงไม่มีความต้องการที่จะนำความสงบสุขมาสู่ภูมิภาคนี้ได้ และช่วงปลายของสงคราม ในฐานะของผู้บัญชาการกองกำลังฟลานเดอร์ ซึ่งเป็นกองกำลังผสมระหว่างทหารเบลเยียม อังกฤษ และฝรั่งเศส พระองค์ได้นำทัพอย่างกล้าหาญและพาชัยชนะเข้าปลดปล่อยประเทศเบลเยียมจากการยึดครองของกองทัพเยอรมันได้ พระองค์และพระราชินีเสด็จนิวัติกลับกรุงบรัสเซลส์ด้วยการต���อนรับดั่งวีรบุรุษสงคราม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ในฐานะของประมุขแห่งพระราชวงศ์ ทรงเป็นองค์ประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งเบลเยียม ได้แก่ Order of Leopold, Order of the African Star, Royal Order of the Lion, Order of the Crown และ Order of Leopold II
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- อัฟกานิสถาน : Collar of the Order of Ishtar [6]
- ออสเตรีย-ฮังการี : Knight of the Order of the Golden Fleece (Austrian Branch, 1907) [7]
- โบลิเวีย : Grand Cross of the Order of the Condor of the Andes [8]
- ชิลี : Grand Cross of the Order of Merit [9]
- โคลอมเบีย : Extraordinary Grand Cross of the Order of Bocaya [10]
- คิวบา : Grand Cross of the Order of Merit "Carlos Manuel de Céspedes" [11]
- เชโกสโลวาเกีย : Knight Grand Cross of the Order of the White Lion - Recipient of the War Cross [12]
- เอกวาดอร์ : Grand Cross of the National Order of Merit [13]
- อียิปต์ : Collar of the Order of Muhammad Ali (Egypt).[14]
- เอธิโอเปีย : Grand Cross of the Order of the Seal of Solomon [15]
- ฝรั่งเศส
- Grand Cross of the National Order of the Legion of Honour [16]
- Médaille militaire [16] & Croix de guerre 1914–1918 (France) [16]
- (Algeria) : Green Beetle of Tabelbala [17]
- อิตาลี :
- Supreme Knight of the Order of the Most Holy Annunciation
- Knight Grand Cross of the Order of the Crown of Italy
- Knight Grand Cross of the Military Order of Savoy
- Cross of the War Merit (Italy) [18]
- ญี่ปุ่น : Collar of the Order of the Chrysanthemum [19]
- ลัตเวีย : Knight First Class of the Order of the Three Stars
- ลิทัวเนีย : Grand Cross of the Order of the Cross of Vytis [20]
- ลักเซมเบิร์ก : Knight of the Order of the Gold Lion of the House of Nassau [21]
- โมนาโก : Grand Cross of the Order of Saint-Charles [22]
- โมร็อกโก :
- เนเธอร์แลนด์ : Knight Grand Cross of the Order of the Netherlands Lion [24]
- นอร์เวย์ : Knight Grand Cross with Collar of the Order of St. Olav [25]
- เปอร์เซีย : Collar of the Order of the Crown of Persia [26]
- เปรู : Grand Cross of the Order of the Sun (Peru) [27]
- โปแลนด์ :
- Knight Grand Cross of the Order of the White Eagle
- Knight Grand Cross of the Order of Virtuti Militari [28]
- โปรตุเกส :
- The Sash of the Three Orders (= GC of Christ - Aviz - Saint James of the Sword) [29]
- Knight Grand Cross of the Order of the Tower and Sword [30]
- ปรัสเซีย : Knight of the Order of the Black Eagle
- โรมาเนีย :
- Order of Carol I - [31]
- Order of Michael the Brave, 1st class [32] · [31]
- Order of the Star of Romania (Grand Cross ?) [31]
- Order of the Aeronautical Virtue [32]
- รัสเซีย :
- Knight of the Order of St. Andrew (Russia)
- Knight Grand Cross of the Order of St. Stanislaus
- Knight Grand Cross of the Order of Saint Alexander Nevsky
- Knight First Class of the Order of St. Anna
- Medal of Saint George [33]
- เซอร์เบีย :
- Order of the Star of Karađorđe with swords [34]
- Gold Medal for Bravery [34]
- ฮาวาย: Knight Grand Cross of the Royal Order of Kamehameha I (1881)[35]
- สเปน : Collar of the Order of Charles III [36]
- สวีเดน : Knight with Collar of the Royal Order of the Seraphim [37] - See List of Belgian Knights
- สหราชอาณาจักร :
- Knight of the Order of the Garter
- Knight Grand Cross of the Order of the Bath, Military Division [38] · [39]
- Order of St Michael and St George ? [39]
- Knight Grand Cross of the Royal Victorian Order
- Bailiff Grand Cross of the Venerable Order of St. John
- Military Cross (United Kingdom)
- Distinguished Flying Cross (United Kingdom) [38] · [39]
- King Edward VII Coronation Medal, military version [38]
- สหรัฐอเมริกา : Distinguished Service Medal [40]
- เวเนซุเอลา : Knight Grand Cross with Collar of the Order of the Liberator [41]
- รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟ มอลตา : Knight of Honour and Devotion of the Sovereign Military Hospitaller Order of Malta
พงศาวลี
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Carlo Bronne. Albert 1er: le roi sans terre.
- ↑ 2.0 2.1 Evelyn Graham. Albert, King of the Belgians.
- ↑ 3.0 3.1 Luciano Regolo. La regina incompresa: tutto il racconto della vita di Maria José di Savoia.
- ↑ Marie-José, Queen, Consort of Umberto II, King of Italy. Albert et Elisabeth de Belgique, mes parents.
- ↑ 5.0 5.1 Roger Keyes. Outrageous Fortune: The Tragedy of Leopold III of the Belgians.
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Afghanistan, Ordre d'Ustar[ลิงก์เสีย]
- ↑ See List of Austrian Knights of the Golden Fleece (20th century)
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Bolivia, Ordre du Condor des Andes[ลิงก์เสีย] - Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Chile, Ordre Al Merito เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - World Medals Index, Chile: Order of Merit
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Colombia, Ordre de Boyaca[ลิงก์เสีย]
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Cuba, Ordre du Mérité "Carlos Manuel de Cespedes" เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Czechoslovakia, Ordre du Lion Blanc เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Croix de Guerre[ลิงก์เสีย]
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Ecuador, Ordre Al Merito เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - World Medals Index, Ecuador: National Order of Merit
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Egypt, Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Ethiopia, Ordre du Sceau de Salomon เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Ribbon bar เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ archive.today
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, France, Ordre de la Légion d'Honneur เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Médaille Militaire เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Croix de Guerre เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Ribbon bars เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ archive.today of the 3 orders
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, France (Algeria), Scarabée vert de Tabelbala เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Italy, Croix du Mérite de Guerre[ลิงก์เสีย] - Ribbon bar เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ archive.today
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Japan, Ordre Suprême du Chrisanthème[ลิงก์เสีย] - Ribbon bar เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ archive.today
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Lithuania, Ordre de Vytis เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Luxembourg, Ordre du Lion de la Maison de Nassau เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Monaco, Ordre de Saint Charles เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 23.0 23.1 Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Morocco, Ordre Ouissam Alaouite เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Ribbon bar เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ archive.today) - Ordre du Mérite Chérifien เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Netherlands, Ordre du Lion Néerlandais[ลิงก์เสีย] - Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Norway, Ordre de Saint-Olaf เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Persia, Ordre de la Couronne de Perse[ลิงก์เสีย] - Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Peru, Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Poland, Ordre Militaire "Virtuti Militari" เก็บถาวร 2010-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Ribbon bar เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ archive.today
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Portugal, Ordre des trois Ordres Militaires réunis du Christ, Saint-Benoît d'Aviz et de Saint-Jacques et de l'Epée เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Portugal, Ordre de la Tour et de l'Epée เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 31.0 31.1 31.2 Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Romania, Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 32.0 32.1 Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Romania, Ordre Militaire de Michel le Brave[ลิงก์เสีย] - Croix du Mérite Aéronautique[ลิงก์เสีย]
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Russian Empire, Ordre Militaire de Saint Georges เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 34.0 34.1 Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Serbia, Ordre de Karageorge avec Glaives เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Médaille d'Or pour le Bravoure[ลิงก์เสีย]
- ↑ The Royal Tourist—Kalakaua's Letters Home from Tokio to London. Editor: Richard A. Greer. Date: 10 March 1881
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Spain, Ordre de Charles III[ลิงก์เสีย] - Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Sweden, Ordre des Séraphins เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Ribbon bar เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ archive.today
- ↑ 38.0 38.1 38.2 Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, United Kingdom, Ordre Militaire du Bath เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - DFC[ลิงก์เสีย] - Méd. du Couronnement d'Édouard VII[ลิงก์เสีย]
- ↑ 39.0 39.1 39.2 Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, United Kingdom, Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, United States, Distinguished Service Medal เก็บถาวร 2015-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Belgian Army Royal Museum, Decorations of King Albert I, Venezuela, Ordre du Buste du Libérateur เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Ribbon bar เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
บรรณานุกรม
[แก้]- Galet, Emile Joseph. Albert King of the Belgians in the Great War (1931), detailed memoir by the military advisor to the King; covers 1912 to the end of October, 1914
- Woodward, David. "King Albert in World War I" History Today (1975) 25#9 pp 638–43
- Catherine Barjansky. Portraits with Backgrounds.
- Mary Elizabeth Thomas, "Anglo-Belgian Military Relations and the Congo Question, 1911-1913," Journal of Modern History, Vol. 25, No. 2 (June 1953), pp. 157–165.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งเบลเยียม | พระมหากษัตริย์เบลเยียม (23 ธันวาคม ค.ศ. 1909 – 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934) |
สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม |