สมบุญ ศิริธร
สมบุญ ศิริธร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กุมภาพันธ์ – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ดำรงตำแหน่ง 21 เมษายน – 23 กันยายน พ.ศ. 2519 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 มีนาคม พ.ศ. 2459 อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
เสียชีวิต | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 (62 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2489–2521) |
คู่สมรส | ศุภจิตรา ศิริธร |
สมบุญ ศิริธร เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง 1 สมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร 2 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 2 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ มีฉายาทางการเมืองว่า "หมูหิน"
ประวัติ
[แก้]สมบุญ ศิริธร เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2459 ที่ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรของหล่อ กับพุม ศิริธร มีพี่น้อง 8 คน สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ธรรมศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง[1] สมรสกับศุภจิตรา ศิริธร (สกุลเดิม:เผ่าจินดา) มีบุตร-ธิดา 3 คน
สมบุญ ศิริธร เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 และได้รับพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 11 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน[2]
การทำงาน
[แก้]สมบุญ ศิริธร มีอาชีพเป็นทนายความ ต่อมาได้ลงสมัครสมาชิกเทศบาลนครภูเก็ตและได้รับเลือกตั้งเป็นเทศมนตรี ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง 1 สมัย ในการเลือกตั้งเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 ต่อมาได้ย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดพระนคร ในการเลือกตั้งเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500[3] และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เขาเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2518[4] แต่ต้องพ้นจากหน้าที่ตั้งแต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากคณะรัฐมนตรีไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย ด้วยคะแนนไว้วางใจ 111 เสียง ไม่ไว้วางใจ 152 เสียง[5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2519[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[7]
- พ.ศ. 2513 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2519. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2519
- ↑ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายสมบุญ ศิริธร ณ เมรุวัดตรีทศเทพ วันเสาร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๑
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
- ↑ คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-05-21.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๘๐, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๖๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2459
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2521
- บุคคลจากอำเภอเมืองพัทลุง
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกขบวน���ารเสรีไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม.
- ชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง