สงครามปลดปล่อยบังกลาเทศ
สงครามปลดปล่อยบังกลาเทศ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งอินเดีย-ปากีสถานและสงครามเย็น | |||||||||
ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน: อนุสรณ์ปัญญาชนผู้พลีชีพ; ปืนใหญ่ฮาวอิตเซอร์ของกองทัพบังกลาเทศ; พลโท อามีร์ เนียซีลงนามในตราสารยอมจำนนของปากีสถาน[1]; พีเอ็นเอส กาซี | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
|
ปาก���สถาน | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน พลเรือโท นิลกัณฐ์ กฤษณัน (ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการกองทัพเรือตะวันออก) พลอากาศโท หริ จันทร์ เทวัญ (ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการกองทัพอากาศตะวันออก) |
ยาห์ยา ข่าน ควาจา ไครุดดิน (ประธานคณะกรรมการนาโกริก ศักติ) กุลัม อะซัม (เอเมียร์ญามาอะเตอิสลามี) โมติอูร์ เราะฮ์มัน นิซามี (ผู้นำอัล-บะดัร) พลตรี โมฮัมหมัด จัมเชด (ผู้บัญชาการราซาการ์) ฟัซลุล กาดีร์ เชาธรี (ผู้นำอัล-ชัมส์) | ||||||||
กำลัง | |||||||||
175,000[5][6] 250,000[5] |
กองทัพประจำการ ~91,000 นาย[a] กำลังกึ่งทหาร 280,000 นาย[a] ทหารอาสาสมัคร ~25,000 นาย[8] | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
เสียชีวิต ~30,000 นาย[9][10] เสียชีวิต 1,426–1,525 นาย[11] บาดเจ็บ 3,611–4,061 นาย[11] |
เสียชีวิต ~8,000 นาย บาดเจ็บ ~10,000 นาย ตกเป็นเชลย 90,000—93,000 นาย[12] (รวมทหาร 79,676 นายและทหารอาสาสมัครท้องถิ่น 10,324—12,192 นาย)[11][13][14] | ||||||||
พลเรือนเสียชีวิต: ประมาณ 300,000–3,000,000 คน[10] |
สงครามปลดปล่อยบังกลาเทศ สงครามประกาศอิสรภาพบังกลาเทศ หรือ สงครามปลดปล่อย[b] (เบงกอล: মুক্তিযুদ্ধ) เป็นการปฏิวัติและการขัดกันด้วยอาวุธที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1971 เมื่อขบวนการชาตินิยมเบงกอลและเรียกร้องการกำหนดการปกครองด้วยตนเองในปากีสถานตะวันออกก่อการกำเริบจนนำไปสู่การประกาศอิสรภาพของบังกลาเทศ สงครามเปิดฉากเมื่อคณะเผด็จการทหารในปากีสถานตะวันตกนำโดยยาห์ยา ข่านดำเนินการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวบังกลาเทศในปฏิบัติการเสิร์ชไลต์ของคืนวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1971
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้มุกติวาหินี ขบวนการต่อต้านของชาวเบงกอลเริ่มสงครามกองโจร ฝ่ายปากีสถานได้เปรียบในช่วงแรกก่อนถูกโต้กลับเมื่อฝ่ายกองโจรก่อวินาศกรรมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะปฏิบัติการแจ็คพอตที่สร้างความเสียหายต่อกองทัพเรือปากีสถาน ขณะที่กองทัพอากาศบังกลาเทศที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งโจมตีฐานทัพปากีสถาน[17] อินเดียเข้าร่วมสงครามในวันที่ 3 ธันวาคม หลังปากีสถานโจมตีตอนเหนือของอินเดียทางอากาศ เกิดเป็นสงครามอินเดีย-ปากีสถาน ปากีสถานซึ่งเผชิญกับการครองอากาศของอินเดียทางแนวรบด้านตะวันออก และการรุกคืบของทัพพันธมิตรอินเดีย-มุกติวาหินีทางแนวรบด้านตะวันตกยอมจำนนที่เมืองธากาในวันที่ 16 ธันวาคม ซึ่งนับเป็นการยอมจำนนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[18]
กองทัพปากีสถานปฏิบัติการทางทหารและโจมตีชนบทและเขตเมืองทั่วปากีสถานตะวันออกทางอากาศเพื่อปราบปรามความไม่สงบหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1970 รวมถึงมีส่วนในการเนรเทศ ข่มขืนกระทำชำเราและกวาดล้างนักเรียน ปัญญาชน ผู้ฝักใฝ่คติชาตินิยมเบงกอล ชนกลุ่มน้อยทางศาสนาและบุคลากรทางการทหาร อีกทั้งยังสนับสนุนกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงอย่างราซาการ์ อัล-บะดัร อัล-ชัมส์เพื่อช่วยในการตีโฉบฉวย[19][20][21][22][23] สงครามนี้เกิดการสังหารหมู่จำนวนมากรวมถึงการสังหารปัญญาชนชาวเบงกอลกว่า 1,000 คน[24] นอกจากนี้ยังเกิดความรุนแรงทางนิกายระหว่างชาวเบงกอลกับชาวมุสลิมพิหาร ชาวเบงกอลประมาณ 10 ล้านลี้ภัยในอินเดีย ขณะที่อีก 30 ล้านคนต้องพลัดถิ่นภายในประเทศ[25]
สงครามปลดปล่อยบังกลาเทศเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางภูมิรัฐศาสตร์ในเอเชียใต้ เมื่อบังกลาเทศอุบัติขึ้นมาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่เจ็ดของโลก สงครามนี้ยังเป็นหนึ่งในช่วงตึงเครียดสำคัญในสงครามเย็นระหว่างสหรัฐ สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐสมาชิกสหประชาชาติส่วนใหญ่ยอมรับบังกลาเทศเป็นรัฐเอกราชในปี ค.ศ. 1972
เชิงอรรถ
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 คูเปอร์และอาลีรายงานว่ากองทัพปากีสถานทั้งหมด (รวมทั้งสองแนวรบ) ประกอบด้วยทหารบก 365,000 นายและกำลังกึ่งทหาร 280,000 นาย แต่เมื่อสงครามอินเดีย-ปากีสถานอุบัติในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1971[5] คลัฟลีย์ชี้แจงว่ามีเพียงหนึ่งในสี่ของทหารบกปากีสถาน 365,000 นาย (ประมาณ 91,000 นาย) อยู่ในปากีสถานตะวันออก[7]
- ↑ สงครามนี้รู้จักในบังกลาเทศว่า มุกติยุทโธ (Muktijuddho) หรือศาธิโนฏะยุทโธ (Shadhinota Juddho)[15] และสงครามกลางเมืองในปากีสถาน[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Instrument of Surrender of Pakistan forces in Dacca". mea.gov.in.
The Pakistan Eastern Command agree to surrender all Pakistan Armed Forces in Bangladesh to Lieutenant General Jagjit Singh Aurora, General Officer Commanding-in –chief of the Indian and Bangladesh forces in the eastern theatre.
- ↑ Rizwana Shamshad (3 October 2017). Bangladeshi Migrants in India: Foreigners, Refugees, or Infiltrators?. OUP India. pp. 119–. ISBN 978-0-19-909159-1.
- ↑ Jing Lu (30 October 2018). On State Secession from International Law Perspectives. Springer. pp. 211–. ISBN 978-3-319-97448-4.
- ↑ J.L. Kaul; Anupam Jha (8 January 2018). Shifting Horizons of Public International Law: A South Asian Perspective. Springer. pp. 241–. ISBN 978-81-322-3724-2.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "India – Pakistan War, 1971; Introduction By Tom Cooper, with Khan Syed Shaiz Ali". Acig.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2011. สืบค้นเมื่อ 23 June 2011.
- ↑ Pakistan & the Karakoram Highway By Owen Bennett-Jones, Lindsay Brown, John Mock, Sarina Singh, Pg 30
- ↑ Cloughley, Brian (2016) [First published 1999]. A History of the Pakistan Army: Wars and Insurrections (4th ed.). Simon and Schuster. pp. 149, 222. ISBN 978-1-63144-039-7.
- ↑ p. 442 Indian Army after Independence by KC Pravel: Lancer 1987 ISBN 81-7062-014-7
- ↑ Thiranagama, Sharika; Kelly, Tobias, บ.ก. (2012). Traitors : suspicion, intimacy, and the ethics of state-building. Philadelphia, Pa.: University of Pennsylvania Press. ISBN 978-0812222371.
- ↑ 10.0 10.1 "Bangladesh Islamist leader Ghulam Azam charged". BBC. 13 May 2012. สืบค้นเมื่อ 13 May 2012.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Figures from The Fall of Dacca by Jagjit Singh Aurora in The Illustrated Weekly of India dated 23 December 1973 quoted in Indian Army after Independence by KC Pravel: Lancer 1987 ISBN 81-7062-014-7
- ↑ Khan, Shahnawaz (19 January 2005). "54 Indian PoWs of 1971 war still in Pakistan". Daily Times. Lahore. สืบค้นเมื่อ 11 October 2011.
- ↑ Figure from Pakistani Prisoners of War in India by Col S. P. Salunke p. 10 quoted in Indian Army after Independence by KC Pravel: Lancer 1987 (ISBN 81-7062-014-7)
- ↑ Orton, Anna (2010). India's Borderland Disputes: China, Pakistan, Bangladesh, and Nepal. Epitome Books. p. 117. ISBN 9789380297156.
- ↑ Historical Dictionary of Bangladesh, Page 289
- ↑ Moss, Peter (2005). Secondary Social Studies For Pakistan. Karachi: Oxford University Press. p. 93. ISBN 9780195977042. OCLC 651126824.
- ↑ Jamal, Ahmed (5–17 October 2008). "Mukti Bahini and the liberation war of Bangladesh: A review of conflicting views" (PDF). Asian Affairs. 30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 January 2015. สืบค้นเมื่อ 29 April 2015.
- ↑ Srinivasaraju, Sugata (2021-12-21). "The Bangladeshi liberation has lessons for India today". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.
- ↑ Schneider, B.; Post, J.; Kindt, M. (2009). The World's Most Threatening Terrorist Networks and Criminal Gangs (ภาษาอังกฤษ). Springer. p. 57. ISBN 9780230623293.
- ↑ Kalia, Ravi (2012). Pakistan: From the Rhetoric of Democracy to the Rise of Militancy (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 168. ISBN 9781136516412.
- ↑ Pg 600. Schmid, Alex, ed. (2011). The Routledge Handbook of Terrorism Research. Routledge. ISBN 978-0-415-41157-8.
- ↑ Pg. 240 Tomsen, Peter (2011). The Wars of Afghanistan: Messianic Terrorism, Tribal Conflicts, and the Failures of Great Powers. Public Affairs. ISBN 978-1-58648-763-8.
- ↑ Roy, Dr Kaushik; Gates, Professor Scott (2014). Unconventional Warfare in South Asia: Shadow Warriors and Counterinsurgency (ภาษาอังกฤษ). Ashgate Publishing, Ltd. ISBN 9781472405791.
- ↑ Khan, Muazzam Hussain (2012). "Killing of Intellectuals". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
- ↑ Totten, Samuel; Bartrop, Paul Robert (2008). Dictionary of Genocide: A-L (ภาษาอังกฤษ). ABC-CLIO. p. 34. ISBN 9780313346422.