ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน
ข้อมูลส่วนตัว | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน | |||||||||||||
วันเกิด | 20 เมษายน พ.ศ. 2527 | |||||||||||||
สถานที่เกิด | จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย | |||||||||||||
ส่วนสูง | 1.83 เมตร (6 ฟุต 0 นิ้ว)[1] | |||||||||||||
ตำแหน่ง | ผู้รักษาประตู | |||||||||||||
ข้อมูลสโมสร | ||||||||||||||
สโมสรปัจจุบัน | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | |||||||||||||
หมายเลข | 1 | |||||||||||||
สโมสรเยาวชน | ||||||||||||||
2539–2545 | โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย | |||||||||||||
2545 | นครราชสีมา | |||||||||||||
สโมสรอาชีพ* | ||||||||||||||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) | |||||||||||
2546–2550 | ธนาคารกรุงเทพ | 76 | (0) | |||||||||||
2551–2552 | บีอีซี เทโรศาสน | 29 | (0) | |||||||||||
2553 | ทีโอที | 0 | (0) | |||||||||||
2553– | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 420 | (0) | |||||||||||
ทีมชาติ‡ | ||||||||||||||
2550 | ไทย อายุไม่เกิน 23 ปี | 1 | (0) | |||||||||||
2547– | ไทย | 33 | (0) | |||||||||||
เกียรติประวัติ
| ||||||||||||||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561 ‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2562 |
ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน (ชื่อเล่น แชมป์; 20 เมษายน พ.ศ. 2527 —) เป็นนักฟุตบอลอาชีพชาวไทย เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งผู้รักษาประตูให้กับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในไทยลีก โดยเขาสวมเสื้อหมายเลข 1
สโมสรอาชีพ
[แก้]บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
[แก้]ศิวรักษ์ทำผลงานได้ดีในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2556 รอบเพลย์ออฟ โดยการเซฟลูกยิงของโทมัส บรอยเซอร์, เบสาร์ท เบริซา และเจอมส์ เมเยอร์ ซึ่งเป็นผู้เล่นบริสเบนโรอาห์ ทีมจากเอ-ลีกของออสเตรเลีย และการเซฟลูกจุดโทษ 3 ลูกติด ทำให้บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ชนะบริสเบนโรอาห์ 3-0 ผ่านเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่ม และยังได้รางวัลแมนออฟเดอะแมตช์อีกด้วย และทำให้ชื่อของศิวรักษ์ติดอันดับที่ 5 ของเอเชียในการเซฟลูกจุดโทษที่มากที่สุด
ในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2561 ศิวรักษ์ทำผลงานได้ดีอีกครั้งในรอบแบ่งกลุ่มจนทำให้บุรีรัมย์ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย ก่อนที่จะตกรอบในนัดที่บุกแพ้ช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์ 0–2 แต่ในนัดนั้น ศิวรักษ์เซฟถึง 11 ครั้งในเกมเดียว ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับสองในเอซีแอล เป็นรองเพียงมุฮัมมัด รอชิด มาซอเฮรี ที่เซฟ 31 ครั้ง[2][3]
ฤดูกาล 2562
[แก้]ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ นัดชิงชนะเลิศ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แชมป์ไทยลีก ฤดูกาล 2561 เจอกับ สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด แชมป์ช้าง เอฟเอคัพ 2561 ที่สนามกีฬากองทัพบกในกรุงเทพมหานคร ศิวรักษ์ลงเล่นเป็นตัวจริงในนัดนั้น สุดท้าย บุรีรัมย์ แซงเอาชนะ สิงห์ เชียงราย 3–1 ช่วยให้บุรีรัมย์คว้าแชมป์ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ สมัยแรก ได้สำเร็จ[4] ต่อมาในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2562 โตโยต้า ลีกคัพ รอบชิงชนะเลิศ บุรีรัมย์พบกับ พีที ประจวบ ที่เอสซีจีสเตเดียมในจังหวัดนนทบุรี ผลจบลงด้วยการเสมอ 1–1 ในเวลา 120 นาที ต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ ศิวรักษ์ เซฟลูกยิงของ สมภพ นิลวงศ์ คนยิงคนแรกของประจวบ และศิวรักษ์ก็เป็นคนยิงคนที่ 6 เขายิงเข้าไปได้ แต่สุดท้าย บุรีรัมย์พ่ายแพ้ประจวบในช่วงลูกโทษ 7–8 ผลประตูรวม 8–9 พลาดโอกาสคว้าแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ อย่างน่าเสียดาย[5] จบฤดูกาล ศิวรักษ์ลงเล่นในลีกครบ 30 นัด เก็บคลีนชีตส์ได้ 14 นัด ทำให้เขาเป็นผู้รักษาประตูที่เก็บคลีนชีตส์ได้มากที่สุดในไทยลีก ฤดูกาล 2562
ฤดูกาล 2563–64
[แก้]ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2563 การแข่งขันไทยลีก ฤดูกาล 2563–64 นัดแรกของสโมสรหลังจากหยุดพักลีกช่วงโควิด ศิวรักษ์เซฟลูกโทษของเฟลิเป ดาซิลวา แม้ว่ารัชนาท อรัญไพโรจน์จะตามซ้ำเป็นประตูเข้าไปได้ แต่เมื่อตรวจสอบวีเออาร์ พบว่าประตูนี้ล้ำหน้า ทำให้ต้องยกเลิกประตูคืน สุดท้ายบุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะสุพรรณบุรีไปได้ 1–0[6] ต่อมาในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 การแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ 2563–64 รอบ 16 ทีมสุดท้าย บุรีรัมย์บุกไปเสมอกับการท่าเรือแบบไร้ประตูในเวลา 120 นาที ทำให้ต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ ซึ่งศิวรักษ์สามารถเซฟลูกยิงของธนาสิทธิ์ ศิริผลา และธนบูรณ์ เกษารัตน์ ช่วยให้บุรีรัมย์เอาชนะการยิงลูกโทษไปได้ 9–8 ผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศได้สำเร็จ[7] ต่อมาในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ การแข่งขันไทยลีกนัดที่ 17 เขาเซฟลูกโทษของฟิลิป โรลเลอร์ ช่วยให้บุรีรัมย์เก็บคลีนชีตส์และเปิดบ้านเอาชนะราชบุรี มิตรผลไปได้ 3–0[8]
ทีมชาติไทย
[แก้]ศิวรักษ์เคยเป็นผู้รักษาประตูสำรองของทีมชาติไทยต่อจากกวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ โดยยึดเป็นมือหนึ่งของทีมชาติไทยในช่วงที่กวินทร์เจ็บหัวเข่า ในช่วงที่ วินเฟรด เชเฟอร์ เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนนั้น ศิวรักษ์ได้ลงสนามแค่นัดเดียว คือ นัดอุ่นเครื่องกับพม่าครั้งที่สอง โดยศิวรักษ์ถูกส่งตัวลงมาแทน สินทวีชัย หทัยรัตนกุล จบการแข่งขันเสมอกันไป 1–1
ศิวรักษ์ได้กลับมาลงเล่นเกมทีมชาติอย่างเป็นทางการอีกครั้งในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2561 โดยเขาได้ลงเล่นสองนัด ในนัดที่ไทยเปิดบ้านเอาชนะติมอร์-เลสเต 7–0 และอินโดนีเซีย 4–2 ตามลำดับ ต่อมาในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2562 ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ศิวรักษ์ได้ลงเล่นเป็นตัวจริง 3 นัด ได้แก่ นัดที่ไทยเอาชนะบาห์เรน 1–0 และเสมอยูเออี 1–1 ในรอบแบ่งกลุ่ม อีกนัดก็คือนัดที่ไทยพ่ายแพ้จีน 1–2 ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย
ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ศิวรักษ์ มีชื่อติดทีมชาติไทยเบื้องต้น 33 คน[9] และในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 ศิวรักษ์ ยังคงมีชื่อติดทีมชาติไทยในรอบที่ตัดตัวเหลือ 23 คนสุดท้าย ในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก นัดที่ไทยจะเปิดบ้านพบกับเวียดนามและออกไปเยือนอินโดนีเซีย[10] ต่อมาในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562 ศิวรักษ์ ได้รับการแต่งตั้งจาก อากิระ นิชิโนะ ให้เป็นกัปตันของทีมชาติไทยในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก เขาถือเป็นกัปตันคนแรกของทีมชาติไทยในการคุมทีมของนิชิโนะ และเป็นครั้งแรกที่เขาถูกแต่งตั้งให้เป็นกัปตันทีมชาติ[11]
สถิติอาชีพ
[แก้]สโมสร
[แก้]- ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2566
สโมสร | ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | เอเชีย | อื่น ๆ | ทั้งหมด | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ||
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 2560 | ไทยลีก | 34 | 0 | 3 | 0 | 3 | 0 | — | 2[a] | 0 | 42 | 0 | |
2561 | ไทยลีก | 34 | 0 | 4 | 0 | 2 | 0 | 8 | 0 | 1[b] | 0 | 49 | 0 | |
2562 | ไทยลีก | 30 | 0 | 4 | 0 | 3 | 0 | 6 | 0 | 1[b] | 0 | 44 | 0 | |
2563–64 | ไทยลีก | 30 | 0 | 4 | 0 | — | 2 | 0 | — | 36 | 0 | |||
2564–65 | ไทยลีก | 29 | 0 | 4 | 0 | 4 | 0 | 1[c] | 0 | — | 38 | 0 | ||
2565–66 | ไทยลีก | 16 | 0 | 2 | 0 | 4 | 0 | 0 | 0 | 1[b] | 0 | 23 | 0 |
- ↑ ลงเล่นในแม่โขงคลับแชมเปียนชิพ
- ↑ 2.0 2.1 2.2 ลงเล่นในไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ
- ↑ ลงเล่นในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2022 รอบเพลย์ออฟ
ทีมชาติ
[แก้]- ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2562[12]
ทีมชาติ | ปี | ลงเล่น | ประตู |
---|---|---|---|
ไทย | 2547 | 1 | 0 |
2550 | 2 | 0 | |
2551 | 4 | 0 | |
2556 | 2 | 0 | |
2557 | 1 | 0 | |
2561 | 3 | 0 | |
2562 | 8 | 0 | |
ทั้งหมด | 21 | 0 |
เกียรติประวัติ
[แก้]สโมสร
[แก้]- บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
- ไทยลีก (9): 2554, 2556, 2557, 2558, 2560, 2561, 2564–65, 2565–66, 2566–67
- ไทยเอฟเอคัพ (6): 2554, 2555, 2556, 2558, 2564–65,2565–66
- ไทยลีกคัพ (7): 2554, 2555, 2556, 2558, 2559, 2564–65, 2565–66
- ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ (1): 2562
- ถ้วยพระราชทาน ก. (4): 2556, 2557, 2558, 2559
- แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ (2): 2558, 2559–2560
ทีมชาติ
[แก้]- ไทย อายุไม่เกิน 23 ปี
- ไทย
- คิงส์คัพ (1): 2560
- ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน (1): 2563
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-30. สืบค้นเมื่อ 2017-12-10.
- ↑ "ศิวรักษ์ผงาดขึ้นอันดับ2เซฟมาสุดในACL". สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ศิวรักษ์"ติดทีมยอดเยี่ยมแม้บุรีรัมย์ร่วงACL". สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์พลิกแซงเชียงราย 3-1 คว้าแชมป์ ออมสิน ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนคัพ". สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พ่ายจุดโทษ ประจวบ เอฟซี 8-9 ชิงดำ ลีกคัพ". สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ โกล.คอม. "VAR ให้จุดโทษก่อนริบประตู! บุรีรัมย์เฉือนสุพรรณบุรี 1-0". สืบค้นเมื่อ October 5, 2020.
- ↑ สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด. "ปราสาทสายฟ้า แม่นโทษ บุกดับ สิงห์เจ้าท่า ฉลุยรอบ 8 ทีม ช้าง เอฟเอ คัพ 2020". สืบค้นเมื่อ February 5, 2020.
- ↑ "ปราสาทสายฟ้า ไล่ต้อนชนะ ราชันมงกร 3-0 แซงขึ้นอันดับที่ 3 ไทยลีก". สืบค้นเมื่อ February 7, 2020.
- ↑ "นิชิโนะประกาศรายชื่อ 33 แข้งช้างศึกเตรียมคัดบอลโลก". สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "กุนซือชาวญี่ปุ่น ประกาศตัดตัวผู้เล่นให้เหลือ 23 ราย เป็นที่เรียบร้อย". สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""นิชิโนะ" ตั้ง "ศิวรักษ์" ทำหน้าที่กัปตันช้างศึก". สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Siwarak Tedsungnoen". National Football Teams. Benjamin Strack-Zimmermann. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Siwarak Tedsungnoen profile เก็บถาวร 2017-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่ เว็บไซต์บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
- ข้อมูลของ ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน ที่ ซ็อกเกอร์เวย์