ข้ามไปเนื้อหา

ศักราชของญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชื่อศักราชญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 年号โรมาจิnengōทับศัพท์: เน็งโง; "ชื่อปี") มีอีกชื่อว่า เก็งโง (ญี่ปุ่น: 元号โรมาจิgengō) เป็นหนึ่งในสองสิ่งที่ใช้ระบุปีตามปฏิทินญี่ปุ่น อีกสิ่งหนึ่ง คือ เลขศักราช (โดยปีแรกเป็น "ญี่ปุ่น: โรมาจิgan") ตามมาด้วย "ญี่ปุ่น: โรมาจิnen" ที่มีความหมายตรงตัวว่า "ปี"

ชื่อศักราชปรากฏขึ้นในประเทศจีนเมื่อ 140 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่[1][2] การใช้ชื่อศักราชเช่นนี้ก็เหมือนกับที่อื่น ๆ ในเอเชียตะวันออก คือ ได้รับอิทธิพลมาจากการปฏิบัติของราชสำนักจีน[2][3][4] แต่การตั้งชื่อศักราชญี่ปุ่นใช้วิธีการคนละอย่างกับในระบบจีน, ระบบเกาหลี และระบบเวียดนาม นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังเป็นที่เดียวที่ยังใช้ชื่อศักราชอยู่ หน่วยราชการมักใช้ชื่อและปีศักราชสำหรับเอกสารราชการ

ชื่อศักราชห้าชื่อที่ใช้มาตั้งแต่สิ้นยุคเอโดะเมื่อ ค.ศ. 1868 สามารถย่อโดยใช้อักษรโรมันตัวแรก เช่น S55 หมายถึง Shōwa 55 คือ ปีโชวะที่ 55 (ตรงกับ ค.ศ. 1980) หรือ H22 หมายถึง Heisei 22 คือ ปีเฮเซที่ 22 (ตรงกับ ค.ศ. 2010) ศักราชที่ยาวนานที่สุด คือ โชวะ ซึ่งกินเวลา 62 ปีกับ 2 สัปดาห์

ศักราชปัจจุบันคือ เรวะ (ญี่ปุ่น: 令和โรมาจิReiwa)[5] ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 หลังปีที่ 31 ของศักราชเฮเซ (ญี่ปุ่น: 平成31年) ในขณะที่ศักราชเฮเซเริ่มต้นหลังการสวรรคตของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ (8 มกราคม ค.ศ. 1989) ศักราชเรวะเริ่มต้นหลังการวางแผนและสละราชสมบัติโดยสมัครพระทัย[6]ของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ จักรพรรดิองค์ที่ 125 โดยพระองค์ได้รับอนุญาตให้สละราชสมบัติเพียงครั้งเดียว[7]แทนการดำรงตำแหน่งจนกระทั่งสวรรคต (ตามกฏ)[8] นารูฮิโตะ พระราชโอรสองค์โต ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 126 ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019[9]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lü, Zongli (2003). Power of the words: Chen prophecy in Chinese politics, AD 265-618. ISBN 9783906769561.
  2. 2.0 2.1 Sogner, Sølvi (2001). Making Sense of Global History: The 19th International Congress of the Historical Sciences, Oslo 2000, Commemorative Volume. ISBN 9788215001067.
  3. Jølstad, Anders; Lunde, Marianne (2000). "International Congress of Historical Sciences". International Congress of Historical Sciences. 19. ISBN 9788299561419. สืบค้นเมื่อ 29 December 2019.
  4. "Ancient tradition carries forward with Japan's new era". สืบค้นเมื่อ 29 December 2019.
  5. Archived at Ghostarchive and the Wayback Machine: Reiwa Nengō Announcement Footage, 2019-04-01
  6. Rich, Motoko (30 April 2019). "Emperor Akihito, Who Gave Japan's Monarchy a Human Face, Abdicates Throne". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 30 April 2019.
  7. "天皇陛下 「生前退位」の意向示される ("His Majesty The Emperor Indicates His Intention to 'Abdicate'")" (ภาษาญี่ปุ่น). NHK. 13 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2016. สืบค้นเมื่อ 13 July 2016.
  8. "Japanese Emperor Akihito 'wishes to abdicate'". BBC News. 13 July 2016. สืบค้นเมื่อ 17 July 2016.
  9. "Japan rings in new era as Naruhito becomes emperor". Al Jazeera. 30 April 2019. สืบค้นเมื่อ 30 April 2019.