ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/กรุ 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรุ 1 กรุ 2 กรุ 3 กรุ 4 กรุ 5 กรุ 6 กรุ 10

แบบสอบถามเกี่ยวกับวิกิพีเดียไทย

สวัสดีครับ อันนี้คำถามฝากมาจาก ผู้ใช้:Tummy (ตั๋มมี่) ที่กำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องวิกิพีเดียไทย คุณตั๋มมี่ได้ทำแบบสอบถามออนไลน์ไว้ ที่อยากให้ชาววิกิพีเดียทุกคน รวมถึงคนทั่วไปที่เข้ามาใช้งานวิกิพีเดียไทยได้เข้าไปร่วมทำ เขาเลยอยากให้ติดไว้ในส่วน แม่แบบ:ประกาศ เพื่อทุกคนจะได้เห็นกัน ซึ่งคุณตั๋มมี่มาถามผมว่าจะต้องขออนุญาตใครก่อน ผมเลยมีความเห็นว่ามาถามชาววิกิพีเดียคนอื่น ๆ ครับ ว่ามีความเห็นเป็นอย่างไรบ้าง ส่วนตัวผมแล้วไม่มีปัญหาครับ --Manop | พูดคุย - 22:52, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

สนับสนุนครับ ไม่มีปัญหา --ธวัชชัย 15:26, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

สนับสนุนครับ ไม่น่าจะเสียหายอะไรครับ เป็นประโยชน์ต่อทั้งวิกิพีเดียเอง และต่อสังคมทั่วไป ผมสนับสนุนครับ --ScorpianPK 16:04, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ดีครับ --Jutiphan | พูดคุย - 16:53, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
OK ด้วยอีกคนครับ --Lerdsuwa 06:45, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
เห็นด้วยคนค่ะ--Se:Rin | พูดคุย - 09:22, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ติดเลยครับ พื้นที่ประกาศเป็นของทุกคน หากเห็นว่าอะไรเป็นประโยชน์กับส่วนรวม ก็ใส่ได้เลย - กล้าแก้ -- bact' คุย 09:50, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

คุณมานพติดให้แล้วค่ะ ขอบคุณทุกการสนับสนุนนะคะ ยังไงรบกวนขอความร่วมมือทำแบบสอบถามด้วยค่ะ ถ้าทำเสร็จจะเอาข้อมูลมาเสนอในวิกิพีเดีย จะได้เป็นประโยชน์แก่ทุกคนนะคะ - -TuMmY- - 02:13, 10 มีนาคม 2007 (UTC)

เชิญร่วมทำแบบสอบถามการใช้งานวิกิพีเดียไทย

สวัสดีค่ะ ตั๋มมี่มาอีกแล้ว ท่ามกลางการแสดงความคิดเห็นกันอย่างเข้มข้น ตั๋มขออนุญาตฝากแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้งานวิกิพีเดียไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทยและการสื่อสารความรู้สู่สาธารณะ ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอความร่วมมือเข้าไปตอบแบบสอบถามกันนะคะ ที่นี่ค่ะ แบบสอบถามการใช้งานวิกิพีเดียไทย หรือลิงก์ตรงที่ http://itshee.com/survey/public/survey.php?name=wikipedia ค่ะ

ตั๋มหวังว่าแบบสอบถามนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้วิกิพีเดียทุกคนค่ะ และเมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว จะสรุปและประมวลผลมาให้อ่านกัน ซึ่งจะทำให้เห็นแนวคิดและการใช้งานของผู้ใช้ในมุมกว้างมากขึ้นค่ะ ขอบคุณมากนะคะ - -TuMmY- - 02:41, 10 มีนาคม 2007 (UTC)

การก่อกวนรุกหนักช่วงนี้

ช่วงสองสามวันนี้มีการก่อกวนอย่างต่อเนื่องจากหลายไอพี (คาดว่าเด็กปิดเทอมกัน) พอมีใครมีความเห็นว่าควรทำอย่างไรกันบ้างครับ เพราะย้อนกลับก็แล้ว เตือนสองสามรอบแล้ว ก็ยังไม่หยุด และหลายครั้งที่จังหวะก่อกวนก็ไม่มีแอดมินมาบล็อกผู้ก่อกวน หรือล็อกบทความ เลยมาสอบถามความเห็นกันครับ ตัวอย่างบทความที่เห็นช่วงนี้ก็เช่น วิกิพีเดีย ด้วย กอล์ฟ-ไมค์ ด้วย --Manop | พูดคุย - 05:31, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

อาจต้องเพิ่มผู้ดูแล แต่ว่า สงสัยจะยังเพิ่มไม่ได้ เพราะต้องรอการสนับสนุนจากผู้มีสิทธิ์แต่งตั้งผู้ดูแล --ธวัชชัย 05:35, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

โดยปกติเท่าที่สังเกตการณ์ จะเริ่มก่อกวนประมาณช่วงเวลา 17:45 - 18:00 น. เป็นต้นไปและเป็นช่วงเวลาที่ admin ไม่ว่างกันเป็นส่วนใหญ่ค่ะ--Se:Rin | พูดคุย - 05:47, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

น่าจะล็อกบทความที่ถูกก่อกวนอย่างต่อเนื่องไว้สักพักก่อนนะคะ --Piggy 05:53, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

เห็นด้วยกับคุณ piggy แต่เนื่องจาก���่า admin มีน้อย อาจดูแลไม่ทั่วถึงจริง ๆ บางครั้งผู้ใช้ที่ช่วยกันดู ก็ทำได้แค่ย้อนการแก้ไข แล้วก็โดนก่อกวนที่หน้าผู้ใช้ วุ่นวายต่อเนื่องค่ะ สรุปว่าแอดมินน่าจะมีมากขึ้นนะคะ - -TuMmY- - 08:59, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

เราว่าแทนที่จะมีมากขึ้น แต่ให้มาถูกเวลาจะดีกว่า มีสองช่วงคือช่วงหัวค่ำ กับช่วงหลังเที่ยงคืน--Bond the Magic Dragon lived by the Sea 09:32, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
เห็นด้วยกับที่ว่าแทนที่จะมีมากขึ้น แต่มาให้ถูกเวลาจะดีกว่า อีกอย่างวิกิมี กว่า 10000 บทความ ล๊อค 1-2 บทความก็มีให้ก่อกวนอีกเป็น 1000 บทความ --ScorpianPK 09:43, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ผมเองจะพยายามเจ้ามาดูครับ โดยเฉพาะช่วงหลังเที่ยงคืน --Jutiphan | พูดคุย - 14:06, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

ผมว่าแม่แบบที่แสดงในหน้าหลักน่าจะทำ semi-protected ให้หมดเพื่อป้องกันการก่อกวนนะครับ

ยังรู้สึกว่าแม่แบบพวกนี้ ยังไม่ได้ได้ก่อกวนเท่าไรนะครับ ถ้าหากเริ่มมีการก่อกวนส่วนของหน้าหลัก อาจนำ cascading protection แบบวิกิอังกฤษมาใช้ คือจะทำการล็อกทุกส่วนในหน้าหลักโดยอัตโนมัติ แต่ขณะนี้อาจไม่จำเป็น --Jutiphan | พูดคุย - 14:06, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

บทความคัดสรรและบทความที่มีคุณภาพดี

คุณ bact ได้เสนอเรื่อง "บทความคัดสรร" (Featured Articles) และ บทความที่มีคุณภาพดี (Good Articles) ไว้ที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:บทความคัดสรร คร่าว ๆ คือ

ควรจะแยกเรื่อง FAs (Featured Articles) ออกจาก GAs (Good Articles)

ถ้าตามที่เห็นในวิกิพีเดียภาษาอื่น ๆ "บทความคัดสรร" (FA) น่าจะมีข้อจำกัด ว่าในช่วงเวลาหนึ่งจะมีได้กี่บทความ ถ้าเป็นกรณีของภาษาอังกฤษ ก็จะวันละบทความ ของไทยก็เดือนละบทความ คือถ้าเรียกให้ตรงความหมาย น่าจะเรียกว่า "บทความเด่น (ประจำวัน/สัปดาห์/เดือน) "

ส่วนเรื่องการ "recognize" นั้น น่าจะเป็นเรื่องของ "บทความที่มีคุณภาพดี" (GA) อันนี้ไม่มีข้อจำกัดเรื่องช่วงเวลา ถ้ามันดีพอ ผ่านเกณฑ์ ก็ได้เป็นทันที

ข้อเสนอ: หากต้องการชี้ให้เห็นว่ามีบทความคุณภาพจำนวนมาก / ต้องการ recognize บทความที่มีคุณภาพ

  • เพิ่มเรื่อง GA ขึ้นมา (ตอนนี้วิกิพีเดียไทยมีแต่ FA)
    • GA จะมีกี่บทความก็ได้ ไม่จำกัด ขอเพียงให้ผ่านเกณฑ์พิจารณาก็พอ (เกณฑ์พิจารณาก็สามารถเอาเกณฑ์ FA ปัจจุบันของวิกิพีเดียไทยไปใช้ก่อนได้)
    • แต่ละบทความมีอิสระในตัวเองที่จะพัฒนาขึ้นมาเป็น GA ได้
  • แล้วตั้งเงื่อนไขว่า จะเป็น FA ได้ จะต้องเป็น GA ก่อน
    • เงื่อนไขนี้ โดยปฏิบัติแล้ว ไม่ได้แตกต่างอะไรจากระบบปัจจุบันนัก (เพราะจะใช้เกณฑ์เดียวกัน)
  • หากยังต้องการ FA เยอะขึ้น น่าจะเพิ่ม "ความถี่ของรอบ" แทน "จำนวนในแต่ละรอบ"

กรณีนี้ ขั้นตอนสู่การเป็น FA ก็จะเป็นดังนี้ โครงบทความ -> บทความปกติ -> บทความ GA -> บทความ FA

โดยหลักเกณฑ์คร่าว ๆ ของ "บทความที่ดี" นั้น คุณ bact ได้เสนอให้ใช้หลักการเดียวกับ "บทความคัดสรร" ไปก่อนนะครับ

อยากทราบว่า ทุกคนมีความเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ --ScorpianPK 11:12, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

  • เีรียกสั้น ๆ ว่า "บทความคัดสรร" (FA - featured article) กับ "บทความคุณภาพ" (GA - good article) ดีไหม ?
  • ข้อมูลประกอบ: en:WP:FA, en:WP:GA

-- bact' คุย 11:59, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

  • ดีค่ะ เห็นด้วยสำหรับการแยกออกมาเป็น GA เพราะมีแต่ FA อย่างเดียวและเพียงเดือนละเรื่องเท่านั้น ถ้าหากว่าแยกออกมาเป็น GA ก็สามารถที่จะมีบทความที่มีคุณภาพดีได้หลายบทความในเดือนเดียว--Se:Rin | พูดคุย - 11:47, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
GA ไม่อยู่ในหน้าหลักครับ -- bact' คุย 11:59, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

ถ้าเช่นนั้น บทความควรจะดีมีคุณภาพก่อน แล้วค่อยไปเสนอชื่อในบทความคัดสรรได้ ถ้าสมมติว่ามีบทความที่ไม่ค่อยมีคุณภาพ แต่กำลังอยู่ในระหว่างรอการโหวตในขณะนี้ ให้ทำอย่างไร

  1. ปล่อยไว้และเพิกเฉย เพราะยังไงไม่มีคนโหวตอยู่แล้ว พอเกินกำหนดก็เก็บลงสุสาน แต่ถึงกระนั้นก็อาจมีคนขุดบทความเดิมขึ้นมาให้โหวตใหม่อีก ...หรือ...
  2. แจ้งให้ผู้ที่เสนอชื่อบทความนั้นว่า บทความดังกล่าวยังไม่ถึงระดับชั้นที่มีคุณภาพ ยังไม่สามารถเข้าร่วมเสนอชื่อได้ในตอนนี้ และก็จะไม่มีการขุดมาโหวตใหม่ จนกว่าจะมีคุณภาพจริง ๆ

--Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 12:16, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

ครับ คงต้องมีการปรับเงื่อนไขของ FA ตามด้วย, ว่าต้องเป็น GA เสียก่อน -- bact' คุย 12:32, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
บทความที่ถูกนำเสนออยู่ ณ ขณะนี้ส่วนใหญ่จะมีข้อเสนอปรับปรุงนะครับ คิดว่า ถ้าบทความนั้น ๆ ยังไม่ได้รับการปรับปรุงก็คงต้องถูกเก็บเข้ากรุภายใน 2 เดือน ตามระยะเวลากำหนดครับ และถ้ามีการกำหนดเกณฑ์ บทความคัดสรร ต้องเป็นบทความที่ดี บทความในกรุเหล่านั้นก็คงไม่ได้รับการเสนอชื่อจนกว่าจะได้รับการปรับปรุงแล้วครับ --ScorpianPK 14:13, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ผมว่า en:WP:WIAGA น่าจะพอเป็นแนวทางที่นำมาใช้ได้ คิดว่าไม่น่าจะมีตรงไหนที่ไม่เหมาะสมกับวิกิพีเดียไทย ส่วนเรื่องวิธีการเสนอชื่อและคัดเลือก ผมอ่านจากวิกิพีเดียอังกฤษแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ว่าที่นั่นเขาทำกันยังไง ส่วนเรื่องที่ว่า ต้องเป็น GA ก่อนเป็น FA ผมว่าก็โอเคนะครับ (ถ้าการพิจารณา GA ไม่นานมากเกินไป) แล้วก็อาจจะต้องสร้างระบบการควบคุมคุณภาพและ delist บทความที่คิดว่าไม่เหมาะสมได้ kinkkuananas 14:52, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ถอดความบางส่วนของ en:WP:WIAGA ไว้ที่ วิกิพีเดีย:อะไรคือบทความคุณภาพ เข้าไปปรับปรุงแก้ไขได้ครับ -- bact' คุย 16:53, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
  • ที่เห็นมา ขั้นตอนการเลือก GA ไม่เหมือนขั้นตอนการเลือก FA ใคร ๆ ้ก็สามารถโปรโมทบทความเป็น GA ได้ ถ้าหากคนที่โปรโมทไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทความ ส่วน FA ต้องใช้ consensus จากคนที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทความหลายคน. โดยส่วนตัวแล้วผมชอบวิธี consensus มากก่วา เพราะสายตาคู่เดียวอาจไม่เีพียงพอที่ QC ได้อย่างละเอียด
  • หลักเกณฑ์ก็ต่างกันด้วย GA ส่วนใหญ่จะ <25kB ส่วน FA ไม่ควรเกิน 6,000 - 10,000 คำ (<30-50kB) ทำให้บทความที่อาจจะดีพอที่จะเป็น FA แต่สั้นไป ต้องเป็น GA. ตัวอย่าง FA ที่เกี่ยวกับเมืองไทย: en:Bhumibol (4,670 คำ, 58kB). ตัวอย่าง GA ที่เกี่ยวกับเมืองไทย - สั้นหน่ิอย: en:Finland Plot (891 คำ). ตัวอย่าง GA ที่เกี่ยวกับเมืองไทย - ยาวหน่ิอย: en:2006 Bangkok Bombings (2,000 คำ). ตัวอย่างบทความที่เสนอชื่อเป็น GA แต่ไม่สำเร็จ: en:1997 Constitution of Thailand (2,015 คำ). Patiwat 20:15, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ผมว่าไม่ว่าจะเป็น GA หรือ FA ก็น่าจะมีการออกความคิดเห็น หรือเสนอชื่อเพื่อคัดเลือกความเหมาะสมนั่นแหละครับ อยากเสนอกี่บทความถ้าเข้าเกณฑ์ก็เสนอมาได้หมด แต่อาจจะมีกำหนดสักหน่อยว่า มีผู้สนับสนุนกี่เสียง คัดค้านกี่เสียง คัดค้านเพราะอะไร อะไรต้องปรับปรุง แต่ถ้าคนส่วนมากเห็นว่าดี ก็ไปเป็นบทความที่ดี อะไรทำนองนั้น แต่บทความคัดสรร นั้น เอามาจากบทความที่ดีที่ได้รับการโหวตมากที่สุดครับเช่นเดิม ส่วนสั้นไป ยาวไป อันนี้ไม่ทราบว่ามีผลขนาดไหน เพราะคิดว่าบทความที่สั้นแต่ดี ก็เป็นบทความที่ดีได้เช่นกันครับ--ScorpianPK 20:30, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ไม่ว่าจะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน ก็ควรจะต้องแสดงเหตุผลทั้งคู่นะครับ / สำหรับจำนวน อาจจะตั้งเป็น ร้อยละ ก็ได้ .. 50 60 ว่ากันไป
เรื่องความสั้นยาว - ตามที่เข้าใจ, บทความสั้น ก็เป็นบทความคุณภาพได้ แต่ถ้าอยากจะเป็นบทความคัดสรร ก็ต้องขยายให้ยาวขึ้น (พร้อมกับปรับปรุงเรื่องอื่นด้วย), ก็ตามลำดับขั้นครับ, โครง -> ปกติ -> GA -> FA -- bact' คุย 03:07, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

แล้วควรจะมีเครื่องหมายบางอย่างบ่งบอกหรือไม่ว่าบทความไหนผ่านการพิจารณาเป็น GA แล้ว ถ้าไม่เช่นนั้นก็คงไม่รู้--Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 01:29, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

กรณีวิกิพีเดียอังกฤษ จะแสดงในหน้าพูดคุย (ตัวอย่าง en:Talk:Community) แต่ถ้าเกิดว่าอยากให้เห็นชัดกว่านั้น ก็อาจจะแสดงเป็นรูปเล็ก ๆ ที่มุมขวาบนของหน้าบทความ คิดว่าน่าจะโอเคนะครับ (บทความคัดสรรใช้รูปดาวอยู่) -- bact' คุย 03:07, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
แล้วบทความคัดสรรรายเดือนที่รออยู่ตอนนี้ล่ะครับ จะต้องหยุดชั่วคราวรึเปล่า? ตามกำหนดต้องเลือกวันนี้แล้วแต่ในเมื่อกระบวนการเปลี่ยนแปลง เลยไม่แน่ใจว่าจะเอาอย่างไร --Pi@k 01:54, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ผมว่าไม่จำเป็นต้องหยุดครับ น่าจะเป็นฟุตบอลไทย มั้งครับที่เป็นบทความคัดสรรประจำเดือนนี้ เท่าที่ติดตามดูก็ผ่านการโหวตของชาววิกิพีเดีย และก็มีความพร้อมที่จะเป็นบทความคัดสรรอยู่แล้วครับ --ScorpianPK 02:25, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ไม่ต้องรอครับ เดือนมีนาว่ากันตามเดิมไปก่อน -- bact' คุย 03:07, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
สำหรับเรื่องทราบว่าบทความไหนเป็น GA ผมเสนอให้ใช้แบบอังกฤษ คือใส่ป้ายในหน้าพูดคุย ส่วนดาวพิเศษคงไม่ต้อง แล้วก็เห็นด้วยกับคุณ Bact ครับเดือนกุมภา และมีนาควรใช้หลักการเดิมไปก่อน เพื่อให้ GA เข้าที่กว่านี้ ผมเองกำลังคิดอยู่ว่า จะต้องมีการแต่งตั้งให้ใครเป็นคน review หรือเปล่า? แต่คงไม่ต้อง เดี๋ยวผมจะไปพยายามศึกษาแนวทางอังกฤษอีกที --Jutiphan | พูดคุย - 03:10, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ผมเองกำลังคิดว่า หากมี GA ขึ้นมาอาจควรมีการกำหนด limit บทความที่กำลังพิจารณาเช่นไม่เกิน 10 บทความ เพราะคิดว่า ผู้ที่คอย review แสดงความคิดเห็น และหลาย ๆ อย่างนั้นน้อยกว่า วิกิอังกฤษอย่างมาก และหากมีบทความเสนอเป็นจำนวนมากนั้น หากส่งผลกระทบตรงนี้ว่า บทความผ่าน GA อาจไม่ GA? เพราะว่า peer-review ไม่พอ? เดี๋ยวคงต้องค่อย ๆ ดูไปอะครับ --Jutiphan | พูดคุย - 03:14, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ผมคิดว่าควรจะมีการโหวตบทความที่ดีเหมือนกับบทความคัดสรรครับ โดยการได้รับเป็นบทความที่ดีน่าจะได้รับเสียงสนับสนุนจากผู้อื่นที่ลงคะแนนทั้งสนับสนุนและคัดค้านไม่น้อยกว่า 60% ภายในระยะเวลาที่กำหนดอาจจะเป็น 2 อาทิตย์ เป็นต้น ส่วนการแต่งตั้ง reviewer นั้นไม่สนับสนุนอย่างเต็มที่ เราควรดึงให้คนในวิกิมามีส่วนร่วมให้มากที่สุด ไม่ใช่ให้อำนาจหรือแต่งตั้งใครมานั่ง review การให้ชาววิกิมามีส่วนร่วมน่าจะเหมาะสมที่สุดครับ ส่วนการใส่ป้ายหรือติดดาวก็คงต้องเอามาดูกันอีกที เพราะที่หน้าพูดคุยบางอันก็มีติดป้ายของสถานีย่อยอยู่แล้ว ถ้าบทความนั้น ๆ อัพไปเป็น GA ป้ายหน้าพูดคุยก็จะเยอะเต็มไปหมด คงต้องหาทางออกที่ดีสักทาง ส่วนกำหนด ไม่เกิน 10 บทความนั้น เห็นด้วย --ScorpianPK 10:49, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ก็น่าสนใจ แต่ว่าขอคิดก่อนมาเสนอความเห็นเพิ่มเติมครับ --ธวัชชัย 12:06, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
โดยส่วนตัวไม่อยากให้กำหนดลิมิตจำนวนบทความในหลักเกณฑ์น่ะครับ เพราะว่า GA มันน่าจะเป็นบทความที่"ผ่านมาตรฐาน"ของวิกิพีเดีย ไม่ใช่การหา"บทความเด่น"แบบ FA อาจจะใช้การกำหนดในลักษณะว่า จะต้องมีคน review (ที่ไม่ได้เป็นผู้แก้ไขหลักของบทความนั้น) อย่างน้อย x คน นอกจากนี้ ผมคิดว่าน่าจะเป็นลักษณะของการอภิปราย มากกว่าการโหวตอย่างเดียวน่ะครับ คือมีเหตุผลว่า ทำไมถึงคิดว่าบทความนี้ดี หรือทำไมถึงคิดว่ายังไม่เหมาะสม และมีข้อควรปรับปรุงอย่างไร มากกว่าที่จะแค่ลงชื่อเห็นด้วยเฉย ๆ (ซึ่งก็อาจจะเป็นการจำกัดจำนวนบทความ เพราะคนคงไม่รีวิวทุกบทความอย่างรวดเร็ว แต่มันก็จะยืดหยุ่นกว่าจำกัดจำนวนบทความตรง ๆ) kinkkuananas 12:54, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ที่ผมเสนอการโหวตนั้น ผมเขียนไม่ค่อยชัดเจนอันนี้ต้องขอโทษครับ เพราะใจจริงผมเอารูปแบบมาจากการคัดเลือกผู้ดูแล คือ คุณจะสนับสนุน หรือคัดค้าน ควรจะมีเหตุผลรองรับ และแน่นอน จะต้องมีข้อเสนอแนะเหมือนใน FA ด้วย ส่วนที่บอกให้กำหนดจำนวนบทความนั้นเพราะอยากให้ทุกคนในวิกิช่วยกันเข้ามาพิจารณาแต่ละบทความอย่างทั่วถึง แล้วช่วยกันพิจารณาดู ถ้าบทความมันเยอะเกินไปก็อาจจะอ่านไม่ทั่วถึงครับอย่างที่คุณ Kinkku Ananas กล่าวไว้ เรื่องแบบนี้ตอนนี้คงพูดอะไรยากครับ คงต้องลองดูของจริงกันสักพักแล้วมาสรุปว่าเปนยังไง ส่วนกำหนดจำนวนคน review นั้นท่าจะเหมาะครับ (ในที่นี้ผมหมายถึง จำนวนผู้สนับสนุนนะครับ) แต่ในที่นี้ทุกคนในวิกิ คือ reviewer นะครับ ไม่ใช่แต่งตั้งให้คนโน่นคนนี้เป็น reviewer ทุกคนในวิกิควรมีสิทธิ์เท่าเทียบกันทุกอย่างต้องลองดูครับ แล้วมาสรุปผลกันอีก 2 หรือ 3 เดือนข้างหน้า ตอนนี้คุณ bact เริ่มร่าง วิกิพีเดีย:อะไรคือบทความคุณภาพ ขึ้นมาแล้วอยากให้ตามกันไปอ่านด้วยนะครับว่ามันเป็นยังไง มีอะไรต้องปรับปรุงหรือไม่--ScorpianPK 13:35, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ผมเองไปดูจาวิกิอังกฤษแล้วครับ ซึ่งบางส่วนน่าสนใจและน่านำมาใช้ คือในขั้นตอนบทความคุณภาพเขาจะมี ตามระดับสถานะคือ OnHold Pass Fail โดยหากมีเรื่องที่ควรแ้ก้ไข ก็ให้บทความอยู่ในสถานะ On Hold ก่อนจนกว่าได้รับการแก้ไข หรือไม่มีการตอบรับก็ตกไป ผมว่าถ้าเราทำ GA ควรจะมีแบบนี้ เพราะหากมีผู้แนะนำ และไม่มีการตอบรับการแก้ไข ก็ไม่ควรให้บทความผ่านไปเฉย ๆ แม้ว่าจะมีเสียงโหวตได้ระดับหนึ่งก็ตาม
ส่วนผมเองขอขยายความตอนแรก ผมเองเห็นด้วยที่ทุกคนควรช่วยกัน peer-review แสดงความคิดเห็น โดยใ้ช้สถานะ On Hold เพื่อให้ผู้เขียนได้แก้ไขบทความ ส่วนเรื่องป้ายเยอะในหน้าพูดคุย ไม่น่าจะมีปัญหาครับ ซึ่งอยากเลี่ยงหน้าบทความ เพราะปกติก็มีไอคอน ดาวอะไรต่าง ๆ ในหน้าบทความอยู่แล้ว --Jutiphan | พูดคุย - 13:49, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ผมก็ไม่เห็นด้วยกับการตั้ง reviewer เฉพาะครับ ส่วนเรื่องการจำกัดจำนวนบทความ เข้าใจว่า เพื่อให้การให้สถานะไม่เร็วและรีบร้อนจนเกินไป แต่มันออกจะขัดกับหลักการเริ่มต้นที่เราต้องการ"บทความที่ดี"หรือเปล่าครับ นอกจากนี้ มันยังเหมือนกับต้องมาแข่งขันกัน ถ้ามีบทความที่เสนอเยอะ ๆ ถ้าให้ลองเสนอดู อาจจะเป็นว่า หน้าที่เสนอบทความ ให้ใส่บทความใหม่ด้านล่างลงไปเรื่อย ๆ แล้วก็เขียนแนะนำให้ผู้ review ให้ความสำคัญกับบทความด้านบนก่อน ถ้าผ่านเกณฑ์การรีวิว ก็จะได้สถานะ GA ถ้าผ่านไป x สัปดาห์แล้วยังไม่ผ่าน (เช่น ไม่มีการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ) ก็จะตกไปเป็น failed candidate อะไรแบบนี้ kinkkuananas 15:03, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
(1) เรื่องติดป้ายไว้ใน หน้าพูดคุยนี่ดีครับ เพราะคนที่เข้าหน้าพูดคุยก็จะเป็นกลุ่มคนที่แก้ไขวิกิพีเดีย หรืออย่างน้อยก็เป็นคนอ่านที่จะอ่านเพิ่มเติมจะได้รู้ว่าบทความดีเป็นอย่างไร ส่วนตัวแล้วไม่อยากให้ติดอะไรในหน้าหลักนะครับ (ตอนนี้เริ่มมีเยอะ) อยากให้หน้าหลักเป็นอะไรที่เรียบง่าย (2) ส่วนเรื่องความยาวบทความที่คุณ Patiwat ได้กล่าวไว้ อันนี้อาจจะต้องมาปรับเปลี่ยนกันนิดหน่อย เพราะตัวอักษรไทย กับอักษรอังกฤษ รู้สึกว่าจะเก็บที่ขนาดไบต์ต่างกัน ไม่แน่ใจว่า 1:3 หรือเปล่า (3) ส่วนเรื่องคนตรวจสอบหรือรีวิวเวอร์นี้ ก็ต้องว่ากันต่อไปครับ เพราะเคยมีปัญหาในวิกิอังกฤษเหมือนกันเรื่องนี้ เพราะรีวิวเวอร์บางส่วนแทนที่จะตรวจสอบและแนะนำให้ปรับปรุง กลายเป็นว่าปรับปรุงเองเลย ทำให้บทความเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นคนละแบบจากก่อนและหลังรีวิวก็มีเยอะเหมือนกัน เพราะคนรีวิวอยากให้เป็นเหมือนรูปแบบที่เขาเขียนประจำครับ --Manop | พูดคุย - 18:23, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
On Hold, Pass, Fail แบบที่คุณ Jutiphan อธิบายมา ฟังดูดีครับ / ไม่เห็นด้วยกับการมีผู้ตรวจทานโดยเฉพาะ น่าจะให้เป็นใครก็ได้ (แล้วก็ว่ากันไปตามเกณฑ์ของ GA) -- bact' คุย 18:48, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
  • ขอออกความเห็นเกี่ยวกับการโหวด หลักพื้นฐาน ของ wikipedia คือ consensus. Consensus ไม่ได้หมายถึง ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่. Consensus หมายถึง ความสอดคล้องกัน หรือ ความลงรอยกัน. wikipedia ไม่ใช่ประชาธิปไตย (ดู Wikipedia is not a majoritarian democracy หรือ en:Wikipedia:Consensus#Consensus vs. supermajority) ถ้่า 80% ของคนที่ออกเสียงบอกว่า OK ที่จะโปรโมตเป็น GA แต่ 20% ของคนบอกว่าต้องข้ามศพเขาก่อน เพราะ ก ข ค ผมว่า บทความนั้นยังไม่ควรถูกโปรโมต On hold ไว้ก่อนจะดีกว่า ในทางปฏิบัต ในen.wikipedia ผู้ตัดสินใจว่าควรโปรโมตFA หรือไม่คือเผด็จการ en:User:Raul654. Patiwat 23:23, 28 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
การโหวตนั้นไม่ใช่การมัดมือชกนะครับ ทุกสิ่งทุกอย่างมันขึ้นกับเหตุและผล คงจะไม่ดีแน่ถ้าโหวตแบบพวกมากลากไป ถึงได้พยายามกำหนดว่า คุณจะสนับสนุนหรือคัดค้านนั้น ควรจะมีเหตุและผลประกอบ แต่ถ้าข้อเสนอแนะของ 20% ที่คุณ Patawat กล่าวนั้น มีเหตุและมีผล ก็สมควร On hold แต่ถ้าไม่มีเหตุไม่มีผล มันสมควรจะ On hold ไว้หรือเปล่า อันนี้ก็ต้องมานั่งดูกัน ไม่มีระบอบใดสมบูรณ์แบบที่สุดหรอกครับ วิกิอังกฤษก็เป็นสังคมในรูปแบบหนึ่งซึ่งเราสามารถดึงข้อดีของเขามาใช้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ที่นี่วิกิไทยครับ สังคมอีกรูปแบบหนึ่ง การจะสร้าง จะทำอะไร มันก็คงต้องทดลองดูกันสักพัก แล้วปรับเปลี่ยนแก้ไขไปเรื่อย ๆ ครับ --ScorpianPK 02:12, 1 มีนาคม 2007 (UTC)
ความเห็นผม ผมอยากให้เป็นการโหวต ซึ่งสามารถโหวตได้ทุกคน กำหนดเวลาอาจจะเป็น 2-3 อาทิตย์ และไม่จำกัดจำนวนบทความที่เสนอเป็น GA ครับ -- Lerdsuwa 06:43, 1 มีนาคม 2007 (UTC)
เห็นด้วยกับเรื่อง consensus (ความลงรอย/สอดคล้องกัน) ครับ เพราะน่าจะทำให้เกิดการพัฒนาของบทความได้ดี (มีการอภิปราย ชี้แจง เสนอแนะ) - แต่ อย่างที่คุณ ScorpianPK ว่า ก็ต้องดูเหตุผลด้วยว่าเหมาะสมไหม - ถึงจะแค่ 1% ไม่เห็นด้วย แต่มีเหตุผลหนักแน่นชัดเจน และไม่มีใครใน 99% ที่เหลือสามารถชี้แจงหรือแก้ไขให้ตกลงไปได้ ผมก็ว่าน่าจะ on hold ไว้ -- bact' คุย 13:17, 1 มีนาคม 2007 (UTC)

update ประเด็น

  • รูปแบบในการคัดเลือกบทความที่ดีควรจะเป็นอย่างไร
    • โหวตจากทุกคนในวิกิ แล้วกำหนดจำนวนผู้สนับสนุนว่าควรมีกี่คนขึ้นไป พร้อมเหตุผลใรการสนับสนุนหรือคัดค้าน
    • แต่งตั้ง reviewer จำนวนหนึ่งมาทำหน้าที่
    • กำหนดรูปแบบเป็น On Hold, Pass และ Fail สำหรับขั้นตอนการคัดเลือก
  • สมควรจำกัดการเสนอจำนวนบทความหรือไม่
    • กำหนดจำนวนบทความที่เสนอเข้ามา
    • ไม่กำหนดจำนวน แต่เสนอแนะให้พิจารณาบทความที่ถูกเสนอชื่ออันดับต้น ๆ ก่อน
  • ความสั้น-ยาวของบทความมีผลต่อการเป็นบทความที่ดีหรือไม่
    • มีผล
    • ไม่มีผล
  • การแสดงสัญลักษณ์ความเป็น "บทความที่ดี"
    • แสดงไว้ที่หน้าพูดคุยของบทความนั้น ๆ
    • ติดสัญลักษณ์แสดงการเป็นบทความที่ดีที่หน้าหลักของบทความนั้น ๆ
  • ควรกำหนดหลักเกณฑ์ว่า "บทความคัดสรร" ต้องมาจาก "บทความที่ดี" หรือไม่
    • ควร
    • ไม่ควร

หลังจากได้อภิปรายกันมาสักระยะแล้วจึงขอ update ความคิดเห็นนะครับ อย่างไรก็ตาม การอภิปรายและเสนอข้อเสนอแนะก็ยังคงสามารถทำได้อยู่ต่อไปครับ ขอขอบคุณความร่วมมือจากทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วยครับ --ScorpianPK 04:50, 3 มีนาคม 2007 (UTC)

  • จาก update ประเด็น (ด้านบน) : "โหวตจากทุกคนในวิกิ แล้วกำหนดจำนวนผู้สนับสนุนว่าควรมีกี่คนขึ้นไป พร้อมเหตุผลใรการสนับสนุนหรือคัดค้าน"
    • นับเสียง ? + สนับสนุนเกินร้อยละเท่าไร ?
    • concensus ?
    • จาก วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ#เกณฑ์ในการพิจารณา : "บทความที่ได้รับการสนับสนุนมากกว่า 10 คน (ประมาณ 0.05% ของจำนวนผู้ลงทะเบียนในวิกิ) และ ได้ถูกปรับแก้จากข้อเสนอแนะของผู้ลงความเห็นคนอื่น"

-- bact' คุย 04:47, 4 มีนาคม 2007 (UTC)

รุ่นทดลอง

เริ่มโครงหน้าพวกนี้ไว้นะครับ เป็นตุ๊กตา เชิญปรับแก้กันได้เลยครับ

-- bact' คุย 18:15, 2 มีนาคม 2007 (UTC)

ผมว่าในระยะแรกเริ่ม น่าจะเอา คุณสมบัติของ GA มาไว้ที่หน้าของ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ ไปก่อนจะดีไหมครับ เพื่อจะได้เป็นการอำนวยความสะดวกแก้ผู้มาเสนอชื่อ GA ไม่ต้องคลิกหลายรอบ แล้วก็สัญลักษณ์ต่าง ๆ ของ On Hold, Pass และ Fail นั้นยึดรูปสัญลักษณ์ของวิกิอังกฤษไปก่อนจะดีไหมครับ ส่วนการอภิปรายบทความแต่ละบทความนั้น น่าจะทำแบบบทความคัดสรรไปก่อนหรือเปล่าครับ คือ อภิปรายกันในหน้า วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ ไปเลย และถ้าการอภิปรายบทความที่ถูกเสนอเยอะมาก ค่อยทำหน้าแยกไปหรือเก็บเข้ากรุไปเลย จะดีกว่ามั้งครับ --ScorpianPK 18:46, 2 มีนาคม 2007 (UTC)
ตอนนี้ลองสร้างหน้าโครงการขึ้นมา อาจจะต้องมีการร่วมผลักดันในระยะแรกหน่อยครับ โดยขยายความต่อจากที่คุณ Bact ได้เริ่มไว้ และก็ไอเดียจากคุณ ScorpianPK ฝากทุกคนร่วมแสดงความเห็น ร่วมออกความเห็นครับ ที่หน้า วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ หรือชื่อสั้น ๆ ว่า WP:GA --Manop | พูดคุย - 00:04, 3 มีนาคม 2007 (UTC)
เราจะกำหนดเวลาสรุปผลไหมครับ --ธวัชชัย 13:48, 3 มีนาคม 2007 (UTC)
1-2 เดือนหลังจากนี้จะมีการสรุปผลครับ ว่ามีอะไรต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ^_^ --ScorpianPK 14:09, 4 มีนาคม 2007 (UTC)

การแปลกลุ่มชื่อ (namespace translation request)

ผมได้ทำการแจ้งบั๊ก เรื่องการแปลกลุ่มชื่อเป็นภาษาไทย สำหรับที่ยังไม่ได้ถูกแปล และการดำเนินการดังกล่าว ต้องการความเห็นจากชาววิกิพีเดียโดยรวมครับ เพื่อช่วยตัดสินใจและตกลง เพราะการเปลี่ยนแปลงมีผลต่อวิกิพีเดียไทยทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันได้มีการใช้ชื่อเนมสเปซไทยไปบ้างแล้วอย่างเช่น วิกิพีเดีย: หรือ สถานีย่อย: ในทางที่จริงนั้นหน้าดังกล่าวถือเป็นบทความ ซึ่งผมคิดว่าเราควรทำการแปลให้เป็นชื่อไทยจริง ๆ เหมือนวิกิภาษาอื่น ๆ ครับ

สำหรับกลุ่มชื่อวิกิพีเดีย

ซึ่งผมได้ทำการเสนอให้เปลี่ยน:

  • Wikipedia -> วิกิพีเดีย
  • คุยเรื่องWikipedia -> คุยเรื่องโครงการ
  • project page -> หน้าโครงการ
ความคิดเห็นในการเปลี่ยนกลุ่มชื่อ วิกิพีเดีย
  • รู้สึกว่า คุยเรื่องWikipedia -> คุยเรื่องโครงการ ดูแล้วมันขัด ๆ ครับ ส่วนอันอื่นโอเคครับ -- Lerdsuwa 15:52, 13 มีนาคม 2007 (UTC)
อธิบายเพิ่มเติมจากด้านบนนะครับ คำว่า Wikipedia/ วิกิพีเดีย จะใช้ตรงชื่อหัวข้อ เช่น "วิกิพีเดีย:__" หรือ "Wikipedia:__" ส่วน อีกสองตัวจะปรากฏตรงขอบซ้ายบนของแต่ละหน้าครับ (ตอนนี้เป็นคำว่า "บทความ" เพราะยังไม่ได้เปลี่ยน) ลองดูตัวอย่างได้ที่หน้า วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/จิปาถะ และ คุยเรื่องWikipedia:ปุจฉา-วิสัชนา/จิปาถะ ส่วนชื่อผมว่า "หน้าโครงการ" ใช้สั้น ๆ แค่คำว่า "โครงการ" ดีไหมครับ ส่วน คุยเรื่องWikipedia ยังคิดไม่ออกว่าควรใช้คำอะไรดี "คุยเรื่องวิกิพีเดีย" ? --Manop | พูดคุย - 16:59, 13 มีนาคม 2007 (UTC)
คิดเหมือนกับคุณ Lerdsuwa ครับ คุยเรื่องWikipedia -> คุยเรื่องโครงการ ดูแล้วมันขัด ๆ ครับ ส่วนอันอื่นโอเคครับ แต่ project page -> โครงการ แบบคุณ Manop กล่าวก็ได้ครับ ไม่มีปัญหา--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 17:10, 13 มีนาคม 2007 (UTC)
เอาตามเสนอครับ แต่ คุยเรื่องWikipedia น่าจะเป็น คุยเรื่องวิกิพีเดีย ถ้าเข้าใจว่าวิกิพีเดียคือชื่อโครงการ ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหา --Pi@k 03:29, 19 มีนาคม 2007 (UTC)
อัปเดตความคิดเห็นด้านบน

สรุปย่อ update ตามนี้นะครับ:

  • Wikipedia -> วิกิพีเดีย
  • คุยเรื่องWikipedia -> คุยเรื่องวิกิพีเดีย
  • project page -> โครงการ
อัปเดตการเปลี่ยนแปลงล่าสุด

ขณะนี้ทางผู้พัฒนาได้ทำการเปลี่ยนกลุ่มชื่อ Wikipedia ไปเป็นวิกิพีเดียเรียบร้อยแล้วนะครับ โดยผมได้ทำการแก้ไขหน้าที่มีปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงที่แก้อัตโนมัติไม่ได้ (คือมีทั้งหน้า Wikipedia และ วิกิพีเดีย ระบบไม่รู้ว่าหน้าไหนควรใช้จริง) รวมถึงผมได้สั่งให้บอตทำการแก้ไข แม่แบบ:วิกิพีเดีย: -> วิกิพีเดีย: และขณะนี้บอตกำลังรันแก้ไข พูดคุย:วิกิพีเดีย -> คุยเรื่องวิกิพีเดีย: ซึ่งน่าจะแล้วเสร็จเร็ว ๆ นี้ครับผม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจมีผลกระทบอื่น ๆ ที่ต้องแก้ด้วยมือเพิ่มเติม --Jutiphan | พูดคุย - 20:43, 5 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ผมเองดันไปลบ redirect ลิงก์สำหรับหน้าพูดคุย:วิกิพีเดียไป (เกือบ) หมด ลืมนึกถึงหน้าพูดคุย ลิงก์ต่าง ๆ เก่า ๆ ที่มีลิงก์ไปหน้าพูดคุย ขออภัยด้วย เดี๋ยวผมสั่งให้บอตรันบางส่วนลองแก้ลิงก์ให้ดูนะครับผม --Jutiphan | พูดคุย - 18:28, 6 พฤษภาคม 2007 (UTC)

สำหรับกลุ่มชื่อ Portal

ปัจจุบันนี้วิกิพีเดียไทยได้ใช้ สถานีย่อย ซึ่งต้องการความคิดเห็นด้วยรวมครับว่า จะเปลี่ยนไปใช้ สถานีย่อย หรือทับศัพท์ หรือใช้ชื่ออื่น ผมขอยกตัวอย่างหลัก ๆ เช่น (ไม่เรียงลำดับความสำคัญ)

  • สถานีย่อย:
  • สถานี:
  • พอร์ทอล:
ความคิดเห็นในการเปลี่ยนกลุ่มชื่อ Portal

สำหรับรายละเอียดบั๊กดูได้ที่นี่: http://bugzilla.wikipedia.org/show_bug.cgi?id=9232 ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง คงต้องมีการเปลี่ยนชื่อครั้งใหญ่ ซึ่งผมจะให้บอตคุงทำการเปลี่ยนชื่อบทความไปยังกลุ่มชื่อที่เหมาะสมครับ --Jutiphan | พูดคุย - 03:48, 13 มีนาคม 2007 (UTC)

ถ้าใช้คำว่า "ห้อง" หรือไม่ก็ "ซุ้ม" จะประหลาดไปไหมครับ เคยคิดว่า "สถานีย่อย" แล้วสถานีใหญ่ไม่มี --Manop | พูดคุย - 16:34, 13 มีนาคม 2007 (UTC)
ผมก็ว่าสถานีย่อยครับ Mda 15:40, 114 มีนาคม 2007 (UTC)

คิดว่าอาจจะใช้ "มุม" เช่น มุมประเทศไทย มุมคณิตศาสตร์ มุมศาสนา ฯลฯ แต่ถ้าส่วนใหญ่เห็นว่าสถานีย่อยตามเดิมก็โอเคครับ --Pi@k 03:29, 19 มีนาคม 2007 (UTC)

เนื่องจากว่ามีตัวเลือกเพิ่มขึ้นมา อย่าง

  • ห้อง:
  • มุม:
  • ซุ้ม:

เผื่อว่าจะมีความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ ไม่ว่าชื่อไหนผลกระทบก็เหมือนกันนะครับ --Jutiphan | พูดคุย - 01:15, 24 มีนาคม 2007 (UTC)

"มุม" หรือ "ห้อง" ก็น่ารักดีนะ สั้น ๆ ดีด้วย - เลือก "มุม" แล้วกัน -- bact' 07:03, 24 เมษายน 2007 (UTC)

เปลี่ยนตัวเอียงให้เป็นตัวตรง

อยากอ้อนวอนขอให้ทางนี้หาทางออกให้แก่ตัวเอียง อิตาลิค ที่อ่านยาก และตัวเล็กมาก (ลองหลายคอมพิวเตอร์แล้ว) ถ้าเปลี่ยนเป็นตัวธรรมดา ตัวจางกว่า หรือสีอื่น หรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่ได้หรือ? เพราะภาษาไทยอ่านยาก ขนาดของอังกฤษก็อ่านยากจะแย่อยู่แล้ว --Danieliness 14:32, 26 มีนาคม 2007 (UTC)

มันขึ้นอยู่กับการตั้งค่าฟอนต์ในเบราว์เซอร์ และการตั้งค่า ClearType บนหน้าจอของแต่ละเครื่องที่ไม่เหมือนกัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวิกิ --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 03:56, 28 มีนาคม 2007 (UTC)

ครับผมว่าอ่านยากเหมือนกันครับ ของผมเป็นหมดยกเว้น IE7 ที่ไม่มีปัญหา และก็อีกเรื่องที่ภาษาไทยนั้นก็ไม่ได้มีการใช้ตัวเอียงบ่อยเหมือนภาษาอังกฤษครับ เห็นว่ามีช่วงนึงมีผู้ใช้ที่พยายามผลักดันการตั้งชื่อ หนังสือ กับชื่อเพลงให้ใช้ตัวเองเหมือนภาษาอังกฤษ แต่ท่าทางยังไม่สำเร็จ ตอนนี้ก็เลยมีตัวเอียงบ้างนิดหน่อยครับ --Manop | พูดคุย - 01:11, 3 เมษายน 2007 (UTC)
ขึ้นอยู่กับฟอนต์ ระบบปฏิบัติการ เบราว์เซอร์ที่ใช้ครับ ซึ่งหากเปิด ClearType นั้นทำให้การแสดงผลราบรื่นมากครับ (ผมใช้ IE7+ClearType ไม่มีปัญหาครับ (ClearType เปิดการใช้งานอัตโนมัติบน IE7) ) --Jutiphan | พูดคุย - 20:24, 7 เมษายน 2007 (UTC)

ลิงก์ไปภาษาอื่น

มีวิธีเช็คดูมั้ย ว่ามีบทความใหน ที่มีลิงก์ไปภาษาอื่น (ลิงก์สีฟ้าอ่อน) แต่ยังไม่ได้ติดป้าย {{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}. Patiwat 03:37, 28 มีนาคม 2007 (UTC)

ถ้าเช็คเป็นรายบทความก็สามารถใช้สคริปต์จัดให้ทำได้ โดยคลิกที่ "เก็บกวาด" ซึ่งจะใส่ป้ายโดยอัตโนมัติ สำหรับการทำงานของบอต ลองถาม ผู้ใช้:Jutiphan --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 03:50, 28 มีนาคม 2007 (UTC)

อย่างที่คุณ Octahedron80 แจ้งครับ ความสามารถนี้ได้มีในสคริปต์จัดให้ รวมในความสามารถเก็บกวาด ซึ่งอ่านความสามารถเก็บกวาดได้ทั้งหมดที่หน้าหลักสคริปต์จัดให้ครับ ส่วนบอตคุงนั้นได้มีความสามารถแจ้งลิงก์ข้ามในบทความเช่นกันครับ ระหว่างการทำงานเก็บกวาด ซึ่งดูได้ที่หน้าผู้ใช้บอตคุงสำหรับรายละเอียดการทำงาน เช่นกันครับ --Jutiphan | พูดคุย - 05:03, 28 มีนาคม 2007 (UTC)
  • ขอบคุณที่อธิบายครับ. Patiwat 20:12, 28 มีนาคม 2007 (UTC)

บทความคัดสรรที่นำกลับมาพิจารณาใหม่

สรุป

สรุปความเห็นด้านล่าง ไม่ได้ความเห็นที่แน่นอน แต่มีแนวโน้มที่จะนำกลับมาพิจารณาเพื่อให้คุณภาพของวิกิพีเดีย เพิ่มยิ่งขึ้น --Manop | พูดคุย - 21:41, 5 มิถุนายน 2007 (UTC)

เริ่มความเห็น

ขอบคุณทุกคนที่ออกความเห็นใน กระทู้ข้ิางต้น ถึงจะมีคนไม่เห็นด้วยกับคำว่า "ล้มเหลว" แต่ก็เห็นมีหลายคนที่ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังท้าทาย th.wikipedia และทุก ๆ wikipedia ถึงจะมีบทความดี ๆ ผุดขึ้นมาเรื่อย ๆ แต่ก็มีบทความที่ไม่มีคุณภาพผุดขึ้นมามากกว่า ทำให้ "มีน" (ค่าเฉลี่ย) ของ wikipedia ลดลงทุกวัน นี้ไม่ใช่ปัญหาของความพยายามหรือความมุ่งมั่น แต่เป็นปัญหาของ "ระบบ" ของ th.wikipedia ดังนั้น อยากให้ช่วยพิจารณา ถึงข้อเสนอข้ิางล่าง

  • ทำไมควรทำ: "บทความคัดสรร" คือ บทความ "ตัวอย่างสำหรับผู้เขียนและผู้อ่าน" แต่ wikipedia ไม่สามารถปกป้องคุณภาำพของบทความได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากใคร ๆ ก็สามารถแก้เมื่อไหร่ก็ได้ ส่วนจะแก้บทความที่หมดความเป็นบทความคัดสรร ให้กลายเป็นบทความคัดสรรอีก ก็ไม่ใช่เรื่ิองกล้วย ๆ ทำได้ด้วยตัวเอง ถ้าบทความคัดสรร ไปเบี่ยงเบนจาก เงื่ิอนไขการเป็นบทความคัดสรร ก็ควรมีการถอดความเป็น "บทความตัวอย่าง"
  • ต้องทำอะไรบ้ิาง:ยากหน่อย เพราะหน้าบทความคัดสรร ไม่ได้เป็นหน้าอัตโนมัติ ถ้าจะลบ จะต้องลบด้วยมือ และสร้าง section "บทความที่หมดความเป็นบทความคัดสรร" จะต้องมีการ สร้าง {{แม่แบบ:หมดความเป็นบทความคัดสรร}} และ [[หมวดหมู่:บทความที่หมดความเป็นบทความคัดสรร]] ด้วย
  • ควรมีวิธีเสนอ/ประเมิน บทความคัดสรร ที่ไม่ได้มีข้อจำกัดว่า มีได้แค่เดือนละบทความ
  • ทำไมควรทำ: มีคนอ้างว่ามีบทความคุณภาพจำนวนมาก ที่ไม่ได้มีป้ายบทความคัดสรร บทความพวกนี้น่าจะถูก recognize จะได้มีบทความตัวอย่าง ให้ผู้อ่านผู้ใช้ได้เห็นกัน
  • ต้องทำอะไรบ้ิาง: ไม่ยากเลย ในการหยั่งเสียงในหน้า บทความคัดสรร ก็ให้เลือกได้มากกว่าหนึ่งบทความต่อเดือน

- Patiwat 22:02, 20 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)


เห็นด้วยกับเรื่องบทความตัวอย่างนะครับ ถ้ามีรวบรวมเป็นกลุ่มไว้ก็จะมีประโยชน์เวลาคนเขียนใหม่ (และคนเขียนเก่า) เอาไว้อ้างอิงว่า บทความ"ที่ดี" ต้องเป็นอย่างไร ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อคนเขียนใหม่และทางระบบในภาพรวมแน่นอน และเราสามารถเอาลิงก์เหล่านี้ไปใส่ไว้ในป้ายต่าง ๆ ไม่ว่า {{ช่วยดูหน่อย}} {{ตรวจแก้รูปแบบ}} {{ไม่เป็นสารานุกรม}} และอื่น ๆ เพื่อให้คนเขียนใหม่ และคนที่จะเข้ามาอ่านใหม่ สามารถเข้าใจได้ว่าบทความในวิกิพีเดียควรจะเป็นรูปแบบไหน ส่วนผู้ตรวจสอบก็ไม่จำเป็นต้องไปแก้ ไปย้อนอะไรที่ผิดพลาดบ่อยได้ครับ ซึ่งสามารถทำให้เอาเวลาไปต่อสู้กับพวกก่อกวนจริง ๆ แทนได้
ปัญหาที่คาดว่าจะตามมาก็คือว่า ใครจะเป็นคนทำครับ เพราะว่ามีหลายโครงการเหมือนกันที่เสนอมาแล้วก็เงียบ ถ้าโครงการไม่น่าสนใจพอ เพราะไม่งั้นก็จะเป็นข้อเสนอเหมือนหลาย ๆ ตัวที่ผ่านมาครับ
ส่วน "บทความที่หมดความคัดสรร" ผมว่าชื่อมันค่อนข้างหดหู่นะครับ น่าจะใช้ชื่ออื่น--Manop | พูดคุย - 00:57, 21 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
  • ทำเีรียบร้อยแล้ว:
  • สร้าง แม่แบบ:{{หมดความเป็นบทความคัดสรร}}
  • สร้าง [[หมวดหมู่:หมดความเป็นบทความคัดสรร]]
  • สร้าง แม่แบบ{{คุยเรื่องบทความที่หมดความเป็นบทความคัดสรร}}
  • ใส่ลิงก์ไป บทความคัดสรร ใน {{ช่วยดูหน่อย}} {{ตรวจแก้รูปแบบ}} {{ไม่เป็นสารานุกรม}} และ {{ต้องการอ้างอิง}}
- Patiwat 06:03, 21 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ผมขอพูดจากใจจริงในเรื่องนี้ เพราะเชื่อว่า คงน้อยคนมากที่จะไปแจ้งบทความ หมดความคัดสรร (ทุกคนไม่ใช่ Patiwat) ซึ่งผมเองถ้ามีจริง ๆ ก็อยากจะเสนอดังนี้ โดยบทความที่คุณคิดว่า ไม่เข้าขั้นมาตรฐาน ให้แจ้งที่หน้าใดสักหน้า อาจเป็นหน้าใหม่ และที่หน้าพูดคุยของบทความ ว่าบทความนี้ต้องการปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้รักษาไว้เป็นบทความคัดสรรเหมือนเดิม โดยหลักจาก 2 อาทิตย์แล้วหากพบว่า บทความยังไม่ถึงขึ้น จึงค่อยปลดสถานะออก ขั้นตอนนี้ จะช่วยให้สามารถช่วยให้มีเวลาในการแก้ไขบทความกลับมาเป็นบทความคัดสรรเหมือนเดิม และลดความไม่พอใจ เพื่อให้ผู้เขียนไม่เสียความรู้สึุกว่า อะไร ๆ อยู่ดี ๆ ก็ปลดจากบทความคัดสรรซะงั้น แล้วไหนกว่าจะเสียเวลาเพื่อให้เป็นบทความคัดสรรอีก --Jutiphan | พูดคุย - 16:59, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
  • OK. Patiwat 17:16, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

update ประเด็น ณ ขณะนี้

  • ควรมีวิธี / ขั้นตอนสำหรับ ถอดความเป็น บทความคัดสรร ในกรณีที่บทความไปเบี่ยงเบนจาก เงื่ิอนไขการเป็นบทความคัดสรร
    • ควรถอดบทความคัดสรร
      • เสนอชื่อ แล้วรอการแก้ไขปรับปรุงภายใน 2 อาทิตย์ ถ้ายังไม่มีการปรับปรุงจึงปลดสถานะบทความคัดสรรออก
    • ไม่ควรถอดความเป็นบทความคัดสรร แต่จดทำเป็นการขอความร่วมมือพิเศษในการช่วยกันปรับปรุงบทความนั้น ๆ
    • ทั้งสองอย่าง ร่วมมือพิเศษ/รอการแก้ไขปรับปรุงภายใน 2 อาทิตย์ และหากผ่านไปแล้วยังไม่ถึงขั้นตามบทความคัดสรร ก็ควรย้ายสถานะออก
  • บทความคัดสรรควรมีมากกว่า 1 บทความต่อเดือนหรือไม่
    • ควร
    • ไม่ควร
ความเห็นส่วนตัว คือ บทความคัดสรรในระยะแรกนั้นน่าจะมาจากการแต่งตั้งนะครับ อาจจะเพราะว่าพึ่งเริ่ม บทความยังไม่หลากหลายเท่าไหร่ ดังนั้น จึงสมควรที่จะปรับปรุงให้บทความมันดีขึ้นเพื่อรักษาความเป็นบทความคัดสรรเอาไว้ แต่ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการปลดบทความคัดสรรครับ น่าจะทำเป็นสัญลักษณ์อะไรบางอย่างไว้เพื่อบอกว่า เป็นบทความคัดสรรที่กำลังปรังปรุงอยู่ เช่น บทความคัดสรรจะใช้ดาวทองเป็นสัญลักษณ์ บทความคัดสรรที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงอาจจะใช้เป็นดาวแดงก็ได้ครับ ถ้าถามว่าใครจะแก้ ก็คงต้องรอให้คนมาแก้ แต่อย่างน้อยเราก็ทำสัญลักษณ์เพื่อบอกว่ากำลังปรับปรุงคงไม่มีใครว่าอะไร ส่วนบทความคัดสรรควรมีมากกว่า 1 บทความต่อเดือนหรือไม่ ตอนนี้แค่บทความคุณภาพยังไม่มีหลุดออกมาสักบทความ ดังนั้น บทความคัดสรรก็ไม่น่าจะหลุดมามากกว่า 1 บทความต่อเดือนครับ คงต้องใช้เวลาในการตั้งสินใจครับ ตอนนี้ด้วยอะไรหลาย ๆ อย่างคงยากที่จะให้มีมากกว่า 1 ต่อเดือนครับ -- ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 07:30, 5 มีนาคม 2007 (UTC)
โครงการบทความคัดสรร ผมว่าตอนนี้แนวทางเริ่มฉีกไปอีกแนวนึงแล้วนะครับ จากที่เริ่มต้นบทความคัดสรรเกิดจากการที่ผลักดันให้คนเขียนบทความในวิกิ แข่งขันกันเพื่อให้เกิดมาตรฐานที่ดีขึ้น โดยเลือกเป็นบทความคัดสรรที่จะปรากฏในหน้าแรกของเว็บ ซึ่งบทความคัดสรรนี้ก็จะมีประโยชน์ต่อไปเป็นหน้าที่ใช้อ้างอิงสำหรับเรื่องอื่นได้ แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นว่า "คนเขียน" ที่จะเขียนเรื่องและเสนอเป็นบทความคัดสรรเองก็ไม่มีหรือน้อยลง ขณะเดียวกันที่คนที่จะอ่านและเลือกบทความของคนอื่นมาก็ไม่มี ไป ๆ มา ๆ มันจะกลายเป็นเหมือนร้านอาหารที่ไม่มีพ่อครัวแม่ครัว มีแต่พนักงานเสิร์ฟกับนักชิมเต็มร้านนะครับ เลยไม่รู้ว่าอีกหน่อยจะเปลี่ยนจากรายเดือนเป็นรายสองเดือนหรือรายปีหรือเปล่า--Manop | พูดคุย - 18:40, 6 มีนาคม 2007 (UTC)
สรุปการปรับปรุงบทความคัดสรรใหม่ เมื่อผ่านไปสักระยะเวลาหนึ่งนั้น หากบทความคัดสรรไม่มีการปรับปรุงให้เข้าตามมาตรฐานบทความคัดสรร ก็ควรปลดออกครับ โดยมีระยะเวลาช่วงนั้น ไม่ว่าใครก็สามารถแก้ไข เสนอแนะ เพื่อให้กลับเข้าเป็นบทความคัดสรได้เหมือนเดิม และอย่างไรก็ตามเมื่อตกไปแล้ว ก็สามารถนำมาเสนอใหม่ได้อีกในครั้งต่อ ๆ ไป เมื่อพร้อมหรือต้องการ แต่ไม่อยากให้ปล่อยทิ้งไว้ เพราะว่าอยากให้ผู้ใช้ใหม่ ผู้อ่านนั้นได้รับภาพด้านบวกว่าบทความคัดสรร คือบทความที่ได้รับการคัดเลือก และดีที่สุดจริง ๆ โดยบทความคัดสรรเหมือนเป็นภาพที่แสดงออกมา ให้ผู้ใช้ต่าง ๆ เห็นว่าวิกิพีเดียไทย บทความเยี่ยมที่สุด ดีที่สุดเป็นแบบไหน ขนาดไหน ซึ่งระยะเวลาคาดว่า 2 อาทิตย์น่าจะเหมาะสมครับ และตัวเลขคล้องกับบทความคุณภาพดี --Jutiphan | พูดคุย - 16:03, 13 เมษายน 2007 (UTC)
โปรดทราบ : กรุณาหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า "สรุป" โดยอาศัยความคิดเห็นของคุณเพียงคนเดียวนะครับ ประเด็นนี้ต้องการให้ชาววิกิพีเดียมามีส่วนร่วมมากที่สุดนะครับ ไม่ใช่ให้ใครคนใดคนหนึ่งมานั่งสรุปเอาเองนะครับ กรุณาเคารพความคิดเห็นคนอื่นสักนิดครับผม ขอบคุณ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 16:10, 13 เมษายน 2007 (UTC)
เรื่องนี้ เคยได้มีการพูดคุยก่อนหน้านี้ไป 2 เดือนที่แล้วครับ ประเด็นนี้ก็เคยพูดคุยกันก่อนหน้านี้ไปแล้วครับ (ดูด้านบน) และผมต้องการ update เพื่อปิดเรื่องครับ หากมีความคิดเห็นเป็นอื่น หรือเพิ่มเติม ก็แสดงเพิ่มเติมครับ --Jutiphan | พูดคุย - 16:12, 13 เมษายน 2007 (UTC)
ผมก็ดึงเอาจากด้านบนลงมาด้านล่างนี่ล่ะ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแสดงความเห็นอีกรอบหนึ่ง โครงการทุกอย่างถ้ามีปัญหาก็สามารถนำกลับมาพิจารณาใหม่ได้นะครับ ไม่ใช่ถาวร แล้วมันสำคัญมากเหรอครับที่คุณต้องเป็นคนปิดเรื่อง ถ้าต้องการเดี๋ยวถ้าคุยกันเสร็จแล้ว ผมจะให้คุณปิดเรื่องแล้วกันนะครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 16:46, 13 เมษายน 2007 (UTC)
ผมว่าไม่ต้องถอดบทความคัดสรรหรอกครับ เอาอย่างที่ คุณสกอปิอัง พูดมาตอนแรกคือใส่สัญลักษณ์อะไรไว้น่าจะดีนะครับ ส่วนปัญหาที่ว่าจะมีใครทำหรือไม่ก็คงจะไม่เป็นไรหรอกครับ จำนวนของบทความคัดสรรนั้นยังไม่มาก คงไม่เหลือบ่ากว่าแรงหรอกครับ ส่วนที่เดือนละครั้งนั้นผมก็ว่าก็คงไว้เดือนละครั้งละกันครับ --Mda de Tailandia 10:50, 14 เมษายน 2007

เป็นลักษณะขอความร่วมมือก่อนแล้วกัน ให้มาช่วยดูหน่อย จะได้ไม่ต้องมีปัญหามาก โดยเฉพาะกรณีบทความที่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของสูง -- แต่ถ้าไม่ได้มีอะไรดีขึ้น ก็ปลดลงซะ -- ยังไงก็ต้องคงหลักเรื่อง "ถ้าไม่ถึงเกณฑ์ ก็ไม่มีสิทธิ์ได้รับ/ดำรงสถานะ" เอาไว้ให้ได้ ไม่งั้นก็ไม่รู้จะมีเกณฑ์เอาไว้ทำไม -- bact' 05:02, 14 เมษายน 2007 (UTC)

ส่วนเรื่อง "สรุป" คงต้องมีใครสักคนช่วย update เป็นพัก ๆ ล่ะครับ ไม่งั้นมันก็คุยไม่จบน่ะ ใครก็ได้ ช่วย ๆ กัน -- bact' 05:02, 14 เมษายน 2007 (UTC)

เห็นด้วยกับคุณ bact' ว่าเรื่องสำคัญคือ ต้องรักษาคุณภาพให้ได้ตามเกณฑ์ ซึ่งก็คงต้องเกิดจากการพัฒนาบทความเหล่านั้นให้ถึงตามเกณฑ์ปัจจุบัน หากมองว่าบทความคัดสรรเป็นเหมือนรางวัล ก็คงจะไม่ยุติธรรมที่จะไปปลดออก เพราะบทความเหล่านั้นก็เลือกตามเกณฑ์ขณะนั้น แต่ถ้ามองในแง่ว่าต้องเป็นบทความตัวอย่างได้ เราก็คงต้องรักษาทุกบทความคัดสรรให้มีคุณภาพที่เราต้องการในปัจจุบัน ผมว่าแนวทางที่เริ่มไว้ก็ดูจะเหมาะสม คือเสนอการปรับปรุงเพื่อเพิ่มคุณภาพให้เป็นไปตามเกณฑ์ปัจจุบัน หากไม่สามารถทำได้ ก็คงต้องทำอะไรให้รู้ว่า บทความนี้ไม่ใช่บทความคัดสรรตามมาตรฐานปัจจุบัน (ซึ่งก็อาจจะเป็นการเสียสถานภาพ) kinkkuananas 09:10, 14 เมษายน 2007 (UTC)

ตามความเห็นคุณ Kinkku Ananas อาจจะทำด้วยวิธีการถอดจากเป็นบทความคัดสรร แต่ยังคิดติดป้ายอันใหม่ไปแทนนะครับ เขียนข้อความประมาณว่า "บทความนี้เคยเป็นบทความคัดสรร คุณสามารถช่วยปรับปรุงบทความนี้ได้ โดยอาจจะอ้างอิงจาก รุ่น bbb (แล้วก็ทำลิงก์ไปให้คนอื่นอ่าน) เมื่อวันที่ aaa" ก็จะทำให้ผู้อ่าน (ที่ไม่ใช่คนเขียน) เข้าใจได้ และตามไปอ่านในรุ่นประวัติได้เช่นกัน ในขณะเดียวกันคนเขียนใหม่ก็สามารถอ้างอิงและเอาข้อมูลรวมถึงตัวอย่างมาใช้ได้ ส่วนคนเขียนเก่าถ้าใครอยากแก้คงนั่งไปไล่อ่านประวัติได้ครับ --Manop | พูดคุย - 15:48, 14 เมษายน 2007 (UTC)
ผมว่าบทความคัดสรรในอดีตน่าจะเอามาเสนอเป็นบทความคุณภาพ ถ้าผ่านเกณฑ์ได้เป็น GA ก็โอเค เพราะในปัจจุบันบทความคัดสรรก็ต้องมาจาก GA อยู่แล้ว ถ้าเกิดไม่ผ่านใน 2 สัปดาห์ ก็น่าจะปลดได้ -- ~パル~ 03:21, 16 เมษายน 2007 (UTC)
ปัญหาที่ควรคิด คือ ขอความร่วมมือ แล้วใครจะให้ความร่วมมือบ้าง ผู้เริ่มเขียนบทความอาจจะช่วย แล้วคนอื่นนี่จะมีคนมาช่วยไหม อาจจะเป็นเพราะไม่ใช่เรื่องที่ถนัดหรืออะไรก็แล้วแต่ ปลดบทความง่ายนิดเดียว แต่ขอความร่วมมือนี่ยากกว่าหลายเท่าแน่ ๆ และระยะเวลาที่ขอความร่วมมือนั้นควรเป็นเท่าไหร่ ไม่ควรเป็น 2 อาทิตย์เป็นแน่ บทความคั��สรรกว่าจะคัดใช้เวลาถึง 1 เดือนเป็นอย่างต่ำ แต่จะปลดโดยใช้เวลา 2 อาทิยต์นั้น คงจะไม่เหมาะสม เท่าที่ดูก็มีแววความเป็นไปได้สูงมากที่หลายบทความจะต้องตกไปตามกัน บทความคัดสรรบางอันผ่านการคัดเลือกมาจากชาววิกิจำนวนมาก ณ ช่วงเวลาและเงี่ยนไขในขณะนั้น ผมจึงไม่อยากให้ปลด มันเหมือนหน้าประวัติของวิกิพีเดียส่วนหนึ่งเหมือนกัน แต่อาจจะติดป้ายไว้ว่าเป็นบทความคัดสรรที่กำลังได้รับการปรับปรุง แบบนี้ก็น่าจะยังคงความเป็น FA และเป็นบทความที่ต้องได้รับการแก้ไขได้ไปในตัว --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 04:17, 19 เมษายน 2007 (UTC)
พอดีมองเห็นประเด็นอีกอย่างที่อาจจะก่อปัญหาระยะยาวด้วยอีกอย่างครับ อย่างในหน้าบทความคัดสรรตอนนี้ มีข้อเสนอแนะรปรับปรุงด้วย เลยสงสัยว่าถ้าบทความนั้นยังไม่ปรับปรุงตามข้อแนะนำที่อาจจะมีผลต่อการเป็น FA แต่ได้รับเสียงสนับสนุนให้เป็นบทความคัดสรรมากที่สุด บทความนั้นจะได้รับสถานะ FA หรือเปล่า ถ้าได้รับจะไม่ต้องเจอปัญหาการถูกถอดตามมาเหรอครับ แล้วจะมีวีธีแก้ไงปัญหานี้ยังไง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการถูกถอด FA เหมือนกันครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 04:34, 19 เมษายน 2007 (UTC)

ข้อเสนอเพิ่มเติม - การจัดหมวดหมู่

ดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร#งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙ ประกอบ

จากการที่ได้พูดคุยอย่างกว้างขวาง ในหัวข้อ เสนอบทความคัดสรรที่ควรปรับปรุงใหม่ ใน วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร กับคุณ ScorpianPK มาพอสมควร ขออนุญาตเข้ามานำเสนอประเด็นใหม่ สำหรับการพิจารณาบทความคัดสรร ดังต่อไปนี้ครับ

  • ผมขอเสนอให้ใช้ การจัดหมวดหมู่ เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในกลุ่มของบทความ ที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกัน และอนุโลมให้ใช้บทความนำเพียงบทความเดียว ในการเป็นบทความคัดสรร โดยอาศัยการอธิบายขยายความ เชื่อมโยงกับกลุ่มของบทความที่เกี่ยวข้อง ด้วยความละเอียดได้ใจความ (ร่วมกันกำหนดภายหลังได้) ไว้ในบทความนำ และถือเสมือนว่า แต่ละบทความที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงนั้น เป็นดังหัวข้อย่อยของบทความนำ
  • เหตุผล: เพื่อส่งเสริมให้ คุณภาพของบทความ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของบทความคัดสรร สามารถที่จะมีควบคู่ไปกับ ความสะดวกง่ายดายในการค้นคว้าหาข้อมูล และ เนื้อหาในแต่ละหน้าที่ไม่ยาวมาก จนสูญเสียซึ่งวัตถุประสงค์หลักของสารานุกรม ซึ่งก็คือการค้นหาข้อมูลได้ง่ายและสะดวก อย่างที่บอกไปนั่นเอง
ตัวอย่าง:

ขอฝากให้ช่วยกันพิจารณาด้วยครับ เพราะผมเชื่อว่า ผมก็รักที่นี่ไม่แพ้ทุกคนเหมือนกัน --Zenith Zealotry 16:00, 14 เมษายน 2007 (UTC)

  • ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอ หมวดหมู่บทความคัดสรร หน่วยพื้นฐานของวิกิพีเดียคือบทความ บทความที่ดีควรมีความสมบูรณ์ในตัวเอง ถ้าทุกบทความในหมวดหมู่ถูกพิจารณาแล้วว่าเป็นบทความคุณภาพ จะสร้างหมวดหมู่ใหม่ที่ชื่อว่า "หมวดหมู่คุณภาพ" ก็ไม่ว่า แต่ไม่ควรอ้างบทความอื่น ๆ ในการพิจารณาคุณภาพของบทความหลัก. Patiwat 19:15, 14 เมษายน 2007 (UTC)
  • ไม่ค่อยกล้าออกความเห็นเท่าไหร่ เพราะไม่เคยช่วยเขียนอะไรเกี่ยวกับบทความนี้เลย อย่าหาว่าดีแต่พูดเลยนะคะ (=/\=) แต่ก็คิดเหมือนกันว่าบทความที่ดีควรมีความสมบูรณ์ในตัวเอง ซึ่งในที่นี้หมายถึงควรจะสรุปเนื้อหาจากบทความที่ถูกแยกออกไปให้มากกว่านี้อีกนิด ให้มีความสมบูรณ์ "ในระดับหนึ่ง" เพื่อที่คนอ่านจะสามารถอ่านเข้าใจอย่างคร่าว ๆ ได้ในหน้าเดียว ไม่ยาวมากน่ะดี แต่สั้นเกินไปก็ไม่ดีมั้งคะ อีกอย่างเราว่าบางบทความที่ถูกแยกย่อยออกไปนั้นก็ไม่ได้ยาวมากเกินไป ส่วนของ 'การเตรียมงาน' (หากจะคงไว้) และ 'ตราสัญลักษณ์งาน' น่าจะยุบรวมเข้ากับบทความหลักได้นะ --Piggy 09:48, 15 เมษายน 2007 (UTC)

ขอเอามาแปะอีกที จาก วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร#งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙ (คุยหลายที่ งง - -")

เรื่องลักษณะบทความ-การแยกส่วนบทความออกไปเป็นอีกบทความ ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า:
  • เรากำลังเขียน "บทความ" ไม่ใช่ "สถานีย่อย" (portal)
  • การแยกส่วนบทความออกไปนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ และควรจะทำอย่างยิ่ง หากเนื้อหาในส่วนนั้นมีมาก
  • อย่างไรก็ตามการแยกส่วนออกไปนั้น จะต้องไม่ทำให้บทความอีกด้านต้อง "แหว่ง" ไป แต่ละส่วนของบทความนั้น ควรจะต้องมีเนื้อหาที่สมบูรณ์ในตัวเองอยู่
ตัวอย่างที่นึกออก ให้ลองดู "ประเทศไทย" ครับ
  • จะเห็นว่าหลายส่วนมีการโยงออกไปหาบทความเฉพาะ เช่น ประวัติศาสตร์ไทย ภาษาในประเทศไทย ศิลปะไทย
  • แต่แต่ละส่วนเอง ก็ยังมีเนื้อหาอยู่พอสมควร ทำให้ืทั้งบทความสามารถอ่านเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดได้ โดยไม่ต้องกดเข้าไปดูแต่ละบทความที่แยกไป
-- bact' 19:12, 14 เมษายน 2007 (UTC)

-- bact' 20:57, 15 เมษายน 2007 (UTC)

เนื้อหาแต่ละหน้าไม่ยาวมากนัก แปลว่ามันยังต้องมีเนื้อหาอยู่บ้างนะครับ kinkkuananas 11:45, 16 เมษายน 2007 (UTC)

กฎเกณฑ์สำหรับรูปประกอบซิกฯ

มีกฎเกณฑ์อะไรสำหรับรูปประกอบซิกฯมั้ย เห็นชาววิกิัไทยชอบใช้กันหลายคน ตัวอย่าง . Patiwat 18:59, 14 เมษายน 2007 (UTC)

ในวิกิพีเดียไทยไม่มีนะครับ ที่อื่นไม่ทราบเหมือนกัน ผมว่าก็โอเคนะ จะได้สังเกตง่ายว่าใคร แต่ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากให้รูปมันเล็ก ๆ หน่อย โดยเฉพาะความสูงเนี่ย บางทีมันดูรก ๆ - -" (ผมเองทนของตัวเองไม่ไหว ตัด "คุย" ออกจากลายเซ็นไปแล้ว) -- bact' 20:53, 15 เมษายน 2007 (UTC)
  • พอดีมีเวลาค้นหน่อย เลยเจอว่าใน en:Wikipedia:Signatures#Images เขียนว่า Images of any kind shall not be used in signatures. Many concerns have been raised over the use of images in signatures, and they are considered to serve no use to the encyclopedia project. Images in signatures shall not be used for several reasons: ... แล้วก็ให้เหตุผลเกือบสิบเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ควรใช้ภาพ. เหตุผลที่ bact' กล่าว (จะได้สังเกตง่ายว่าใคร) กลับถูกอ้างเป็นข้ิอเสีย เพราำะ images in signatures give undue prominence to a given user's contribution. Patiwat 05:22, 16 เมษายน 2007 (UTC)
ไม่ให้ใช้รูปก็ดีครับ แต่ถ้าจะให้ใช้ ก็ควรกำหนดขนาด โดยเฉพาะความสูงรูป เพราะบางรูปมันสูงบนทำให้บรรทัดห่างกันเกินปรกติ แต่ที่เด็ดกว่ารูป คือซิกของคุณ Portal ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นล้วน ๆ ไม่มีไทยหรืออังกฤษ มีตัวอย่างอยู่ข้างบน ไม่รู้ชาววิกิไทยซักกี่คนจะอ่านออกว่า ~パル~ คือ ผู้ใช้:Portal --Melanochromis 06:05, 16 เมษายน 2007 (UTC)
ถ้าคุณ Pat0wat หรือใครว่างก็ขอเชิญร่างนโยบายด้วยครับผม นโยบายข้อไหนไม่รู้กล่าวไว้ว่า "อย่าคาดหวังจะให้ทุกคนตามไปอ่านนโยบายภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น จีน เยอรมัน" ส่วนขนาดก็คงแล้วแต่ความเหมาะสมมั้งครับ เอาแค่เหมาะสม--Manop | พูดคุย - 06:10, 16 เมษายน 2007 (UTC)
  • ไม่อบังอาจฟันธงร่างนโยบาย โดนด่ามามากแล้วเรื่ิองนี้ วิกิไทยไม่ห้ามซิกรูปก็มีข้ิอดีเหมือนกัน ข้อความที่ผมเขียนจะได้ดูเด่นดูดี จะเป็นการส่งเสริมความเป็นชุมชนได้อีกทาง (ใครเห็นข้อเขียน Manop จะได้รู้เลยว่าสนใจมังกะ อะนิเมะ ใครเห็นข้อเขียนผม จะได้รู้เลยว่าสนใจกฎหมาย กาีรทหาร ใครเห็นข้อเขียน Teetaweepo จะได้รู้เลยว่าสนใจดาีรา๋ศาสตร์ etc.) อีกอย่าง ยากที่จะหาความ"เหมาะสม"ของขนาดที่พอดีกับทุกคน คนจอคอมพ์เล็ก แค่ภาพ 15 pixel ก็อาจทำให้บรรทัดห่างกันเกินปรกติ แต่คนจอใหญ่ resolution ละเอียด อาจทนได้กับภาพ >40 pixel ยากที่จะมีนโยบายที่เอาใจทุกคนได้ ก็อย่ามีซะเลยน่าจะดีกว่า. Patiwat 07:16, 16 เมษายน 2007 (UTC)
ผมเฉย ๆ ครับ แต่รูปที่ใหญ่เกินไปก็ดูจะปวดหัวนิด ๆ ส่วนเรื่องตัวอักษรอื่น ๆ ในซิกฯ ผมไม่เห็นว่าเป็นปัญหามากเท่าไหร่นะครับ ถ้ามีลิงก์อยู่ แค่เอาเคอร์เซอร์ไปชี้ก็เห็นว่าเป็นใคร ถ้าเกิดสร้างบัญชีผู้ใช้เป็นอักษรอื่น ๆ จะเป็นปัญหามากกว่า เพราะคนจะพิมพ์ไม่ได้ และหลายเึครื่องจะอ่านไม่ออก kinkkuananas 11:39, 16 เมษายน 2007 (UTC)
เจอของคุณ Patiwat เริ่มรู้สึกเป็นปัญหานิดหน่อยครับ มันกะพริบพร้อม ๆ กันหกอันในหน้าเดียว ผมว่าถ้ามีเป็น "แนวทาง" นิดหน่อยก็อาจจะดีเหมือนกันครับ ไม่อยากให้เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่หรือเป็นประเด็นปัญหาขึ้นมาอีก (ช่วงนี้รู้สึกว่าปัญหามันเยอะเหลือเกิน) ถ้ามีลายเซ็นที่สร้างความลำบากให้กับคนจำนวนมาก ก็อาจจะคุยนอกรอบกันเป็นราย ๆ ไป เพราะถ้าสร้างเป็นนโยบายแล้ว สิ่งที่ออกมาก็คงไม่พ้นการห้ามใช้รูป ซึ่งก็อาจจะเกิดเรื่องต้องถกเถียงอีก (เอาเวลาไปให้กับส่วนที่เกี่ยวกับสารานุกรมตรง ๆ น่าจะดีกว่า) การกำหนดขนาด ถ้าเกิดคนส่วนใหญ่สามารถหาขนาดที่ไม่ส่งผลกระทบได้ ก็อาจจะดีครับ kinkkuananas 17:38, 16 เมษายน 2007 (UTC)

ยิ่งรูปแอนิเมชันนี่น่าปวดหัวใหญ่เลยครับ ใจจริงไม่ชอบเลย ถ้าเล็ก ๆ ธรรมดา ๆ ก็พอไหว อีกกรณีคือชื่อยาว ๆ เพื่ออะไรหรือ? --Pi@k 05:47, 17 เมษายน 2007 (UTC)

ผมว่ามีหรือไม่มีก็ไม่มีปัญหานะครับ (แต่ตัวผมเองมีอยู่ตอนนี้) แต่คุณ Patiwat ก็ไม่น่าจะทำภาพมาประประชันซะ เฮ้อ --Manop | พูดคุย - 16:36, 17 เมษายน 2007 (UTC)
สวัสดีค่ะ ทุก ๆ ท่าน :P -16:39, 17 เมษายน 2007 (UTC) ปล.มาทดสอบลายเซ็นน่ะค่ะ แต่เมื่อกี้พิมพ์ ~ เกินไป 1 อัน อ่า...มาใหม่แล้วค่า --- ~ Look-Narm ~ คุย 16:58, 17 เมษายน 2007 (UTC)
ไม่ชอบแบบแอนิเมชันเหมือนกันครับ นอกนั้นไม่มีปัญหาสำหรับผมครับ -- Lerdsuwa 17:15, 17 เมษายน 2007 (UTC)
ณ ตอนนี้เห็นว่ามีรูปก้อได้ไม่มีก้อไม่เป็นปัญหา แต่ไม่ชอบแบบแอนิเมชันเหมือนกันครับ ถ้าจะมี เห็นด้วยในการกำหนดขนาดของรูปที่เหมาะสม รวมถึงการเลือกใช้รูป เพราะเดี๋ยวก็จะมานั่งเถียงกันเหมือนเรื่องกล่องผู้ใช้กันอีก จะเลือกรูปอะไรก็คำนึงด้วยแล้วกันว่าจะเป็นการชี้นำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งหรือเปล่า ตัวอย่างมีให้เห็นและเป็นบทเรียนกันอยู่หยก ๆ ครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับกับวิจารณญาณของผู้ใช้แต่ละคนครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 17:32, 17 เมษายน 2007 (UTC)
ใช่ครับเดี๋ยวจะมีปัญหาแบบ"กล่องผู้ใช้"อีก ถ้ารูปใครมีปัญหาก็จัดการเป็นราย ๆ ดีกว่านะครับ Prince 11:01, 18 เมษายน 2007 (UTC)
โอ้ ! สารานุกรมเสรี แต่ปิดกั้น ลายเซ็น -- -- Liger (~ /|\ ~ ) คุยกันได้ 11:38, 18 เมษายน 2007 (UTC)

ผมยังไงก็ได้อ่ะ ขอแค่ไม่ให้มันรก-ทำให้อ่านความเห็นลำบาก เช่น ถ้าเรื่องรูป ถ้าไม่มีก็ดี แต่ถ้าจะมีก็ขออย่าให้มันสูงซะจนทำให้บรรทัดห่าง หรือถ้าเรื่องชื่อ จะใช้ตัวอักษรอะไรก็ไม่เป็นไร แต่ขออย่าให้มันยาวถึงขนาดล้นนักเลย - -" -- bact' 17:44, 18 เมษายน 2007 (UTC)

อย่างของคุณ Patiwat อันล่าสุดนี่ ทั้งทำบรรทัดห่าง ทั้งทำรกด้วยภาพเคลื่อนไหว -- bact' 17:54, 18 เมษายน 2007 (UTC)
  • ลายเซ็นผมมันขนาดเท่าลายเซ็นของ Scorpion นะครับ (30 pixel) และก็ยังเล็กกว่าลายเซ็นแอนิเมชันของ Teetaweepo (40 pixel) ไม่เห็นใครเคยว่า Scorpion กับ Teetaweepo เลย... ขนาดไฟล์ก็แค่ 4kb เอง ถ้าจะให้แก้ผมก็ไม่ว่า แต่อย่ามุ่งแต่ผมเพียงคนเดียว. Patiwat 08:35, 20 เมษายน 2007 (UTC)
    • บังเอิญของผมไม่กะพริบวับ ๆ วาบ ๆ ครับ แถมยังเป็นแนวตรงไม่เหลี่ยม เพราะผมไม่ชอบอะไรเหลี่ยม ๆ ถ้าผมเลี่ยงอะไรเหลี่ยม ๆ ได้ก็จะเลี่ยงครับ เลยอาจจะทำให้ดูเล็กกว่าของคุณ Patiwat ครับ รวมทั้ง เขาให้หลีกเลี่ยงการใช้รูปอะนิเมะชันครับ ซึ่งของคุณ Patiwat มันเด่นชัดมากกว่า Teetaweepo จึงอาจจะถูกยกมาเป็นตัวอย่างแค่นั้นเองครับ อย่าคิดมากครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 08:58, 20 เมษายน 2007 (UTC)
ขอโทษด้วยครับ ผมก็ยกมาเป็นตัวอย่างน่ะ - เอ้าว่าซะให้หมดเลย - นี่คุณ ScorpianPK รูปในลายเซ็นคุณมันทำบรรทัดห่างรู้มั๊ยครับ :) -- bact' 11:14, 20 เมษายน 2007 (UTC)
ห่างแบบอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติมั้งครับ ;) อ้อ ของผมตั้งไว้แค่ 25 px นี่ครับ ไม่ใช่ 30 px อย่างที่คุณ Patiwat ว่าไว้อ่ะครับ ผมลดขนาดตั้งแต่มีการคุยเรื่องขนาดซิกแล้วล่ะครับผม มีแต่คุณ Patiwat มั้งที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงทั้งขนาดและอนิเมชี่นอะครับ :) --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 11:36, 20 เมษายน 2007 (UTC)

แปล "In a nutshell" ของหน้า en:Wikipedia:Signatures มา เผื่อใครมีความเห็น:

This page in a nutshell: กรุณาลงชื่อกำกับความเห็นของคุณในหน้าอภิปราย, ดูแลโค้ดของลายเซ็นของคุณให้สั้น, อย่าทำให้ลายเซ็นใหญ่เกินไป, และให้แน่ใจว่า ผลลัพธ์สุดท้ายจะอ่านได้โดยคนที่ตาบอดสี.

-- bact' 17:49, 18 เมษายน 2007 (UTC)

ปกติแล้วตำแหน่งของลายเซ็นก็จะอยู่ที่หน้าพูดคุยของบทความไม่ก็หน้าพูดคุยผู้ใช้ซึ่งไม่ได้ปรากฏในหน้าหลัก ซึ่งหลักการณ์อะไรก็คงไม่แน่นมากเป๊ะมาก ไม่ได้มีนโยบายหรือแนวเขียนเพราะความเห้นของแต่ละคนไม่ได้ร่วมกันเขียน อย่างเห็นได้จาก ที่คุณ Bact ผลักดันการใช้เครื่องหมาย ., ท้ายประโยคในวิกิพีเดียไทยมาหลายปีแล้ว ส่วนตัวผมคิดว่า หน้าพูดคุยคงไม่มีใครซีเรียสอะไรเท่าไรถ้ามันไม่น่าเกลียดมาก บางอย่างเห็นแล้วแค่รำคาญนิดหน่อยก็คงไม่มีปัญหา อย่างลายเซ็น "จริงหลอ" อันเก่าของคุณ Patiwat ผมว่าก็ดูดีกว่า gif ตอนนี้นะครับ ขนาดเล็กกว่าด้วย --Manop | พูดคุย - 10:22, 20 เมษายน 2007 (UTC)
ฮ่ะ ๆ แล้วมันเกี่ยวอะไรกันล่ะเนี่ย เรื่องเครื่องหมายวรรคตอน ผมก็ไม่ได้ผลักดันอะไรครับ ใครเห็นว่าเหมาะก็ใช้ไป ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับผม ตัวผมเองก็ไม่ได้ใช้ตลอด เฉพาะตอนที่เห็นว่าจำเป็นเหมาะสมเท่านั้น -- bact' 11:11, 20 เมษายน 2007 (UTC)

เรื่องแนวทาง/คำแนะนำเรื่องลายเซ็น ผมว่ามีก็ดี (ดูจากเหตุผลที่เค้าว่ามาน่ะนะ) แต่ไม่ต้องถึงขนาดเป็น นโยบาย -- bact' 11:11, 20 เมษายน 2007 (UTC)

สำหรับลายเซ็นของผม คิดว่าจะเป็นปัญหาในแง่ไหนบ้าง บอกมาเลย ผมจะไม่แก้ตัวเหมือนคนแถวนี้ครับ ที่ผมชอบลายเซ็นยาวก็เพราะว่า (1) ไม่อยากให้เหมือนใคร (2) อยากมีการจัดอันดับที่สุดในวิกิว่ามีลายเซ็นยาวที่สุดบ้าง (3) ลายเซ็นยาวมันคิดยากก็เลยไปเอามาจากเนื้อเพลง "Puff the Magic Dragon" แต่เปลี่ยน Puff เป็น Bond เพราะผมชื่อนี้ (4) ประโยคดังกล่าวเป็นประโยคยาวที่สุดเท่าที่ผมจำได้ขึ้นใจและเขียนไม่ผิด --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 02:09, 21 เมษายน 2007 (UTC)

ลองร่างแนวทางที่ WP:SIG ครับ kinkkuananas 07:05, 24 เมษายน 2007 (UTC)

ผมว่าถ้าไม่ใหญ่ล้น ก็ไม่เป็นไร ที่จริงตอนทำก็พยายามให้เล็กอยู่แล้ว เพราะกลัวจุดนี้เหมือนกัน แต่เล็กไปก็มองไม่รู้ว่ามันคืออะไร ก็ต้องขออภัย��้วย ตอนนี้แก้แล้ว ไม่รู้จะมองรู้เรื่องหรือเปล่า --Sirius (TeeTaweepo)

วิกิการ์ตูน + วิกิประเทศไทย

กรณีที่บทความอยู่ในทั้ง วิกิประเทศไทย และ วิกิการ์ตูน จะใส่ป้ายยังไงดี ?

เช่น สัจจะ กาญจน์นิรันดร์, ไกวัล วัฒนไกร

ถ้าใส่ {{วิกิประเทศไทย}} และ {{วิกิการ์ตูน}} ทั้งคู่ มันจะทับกันจนอ่านไม่ออก -- bact' 20:41, 18 เมษายน 2007 (UTC)

จะดำเนินการย้ายไปเป็นป้ายพูดคุยเร็ว ๆ นี้แล้วครับ ดูบทพูดคุ���เรื่องนี้ได้ด้านบนครับผม ----Jutiphan | พูดคุย - 01:02, 19 เมษายน 2007 (UTC)

แม่แบบ, ป้าย, กล่อง

ต้องการอ้างอิงไทย

เดิมทีผมเข้าใจว่า ป้ายนี้ใช้สำหรับบทความที่มีการอ้างอิงอยู่แล้ว แต่ขาดแหล่งอ้างอิงที่เป็นภาษาไทย แต่ก็เห็นว่า มีการนำไปใช้ในบทความที่ยังขาดการอ้างอิงด้วย (ดูจาก แม่แบบ:ต้องการอ้างอิงไทย ก็เลยสงสัยว่า ตกลงแล้วเจตนาของป้ายนี้ตั้งใจให้ต่างจาก แม่แบบ:ต้องการอ้างอิง หรือเปล่าครับ kinkkuananas 13:02, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

เข้าใจเหมือนคุณ Kinkku Ananas ผมไม่รู้ว่าเป็นการติดป้ายผิดหรือเปล่าครับ --ScorpianPK 16:26, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
เข้าใจเหมือน Kinkku Ananas. Patiwat 18:30, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ผมว่ามีอ้างอิงไทยก็ดี ไม่มีก็ไม่เสียหายนะครับ ถ้าเทียบความเสียหาย+การเพิ่มเติม+ความรำคาญในการติดป้าย {{ต้องการ__นู่นนี่__}} เห็นว่าตอนนี้ความรำคาญการติดป้ายเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ --Manop | พูดคุย - 07:40, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
  • สำหรับผม ความรำคาญในการอ่านป้ายช่วยปรับปรุง มันน้อยไปกว่าความรำคาญในการอ่านบทความสารานุกรมที่ไม่น่าเชื่ิอถือ. Patiwat 08:29, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
คือผมเห็นคุณ Patiwat เข้ามาติดป้ายอ้างอิงเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางบทความก็เหมาะสม แต่บางบทความนั้นก็อาจถือว่าไม่จำเป็นขนาดนั้น อย่างพวกบทความตัวอักษรอะไรนั้น ที่ผมเข้าไปดู แม้แต่วิกิอังกฤษเขาเองก็ยังไม่มี references คือขณะนี้ ผมว่า ต้องพยายาม balance ในส่วนผู้เขียนด้วย ซึ่งเรื่องพวกนี้ควรอยู่ในระดับที่พอดี ซึ่งหากมากเกินไป ทำให้ผู้เขียนลำบากใจ และเลิกเขียนวิกิพีเดียได้ นั้นไม่ได้หมายความว่าควรผ่อนปรนแต่ผู้เขียนใหม่ ๆ นั้น ก็มักจะเจอสารพัดเรื่อง สารพัดปัญหา เพียงแค่เขียนให้ได้รูปแบบสารานุกรม ก็ยังยากเลย --Jutiphan | พูดคุย - 16:49, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
เราควรจะค่อย ๆ ทำตามขั้นตอน โดยเริ่มเน้นจากที่สำคัญก่อน เช่น ชีวประวัติ และเรื่องที่ sensitive/ส่วนวิพากษ์วิจารณ์ --Jutiphan | พูดคุย - 16:50, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
  • ผมทำ ไม่ใช่เพราะอยากสร้างความรก หรือทำให้ผู้เขียนลำบากใจเลย แต่เพราะอยากให้มีกลไกเรียกคนที่รู้เรื่องมากกว่าเรามาช่วย Ex: เกาะมาราโฆ ไม่มีอ้่างอิง แต่มีป้่ายโครงภูมิศาสตร์ อาจมีผู้ใช้ใจดีที่ชอบเรื่องเที่ยวเกาะ รู้เรื่องเรื่องเกาะ มีโบรชัวร์มีหนังสือเก็บไว้ที่บ้าน มีลิงก์เยอาะ ๆ อยู่ในคอมพ์ ถ้าไม่มีป้ายโครงภูมิศาสตร์ ถ้าไม่มีป้ายต้องการอ้างอิง และเขาจะไปรู้ได้ไงว่า บทความเกาะมาราโฆต้องการความช่วยเหลือ
  • ไม่ค่อยอยากอ้่าง Jimbo เลย เพราำะเขา extreme ยิ่งกว่าผมอีก ถ้่าตามใจเขาผู้ก่อตั้ง wikipediaแล้ว เนื้อหาทุกประเภท should be removed, aggressively, unless it can be sourced. (ดู en:Wikipedia:Verifiability#Burden of evidence) ผมว่าการติดป้ายก็เป็นการประนีประนอมแล้ว.
  • en.wikipedia ก็ไม่ได้เพอร์เฟคท์. 99.8%ของบทความทั้งหมดใน en.wikipedia เป็นบทความที่ขาดคุณภาพ (ดู en:Wikipedia:Wikipedia is failing) จุดมุ่งหมายของเราน่าจะเป็นการทำให้ th.wikipedia ดีเท่าที่จะดีได้ ไม่ใช่เลวเท่า en.wikipedia ('โทษที่ใช้คำแรง ๆ)
  • ถ้าทุกคนที่มาร่วมใน Wikipedia ทำตามขั้นตอน เริ่มเน้นจากที่สำคัญก่อน เช่น ชีวประวัติ และเรื่องที่ sensitive/ส่วนวิพากษ์วิจารณ์ ก็คงดีนะ แต่ดูบทความใหม่ ๆ ที่เพิ่มเข้ามาใน th.wikipedia ทุกวันสิ ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย โครงที่ไม่มีหมวดหมู่ที่ต้องการอ้างอิงพวกนี้ ถ้่าไม่ติดป้ายแต่แรก แล้วเมื่อไหร่ละ ที่บทความพวกนี้จะพัฒนา? Patiwat 18:05, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ฮุฮุ ปกติแล้วไม่ได้รำคาญอ่านป้ายนะครับ รำคาญคนติดป้าย ฮุฮุ --Manop | พูดคุย - 16:49, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
  • Don't take it personally. บทความที่ผมเขียนขึ้นเอง ผมก็ยังติดป้ายเลย. ถ้ามองเป็นการตบหน้า มันก็เป็นลบ แต่ถ้่ามองเป็นการเรียกคนที่รู้เรื่องมากกว่าเรามาช่วย มันก็เป็นบวก. Patiwat 17:15, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
สรุป (เรื่องป้าย) ว่า จุดประสงค์เริ่มต้นมันเป็นแบบนั้นใช่ไหมครับ ส่วนตัวผมยังไม่มีปัญหากับป้าย (หรือคนติดป้าย) แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่า อ้างอิงภาษาไทยนั้น จำเป็นอย่างยิ่งยวด เพราะข้อจำกัดมันเยอะมาก kinkkuananas 10:15, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
คิดว่าถ้าตามจุดประสงค์ของป้ายแล้ว ไม่มีปัญหา
คือ ต้องการอ้างอิงไทย ถ้ามี/หาได้ - แต่ไม่มีก็ไม่เป็นไร ตราบใดที่ยังมีอ้างอิงภาษาอื่นอยู่
กรณีนี้น่าจะเป็นการติดป้ายผิดมากกว่า
-- bact' คุย 16:56, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
คราวก่อนพูดสั้นไป อาจจะทำให้คุณ Patiwat เข้าใจผิดได้ คืออย่างเวลาติดป้าย ไม่ว่าใครก็ตามติด (ผมเองก็ติด{ต้องการอ้างอิง}ด้วยบางครั้ง) อย่างถ้ามีคนมาถามว่าจะหาอ้างอิงจากที่ไหน ผมว่าอย่างน้อยคุณ Patiwat ผู้เชี่ยวชาญการอ้างอิงที่สุด น่าจะยื่นมือให้ความช่วยเหลือคนถามซักนิดนึงนะครับ อย่างน้อยถ้าไม่ช่วยหาก็อาจจะบอกเว็บหรือว่าแหล่งอ้างอิงที่มีการใช้บ่อย เพราะคนที่เขาไม่ใส่แหล่งอ้างอิงก็ใช่ว่าเขาไม่อยากใส่ ถ้ามีในมือเขาคงใส่ไปนานแล้ว พอมีการถามว่าจะหาอ้างอิงจากไหน คุณก็ไม่ได้ตอบเหมือนไม่ใช่ธุระ แต่ว่าไปก็ไม่ใช่ธุระของคุณจริงอะครับ แล้วกลับกันพอบอกว่าหาอ้างอิงไม่ได้ คุณก็พูดว่า "หัวข้ิอใหน ที่ไม่เคยมีใครในโลกนี้เคยกล่าวถึงแม้สักครั้ง หัวข้ิอนั้น ไม่ควรอยู่ในสารานุกรม" แฮะแฮะ สุดยอดครับถึงใจมาก ตอนแรกผมเข้าใจผิดคิดว่าคุณติดป้ายเพราะว่าอยากให้มีการใส่แหล่งอ้างอิงซะอีก --Manop | พูดคุย - 07:26, 5 มีนาคม 2007 (UTC)

ประกาศเรื่องการปรับแต่ง แม่แบบอำเภอของจังหวัด

ผ้าพันคอลูกเสือสามัญ ของจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งธัญกิจสะสมไว้
ผ้าพันคอลูกเสือสามัญ ของจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งธัญกิจสะสมไว้

ขณะนี้นะครับ ผมเห็นว่าแม่แบบอำเภอของจังหวัด มีการใช้สีต่างกันไปตามอารมณ์ผู้สร้าง (หรอ?) เช่น.... ลำปางสีส้ม (สีกล่องข้อความ) เชียงรายสีฟ้า เชียงใหม่เขียวซีด (PaleGreen) ทั้งนี้ทั้งนั้นผมได้ปรับรูปแบบและชุดสีให้เป็นแนวทางเดียวกัน โดยยึดตามสีประจำกลุ่มจังหวัด (สีผ้าพันคอลูกเสือสามัญ) เป็นหลัก ครับผม...

จึงเรียนมาเพื่อแซ่บโดยทั่วกันครับผม ^^ -- ผู้ใช้:ทาญกิจเจีย 07:01, 3 มีนาคม 2007 (UTC)

สมุทรปราการ ของผมสีอะไรครับเนี่ย ผมยังไม่รู้ ฮุฮุ --Manop | พูดคุย - 18:50, 3 มีนาคม 2007 (UTC)
เหลืองครับ ดูรูปขยาย เหลืองขิบน้ำเงินนั้น นนทบุรี ต่อไปทางขวา สมุทรปราการ (ดูที่ตราพระสมุทรเจดีย์ก็ได้คับ) --ผู้ใช้:ทาญกิจเจีย 19:10, 3 มีนาคม 2007 (UTC)
หรือว่าจะให้กล่องจังหวัด ใช้สีเดียวกันหมดเลย เผื่อจะได้ง่ายเป็นรูปแบบดีหรือเปล่าครับ --Jutiphan | พูดคุย - 19:12, 3 มีนาคม 2007 (UTC)
ไม่ดีอ่ะคับ เขามีสีของเขา --ผู้ใช้:ธัญกิจ (ซะเมิญอาโปดาจอะปาทูบิก อิซเซ่คาไอวอซเซอร์ ) 08:13, 5 มีนาคม 2007 (UTC)
ควรจะให้กล่องประเภทเดียวกัน มีลักษณะเหมือนกัน - หากต้องการใส่สีประจำจังหวัดไปในกล่องด้วย อาจจะทำเป็นสีตรงมุมใดมุมหนึ่งหรือตรงขอบ - แต่สีโดยรวมแล้วควรจะเหมือน ๆ กันทุกจังหวัด เพื่อให้สังเกตง่าย รู้ว่านี่คือกล่องจังหวัดทันที -- bact' คุย 03:24, 6 มีนาคม 2007 (UTC)
สีไหนก็ได้อะครับตามสะดวก ขึ้นอยู่กับคนสร้างครับ --Manop | พูดคุย - 03:32, 6 มีนาคม 2007 (UTC)

สวัสดีเพื่อนสมาชิกเหมือนเดิม วันนี้หน่วย Look & Feel ร่วมกับ สำนักวิจัยและพัฒนาแม่แบบ ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ออกมาอีกครั้ง นั่นคือ {{กล่องข้อมูล จังหวัด}} ซึ่งจะนำมาใช้แทน {{ตารางจังหวัด}} โดยจะรบกวนให้เพื่อนสมาชิก ช่วยกันเปลี่ยนกล่องเก่า เป็นกล่องใหม่ ดูตัวอย่างเปรียบเทียบได้ที่นี่ | วิธีใช้กล่องข้อมูลใหม่ ดูที่หน้าแม่แบบ {{กล่องข้อมูล จังหวัด}}

หากมีปัญหาการใช้งาน สอบถามได้ที่ ||||||||| กล่องข้อความ (สำนักไปรษณีย์) | ผู้ใช้:ธัญกิจ (ซะเมิญอาโปดาจอะปาทูบิก อิซเซ่คาไอวอซเซอร์ ) 06:59, 11 มีนาคม 2007 (UTC)

สวยงาม และใช้งานง่ายมากครับ

--Tmd 17:47, 12 มีนาคม 2007 (UTC)

สวยมาก :) -- bact' 09:21, 13 มีนาคม 2007 (UTC)
สวยมากครับ ดูดีมีสไตล์ ^_^ --Manop | พูดคุย - 17:43, 14 มีนาคม 2007 (UTC)

เสนอยกเลิกกลุ่มแม่แบบ

เนื่องจากในขณะนี้ สำนักวิจัยและพัฒนาแม่แบบ และ หน่วย Look & Feel ได้ทำการทดลองจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจเกี่ยวกับ ตารางจำแนกพันธุ์ แบบใหม่ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเพื่อให้บทความง่ายต่อการบำรุงรักษา จึงเสนอให้ยกเลิกการใช้งาน กลุ่มแม่แบบตารางจำแนกพันธุ์แบบหลายส่วน โดยในระยะแรก ให้บทความใหม่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ไปใช้ แม่แบบ:ตารางจำแนกพันธุ์ (วิธีใช้) ก่อน แล้วในโอกาสที่เพื่อนสมาชิกว่างจากภารกิจ จึงค่อยปรับปรุงบทความเดิมที่ใช้แม่แบบเก่า ไปเป็นรูปแบบใหม่ในภายหลัง ||||||||| สอบถามเพิ่มเติม โทร 1333 - -" เอ้ยไม่ใช่... ต้องนี่.. > กล่องข้อความ | ผู้ใช้:ธัญกิจ (ซะเมิญอาโปดาจอะปาทูบิก อิซเซ่คาไอวอซเซอร์ ) 14:23, 19 มีนาคม 2007 (UTC)

แล้วแบบใหม่ดีกว่าแบบเก่าตรงไหนอ่ะครับ ยังไม่ค่อยเห็นภาพ เลยตัดสินใจม่ะค่อยถูกครับ แล้วสำนักวิจัยและพัฒนาแม่แบบ และ หน่วย Look & Feel รับทำแม่แบบตามคำขอไหมอ่ะครับ ว่าง ๆ จะไปขอใช้บริการมั้งอะคับ ^_^ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 15:14, 19 มีนาคม 2007 (UTC)
อ้อ เห็นละแม่แบบใหม่ ใหญ่โตดีพิลึก? ว่าแต่แบบเก่าที่เป็นภาษาไทยมันไม่ดีเหรอ? สงสัยเฉย ๆ นะ ^_^--Se:Rin | พูดคุย - 13:00, 21 มีนาคม 2007 (UTC)
  1. รวมเป็นแม่แบบอัจฉรยะอันเดียว ง่ายต่อการจัดรูปแบบ
  2. รองรับ {{Taxobox}} ที่ copy มาจาก en.wiki ครับผม (ข้อนี้สำคัญ)
  3. เปลี่ยน ? เป็น โดยใช้ร่วมกับ แม่แบบ:คลิก
  4. ไม่ต้องใส่ข้อมูลซ้ำซ้อน (เช่นพาราฯ color ของแม่แบบย่อย ถ้าใส่สีอื่นผสมกันก็สนุกเลย)
  5. อนาคต จะถอดพารามิเตอร์ color ออกครับ โดยจะให้ดูจากอาณาจักรโดยตรงครับ หรือยังไงก็ไว้มาบอกอีกที
  6. ตอนนี้ ถอดพารามิเตอร์ image_width ทั้งหมดแล้ว เป็นการจัดความกว้าง 240px ในช่องภาพหลัก และ 200px ในช่องถิ่นอาศัย
  7. พารามิเตอร์ที่ถอดแล้วและเตรียมถอด สามารถใส่ลงไปได้เหมือนเดิม (แต่จะไม่แสดงผลออกมา)
  8. มีของเล่นใหม่เรื่อง สถานะการอนุรักษ์ (ดูตัวอย่างที่ แปะก๊วย และ โลมาอิระวดี)
  9. (คนที่ทำคิดเอาเองว่า) สวยกว่า (อันนี้เหตุผลข้าง ๆ คู ๆ ครับ)

หน่วย LF ตอนเน้นปัดกวาดบทความ/แม่แบบให้"ดูดี" (ตามทฤษฎีส่วนตัวคนทำ) ส่วนสำนักวิจัยฯ เน้นเรื่อง"ระบบภายใน" ครับ ส่วนรับทำนั้น คงอีกสักพักครับ ช่วงนี้ยังไม่เก่งเท่าไร

ปล. แม่แบบเก่า (กลุ่มแม่แบบตารางจำแนกพันธุ์แบบหลายส่วน) นั้นมีแค่ราว 70 บทความกว่า ๆ เองครับ แต่บทความที่ใช้ แม่แบบ:ตารางจำแนกพันธุ์ มีเยอะกว่า

|| ||||||| สอบถามเพิ่มเติม > กล���องข้อความ | ผู้ใช้:ธัญกิจ (ซะเมิญอาโปดาจอะปาทูบิก อิซเซ่คาไอวอซเซอร์ ) 17:22, 19 มีนาคม 2007 (UTC)

  • สวยดีครับ ชอบ ๆ แต่แถบสีด้านบนสุดมันใหญ่ไปไหมอ่ะครับ ^_^ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 17:27, 19 มีนาคม 2007 (UTC)
  • รูปแบบใหม่ สวยดีครับ คุณพืช เอ้ย คุณธัชกิจผมเองต้องยอมรับแผนก Look & Feel เลยครับ เห็นมีผลงานดี ๆ ออกมาอยู่เรื่อย ๆ --Jutiphan | พูดคุย - 17:31, 19 มีนาคม 2007 (UTC)
  • ก็ดีอ่ะนะ ลดขนาดหน่อยจะดีมากโดยเฉพาะส่วนหัวด้านบนตรงชื่อ โอย...ใหญ่มาก ๆ แต่ส่วนมากเราใช้ แม่แบบ:ตารางจำแนกพันธุ์ ซะเป็นส่วนใหญ่ เพราะถนัดกว่าน่ะ จำเป็นไหมต้องเปลี่ยนไปใช้แม่แบบใหม่ที่สร้างขึ้น (ตะกี้แว่บไปดูเสือมา โห...) --Se:Rin | พูดคุย - 13:00, 21 มีนาคม 2007 (UTC)
    • ลองลดดูแล้ว ผมว่าหัวเรื่องหลัก (ชื่อ: แปะก๊วย) กับหัวเรื่องรอง (กลุ่มคุณสมบัติ: สถานะอนุรักษ์) มันกลืนกันไปเลยอ่ะคับ (แต่ถ้าอยากได้แบบตัวเล็กจริง ๆ จะปรับให้ครับ) --ผู้ใช้:Thanyakij
    • อ้อ อีกเรื่อง ถึงจะรองรับ {{Taxobox}} แต่จริง ๆ แล้วมัก็คือ แม่แบบ:ตารางจำแนกพันธุ์ ที่ Serin บอกนั่นแหละครับ ผมแค่ปรับปรุง หน้าตาและพฤติกรรม Look & Feel เท่านั้น ไม่ได้วิจัยแม่แบบใหม่ครับ สถานะอนุรักษ์ กับอายุฟอซซิล ก็ของเดิม แค่ปรับ LF แค่นั้นครับ คือพูดตรง ๆ ก็แม่แบบเดิมที่ใช้กันเป็นส่วนมากนั้นแหละ --ผู้ใช้:Thanyakij 16:58, 21 มีนาคม 2007 (UTC)
  • สนับสนุนครับ ฮุฮุ สวยดีครับ --Manop | พูดคุย - 17:01, 21 มีนาคม 2007 (UTC)
    • ครับ อีกประการคือ โดยแนวความคิดของ LF นั้น ตกแต่งแม่แบบให้มีผลต่อการทำงานเดิมน้อยที่สุดครับ เว้นแต่ไม่ได้จริง ๆ เช่น จังหวัด จริง ๆ จะทำแบบเดิม แต่ว่า ขอเดิมข้อมูลน้อยไป แค่ผมก็ไม่ได้ทำให้รองรับขอเดิมไว้ด้วยสิ เลยต้องทำใหม่ (โครงสร้างไม่เหมือนกัน) แต่ต่อไปหลังจากนี้ LF จะทำให้สะดวกที่สุด และกระทบน้อยที่สุด กรณีที่ให้ใช้แม่แบบนี้อันเดียวเพราะปัจจุบันมีตารางจำแนก 3 แม่แบบ มันเยอะเกินและซ้ำซ้อน เลยอยากรวมให้เหลืออันเดียว ซึ่งตอนนี้ ตารางเบอร์สามได้รับการรื้อออกจากระบบแล้ว เหลือตารางเบอร์สอง (ตารางแบบหลายส่วน) อีกราว 5x บทความที่เร่งทะยอยเปลี่ยนครับ... --ผู้ใช้:ธัญกิจ (ซะเมิญอาโปดาจอะปาทูบิก อิซเซ่คาไอวอซเซอร์ ) 02:59, 22 มีนาคม 2007 (UTC)

{{แม่แบบ:คริสต์}} สำหรับกล่องข้อมูลด้านขวา เพื่อแทรกลงในบทความที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ช่วยใส่หัวข้อเพิ่มเติมในแม่แบบด้วยนะครับ ตอนนี้ก็จะมีทั้ง พุทธ คริสต์ อิสลาม แล้วละ--Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 06:29, 21 มีนาคม 2007 (UTC)

กาีรใช้ แม่แบบ PD-old ในทางที่ผิด จะแก้อย่างไรดี?

แม่แบบ PD-old มีไว้สำหรับ ภาพและสื่อที่ เก่าแก่เกิน 50 ปี นับจากวันที่สร้างสรรค์ขึ้น วันที่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก และวันที่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิตแล้ว. ผมลองดูำภาพที่ติด แม่แบบ PD-old แล้วเห็นว่ามีหลายภาพที่ใช้ แม่แบบ PD-old ในทางที่ผิด เป็นรูปที่เห็นแล้วรู้เลยว่าไม่ได้มีอายุเกิน50 ปี อย่างเช่น ภาพ:Lena.jpg (เป็นดาราในช่วง 70's) ภาพ:Seub suicide.JPG (ในภาพเองระบุว่าทำในปี 2533) etc. นึกไม่ออกว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไรในระยะยาว พอดีหลักการพื้นฐานของวิกิพีเดียคือเชื่อว่าคนอื่นมีเจตนาดี แต่ก็ไม่ได้อยากให้วิกิพีเดียเป็นที่รวบรวมสืิอละเมิดลิขสิทธิ์ ขอความเห็นผู้อื่นครับ. Patiwat 22:48, 26 มีนาคม 2007 (UTC)

ซึ่งคาดว่าคงไม่มีวิธีแก้ 100% ที่ทำให้ทุกคนใส่สัญญาอนุญาตถูกต้องครับ โดยดูจากวิกิอังกฤษนั้นก็มีปัญหานี้อยู่ตลอดเวลา คงต้องช่วยกันดูครับ ซึ่งผมได้ดำเนินการหลาย ๆ อย่าง เพื่อลดเหตุการณ์ดังนี้ขึ้น โดยการ
  1. สร้างหน้าสถานะภาพล่าสุด ซึ่งจะถูกอัปเดตอัตโนมัติโดยบอ��คุง เพื่อให้ง่ายให้การตรวจสอบภาพล่าสุดครับ
  2. เพิ่มความสามารถในสคริปต์จัดให้ โดยมีป้ายแจ้งสถานะผิด พร้อมพูดคุยกับผู้ใช้อัตโนมัติ เพื่อแจ้งเรื่องดังกล่าวสะดวกขึ้น
  3. ร่วมการทำงานกับหน้าปัญหาลิขสิทธิ์ โดยภาพที่ถูกแจ้ง จะขึ้นบัญชีแยกวันอัตโนมัติ และให้บอตทำการย้ายภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากบทความเมื่อครบ 7 วัน ทำให้สะดวกในการลบภาพ
  4. ปรับหน้าอัปโหลดใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้ใหม่เข้าใจง่ายมากขึ้น

ให้ทำการแจ้งภาพดังกล่าวเป็นสถานะผิดได้เลยครับโดยใช้ แม่แบบ:ภาพที่อาจจะละเมิดลิขสิทธิ์ และอย่าลืมพูดคุยกับผู้ใช้ ซึ่งสามารถใช้แม่แบบ:idw-cpช่วยได้ครับ (สคริปต์จัดให้ได้มีความสามารถเหล่านี้รวมพร้อมใช้งานแล้ว) นอกจากนั้น ช่วงนี้ผมเองสละเวลามาคอยตรวจสอบภาพที่อัปโหลดขึ้นมาใหม่ รวมถึงจริงจังในเรื่องนี้ ซึ่งผู้ที่เจตนาอัปโหลดสัญญาอนุญาตผิดพลาดสามารถถูกบล็อกได้

คุณ Patiwat และผู้อื่น ๆ นั้น ก็สามารถช่วยได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นการปรับหน้า วิกิพีเดีย:นโยบายการใช้ภาพ ให้เข้าใจง่ายขึ้น รวมถึงช่วยตรวจสอบ และชี้แจ้่งผู้ใช้ให้ทราบ เพื่อให้อัปโหลดด้วยสัญญาอนุญาตที่ถูกต้องในครั้งต่อ ๆ ไปครับ --Jutiphan | พูดคุย - 22:56, 26 มีนาคม 2007 (UTC)

นอกจากนี้ คุณ Patiwat อาจสนใจเข้าร่วมโครงการเก็บกวาดภาพครับ --Jutiphan | พูดคุย - 23:03, 26 มีนาคม 2007 (UTC)

เก็บกวาดโรงเรียน

ผมทำป้าย {{เก็บกวาดโรงเรียน}} ขึ้นมาใช้รวมและลิงก์ไปที่หน้าโครงการนะครับ เพราะคิดว่าอย่างหน้าโรงเรียนไม่ค่อยมีคนแก้เท่าไร เลยเขียนวิธีการแก้ เผื่อคนใหม่เข้ามาจะได้แก้ได้ทันทีครับ ถ้าเจอบทความโรงเรียน (ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตจำนวนมาก) ก็ติดป้ายได้ทันทีครับ ไม่ต้องคิดมาก อย่างไรฝากตรวจสอบ เสนอแนะ และเขียนคำอธิบายเพิ่มเติมที่ วิกิพีเดีย:โครงการวิกิโรงเรียน ครับ --Manop | พูดคุย - 20:27, 2 เมษายน 2007 (UTC)

เสนอการย้าย แม่แบบสถานีย่อยไปหน้าพูดคุย

ปัจจุบันนี้ มีอยู่ประมาณ 2-3 สถานีย่อยที่ได้ใช้วิธีการใส่ ลิงก์ไปสถานีย่อยด้านขวาบนของบทความ ซึ่งผมจะเสนอให้ย้ายไปใส่เป็นป้ายที่หน้าพูดคุยแทนครับ เพื่อความเหมาะสม และปัจจุบันเราได้มีหลายสถานีย่อยเพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งการย้ายทำให้เป็นการจัดโครงสร้าง รูปแบบให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเสมอภาคต่อทุกสถานีย่อย นอกจากนั้นทำให้มีที่ว่าง สำหรับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบทความเช่น เครื่องหมายล็อก บทความคัดสรร พิกัด รวมถึงเว็บย่อ ซึ่งการย้ายนั้น ผมจะให้บอตคุงทำการย้ายและใส่ป้ายพูดคุยแทนที่ที่หน้าพูดคุยได้อย่างไม่มีปัญหาครับ หากมีความคิดเห็นอย่างไรก็เชิญเลยนะครับ ^_^ --Jutiphan | พูดคุย - 20:19, 7 เมษายน 2007 (UTC)

ผมว่า สถานีย่อยการ์ตูน น่าจะย้ายได้ไม่มีปัญหาครับ เดี๋ยวลองถามคนอื่น ๆ ซักสามสี่คนที่ดูสถานีย่อยการ์ตูนอยู่ จริงแล้วก็อยากจะย้ายเพราะตอนนี้รูปก็ซ้อนกับข้อความนิดหน่อยด้วย ส่วนสถานีย่อยประเทศไทยนี่ไม่รู้ว่าจะลำบากหรือเปล่าครับ เพราะมีหลายบทความเหมือนกัน --Manop | พูดคุย - 07:51, 9 เมษายน 2007 (UTC)
มีความเห็นด้วยเช่นกันว่าสมควรเอาออก แต่ถ้าเสียดายก็ให้เหลือเอาไว้เพียงแค่หน้าหลักของสถานีย่อยก็ได้ค่ะ ^^ เหตุผลก็ง่าย ๆ เพราะมันจะซ้อนกับบทความค่ะ มองแล้วไม่สวย (แถมรกนิดหน่อยด้วย หุหุหุ) --Se:Rin | พูดคุย - 02:13, 11 เมษายน 2007 (UTC)
ตกลงครับ รู้่สึกรกเหมือนกัน --Pi@k 02:58, 11 เมษายน 2007 (UTC)
ไม่ขัดข้องเช่นเดียวกันครับ -- Lerdsuwa 14:18, 14 เมษายน 2007 (UTC)
เห็นด้วยครับ -- bact' 04:03, 19 เมษายน 2007 (UTC)
ได้ทำการย้ายป้ายสำหรับโครงการการ์ตูน และโครงการประเทศไทย ไปหน้าพูดคุยเรียบร้อยแล้วครับ รวมถึงปรับการทำงานสคริปต์จัดให้ ให้เข้ากับการใส่ป้ายแบบใหม่ --Jutiphan | พูดคุย - 00:23, 27 เมษายน 2007 (UTC)
ป้ายสถานีย่อยวิทยุสมัครเล่นด้วยครับ {{บทความวิทยุสมัครเล่น}} -- Paru  ~ パル ~ 03:06, 27 เมษายน 2007 (UTC)
ขอบคุณครับที่แจ้ง ลืมไปเลย เดี๋ยวอาทิตย์นี้จะดำเนินการครับผม --Jutiphan | พูดคุย - 04:45, 27 เมษายน 2007 (UTC)
ลืมอีกแล้ว สั่งให้บอตคุงแก้ให้เรียบร้อยแล้วครับผม --Jutiphan | พูดคุย - 02:35, 17 พฤษภาคม 2007 (UTC)

น่าจะมีทางลัด วิกิพีเดีย:กระบะทราย

น่าจะมีทางลัด วิกิพีเดีย:กระบะทราย ที่เมนูเครื่องมือ ใกล้กับ อัปโหลด ผมว่าจะมีประโยชน์มาก รับรองว่าถ้ามี จะมีคนนิยมใช้กันแน่ ๆ ไม่ใช่แค่ว่า สคริปต์ให้ ทีมเก็บกวาด เท่านั้น แต่อยากให้ขึ้นเป็นถาวรเลย --Sirius (TeeTaweepo)

แบบนั้นคงต้องตั้งชื่อลิงก์ให้สื่อด้วยเช่น "ทดลองเขียนที่นี่" ถ้าตั้งชื่อไว้ว่ากระบะทรายก็คงจะไม่มีใครมาใช้หรอก --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 08:19, 1 เมษายน 2007 (UTC)

อ่า ใช่ ๆ ตั้งชื่อ ทดลองเขียนที่นี่ เห็นด้วย --Sirius (TeeTaweepo)

เสนอเรื่องแม่แบบ

แม่แบบต่าง ๆ น่าจะมีคนทำ คู่มือการใช้ (แบบวิกิประเทศอื่น ๆ) แล้วมีลิงก์จากหน้า ช่วยเหลือ และหน้า โครงการโรงเรียนฯ มาหาหน้าคู่มือ

  • หน้าคู่มืออาจเลือกทำแบบใดหรือประยุกต์สองแบบนี้ก็ได้
    • ใส่ใน noinclude ในหน้าของตัว แม่แบบ เอง (โดยเฉพาะถ้าไม่มีรายละเอียดมาก)
    • ทำเป็นหน้าต่างหาก (โดยเฉพาะถ้ารายละเอียดมาก เหมือนแม่แบบตารางจำแนกพันธุ์)

แล้วน่าจะทำปุ่มลิงก์ในกรอบที่แสดงให้มาหน้าที่มี วิธีใช้ (ถ้ารายละเอียดมาก ทำเหมือนแม่แบบตารางจำแนกพันธุ์ ถ้าเป็นรายละเอียดน้อยใส่แต่หน้าแม่แบบเอง ก็ให้ไปหน้าแม่แบบ) --Sirius (TeeTaweepo)

น่าสนใจครับ ถ้าอันไหนยังขาดวิธีการใช้ สามารถเข้าไปช่วยกันเขียนได้ครับ ส่วนใหญ่แม่แบบใหม่ ๆ มักจะมีวิธีใช้ควบคู่ไปด้วย แต่แม่แบบเก่ามักจะไม่มีวิธีใช้ --Manop | พูดคุย -
  • แม่แบบ กำลังแก้ไข น่าจะตกลงกำหนดเวลากัน (เช่น 1 เดือนหลังจากเริ่มใส่ ฯลฯ) โดยบอกไว้ในกรอบแสดงด้วย ไม่งั้นบางคนไม่กล้าแก้ ..กรณีเหล่านี้เห็นว่าไงดีครับ --Sirius (TeeTaweepo)
{{กำลังแก้ไข}} อันนี้ส่วนใหญ่ก็จะประมาณ 1-2 ชั่วโมงซะมากกว่านะครับ เพราะชอบมีหลายครั้งที่คนใช้แล้วลืมเอาออก ถ้าเจออันไหนทิ้งไว้นาน สามารถเอาออกได้เลยครับ และก็คุณ Sirius อาจจะเข้าไปแก้ไขเนื้อหาเพิ่มได้ครับ --Manop | พูดคุย - 14:36, 14 เมษายน 2007 (UTC)