วิกิพีเดีย:การบริหาร
หน้านี้เป็นหน้าสารสนเทศ ซึ่งอธิบายวัตรที่ตั้งแล้วของชุมชนแก้ไขของบางแง่มุมของบรรทัดฐานและขนบธรรมเนียมของวิกิพีเดีย ทั้งนี้ ไม่ใช่นโยบายหรือแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย เพราะยังไม่ผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจากชุมชน |
วิกิพีเดียต้องการการบริหารและวิธีการปกครองระดับหนึ่งเพื่อส่งเสริมเป้าหมายของโครงการ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของวิกิพีเดีย มีการสร้างหน้าบริหารจำนวนมากในเนมสเปซต่าง ๆ ซึ่งระบุเกณฑ์วิธีและขนบธรรมเนียมที่ฉันทามติของชุมชนสร้างและนำไปปฏิบัติแก่วิกิพีเดียภาษาไทย แน่นอนว่ากระบวนการนี้โดยทั่วไปไม่เป็นอัตโนมัติ และการบริหารด้วยมนุษย์จำเป็นเพื่อรับประกันว่าการแก้ไขหน้าโครงการ ไม่ว่าหน้าบริหารหรือหน้าเนื้อหา เกิดขึ้นโดยสันติและสอดคล้องกับนโยบายโดยรวมว่าด้วยการสร้างและแก้ไขหน้าวิกิพีเดี���ทั้งหมด
การบริหารมนุษย์และกฎหมาย
มูลนิธิวิกิมีเดียอยู่ ณ จุดสูงสุดของโครงสร้างบริหารมนุษย์และกฎหมาย ซึ่งเป็นองค์การไม่แสวงผลกำไรและการกุศลซึ่งมีคณะกรรมการทรัสตี (Board of Trustees) ปกครอง แม้มูลนิธิวิกิมีเดียเป็นเจ้าของวิกิพีเดีย แต่มูลนิธิฯ แทบไม่เข้ามาข้องเกี่ยวกับการสร้างนโยบายของวิกิพีเดียและการนำนโยบายเหล่านี้ไปปฏิบัติประจำวันเพื่อเหตุผลทางกฎหมาย ชุมชนวิกิพีเดียส่วนใหญ่จัดระเบียบและปกครองตนเอง โดยผู้เขียนซึ่งมีความสามารถบริหารหลากหลายและผู้ดูแลระบบที่ได้รับเลือกของโครงการได้รับดุลยพินิจการเลือกใช้วิธีการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของวิกิพีเดียพอสมควร ผู้เขียนได้รับความไว้วางใจให้มีความรับผิดชอบธำรงรักษาบูรณภาพของวิกิพีเดีย ขณะที่ยึดถือสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การหลีกเลี่ยงโจรกรรมทางวรรณกรรม การเคารพกฎหมายลิขสิทธิ์และการนำเสนอการอ้างอิงที่มาอย่างเหมาะสมสำหรับเนื้อหาบทความ
นอกเหนือจากห้าเสาหลัก วิกิพีเดียภาษาไทยไม่ได้เกิดขึ้นตามกฎเคร่งครัด เกณฑ์วิธีของวิกิพีเดียเป็นหลักการ มิใช่ประมวลกฎหมายหรือกฎเข้มงวด และดำเนินการจริงโดยใช้สามัญสำนึกและดุลยพินิจของผู้เขียน ชุมชนผู้เขียนสร้างและทบทวนนโยบาย แนวปฏิบัติและบรรทัดฐานการจัดรูปแบบของวิกิพีเดียเพื่ออธิบายการปฏิบัติดีที่สุด และทำให้หลักการชัดเจนโดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสารานุกรมและระงับข้อพิพาท เกณฑ์วิธีและขนบธรรมเนียม "อย่างเป็นทางการ" เหล่านี้ต้องการอภิปรายและฉันตามติทั่วทั้งโครงการระดับสูงเพื่อนำเสนอเป็นแนวปฏิบัติหรือนโยบาย ฉะนั้นจึงมีระดับอิทธิพลสำคัญระหว่างการพิจารณา กระบวนการส่วนมากบนวิกิพีเดียขึ้นอยู่กับฉันทามติของผู้เขียนบางรูปที่มีนโยบายเนื้อหาและความประพฤติของวิกิพีเดียปกครองอยู่ แม้ฉันทามติเป็นวิธีการสำคัญในการตัดสินใจ แต่ฉันทามติในหมู่ผู้เขียนกลุ่มเล็ก ๆ ไม่สามารถเลิกนโยบายทั่วโครงการอย่าง "มุมมองที่เป็นกลาง" ได้ ในการตัดสินฉันทามติของชุมชนและระงับข้อพิพาที่กำลังดำเนินอยู่ มีแหล่งอภิปรายกว้างขวางว่าด้วยปัญหาเฉพาะที่ผู้เขียนประสบในการเขียนและบำรุงรักษาวิกิพีเดีย
การประกันการนำไปปฏิบัติอย่างสมานฉันท์ซึ่งเกณฑ์วิธีที่พัฒนาด้วยฉันทามติของผู้ใช้โครงการซึ่งปกครองการสร้างและพัฒนาหน้าทุกประเภทเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนที่ได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งให้มีบทบาทบางอย่าง เช่น ผู้ดำรงตำแหน่งอย่างผู้ดูแลโครงการ (steward) ร่วมกับผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้ง และผู้ดูแลระบบ ซึ่งทั้งหมดสุดท้ายได้อำนาจจากมูลนิธิวิกิมีเดีย
มูลนิธิวิกิมีเดีย
มูลนิธิวิกิมีเดียเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินงานวิกิพีเดีย ร่วมกับโครงการอินเทอร์เน็ตวิกิแบบร่วมมืออื่นอีกหลายโครงการ มูลนิธิฯ จัดระเบียบการระดมเงิน การแจกทุนสนับสนุน พัฒนาซอฟต์แวร์ ใช้ซอฟต์แวร์นั้น ควบคุมเซิร์ฟเวอร์ และมีกิจกรรมสู่ภายนอกเพื่อสนับสนุนโครงการของวิกิมีเดีย มูลนิธิฯ ไม่แก้ไขเนื้อหาวิกิพีเดีย (ยกเว้นปฏิบัติการของสำนักงานเป็นบางครั้ง) ผู้เขียนวิกิพีเดียจัดการเนื้อหาและนโยบายภายใน เพราะหากมูลนิธิฯ รับผิดชอบเนื้อหา จะทำให้เกิดประเด็นความรับผิดตามมาตรา 230 แห่งรัฐบัญญัติความเหมาะสมของการสื่อสาร (Communications Decency Act)
มูลนิธิฯ มีกฏบัตร เทศบัญญัติบริษัท ถ้อยแถลงพันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยมและยุทธศาสตร์ปกครองและชี้นำ (แต่มูลนิธิฯ มิได้รับรองสองรายการสุดท้ายอย่างเป็นทางการ) นอกจากนี้ หลักการก่อตั้งเป็นถ้อยแถลงหลักการทั่วไปซึ่งชี้นำการก่อตั้งโครงการวิกิมีเดียทุกโครงการ ดู นโยบายที่มีมติเห็นชอบอย่างเป็นทางการ
งานทั่วโลกของมูลนิธิฯ มี "สาขาท้องถิ่นวิกิมีเดีย" สนับสนุน (ปกติัจัดตั้งเป็นบริษัทไม่แสวงผลกำไรตามกฎหมายท้องถิ่น) และแต่ละแห่งมีคณะกรรมการทรัสตีของสาขาของตนปกครอง ทรัสตีของเครือวิกิมีเดียได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ของวิกิมีเดียจำนวนเล็กน้อย
ผู้เขียน
ผู้เขียน (editor) หรือมั��เรียกว่าชาววิกิพีเดีย เป็นปัจเจกบุคคลซึ่งประกอบเป็นชุมชนอาสาสมัครซึ่งเขียนและแก้ไขหน้าวิกิพีเดีย ตรงข้ามกับผู้อ่านที่อ่านบทความเท่านั้น ผู้เขียนบางคนใช้ชื่อจริงของตนเป็น "ชื่อผู้ใช้" เพื่อระบุตัวตนในวิกิพีเดีย ขณะที่บางคนเลือกไม่เปิดเผยสารสนเทศส่วนบุคคล ในทางทฤษฎี ผู้เขียนทุกคนเท่าเทียมกันโดยไม่มี "โครงสร้างอำนาจ" หรือ "เจ้าพนักงานบังคับใช้กฎหมาย" ทว่า ภายในชุมชนแก้ไข ก็มีผู้เขียนที่มีเอกสิทธิ์เพิ่มเติม (ความรับผิดชอบบำรุงรักษาหรือความสามารถดำเนินการปฏิบัติการบริหารบางอย่าง) ผู้เข้ามีส่วนร่วมหมวดอื่นก็ำเนิดขึ้น เช่น ชาววิกิพีเดียประจำสถานที่ (Wikipedians in residence) และนักเรียนที่ได้รับงานมอบหมายเกี่ยวข้องกับการแก้ไขวิกิพีเดีย
ระดับการเข้าถึงของผู้ใช้ (หรือสิทธิและกลุ่มผู้ใช้) ตัดสินจากผู้เขียนนั้นล็อกอินเข้าบัญชีหรือไม่ บัญชีนั้นมีอายุหรือจำนวนการแก้ไขเพียงพอโดยยึดตามความรู้เกณฑ์วิธีของวิกิพีเดีย ระดับผู้ใช้บางระดับได้มาอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ยืนยันอัตโนมัติคือบัญชีที่มีอายุกว่า 4 วัน สิทธิผู้ใช้อื่นได้มาเฉพาะเมื่อขอ ส่วนผู้ดูแลระบบและผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้ง ตัดสินจากการอภิปรายของชุมชนและฉันทามติ สิทธิควบคุมดูแลประวัติ (Oversight) และการตรวจสอบผู้ใช้ (checkUser) นั้นได้รับอนุญาตจากเมทา และหลังได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวด สิทธิผู้ใช้ที่ระบบสร้างแสดงรายการใน Special:ListGroupRights
ปัจจุบันวิกิพีเดียภาษาไทยมีผู้ใช้ 490,319 คนที่ลงทะเบียนชื่อผู้ใช้ มีผู้ใช้จำนวนน้อยที่มีส่วนร่วมเป็นประจำ (1,244 คนแก้ไขในช่วง 30 วันหลังสุด) และมีส่วนน้อยของผู้มีส่วนร่วมเหล่านี้ที่เข้าร่วมการอภิปรายของชุมชน มีชาววิกิพีเดียไม่ลงทะเบียนไม่ทราบจำนวนแต่มากพอสมควรก็มีส่วนร่วมในวิกิพีเดียด้วย การสร้างบัญชีนั้นไม่เสียค่าใช้จ่ายและมีสิทธิประโยชน์หลายประการ ตัวอย่างเช่น การแก้ไขโดยสาธารณะไม่เห็นเลขที่อยู่ไอพี
ผู้ดูแลโครงการ
ผู้ดูแลโครงการ (steward) เป็นผู้เขียนอาสาสมัครซึ่งสามารถเข้าถึงอินเตอร์เฟซวิกิอย่างเบ็ดเสร็จในวิกิทั้งหมดของวิกิมีเดีย รวมทั้งความสามารถเปลี่ยนแปลงสิทธิและกลุ่มผู้ใช้ทั้งหมดได้ หมายความว่า ผู้ดูแลโครงการมีสิทธิตรวจสอบผู้ใช้และควบคุมประวัติด้วย พวกเขามีหน้าที่นำไปปฏิบัติทางเทคนิคซึ่งฉันทามติของชุมชน จัดการกับภาวะฉุกเฉิน และแทรกแซงการก่อกวนข้ามวิกิ จำนวนผู้ดูแลโครงการไม่มีนโยบายใดจำกัด ผู้ดูแลโครงการมาจากการเลือกตั้งประจำทุกปีของชุมชนวิกิมีเดียทั่วโลก และแตง่ตั้งจากผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้งจากคณะกรรมการทรัสตี ผู้สมัครจะต้องมีสัดส่วนสนับสนุน/คัดค้านอย่างน้อย 80% และมีผู้ใช้สนับสนุนอย่างน้อย 30 คน ผู้ดูแลโครงการปัจจุบันได้รับการยืนยันระหว่างการเลือกตั้งแต่ละครั้ง ผู้ดูแลโครงการอยู่ภายใต้นโยบายผู้ดูแลโครงการ เอกสารกำกับเพิ่มเติมอ่านได้ที่ สมุดคู่มือผู้ดูแลโครงการ
มูลนิธิวิกิมีเดียสร้างตำแหน่งผู้ดูแลโครงการเมื่อตระหนักถึงความจำเป็นต้องแยกการจัดการสิทธิผู้ใช้จากการพัฒนาซอฟต์แวร์และการบริหารระบบ
ผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้ง
ผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้งเป็นผู้เขียนอาสาสมัครที่มีความสามารถทางเทคนิค (สิทธิผู้ใช้) ในการ
- เลื่อนผู้ใช้อื่นให้มีสถานภาพผู้ดูแลระบบหรือผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้ง
- เพิกถอนสถานภาพผู้ดูแลระบบของผู้ใช้อื่น
- อนุญาตและเพิกถอนสถานภาพบอตของบัญชี
พวกเขาถูกผูกมัดตามนโยบายและฉันทามติให้มอบการเข้าถึงผู้ดูแลระบบและผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้งเฉพาะเมื่อการกระทำนั้นสะท้อนเจตจำนงของชุมชน ซึ่งปกติหลังยื่นคำร้องสำเร็จในวิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล ในลักษณะคล้ายกัน คาดหมายว่าพวกเขาจะใช้วิจารณญาณในการอนุญาตหรือเพิกถอนสิทธิบอต พวกเขาคาดหมายให้เป็นผู้ตัดสินฉันทามติที่มีความสามารถ และคาดหมายให้อธิบายการให้เหตุผลการกระทำของตนในคำร้องและด้วยความสุภาพ ผู้ใช้ได้รับสถานภาพผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้งโดยฉันทามติของชุมชน กระบวนการนี้คล้ายกันกับกระบวนการมอบสถานภาพผู้ดูแลระบบ แต่ความคาดหวังสำหรับอนาคตผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้งสูงกว่าและฉันทามติของชุมชนจะต้องชัดเจนกว่า
ผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้งไม่มีความสามารถทางเทคนิคมอบระดับการเข้าถึงอื่น (คือ ไม่สามารถมอบสิทธิควบคุมดูแลประวัติหรือตรวจสอบผู้ใช้) ซึ่งเป็นการกระทำของผู้ดูแลโครงการ ปัจจุบันวิกิพีเดียภาษาไทยมีผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้ง 3 คน แม้นโยบายมิได้กำหนด แต่ในทางปฏิัับัติผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้งทุกคนเป็นผู้ดูแลระบบด้วย
ผู้ดูแลระบบ
ผู้ดูแลระบบ หรือมักเรียกว่า แอด(มิน) เป็นผู้เขียนซึ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงคุณลักษณะทางเทคนิคที่ถูกจำกัด ตัวอย่างเช่น ผู้ดูแลระบบสามารถล็อกและลบหน้า และบล็อกผู้เขียนอื่น ผู้ดูแลระบบได้รับแต่งตั้งหลังกระบวนการทบทวนของชุมชนสำเร็จที่ วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล ซึ่งผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้งเป็นผู้ตัดสินฉันทามติ ปัจจุบัน วิกิพีเดียภาษาไทยมีผู้ดูแลระบบ 17 คน
ผู้ดูแลระบบมีความรับผิดชอบเป็นอาสาสมัคร ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือของตน และจะต้องไม่ใช้เพื่อให้ได้เปรียบในข้อพิพาทที่ไปข้องเกี่ยวด้วยเด็ดขาด มีเพียงผู้ดูแลโครงการที่มีอำนาจเพิกถอนเอกสิทธิ์ผู้ดูแลระบบของวิกิพีเดียภาษาไทยได้ และคำอนุญาตนี้อาจให้ผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้งหรือผู้ดูแลโครงการเป็นผู้ดำเนินการ
โครงสร้างและการพัฒนาข้อมูล
การพัฒนาโครงสร้างข้อมูลของวิกิพีเดียเกิดในหลายเนมสเปซ เนมสเปซทำให้สามารถจัดระเบียบและแยกหน้าเนื้อหาจากหน้าบริหาร เนมสเปซแยกข้อมูลออกเป็นเซ็ตแกนกลาง ที่เจตนาให้สาธารณะชม และที่เจตนาให้ชุมชนแก้ไข ต่างจากเนมสเปซบทความ และเนมสเปซที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาอื่น เช่น เนมสเปซสถานีย่อย เนมสเปซบริหารใช้สนับสนุนการสร้างเนื้อหาและควรมองว่าแยกต่างหากจากห้าเนื้อหา ยกเว้นกรณีที่จำเป็นต้องเชื่อมโยง กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า หน้าบริหารควรอยู่ในพื้นหลังและผู้อ่านไม่ควรเห็น แต่ละเนมสเปซควรแบ่งแยกและจัดระเบียบข้อมูลตามหน้าที่ของมันภายในเค้าร่างโครงการโดยรวม (บทความ สถานีย่อย ไฟล์ แม่แบบ ฯลฯ)
เนมสเปซหัวเรื่อง | เนมสเปซคุย | ||
---|---|---|---|
0 | (หลัก/บทความ) | พูดคุย | 1 |
2 | ผู้ใช้ | คุยกับผู้ใช้ | 3 |
4 | วิกิพีเดีย | คุยเรื่องวิกิพีเดีย | 5 |
6 | ไฟล์ | คุยเรื่องไฟล์ | 7 |
8 | มีเดียวิกิ | คุยเรื่องมีเดียวิกิ | 9 |
10 | แม่แบบ | คุยเรื่องแม่แบบ | 11 |
12 | วิธีใช้ | คุยเรื่องวิธีใช้ | 13 |
14 | หมวดหมู่ | คุยเรื่องหมวดหมู่ | 15 |
100 | สถานีย่อย | คุยเรื่องสถานีย่อย | 101 |
108 | หนังสือ | คุยเรื่องหนังสือ | 109 |
118 | ฉบับร่าง | คุยเรื่องฉบับร่าง | 119 |
828 | มอดูล | คุยเรื่องมอดูล | 829 |
2300 | 2301 | ||
2302 | 2303 | ||
-1 | พิเศษ | ||
-2 | สื่อ |
หน้าบริหาร รวมหน้าผู้ใช้ หน้านโยบาย หน้าสารสนเทศ หน้าบำรุงรักษา หน้าพูดคุยอยู่ภายในขอบเขตของการบิหาร ซึ่งแยกจากเนื้อหา ในแง่นี้ หมวดหมู่ใช้เป็นทั้งเนื้อหาและการบริหาร แต่ไม่ควรให้หน้าทั้งสองประเภทอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน แม่แบบยังใช้สำหรับทั้งหน้าเนื้อหาและบริหาร ฉะนั้นจึงรวบรวมไว้ด้วยกันและทั้งหมดเป็นหมวดหมู่ย่อยของหมวดหมู่:แม่แบบวิกิพีเดีย ต่างจากหน้าบริหาร
นอกเหนือจากเนมสเปซบทความ ทุกเนมสเปซใช้คำเติมหน้า ตัวอย่างเช่น หน้าผู้ใช้ทุกหน้ามีคำเติมหน้า ผู้ใช้:
และหน้าวิธีใช้มีคำเติมหน้า วิธีใช้:
ค่าโดยปริยายเสิร์ชเอนจินของวิกิพีเดียจำกัดไว้เฉพาะเนมสเปซบทความ ทว่าเมื่อพิมพ์เนมสเปซ "ชื่อ" (คำเติมหน้า) ตามด้วยเครื่องหมายทวิภาค (:) จำกัดผลลัพธ์การค้นหาไว้เฉพาะเนมสเปซนั้น (ดูรายละเอียดที่ พิเศษ:ค้นหา) ระวังสับสนระหว่างคำเติมหน้าเนมสเปซกับคำเติมหน้าสำหรับการโยงข้ามวิกิ ทุกเนมสเปซมีค่าตัวเลขซึ่งตั้งใจว้สำหรับซ่อนหน้าทางรายการเฝ้าดู
เนมสเปซเนื้อหา
เนมสเปซเนื้อหาตั้งให้ใช้ผู้อ่านใช้เป็นส่วนหนึ่งของสารานุกรม
เนมสเปซบทความ
เนมสเปซหลักหรือเนมสเปซบทความเป็นเนมสเปซของวิกิพีเดียซึ่งมีตัวสารานุกรม คือ ที่อยู่ของบทความวิกิพีเดียซึ่งเป็นเนื้อหา เนมสเปซหลักเป็นเนมสเปซโดยปริยายและไม่มีคำเติมหน้าในชื่อหน้าบทความ ต่างจากเนมสเปซอื่นที่ชื่อหน้ามีคำเติมหน้าเสมอเป็นตัวบ่งชี้เนมสเปซที่หน้านั้น ๆ อยู่ ฉะนั้น หน้าใดที่สร้างโดยไม่มีคำเติมหน้าจะถูกจัดเข้าเนมสเปซบทความอัตโนมัติ เลขเนมสเปซหลักคือ 0
เนมสเปซสถานีย่อย
เนมสเปซสถานีย่อยเจตนาใช้เป็น "หน้าหลัก" สำหรับเนื้อหา (บทความ) ในหัวข้อหรือขอบเขตจำเพาะ ความคิดของสถานีย่อยคือช่วยให้ผู้อ่านและ/หรือผู้เขียนนำทางผ่านขอบเขตหัวข้อวิกิพีเดียผ่านหน้าคล้ายหน้าหลัก สถานีย่อยอาจสัมพันธ์กับวิกิพีเดีย:โครงการวิกิ แต่ต่างจากโครงการวิกิ สถานีย่อยตั้งใจไว้สำหรับทั้งผู้อ่านและผู้เขียนวิกิพีเดีย และควรส่งเสริมเนื้อหาและการนำทาง
อาจเพิ่มลิงก์สถานีย่อยโดยพิมพ์ {{สถานีย่อย|<ชื่อสถานีย่อย>}} ตัวอย่างเช่น {{สถานีย่อย|วิทยาศาสตร์}} หากจะโยงมากกว่าหนึ่งสถานีย่อย ให้ใช้ตัวแปรเสริมที่สอง ตัวอย่างเช่น {{สถานีย่อย|วิทยาศาสตร์|ประวัติศาสตร์}} หน้าในเนมสเปซนี้จะต้องมีคำเติมหน้า สถานีย่อย:
เสมอ เลขเนมสเปซสถานีย่อย คือ 100
เนมสเปซหมวดหมู่
เนมสเปซหมวดหมู่เป็นคุณลักษณะซอฟต์แวร์ของมีเดียวิกิ ซึ่งทำให้เพิ่มหน้าเข้าการแสดงรายการอัตโนมัติได้ หามวดหมู่ช่วยจัดโครงสร้างหน้าเนื้อหาและบริหารของวิกิพีเดียโดยจัดกลุ่มหน้าในเรื่องทำนองเดียวกัน หน้าหมวดหมู่แสดงรายการบทความ (หรือหน้าบริหาร) ที่เพิ่มเข้าหมวดหมู่นั้น ๆ นอกจากนี้ยังมีการแสดงรายการส่วนหมวดหมู่ย่อยของหมวดหมู่นั้นด้วย คุณลักษณะการจัดหมวดมหู่ย่อยทำให้สามารถจัดระเบียบหมวดมหู่เป็นโครงสร้างคล้ายต้นไม้เพื่อช่วยนำทางได้
หน้าบทความควรถูกเก็บออกจากหมวดหมู่บริหารหากเป็นไปได้ มีหมวดหมู่บริหารต่างหากสำหรับหน้าอื่นนอกเหนือจากบทความประเภทต่าง ๆ เช่น หมวดหมู่แม่แบบ หมวดหมู่หน้าแก้ความกำกวม หมวดหมู่หน้าโครงการ เป็นต้น
การเพิ่มหน้าเข้าหมวดหมู่ ให้ใส่ "[[หมวดหมู่:ชื่อหมวดหมู่]]
" หรือ "[[หมวดหมู่:ชื่อหมวดหมู่|แป้นเรียงลำดับ]]
" ในมาร์กอัพวิกิของหน้านั้น หมวดหมู่ของหน้าหนึ่ง ๆ ปรากฏในกล่องท้ายสุดของหน้า หน้าในเนมสเปซนี้จะมีคำเติมหน้า หมวดหมู่:
เลขเนมสเปซหมวดหมู่ คือ 14 สำหรับมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วไปดู วิกิพีเดีย:การจัดหมวดหมู่
เนมสเปซหนังสือ
เนมสเปซหนังสือไว้สำหรับรวบรวมบทความวิกิพีเดียที่สามารถบันทึกได้โดยง่าย เรนเดอร์อิเล็กทรอนิกส์และสั่งเป็นหนังสือพิมพ์ได้ หน้าในเนมสเปซนี้จะมีคำเติมหน้า หนังสือ:
เสมอ เลขเนมสเปซหนังสือคือ 108
เนมสเปซบริหาร
เนมสเปซบริหารไว้สำหรับผู้เขียนหรือเครื่องมืออัตโนมัติใช้สำหรับการบริหารและวิธีการปคกรองสารานุกรม
เนมสเปซพูดคุย
สำหรับเนมสเปซทุกประเภท (รวมทั้งเนมสเปซหลัก) จะมีเนมสเปซพูดคุยหรือหน้าพูดคุยที่สอดคล้องกันเสมอ ซึ่งเข้าถึงได้โดยคลิกแถบ อภิปราย เหนือชื่อเรื่อง เนมสเปซพูดคุยที่สัมพันธ์กับแต่ละเนมสเปซเป็นที่ซึ่งผู้เขียนสามารถอภิรปายและสนทนางานของพวกตนในหน้าบริหารและเนื้อหาต่าง ๆ ในเนมสเปซที่สัมพันธ์กัน
หน้าพูดคุยได้ชื่อโดยผนวกคำว่า คุยเรื่อง
ต่อด้วยชื่อเนมสเปซ เนมสเปซพูดคุยที่สัมพันธ์กับเนมสเปซบทความคือ พูดคุย: ส่วนเนมสเปซผู้ใช้และโครงการเป็นเลขคู่ (หรือ 0 ในกรณีของเนมสเปซหลัก) เนมสเปซพูดคุยเป็นเลขคี่ และได้รับกำหนดเลขคี่ซึ่งตามหลังเลขเนมสเปซที่สัมพันธ์
เนมสเปซผู้ใช้
วิกิพีเดียจัดหน้าผู้ใช้ส่วนบุคคลในเนมสเปซผู้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การสื่อสารระหว่างผู้เข้าร่วมเพื่อสร้างสารานุกรม โดยทั่วไป เลี่ยงเนื้อหาสาระสำคัญในหน้าผู้ใช้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดีย วิกิพีเดียไม่ใช่บริการสร้างเว็บทั่วไป ฉะนั้นจึงห้ามใช้หน้าผู้ใช้เป็นเว็บไซต์ส่วนตัว ทว่า หน้าผู้ใช้อาจว่าด้วย "ตัวบุคคล" ในฐานะชาววิกิพีเดียของผู้ใช้คนนั้น ๆ ได้ รวมหน้าที่ผู้ใช้เข้ามีส่วนร่วมหรือความสนใจโดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับเรื่องหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดีย การบริหารและเนื้อหา นอกจากนี้ มีความตกลงกว้าง ๆ ว่า ห้ามมีสาระใด ๆ ในสเปซผู้ใช้ของผู้นั้นที่อาจทำให้โครงการเสื่อมเสียได้
หากต้องการเข้าถึงหน้าผู้ใช้ ให้พิมพ์ ผู้ใช้:ชื่อผู้ใช้
โดยที่ "ชื่อผู้ใช้" เป็นชื่อผู้ใช้ในวิกิพีเดียของผู้ใช้นั้น เนมสเปซพูดคุยที่สัมพันธ์กับเนมสเปซผู้ใช้มีคำเติมหน้า คุยกับผู้ใช้:
เนมสเปซผู้ใช้ได้รับกำหนดเนมสเปซเลข 2
เนมสเปซ "วิกิพีเดีย" หรือโครงการ
แม้ดูจากชื่อแล้ว เนมสเปซวิกิพีเดียหรือเนมสเปซโครงการจะมีเนื้อหาบทความวิกิพีเดียแท้จริง แต่ความจริงไม่ใช่ เนมสเปซหลักเป็นเนมสเปซโดยปริยาย ฉะนั้นจึงไม่ใช้คำเติมหน้าในชื่อหน้าบทความ เนมสเปซโครงการเป็นเนมสเปซซึ่งประกอบด้วยหน้าที่มีสารสนเศหรือการอภิปรายเกี่ยวกับวิกิพีเดียเอง ตัวอย่างเช่น หน้าเนมสเปซวิกิพีเดียเป็นหน้าบริหารทั้งหมด และควรเลี่ยงการสอดแทรกเนื้อหาสาระสำคัญยกเว้นเนื้อหานั้นเกี่ยวข้องกับการบริหาร เนมสเปซโครงการมีนโยบาย แนวปฏิบัติ เรียงความ โครงการวิกิ หน้าสารสนเทศ อภิปราย การบำรุงรักษาและกระบวนการบางอย่าง "หน้าสารสนเทศ" นี้ก็อยู่ในเนมสเปซวิกิพีเดีย
หน้าในเนมสเปซนี้จะมีคำเติมหน้า วิกิพีเดีย:
เสมอ เลขของเนมสเปซวิกิพีเดียคือ 4
เนมสเปซวิธีใช้
เนมสเปซวิธีใช้ประกอบด้วยหน้าวิกิพีเดียซึ่งชื่อเรื่องขึ้นต้นด้วยคำเติมหน้า วิธีใช้:
ตัวอย่างเช่น วิธีใช้:ลิงก์ หน้าเหล่านี้มีสารสนเทศซึ่งตั้งใจช่วยเหลือการใช้วิกิพีเดียหรือซอฟต์แวร์ หน้าเหล่านี้บางหน้าเจตนาสำหรับผู้อ่านสารานุกรม บางหน้าเจตนาสำหรับผู้เขียน ไม่ว่าผู้เขียนเริ่มต้นหรือขั้นสูง บางหน้าในเนมสเปซวิธีใช้คัดลอกมาจากเมทาวิกิ
มีความทับซ้อนกันมากระหว่างเนมสเปซวิธีใช้กับเนมสเปซวิกิพีเดีย ด้วยเหตุนี้จึงมักมีการเปลี่ยนทางและหมายเหตุบนระหว่างสองเนมสเปซนี้ เลขของเนมสเปซวิธีใช้คือ 12
เนมสเปซไฟล์
เนมสเปซไฟล์มีภาพพรรณนาและสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นทั้งหลาย เนมสเปซไฟล์เป็นเนมสเปซที่เก็บเนื้อหาสื่อทั้งหมดของวิกิพีเดีย รวมทั้งไฟล์ข้อมูลสำหรับภาพ คลิปวิดีทัศน์ หรือคลิปเสียง รวมทั้งคลิปความยาวเอกสาร หรือไฟล์มีดี (ไฟล์คำสั่งคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก) ชื่อไฟล์สื่อทั้งหมดขึ้นต้นด้วยคำเติมหน้า ไฟล์:
เลขของเนมสเปซไฟล์คือ 6
ปกติสามารถแทรกไฟล์ได้ด้วยบรรทัดคำสั่ง [[ไฟล์:...|thumb|...]]
ซึ่งสามารถแทน ไฟล์:
ด้วย ภาพ:
ได้โดยไม่เปลี่ยนแปลงผลสำหรับภาพ ตัวเลือกระหว่างสองคำนี้ขึ้นอยู่กับความพึงใจของผู้ใช้
เนมสเปซแม่แบบ
เนมสเปซแม่แบบใช้สำหรับเก็บแม่แบบ ซึ่งตั้งใจไว้สอดแทรกในหน้าหลายหน้า แม่แบบเป็นคุณลักษณะบริหารซึ่งโดยทั่วไปทำซ้ำเนื้อหาเดียวกันในหน้ามากกว่าหนึ่งหน้า ขณะที่ช่วยลดข้อความวิกิและมาร์กอัพเอชทีเอ็มแอล คุณสามารถเปลี่ยนแม่แบบแล้วมันจะแพร่ไปยังหน้าที่ใช้แม่แบบนั้นทันที การใช้ทั่วไปมีการแสดงประกาศบริหาร กล่องข้อมูล กล่องนำทาง คำเตือนมาตรฐาน การจัดรูปแบบข้อความพิเศษ การแปลงหน่วย การคำนวณและจุดประสงค์อื่น ๆ วิธีใช้การสอดแทรกที่พบบ่อยสุดเรียก การรวมผ่าน (transclusion) ซึ่งข้อความวิกิจากหน้เป้าหมายมีอ้างอิงไปแม่แบบ โดยใช้วากยสัมพันธ์ {{แม่แบบ:ชื่อแม่แบบ}}
หน้าในเนมสเปซนี้มีคำเติมหน้า แม่แบบ:
เสมอ เลขของเนมสเปซแม่แบบคือ 10 สำหรับสารสนเทศการพัฒนาแม่แบบและรายละเอียดวากยสัมพันธ์ดู วิธีใช้:แม่แบบ
เนมสเปซมีเดียวิกิ
เนมสเปซมีเดียวิกิเป็นเนมสเปซโครงสร้างฐานข้อมูลที่ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิใช้ ซึ่งดำเนินการวิกิพีเดีย หน้าในเนมสเปซนี้ (ซึ่งชื่อเรื่องขึ้นต้นด้วย มีเดียวิกิ:
) มีข้อความซึ่งแสดงในบางหน้าในอินเตอร์เฟซเว็บ เฉพาะผู้ดูแลระบบเท่านั้นที่สามารถแก้ไขเนมสเปซนี้ แต่ผู้เขียนทุกคนสามารถเสนอการเปลี่ยนแปลงในหน้าพูดคุยที่เหมาะสม เลขเนมสเปซมีเดียวิกิคือ 8
เนมสเปซเสมือน
มีสองเนมสเปซเสมือนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับหน้าท่ี่เก็บไว้ในฐานข้อมูล ได้แก่ พิเศษและสื่อ
เนมสเปซพิเศษ
หน้าพิเศษเป็นหน้าที่ไม่มีข้อความวิกิ แต่สร้างขึ้นจากซอฟต์แวร์ตามความต้องการ พบในเนมสเปซ "พิเศษ:" ไม่สามารถเปลี่ยนทางไปหน้าพิเศษ หรือสร้างหน้าธรรมดาขึ้นต้นด้วยคำเติมหน้า "พิเศษ:" ได้ หน้าพิเศษมักมีตัวแปรเสริม บางครั้งหน้าเหล่านี้สามารถจัดหาได้หลังเครื่องหมายทับ (ดังเช่น Special:Log/block) ในกรณีอื่น มีการใช้การเรียก index.php (ดังเช่นใน Special:RecentChanges) นอกจากนี้เนื้อหาของหน้าพิเศษบางหน้ายังขึ้นอยู่กับค่าพึงใจที่ผู้ใช้ตั้ง เช่น รายการปรับปรุงล่าสุดแบบคลาสสิกหรือเสริม จำนวนชื่อเรื่องในรายการปรับปรุงล่าสุดและรายการเฝ้าดู เป็นต้น
หน้าพิเศษสามารถเข้าถึงได้จาก Special:SpecialPages ซึ่งพบในแถบข้างของทุกหน้าในวิกิพีเดีย ตั้งอยู่ในส่วนเครื่องมือ เลขของเนมสเปซพิเศษคือ -1
เนมสเปซสื่อ
เนมสเปซสื่อใช้เรนเดอร์ลิงก์ซึ่งสามารถเปิดใช้งานภาพหรือเสียงหรือวิดีทัศน์ของไฟล์ข้อมูลโดยตรงในหน้าของสื่อเอง (แยกจากหน้าเรนเดอร์หรือหน้าไฟล์) ตัวอย่างเช่น Media:Great Feeling.ogv เลขเนมสเปซสื่อคือ -2