ลีลาวดี วัชโรบล
ลีลาวดี วัชโรบล | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
เขตเลือกตั้ง | เขต 5 |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 มกราคม พ.ศ. 2510 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชากรไทย (2543–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
บุพการี |
|
การศึกษา | โรงเรียนจิตรลดา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (กศ.บ.) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (นศ.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ค.ด.) |
อาชีพ | นักการเมือง นักแสดง นักร้อง พิธีกร นางงาม |
ทรัพย์สินสุทธิ | 21 ล้านบาท (2557) |
ชื่อเล่น | ลี |
อาชีพแสดง | |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2528–2548 |
ผลงานเด่น | หทัย - แม่ผัวมหาภัยกับสะใภ้สารพัดพิษ (2534) แม่นาค - แม่นาคพระโขนง (2537) |
การประกวดความงาม | |
ผู้ดำรงตำแหน่งการประกวดความงาม | |
รางวัล | นางสาวไทย 2528 (รองชนะเลิศอันดับที่ 1) |
ลีลาวดี วัชโรบล ป.ม. ท.ช. (เกิด 23 มกราคม พ.ศ. 2510) ชื่อเล่น ลี นักการเ��ืองและอดีตนักแสดงชาวไทย อดีตคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พวงเพ็ชร ชุนละเอียด) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรองนางสาวไทย อันดับ 1
ประวัติ
[แก้]ลีลาวดี วัชโรบล เกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2510 ที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรสาวของ พลอากาศตรี ตะนัย และนางจินตนา วัชโรบล และมีศักดิ์เป็นหลานสาวของ ศ.ดร.คลุ้ม วัชโรบล อดีตนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยที่มีชื่อเสียง
จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนจิตรลดา ปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และปริญญาเอก ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปี พ.ศ. 2559 กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ออกหมายจับข้อหาขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่[1] และ ปี พ.ศ. 2560 ตำรวจกองปราบปรามได้แจ้งข้อหา กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116[2]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ยังคงเป็นโสด และเป็นผู้ปฏิบัติธรรมโดยมีความศรัทธาต่อวัดพระธรรมกายอย่างเหนียวแน่น[3]
ผลงานเพลง
[แก้]ลีลาวดี วัชโรบล มีผลงานการแสดง ภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง คือเรื่อง 18 กะรัต ร่วมกับศิลปินอื่น ๆ ในค่ายนิธิทัศน์ โปรโมชั่น และมีผลงานเพลงกับทางค่ายด้วย 5 ชุด ชุดละ 1 เพลง ดังต่อไปนี้ คือ
ชุด พบดาว (พ.ศ. 2527) เพลง "รักใต้ร่มไทร" โดยร้องคู่กับ โป้ง - ทรรศิน บุญแต่ง
และร้องเพลงคู่กันมาตลอด ที่มีผลงานเพลงร้องคู่ คือ ตั้งแต่ ชุด "พบดาว" จนถึง "18 กะรัต ชุดที่ 3" และแสดงภาพยนตร์คู่กัน เรื่อง 18 กะรัต
18 กะรัต ชุดที่ 1 (พ.ศ. 2527) เพลง "ชื่นชมสมรัก" (โป้ง & ลี)
18 กะรัต ชุดที่ 2 (พ.ศ. 2528) เพลง "ชมไพรในฝัน" (โป้ง & ลี)
18 กะรัต ชุดที่ 3 (พ.ศ. 2529) เพลง "อย่าโกรธกันเลย" (โป้ง & ลี)
18 กะรัต ชุดพิเศษ (พ.ศ. 2530) เพลง "โลกสวยด้วยยิ้ม" (ร้องเดี่ยว)
วงการบันเทิง
[แก้]มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักการเป็นรองนางสาวไทยอันดับที่ 1 และขวัญใจช่างภาพจากการประกวดเมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่ สวนสยาม โดยนางสาวไทยปีนั้นคือ ธารทิพย์ พงษ์สุขและเป็นตัวแทนสาวไทยไปประกวด มิสเอเชียแปซิฟิก ปี 1985 ที่ เกาะฮ่องกง ไม่ผ่านเข้ารอบ[4]
การแสดง
[แก้]จากนั้นได้เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการแสดงเป็นนางเอก ได้แสดงในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายเรื่อง อาทิ นายร้อยสอยดาว เมื่อปี พ.ศ. 2529 คู่กับ อธิป ทองจินดา, รักกันเล่นๆ (ไม่เห็นเป็นไร) ในปีเดียวกัน คู่กับ สรายุทธ คณานุรักษ์, ปืนเถื่อน ในปีเดียวกัน คู่กับ สรพงษ์ ชาตรี, ไฟซ่อนเชื้อ ในปี พ.ศ. 2530, กองร้อยสบาย สบาย ในปี พ.ศ. 2533 คู่กับ รอน บรรจงสร้าง ก่อนที่จะมีบทบาทการแสดงครั้งสุดท้ายคือ ละครโทรทัศน์ทางช่อง 7 เรื่อง มิตร ชัยบัญชา มายาชีวิต ออกอากาศปี พ.ศ. 2548 โดยรับบทเป็น สุภาพ ทัศนพยัคฆ์ ภรรยาของครู รังสี ทัศนพยัคฆ์
ผลงานภาพยนตร์
[แก้]- 18 กะรัต (2528)
- นายร้อยสอยดาว (2529) คู่กับ อธิป ทองจินดา
- รักกันเล่นๆ (ไม่เห็นเป็นไร) (2529)
- ปืนเถื่อน (2529)
- ไฟซ่อนเชื้อ (2530)
- มันแอบอยู่ในหอ (2530)
- กองร้อยสบาย สบาย (2532)
- วัยดิบ (2533)
ผลงานละครโทรทัศน์
[แก้]- 2531 สายรุ้งสลาย ช่อง 3
- 2531 เพียงหัวใจปรารถนา ช่อง 7
- 2532 เคหาสน์สีแดง ช่อง 7 รับบท เสาวรส
- 2532 ท่าฉลอม ช่อง 9 คู่กับ ลิขิต เอกมงคล
- 2532 ลูกมาร ช่อง 9
- 2532 กว่าจะถึง(ท่า)พระจันทร์ ช่อง 9
- 2534 พิษสวาท ช่อง 5 รับบท อุบล/สโรชินี คู่กับ เล็ก ไอศูรย์
- 2534 แม่ผัวมหาภัยกับสะใภ้สารพัดพิษ ช่อง 5
- 2534 ลิขิตพิศวาส ช่อง 9 คู่กับ อรรถชัย อนันตเมฆ
- 2534 แม่เลี้ยงคนใหม่ ช่อง 9
- 2535 ลางรัก ช่อง 5 คู่กับ ภาณุเดช วัฒนสุชาติ
- 2535 เมียไม่ใช่เมีย ช่อง 3 คู่กับ ไพโรจน์ สังวริบุตร, รอน บรรจงสร้าง
- 2535 เจ้าสาวแสนกล ช่อง 5 คู่กับ ภาณุเดช วัฒนสุชาติ
- 2535 แฝดอลเวง ช่อง 3 คู่กับ สถาพร นาควิลัย
- 2536 มฤตยูยอดรัก ช่อง 5 คู่กับ ยุรนันท์ ภมรมนตรี
- 2537 ระบำอสูร ช่อง 5 คู่กับ ตฤณ เศรษฐโชค
- 2537 กระเช้าสีดา ช่อง 3
- 2537 แม่นาคพระโขนง ช่อง 5 รับบท แม่นาค คู่กับ วรุฒ วรธรรม
- 2538 ความรักสีดำ ช่อง 5
- 2538 หุ่นไล่กา ช่อง 5 รับเชิญ
- 2539 เพื่อนรักนักกีฬา ช่อง 3
- 2548 มิตร ชัยบัญชา มายาชีวิต ช่อง 7 รับบท สุภาพ ทัศนพยัคฆ์
ผลงานละครเวที
[แก้]- 2534 สัญญาณเลือดสัญญารัก
- 2536 ทู้ตซี่
- 2537 สาวสติเสีย
ผลงานพิธีกร
[แก้]- 2531 ไนท์โชว์ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
- 2532 7 สีฟรีสไตล์ ช่อง 7 สี
- 2534 ทีวี 24 น. ช่อง 7 สี
วงการการเมือง
[แก้]ลีลาวดีได้เข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการที่ตัวเองและแม่มีความนับถือนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทย เคยมีตำแหน่งเป็นโฆษกและกรรมการบริหารพรรคประชากรไทย ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 12 ในสังกัดพรรคประชากรไทยแต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครเลือกตั้งอีกครั้งในสังกัดพรรคพลังประชาชน เขต 1 กรุงเทพมหานคร แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้งอีก[5] แต่ได้รับตำแหน่งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (สมชาย วงศ์สวัสดิ์) ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช[6] ซึ่งก่อนนั้นยังเคยเป็นโฆษกและอนุกรรมาธิการการศาสนา วุฒิสภา, รองโฆษกและผู้ช่วยเลขานุการ คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา มาก่อน
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตที่ 5 (ราชเทวี - ดุสิต) และได้รับเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยได้คะแนนไป 38,206 คะแนน ชนะ นางสาวจิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี ที่ได้คะแนน 37,528 คะแนน
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เธอลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และเธอได้ลงสมัคร ส.ส. ในการเลือกตั้งครั้งถัดมา (พ.ศ. 2566) โดยสังกัดพรรคเดิม[7] แต่มิได้รับการเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 'ลีลาวดี'ขึ้นศาลธัญบุรี ยื่นฟ้องดีเอสไอ ถูกออกหมายจับขวางจนท.ช่วงค้นวัดพระธรรมกาย
- ↑ แจ้งข้อหา “ลีลาวดี” ศิษย์ธรรมกาย “ยุยงปลุกปั่น” เตือนวัดรื้อสิ่งปลูกสร้างรุกที่สาธารณะ
- ↑ เปิดเทปพระดูดทรัพย์รักษาสาวก จากเดลินิวส์ สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน พ.ศ. 2542
- ↑ "นางงามในบทบาทของนักการเมือง ลีลาวดี วัชโรบล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-04. สืบค้นเมื่อ 2011-03-23.
- ↑ วิเคราะห์: เจาะสนามเลือกตั้ง กรุงเทพฯ “ปชป.” VS “พปช.”[ลิงก์เสีย] จากโอเคเนชั่น
- ↑ "นายกรัฐมนตรี ควบ รมว.กลาโหม หัวหน้าพรรคพลังประชาชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-04. สืบค้นเมื่อ 2011-03-23.
- ↑ เปิดชื่อว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เพื่อไทย ครบทุก 400 เขต
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๔๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2510
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากเขตจตุจักร
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- นางงามไทย
- นักแสดงหญิงชาวไทย
- นักร้องหญิงชาวไทย
- ศิลปินสังกัดนิธิทัศน์ โปรโมชั่น
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- พรรคประชากรไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนจิตรลดา
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- บุคคลจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- นิสิตเก่าคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.