รีชาร์ที่ 1 แห่งนอร์ม็องดี
ริชาร์ดที่ 1 ผู้ไม่กลัวใคร | |
---|---|
ริชาร์ดผู้ไม่กลัวใครเป็นส่วนหนึ่งของรูปปั้นหกดยุคแห่งนอร์ม็องดีในจัตุรัสเมืองฟาเลส | |
เคานต์แห่งรูอ็อง | |
เกิด | 28 สิงหาคม ค.ศ. 932, เฟค็อมป์ นอร์ม็องดี ฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 996 (อายุ 64 ปี), เฟค็อมป์ นอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส |
บิดา | วิลเลี่ยมผู้ดาบยาว |
มารดา | สโปรต้า |
ภรรยา | เอ็มมาแห่งปารีส
กุนนอร์ |
บุตร/ธิดา | ริชาร์ดที่ 2 แห่งนอร์ม็องดี โรแบต์ที่ 2 อาร์ชบิชอปแห่งรูอ็อง |
ขุนนางฝรั่งเศส - กษัตริย์ฝรั่งเศส - ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส |
ริชาร์ดที่ 1 (28 สิงหาคม ค.ศ. 932 – 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 996) หรือ ริชาร์ดผู้ไม่กลัวใคร (อังกฤษ: Richard the Fearless, ฝรั่งเศส: Richard Sans-Peur, ภาษานอร์สโบราณ: Jarl Richart) เป็นเคานต์แห่งรูอ็องหรือยาร์ลแห่งรูอ็องตั้งแต่ ค.ศ. 942 จนถึง ค.ศ. 996 ริชาร์ดทำให้นอร์ม็องดีเข้าสู่สังคมศักดินาที่เขาเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมด ผู้ติดตามของเขาครองดินแดนที่ได้รับจากการจงรักภักดีต่อเขา เขาทำให้นอร์ม็องดีมีอำนาจแข็งแกร่งขึ้นมาในฝรั่งเศสตะวันตก
ชีวิตช่วงแรก
[แก้]ริชาร์ดเป็นบุตรชายของวิลเลียมดาบยาว พร็องเซป[1] หรือผู้ปกครองแห่งนอร์ม็องดี มารดาของเขาชื่อสโปรต้า[2] เธอเป็นนักโทษชาวเบรตันที่ถูกจับกุมตัวในสงครามที่ต่อมาวิลเลี่ยมแต่งงานด้วย[3] เล่ากันว่าวิลเลี่ยมผู้ดาบยาวมีบุตรชายหลังสมรภูมิกับริยูฟและกบฏชาวไวกิ้งคนอื่นๆ แต่เขาเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับจนกระทั่งสองสามปีต่อมา ในตอนที่เขาเจอกับบุตรชายครั้งแรก เขาจูบบุตรชาย และตั้งบุตรชายเป็นทายาทในนอร์ม็องดี จากนั้นวิลเลี่ยมส่งริชาร์ดไปรับการดูแลในบายูซ์[4]
ในตอนที่บิดาของเขาตาย ริชาร์อายุเพียง 10 ปี (เขาเกิดใน ค.ศ. 933)[2] พระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศสตัดสินใจควบคุมดูแลนอร์ม็องดีด้วยตนเอง กษัตริย์ให้ดยุคน้อยอยู่ในการดูแลของเคานต์แห่งปงธิว[5] จากนั้นพระองค์มอบดินแดนในนอร์ม็องดีล่างให้แก่ยูกผู้ยิ่งใหญ่ พระเจ้าหลุยส์จับริชาร์ดเป็นนักโทษที่เลิน[6] ด้วยความกลัวว่ากษัตริย์จะทำร้ายเด็กน้อย อูสมงด์ เดอ ซงต���วีลล์, แบร์นาร์ด เดอ ซอนลีส (ที่เป็นสหายของปู่ของริชาร์ด รอลโล), อีโว เดอ เบลเลส์ม และแบร์นาร์ดผู้เป็นชาวเดนปล่อยริชาร์ดเป็นอิสระ[7]
ดยุคแห่งนอร์ม็องดี
[แก้]ใน ค.ศ. 946 ริชาร์ดตกลงอยู่ในความคุ้มครองของยูก เคานต์แห่งปารีส จากนั้นเขาผูกมิตรกับเหล่าผู้นำชาวนอร์มันและชาวไวกิ้ง พวกเขาร่วมกันผลักดันพระเจ้าหลุยส์ออกจากรูอ็องและยึดนอร์ม็องดีกลับคืนมาใน ค.ศ. 947[8] ใน ค.ศ. 962 ธีโอบาลที่ 1 เคานต์แห่งบลัวส์โจมตีรูอ็อง แต่กองทัพของริชาร์ดปราบพวกเขาได้[9] พระเจ้าโลแธร์ กษัตริย์แห่งฟรังเกียตะวันตกก้าวเข้ามายับยั้งการทำสงครามเพิ่มระหว่างทั้งคู่[10] ในช่วงของการครองตำแหน่งที่เหลือ ริชาร์ดเลือกที่จะไม่ทำให้นอร์ม็องดีใหญ่ขึ้น แต่เขาทำให้นอร์ม็องดีแข็งแกร่งขึ้นแทน[11]
ริชาร์ดใช้การแต่งงานในการสร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่ง การแต่งงานกับเอ็มมาทำให้เขาได้สายสัมพันธ์กับตระกูลกาเปต์มา ภรรยาของเขากุนนอร์มาจากกลุ่มไวกิ้งฝั่งตรงข้ามในโคต็องแต็ง การแต่งงานกับเธอทำให้เขาได้การสนับสนุนจากครอบครัวของเธอ พี่น้องหญิงของเขาแต่งงานกับผู้ติดตามที่ภักดีหลายคนของริชาร์ด[12] ลูกๆ ผู้หญิงของริชาร์ดยังสร้างพันธมิตรด้วยการแต่งงานที่แสนมีค่ากับเคานต์ที่มีอำนาจและกษัตริย์แห่งอังกฤษ[12] ริชาร์ดยังทำให้โบสถ์และอารามใหญ่ๆ อยู่ฝั่งเดียวกับเขา ช่วงเวลาที่ครองตำแหน่งของเขาโดดเด่นด้วยการเป็นยุคแห่งสันติภาพและความสงบสุขที่ยาวนาน[13] ริชาร์ดตายที่เฟค็อมป์ นอร์ม็องดี เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 996[14]
การแต่งงาน
[แก้]ริชาร์ดแต่งงานครั้งแรก (ค.ศ. 960) กับเอ็มมา บุตรสาวของยูกผู้ยิ่งใหญ่แห่งฝรั่งเศส[2] ทั้งคู่สัญญากันตั้งแต่ยังเด็ก เธอตายหลังวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 968 ก่อนที่ทั้งคู่จะได้มีบุตรด้วยกัน[2]
ริชาร์ดมีบุตรกับอนุภรรยา กุนนอรา ที่ต่อมาริชาร์ดแต่งงานกับเธอเพื่อให้บุตรของทั้งคู่ถูกต้องตามกฎหมาย[2]
- ริชาร์ดที่ 2 ผู้ดีงาม ดยุคแห่งนอร์ม็องดี[2]
- โรแบต์ที่ 2 อาร์ชบิชอปแห่งรูอ็อง เคานต์แห่งอีฟโรซ์[2]
- มูเฌร์ เอิร์ลแห่งคอร์เบล์[2]
- เอ็มมาแห่งนอร์ม็องดี พระมเหสีของสองกษัตริย์แห่งอังกฤษ[2]
- โมดแห่งนอร์ม็องดี ภรรยาของโอโดที่ 2 เคานต์แห่งบลัวส์, ช็อมปาญ และชาร์ตร์[2]
- อาไวซ์แห่งนอร์ม็องดี แต่งงานกับจอฟฟรีย์ที่ 1 ดยุคแห่งบริตทานี[2]
- ปาเปียแห่งนอร์ม็องดี
- วิลเลี่ยม เคานต์แห่งอู
ลูกนอกสมรส
[แก้]เป็นที่รู้กันว่าริชาร์ดมีอนุภรรยาหลายคนและมีหลายคนที่เขามีลูกด้วย ลูกๆ ที่เป็นที่รู้จัก คือ
- จอฟฟรีย์ เคานต์แห่งอู[15]
- วิลเลี่ยม เคานต์แห่งอู[15]
- เบียทริซแห่งนอร์ม็องดี พระอธิการิณีแห่งมงต์วีลลีเยร์ ตาย ค.ศ. 1034 แต่งงานกับอีบเบิลแห่งทูแร็นน์[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Annals of Flodoard of Reims; 916–966, ed. & trans. Steven Fanning and Bernard S. Bachrach (University of Toronto Press, 2011), p. 32
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln|Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band II (Marburg, Germany: J. A. Stargardt, 1984), Tafel 79
- ↑ The Normans in Europe, ed. & trans. Elisabeth van Houts (Manchester University Press, 2000), p. 47 n. 77
- ↑ Eleanor Searle, Predatory Kinship and the Creation of Norman Power, 840–1066 (University of California Press, Berkeley, 1988), p. 95
- ↑ Pierre Riché, The Carolingians; A Family who Forged Europe, trans. Michael Idomir Allen (University of Pennsylvania Press, Philadelphia, 1993) pp. 262–3
- ↑ Eleanor Searle, Predatory Kinship and the Creation of Norman Power, 840–1066 (University of California Press, Berkeley, 1988), p. 80
- ↑ The Gesta Normannorum Ducum of William of Jumieges, Orderic Vatalis, and Robert of Torigni, Vol. I, ed. & trans. Elisabeth M.C. van Houts (Clarendon Press, Oxford, 1992) pp. 103, 105
- ↑ Eleanor Searle, Predatory Kinship and the Creation of Norman Power, 840–1066 (University of California Press, Berkeley, 1988), pp. 85–6
- ↑ he Annals of Flodoard of Reims; 916–966, ed. & trans. Steven Fanning and Bernard S. Bachrach (University of Toronto Press, 2011), p. 66
- ↑ Pierre Riché, The Carolingians; A Family who Forged Europe, trans. Michael Idomir Allen (University of Pennsylvania Press, Philadelphia, 1993), p. 265
- ↑ Eleanor Searle, Predatory Kinship and the Creation of Norman Power, 840–1066 (University of California Press, Berkeley, 1988), p. 89
- ↑ 12.0 12.1 A Companion to the Anglo-Norman World, ed. Christopher Harper-Bill, Elisabeth Van Houts (The Boydell Press, Woodbridge, 2007), p. 27
- ↑ François Neveux. A Brief History of The Normans(Constable & Robbinson, Ltd, London, 2008), pp. 73. 74
- ↑ François Neveux. A Brief History of The Normans(Constable & Robbinson, Ltd, London, 2008), p. 74
- ↑ 15.0 15.1 David Douglas, 'The Earliest Norman Counts', The English Historical Review, Vol.61, No. 240 (May 1946), p. 140