ข้ามไปเนื้อหา

ริโนะ ซาชิฮาระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ริโนะ ซาชิฮาระ
指原莉乃
ริโนะ ซาชิฮาระในปี พ.ศ. 2561
เกิด (1992-11-21) พฤศจิกายน 21, 1992 (32 ปี)
โออิตะ โออิตะ ประเทศญี่ปุ่น
อาชีพไอดอล, นักร้อง, โปรดิวเซอร์เพลง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน
ตัวแทนOhta Production
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลงเจป็อป
เครื่องดนตรี
  • เสียงร้อง
  • ทรอมโบน
ค่ายเพลงเอเว็กซ์กรุป (ผ่านทาเอเว็กซ์ แทร็กซ์)[1]

ริโนะ ซาชิฮาระ (ญี่ปุ่น: 指原莉乃โรมาจิSashihara Rino; เกิด 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535) ชื่อเล่น ซัชชี่ เป็นอดีตสมาชิกและอดีตผู้จัดการของวงไอดอลญี่ปุ่น เอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48) ทีมเอช (Team H) และเป็นอดีตสมาชิกวงเอเคบีโฟร์ตีเอต (AKB48), เอสทียูโฟร์ตีเอต (STU48) และ Not Yet สังกัดค่ายอเว็กซ์กรุ๊ป[2] ซึ่งก่อตั้งโดย ยาซูชิ อากิโมโตะ[3] ปัจจุบันเป็นโปรดิวเซอร์ของวงไอดอลญี่ปุ่น = Love และ ≠ME

ประวัติ

[แก้]

พ.ศ. 2550 - 2555 ในฐานะสมาชิกเอเคบีโฟร์ตีเอต (AKB48)

[แก้]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ริโนะ ซาชิฮาระ เข้าร่วมออดิชั่นและได้รับเลือกให้เป็นเค็งคิวเซย์ (เด็กฝึกหัด) สำหรับสมาชิกรุ่นที่ 5 ของเอเคบีโฟร์ตีเอต (AKB48) และได้เลื่อนขั้นเป็นสมาชิกตัวจริงในทีมบี (Team B) เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ต่อมาในเดือนตุลาคมในปีเดียวกัน เธอได้มีส่วนร่วมในซิงเกิลครั้งแรกคือ Oogoe Diamond และได้รับตำแหน่งอันดับที่ 27 ในงานเลือกตั้งประจำปี พ.ศ. 2552 กับฐานะ "อันเดอร์เกิร์ล" ซึ่งมีหน้าที่แสดงในหน้าบีของซิงเกิล[ต้องการอ้างอิง] เธอดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปีถัดไปและจนถึงงานเลือกตั้งประจำปี พ.ศ. 2553 ซึ่งเธอได้รับตำแหน่งอันดับที่ 19 และมีโอกาสเข้าร่วมในซิงเกิลกับสมาชิกหลักที่ร้องเพลงหลักของซิงเกิล[4] เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 เอเคบีโฟร์ตีเอต (AKB48) ได้ประกาศว่าเธอจะย้ายไปทีมเอ (Team A) ซึ่งการย้ายนี้เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคมในปีถัดมา

เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ซาชิฮาระปรากฏตัวในรายการโทรทัศน์ระยะเวลาครึ่งชั่วโมงในชื่อ Sashiko no Kuseni (Kono Bangumi wa AKB to wa Mattaku Kankei Arimasen) (さしこのくせに〜この番組はAKBとは全く関係ありません〜) ออกอากาศโดยทีบีเอสทีวี ซึ่งได้อธิบายตัวตนของเธอว่า "เฮะตาเระ" (ญี่ปุ่น: ヘタレโรมาจิhetareทับศัพท์: แปลว่าขี้ขลาด, ไร้ความสามารถ, ไร้ความอดทน) ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์ตั้งมาสำหรับเธอโดยเฉพาะ[5]

ซาชิฮาระได้เป็นตัวแสดงนำในละครดรามา "Muse no Kagami" ออกอากาศโดยสถานีโทรทัศน์นิปปอน ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555[6] และมีผลงานซิงเกิลเดี่ยวเป็นของตัวเองครั้งแรกในชื่อ Soredemo Suki Da yo จากค่าย Avex Trax[7]

เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 มีการประกาศว่าซาชิฮาระจะก่อตั้งงานเทศกาลสำหรับไอดอล ในชื่อ "Yubi Matsuri" จัดขึ้นที่สนามกีฬาต่อสู้ญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มไอดอลญี่ปุ่น อาทิเช่น โมะโมะอิโระโคลเวอร์ Z, ไอดอลลิ่ง!!!, ชิริสึ เอะบิสึ ชุงากุ, Super Girls, Tokyo Girls' Style, Passpo, และ วะตะริโรกะฮะชิริไต[8]

พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน เรื่องอื้อฉาวทางเพศและการถูกย้ายไปเอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48)

[แก้]

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ซาชิฮาระได้ถูกลดตำแหน่งและถูกย้ายไปวงเอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48) หลังจากที่สำนักข่าว "ชุคัง บุนชุน" ได้ตีพิมพ์บทความว่าเธอแอบไปเดทและหลับนอนกับแฟนคลับของเธอ โดยที่ฝ่ายชายได้สารภาพว่าเขาได้หลับนอนกับเธอจริง ในขณะที่ซาชิฮาระปฏิเสธและบอกว่าเขาเป็น "เพียงแค่เพื่อน" เท่านั้นและได้กล่าวอีกว่าเรื่องที่สำนักข่าวตีพิมพ์ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามทาง ยาซูชิ อากิโมโตะ กล่าวว่าการให้เธอไปอยู่วงเอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48) นั้นถือว่าเป็นการ "เริ่มต้นใหม่" มากกว่าที่จะเป็นการ "ลงโทษ"[9][10][11] ในวันที่ 20 มิถุนายน ซาชิฮาระเกิดอาการชักเกร็งขณะกำลังแสดงบนเวที[12]

ซาชิฮาระเปิดตัวครั้งแรกในฐานะสมาชิกเอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48) ที่เธียเตอร์ของวงดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 งานเลี้ยงอำลาของเธอจากวงเอเคบีโฟร์ตีเอต (AKB48) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ในเดือนเดียวกันและมีสมาชิกวงเอเคบีโฟร์ตีเอต (AKB48) ทีมเอ (Team A) เข้าร่วม รวมทั้งมีสมาชิกบางคนจากเอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48) ทีมเอช (Team H) เป็นแขกรับเชิญ [13]

ซาชิฮาระปล่อยซิงเกิลเดี่ยวครั้งที่ 2 ในชื่อ Ikujinashi Masquerade เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555[14][15] ซิงเกิลนี้ได้รับตำแหน่งอันดับที่ 1 บนชาร์ตออริคอนรายสัปดาห์และเป็นซิงเกิลเดี่ยวลำดับที่ 3 ของสมาชิกวงเอเคบีโฟร์ตีเอต (AKB48) ที่ได้รับอันดับนี้[16]

เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556 มีการประกาศที่คอนเสิร์ต บุโดคัง อารีนา ว่าซาชิฮาระจะดำรงตำแหน่งผู้จัดการของเอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48) และเธียเตอร์ของเอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48) ร่วมกับคนเก่าและยังคงเป็นสมาชิกวงเอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48) ทีมเอช (Team H) อยู่เหมือนเดิม[17] ซึ่งการเลื่อนขึ้นนี้มีการอภิปรายจากบางคนว่าเป็นความหวังของ ยาซูชิ อากิโมโตะ ที่อยากให้บทบาทกับซาชิฮาระในการจัดการและดูแลสมาชิกในวง อันเนื่องมากจากว่าเธอมีทักษะในการควบคุม เป็นบางสิ่งที่อากิโมโตะพูดเป็นนัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553[18]

กลุ่มผู้บริหารหลายคนมองเห็นศักยภาพของซาชิฮาระในฐานะผู้จัดการวงและได้ให้โอกาสเธอในการดึงทักษะของเธอออกมาตลอดปี เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ในรายการโทรทัศน์ชื่อ "AKB Eizo Cneter" (มีซาชิฮาระเป็นพิธีกรร่วม) เธอได้ประกาศว่าเธอจะผลิตซิงเกิลเดี่ยวให้กับ คาโอริ มัตสึมูระ สมาชิกวงเอสเคอีโฟร์ตีเอต (SKE48) ในชื่อ "มะสึมุระบุ" ซึ่งแต่เดิมมีการวางแผนไว้ว่าจะปล่อยจำหน่ายออกมาก่อนในจำนวนจำกัด (1,000 ชุด) และจะเพิ่มจำนวนในภายหลัง [19][20] ซึ่งมีราคาอยู่ที่ 1,000 เยน โดยมีซาชิฮาระเป็นผู้ออกแบบชุด, ผู้เขียนเนื้อเพลง, ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอ, และผู้เรียบเรียงเพลง [21] ซึ่งผู้อำนวยการ ยาซูชิ อากิโมโตะ ได้เล่าว่าเหตุผลที่ให้ซะชิฮะระมีส่วนร่วมในการบริหารขนาดนี้เพราะเขามั่นใจว่าเธอจะดึงเสน่ห์ของ คาโอริ มัตสึมูระ ออกมาได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเธอก็เป็นแฟนคลับเช่นกัน [22][23]

ในการเลือกตั้งประจำปี พ.ศ. 2556 ซาชิฮาระได้รับอันดับที่ 1 ด้วยคะแนน 150,570 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนที่มากที่สุดของสมาชิกทุกคนใน 48 กรุ๊ป แซงคะแนนของ ยูโกะ โอชิมะ ซึ่งได้ 136,503 คะแนน [24] ด้วยเหตุนี้ เธอจึงได้เป็นเซ็นเตอร์เพลง "โคะอิซุรุฟอร์จูนคุกกี้"[ต้องการอ้างอิง]

ในขณะที่ความนิยมของเธอกำลังเพิ่มขึ้น เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557 สำนักข่าว "โคดันชะ" ได้ตีพิมพ์อัตชีวประวัติของซาชิฮาระครั้งแรกในชื่อ "Gyakuten-ryoku ~ Pinchi o Mate ~" ซึ่งมียอดจำหน่ายมากว่า 2 หมื่นชุดในสัปดาห์แรก [25][26] และมียอดตีพิมพ์เพิ่มขึ้นหลังจากนั้น.[27] ข้อมูลในหนังสือประกอบด้วยบทสัมภาษณ์ของซาชิฮาระ[28] และชีวิตส่วนตัวของเธอตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นในการเป็น "โอตะ" และ "ฮิกกิโมะริ" จนถึงอาชีพปัจจุบันของเธอในฐานะผู้จัดการวง[29] และมีจุดเน้นย้ำเกี่ยวกับบทเรียนที่เธอได้รับ และการ "พลิกวิกฤติให้เป็���โอกาส"[30] หนังสือเล่มนี้มีการโฆษณาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานเงินเดือนในบริษัทต่างๆ [31]

ซาชิฮาระได้รับอันดับที่ 1 อีกครั้งในงานเลือกตั้งประจำปี พ.ศ. 2558 ด้วย 194,049 คะแนน ทำให้เธอได้รับตำแหน่งเซ็นเตอร์อีกครั้งและเป็นคนแรกที่ได้รับอันดับที่ 1 ถึง 2 ครั้ง[32] และในปี พ.ศ. 2559 เธอก็ได้รับอันดับที่ 1 เช่นกันในงานเลือกตั้งประจำปี ด้วยคะแนน 243,011 คะแนน[33] และในปี พ.ศ. 2560 เธอได้รับอันดับที่ 1 ด้วยคะแนน 246,376 คะแนน เป็นคนแรกที่ได้รับอันดับที่ 1 ถึง 3 ปีซ้อน[34][35]

ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ซาชิฮาระได้ประกาศจบการศึกษาจากเอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48) ณ คอนเสิร์ตครบรอบ 7 ปีของเอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48) โดยคอนเสิร์ตจบการศึกษาได้จัดขึ้นที่สนามกีฬาโยโกฮาม่า เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

ผลงานเพลง

[แก้]

ซิงเกิลเดี่ยว

[แก้]
ปี ชื่อ ชาร์ต ยอดขาย ออริคอน[36] หมายเหตุ
ออริคอน[36] บิลบอร์ด[37] RIAJ[38] อาทิตย์แรก ทั้งหมด
2555 Soredemo Suki Da yo 2[39] 1[40] 6[41] 124,483 151,724
2555 Ikujinashi Masquerade 1[42] 4 68,403 85,798 ร่วมกับอังริเระ (รินะ คะวะเอ, เระนะ คะโต, อันนะ อิริยะมะ)

ซิงเกิลร่วมกับ HKT48

[แก้]

HKT48 A-side

[แก้]
  • Suki! Suki! Skip!
  • Melon Juice
  • Sakura, Minna de Tabeta
  • Hikaeme I love you!
  • 12 Byou
  • Shekarashika!
  • 74okubun no 1 no Kimi e
  • Saikou ka yo
  • Bagutte Iijan (เซนเตอร์)
  • Kiss wa Matsushikanai no Deshouka?
  • Hayaokuri Calendar
  • Ishi (เซนเตอร์)

ซิงเกิลร่วมกับ AKB48

[แก้]

AKB48 A-Sides

[แก้]
  • Oogoe Diamond
  • 10nen Zakura
  • Namida Surprise!
  • Heavy Rotation
  • Beginner
  • Sakura no Ki ni Narou
  • Everyday, Katyusha
  • Flying Get (มีเดียเซ็มบัตสึ)
  • Kaze wa Fuiteiru
  • GIVE ME FIVE!
  • Manatsu no Sounds Good! (มีเดียเซ็มบัตสึ)
  • Gingham Check
  • UZA
  • So long!
  • Sayonara Crawl (มีเดียเซ็มบัตสึ)
  • Koi Suru Fortune Cookie (เซ็นเตอร์)
  • Heart Ereki
  • Mae Shika Mukanee
  • Labrador Retriever (มีเดียเซ็มบัตสึ)
  • Kokoro no Placard
  • Kibouteki Refrain (มีเดียเซ็มบัตสึ)
  • Green Flash
  • Bokutachi wa Tatakawanai (มีเดียเซ็มบัตสึ)
  • Halloween Night (เซ็นเตอร์)
  • Kuchibiru ni Be My Baby
  • Kimi wa Melody
  • Tsubasa wa Iranai (มีเดียเซ็มบัตสึ)
  • LOVE TRIP / Shiawase wo Wakenasai (เซ็นเตอร์)
  • High Tension
  • Shoot Sign (มีเดียเซ็มบัตสึ)
  • Negaigoto no Mochigusare (มีเดียเซ็มบัตสึ)
  • #SukiNanda (เซ็นเตอร์)
  • 11gatsu no Anklet (มีเดียเซ็มบัตสึ)
  • Jabaja (Media Senbatsu)
  • Teacher Teacher (มีเดียเซ็มบัตสึ)
  • NO WAY MAN
  • Jiwaru DAYS (เซ็นเตอร์)

อัลบั้มร่วมกับ AKB48

[แก้]

ผลงานการแสดง

[แก้]

ภาพยนตร์

[แก้]
  • Muse no Kagami (255), Maki Mukouda[43]
  • Kodomo Keisatsu (2556), Rino Makihara[44]
  • I'll Give It My All... Tomorrow (2556), Aya Unami[45]
  • Barairo no Būko (2557), Sachiko(Būko)[46]
  • Crayon Shin-Chan: My Moving Story! Cactus Large Attack! (2558), Sumaho-chan[47]

งานพากย์

[แก้]
  • Hop (2554), Pink Berets[48]

ละครโทรทัศน์

[แก้]
  • Majisuka Gakuen (TV Tokyo, 2553), Wota[49]
  • Dr.Irabu Ichirō (TV Asahi, 2554), herself
  • Majisuka Gakuen 2 (TV Tokyo, 2554), Wota[50]
  • Muse no Kagami (NTV, 2555), Maki Mukouda[51]
  • Fukuoka Renai Hakusho (KBC, 2555), Kaori[52]
  • Kodomo Keisatsu Episode 6 (MBS, 2555), Rino Makihara[53]
  • Megutantte Mahō Tsukaeru no? Episode 6 (NTV, 2555), Maki Mukouda[54]
  • Yūsha Yoshihiko to Akuryō no Kagi Episode 9 (TV Tokyo, 2555), Eliza[55]
  • Honto ni Atta Kowai Hanashi Natsu no Tokubetsuhen 2013 "Ugomeku Ningyō" (Fuji TV, 2556), Rina Sonoda[56]
  • Tenmasan ga Yuku Episode 5 (TBS, 2556), Miyoko Oshimizu[57]
  • Majisuka Gakuen 4 Episode 1 (TV Tokyo, 2558), Scandal[58]
  • Koinaka Episode 9 (Fuji TV, 2558)[59]
  • Majisuka Gakuen 0: Kisarazu Rantōhen Episode 1 (Nippon Television, 2558), Ageman[60]
  • AKB Horror Night: Adrenaline's Night Ep.31 - Another Meeting Person (TV Asashi, 2559), Sayaka[61]
  • AKB Love Night: Love Factory Ep.19 - Italian String (TV Asashi, 2559), Akiko

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Gyakutenryoku: Pinch o Mate (Power of reversal:wait a crisis) (โคดันชะ, 11 สิงหาคม 2557) ISBN 9784063898507[62]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "AKB48's Sashihara Rino to make a solo debut under avex trax". TokyoHive. January 8, 2012. สืบค้นเมื่อ January 9, 2012.
  2. "AKB48's Sashihara Rino to make a solo debut under avex trax". TokyoHive. January 8, 2012. สืบค้นเมื่อ January 9, 2012.
  3. "指原莉乃" (ภาษาญี่ปุ่น). Yahoo Japan Corporation. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  4. "AKB48 大島優子 北原里英 指原莉乃 横山由依 による新ユニット結成" (ภาษาญี่ปุ่น). LINE Corporation. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  5. "AKB48's Sashihara Rino gets her own show, "Sashiko no Kuseni"". tokyohive. December 24, 2010. สืบค้นเมื่อ April 23, 2011.
  6. "Muse no Kagami". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-13. สืบค้นเมื่อ January 12, 2012.
  7. "Sashihara Rino Solo Debut Announced". สืบค้นเมื่อ January 12, 2012.
  8. "AKB指原がプロデュースするアイドル・フェスとは?" (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo Walker. 2012-04-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2012-11-20.
  9. "(Shuukan Bunshun) Ex-Boyfriend Confesses 'AKB48's Sashihara Rino was super-sexually aggressive' (Full Article)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2013. สืบค้นเมื่อ June 21, 2013.
  10. http://www.tokyohive.com/article/2012/06/akb48s-sashihara-rino-moved-to-hkt48-because-of-the-scandal/
  11. "Yuko Oshima talks about Sashihara's Transfer to HKT48". tokyohive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2013. สืบค้นเมื่อ 2012-06-15.
  12. http://www.tokyohive.com/article/2012/06/sashihara-rino-hyperventilates-during-akb48s-performance/
  13. "Sashihara Rino sheds tears during her final performance at the AKB48 theater". 2012-07-24. สืบค้นเมื่อ 2012-07-25.
  14. "Sashihara Rino to release her second solo single, Ikuji Nashi Masquerade,".
  15. "Release date for Ikujinashi Masquerade".
  16. "【オリコン】さしこ、ソロ2作目で初首位 AKB関連ソロ3人目" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2015-12-26.
  17. "AKB48 Announcement in April 28, 2013" (ภาษาญี่ปุ่น).
  18. "HKT指原「劇場支配人」に大出世 秋元康氏が「予言」していた?" (ภาษาญี่ปุ่น). April 29, 2013.
  19. "HKT指原、「秋元康の後継者」に一歩前進!? SKE研究生プロデュースに抜てき" (ภาษาญี่ปุ่น). May 13, 2013.
  20. "SKE48 松村香織が「錦通レコーズ」からソロデビュー決定&卒業メンバーの歌唱に感涙" (ภาษาญี่ปุ่น). May 16, 2013.
  21. "SKE松村香織、新聞衣装でソロ曲初披露 さしこ全面プロデュース" (ภาษาญี่ปุ่น). May 16, 2013.
  22. "SKE松村香織 指原プロデューサーに感謝「4位様はすげー」" (ภาษาญี่ปุ่น). May 13, 2013.
  23. "SKE48松村香織、指原プロデュース"寝耳に水" 「爆睡していたら凄いことに……」" (ภาษาญี่ปุ่น). May 13, 2013.
  24. "Interview - Rino Sashihara of HKT48: 'I will leave things to chance'". Asahi Shimbun. June 22, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-14. สืบค้นเมื่อ 2017-11-11.
  25. "指原莉乃、自著『逆転力』で3冠達成! 2部門での首位はアイドル初」" (ภาษาญี่ปุ่น). August 21, 2014.
  26. "指原莉乃 : 初の新書が3冠達成 アイドル初の快挙も」" (ภาษาญี่ปุ่น). August 21, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-09. สืบค้นเมื่อ 2017-11-11.
  27. "さしこ初著書「逆転力」 読んでほしいメンバーは峯岸みなみ!?" (ภาษาญี่ปุ่น). August 14, 2014.
  28. "指原莉乃「みぃちゃんの方がよりダーク」 『逆転力~ピンチを待て~』トークイベント" (ภาษาญี่ปุ่น). August 15, 2014.
  29. "さしこ、人生論で書籍発売 "逆転力"で成功の秘訣明かす" (ภาษาญี่ปุ่น). July 24, 2014.
  30. "新レーベル「講談社AKB48新書」が創刊、第1弾は指原莉乃『逆転力~ピンチを待て~』" (ภาษาญี่ปุ่น). July 23, 2014.
  31. "講談社からAKB48の新書レーベルが創刊! 第1弾は指原莉乃著『逆転力』" (ภาษาญี่ปุ่น). July 24, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2017-11-11.
  32. "指原莉乃、史上最多の投票数で"女王"に返り咲き 涙で喜びの心境を語る「まさか…」<第7回AKB48選抜総選挙>" (ภาษาญี่ปุ่���). modelpress. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  33. http://mdpr.jp/news/detail/1592663
  34. https://mdpr.jp/music/detail/1694203
  35. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ 2017-11-11.
  36. 36.0 36.1 "オリコンランキング情報サービス「you大樹」". Oricon. สืบค้นเมื่อ February 9, 2011. (subscription only)
  37. "Hot 100|Japan Charts|Billboard Japan" (ภาษาญี่ปุ่น). Billboard.
  38. "有料音楽配信チャート" (ภาษาญี่ปุ่น). RIAJ.
  39. "【オリコン】乃木坂46、AKB指原との同門対決制す 今年初の新人首位" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. May 8, 2012. สืบค้นเมื่อ May 18, 2012.
  40. "指原莉乃、同門対決を制しBillboard JAPAN HOT 100で堂々の1位獲得" (ภาษาญี่ปุ่น). Barks. May 10, 2012. สืบค้นเมื่อ May 18, 2012.
  41. "j一般社団法人 日本レコード協会" [RIAJ Digital Track Chart: Chart issue May 8, 2012] (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2016-03-13.
  42. "【オリコン】さしこ、ソロ2作目で初首位 AKB関連ソロ3人目" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. October 23, 2012. สืบค้นเมื่อ October 23, 2012.
  43. "劇場版ミューズの鏡 マイプリティドール" (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-04. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  44. "鈴木福『コドモ警察』にHKT48指原莉乃&柳原可奈子がゲスト出演" (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-28. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  45. "HKT48指原莉乃「俺はまだ本気出してないだけ」で堤真一にダメ出しする編集者役" (ภาษาญี่ปุ่น). eiga.com inc. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  46. "薔薇色のブー子" (ภาษาญี่ปุ่น). eiga.com inc. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  47. "指原莉乃&日本エレキテル連合「映画クレヨンしんちゃん」にゲスト声優出演" (ภาษาญี่ปุ่น). eiga.com inc. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  48. "AKB48指原莉乃がアニメ声優に初挑戦!" (ภาษาญี่ปุ่น). PIA Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-20. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  49. "TV マジすか学園". allcinema (ภาษาญี่ปุ่น). Stingray. สืบค้นเมื่อ 2015-09-17.
  50. "TV マジすか学園2". allcinema (ภาษาญี่ปุ่น). Stingray. สืบค้นเมื่อ 2015-09-17.
  51. "ミューズの鏡 (バップ): 2013" (ภาษาญี่ปุ่น). National Diet Library. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  52. "福岡恋愛白書 (九州朝日放送): 2012" (ภาษาญี่ปุ่น). National Diet Library. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  53. "AKB指原莉乃のラブコール実った!人気子役・鈴木福とドラマ共演" (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  54. "こじはる主演「メグたんって魔法つかえるの?」DVD化" (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha,Inc. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  55. "勇者ヨシヒコと悪霊の鍵 (「勇者ヨシヒコと悪霊の鍵」製作委員会): 2013" (ภาษาญี่ปุ่น). National Diet Library. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  56. "さしこ、ホラードラマ『ほん怖』初主演 藤ヶ谷太輔らと5本立て" (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. สืบค้นเมื่อ 2016-03-13.
  57. "女優・指原の魅力は「女優じゃないところ」!福田雄一監督が語る(1/2)" (ภาษาญี่ปุ่น). Cinematoday Inc. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  58. "TV マジすか学園4". allcinema (ภาษาญี่ปุ่น). Stingray. สืบค้นเมื่อ 2015-09-17.
  59. "指原莉乃『恋仲』最終回に生出演「月9女優になれました!」" (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME inc. สืบค้นเมื่อ 2015-09-17.
  60. "マジすか学園0 木更津乱闘編" (ภาษาญี่ปุ่น). VAP,INC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 2016-03-13.
  61. "指原莉乃がAKB48Gホラードラマで女刑事役、「まゆゆとぱるるには負けられない」" (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha,Inc. สืบค้นเมื่อ 2016-03-13.
  62. "逆転力 : ピンチを待て (講談社): 2014|書誌詳細|国立国会図書館サーチ" (ภาษาญี่ปุ่น). National Diet Library. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]