ข้ามไปเนื้อหา

รางวัลพูลิตเซอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รางวัลพูลิตเซอร์
ด้านหน้าและด้านหลังเหรียญทองของรางวัลพูลิตเซอร์ สาขาบริการสาธารณะ ออกแบบโดยแดเนียล เชสเตอร์ เฟรนช์ เมื่อ พ.ศ. 2460
รางวัลสำหรับความเป็นเลิศทางด้านการหนังสือพิมพ์, ความสำเร็จทางวรรณกรรม และการประพันธ์ดนตรี
ประเทศสหรัฐ
จัดโดยมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
รางวัลแรกพ.ศ. 2460
เว็บไซต์pulitzer.org แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

รางวัลพูลิตเซอร์ (อังกฤษ: Pulitzer Prizes, /ˈpʊlɪtsər/)[1] เป็นรางวัลของสหรัฐ ตั้งขึ้นเพื่อมอบแก่ผู้ได้รับเกียรติสูงสุดระดับชาติในวงการสิ่งพิมพ์ การบรรลุความสำเร็จทางวรรณกรรม และการประพันธ์เพลง บริหารจัดการโดยมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนครนิวยอร์ก

รางวัลพูลิตเซอร์จัดมอบเป็นรายปีแบ่งเป็น 21 ประเภท ในแต่ละประเภทผู้ได้รับรางวัลจะได้รับกิตติบัตรและเงินรางวัล 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ[2] ผู้รับรางวัลการหนังสือพิมพ์ในสาขาการบริการสาธารณะจะได้รับเหรียญทองซึ่งมักตกแก่หนังสือพิมพ์มาโดยตลอด แม้จะมีชื่อบุคคลได้รับการกล่าวยกย่องไว้ด้วย

รางวัลพูลิตเซอร์ก่อตั้งโดยโจเซฟ พูลิตเซอร์ นักหนังสือพิมพ์และผู้พิมพ์โฆษณาชาวฮังการี-อเมริกัน ซึ่งได้มอบเงินจำนวน 2 ล้านเหรียญไว้ในพินัยกรรมแก่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียหลังการเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2454 เงินส่วนหนึ่งของกองมรดกนี้ได้ถูกนำไปใช้ในการก่อตั้งส��าบันวิชาการหนังสือพิมพ์ของมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2456 ได้มีการมอบรางวัลพูลิตเซอร์รางวัลแรกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2460 ปัจจุบันมีการประกาศรางวัลทุก ๆ เดือนเมษายน การคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลดำเนินการโดยกรรมการอิสระ

ประเภทรางวัล

[แก้]

การจัดแบ่งประเภทรางวัลแบ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการหนังสือพิมพ์ ศิลปะ และวรรณกรรมลายลักษณ์ โดยคัดเลือกผู้มีสิทธิ์ได้รับรางวัลจากรายงานการตีพิมพ์และภาพถ่ายของหนังสือพิมพ์รายวัน หรือ องค์การข่าวที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศสหรัฐฯ เท่านั้น และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นไปจึงจะเริ่มพิจารณาการให้รางวัลจากการทำข่าวในโดยการพิมพ์รูปแบบต่าง ๆ ทุกประเภทที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ยกเว้นประเภทภาพข่าวซึ่งยังคงเข้มงวดตัดสินจากภาพนิ่งบนกระดาษเท่านั้น[3]

ประเภทของรางวัลที่ได้กำหนดนิยามไว้ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2550 มีประเภทตามที่ได้มอบรางวัลไปแล้วมีดังนี้

  • บริการสาธารณะ (Public Service)
  • รายงานข่าวด่วน (Breaking News Reporting)
  • รายงานข่าวสอบสวนสืบสวน (Investigative Reporting)
  • รายงานข่าวชี้แจง (Explanatory Reporting)
  • รายงานข่าวท้องถิ่น (Local Reporting)
  • รายงานข่าวระดับชาติ (National Reporting)
  • รายงานข่าวนานาชาติ (International Reporting)
  • งานเขียนเรื่องเด่นเฉพาะ (Feature Writing)
  • งานวิจารณ์ (Commentary)
  • งานวิพากษ์ข่าว (Criticism)
  • งานเขียนบทบรรณาธิการ (Editorial Writing)
  • งานบรรณาธิการภาพการ์ตูน (Editorial Cartooning)
  • ภาพข่าวด่วน (Breaking News Photography)
  • ภาพถ่ายหลัก (Feature Photography)

งานวรรณกรรมจดหมายและบทละครแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้

สำหรับรางวัลเพื่องานดนตรีมี 1 รางวัลคือ

  • รางวัลพูลิตเซอร์สำหรับงานดนตรี

นอกจากนี้ยังมีการประกาศกิตติคุณและการให้รางวัลพิเศษเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการให้ทุนเดินทางแก่นักศึกษาที่โดดเด่นในบัณฑิตวิทยาลัยการหนังสือพิมพ์ที่คณาจารย์เป็นผู้คัดเลือกจำนวน 4 ทุน

รายชื่อผู้ได้รับรางวัล

[แก้]

คณะกรรมการตัดสินรางวัลพูลิตเซอร์จะแยกความแตกต่างระหว่าง "ผู้เข้ารับการพิจารณา" กับ "ผู้ได้รับการเสนอชื่อที่เข้ารอบสุดท้าย" ผู้เข้ารับการพิจารณาเป็นเพียงผู้ใดก็ได้[4] ที่ผู้พิมพ์และโฆษณานำงานของบุคคลนั้น ๆ เข้าขอรับการพิจารณาตามกระบวนการขั้นตอนทั่วไปของกรรมการ ซึ่งไม่ถือว่าดีเด่นมาก ส่วน "ผู้ได้รับการเสนอชื่อที่เข้ารอบสุดท้าย" ดังกล่าวที่ถือว่าเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการตัดสินจะได้รับการประกาศชื่อพร้อมกับผู้ได้รับรางวัลตามประเภทนั้น ๆ [5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "FAQ". The Pulitzer Prizes. Columbia University. สืบค้นเมื่อ April 15, 2019. 24. How is 'Pulitzer' pronounced? The correct pronunciation is 'PULL it sir.'
  2. Answer to FAQ 13, จากเว็บไซต์ของรางวัลพูลิตเซอร์
  3. Pulitzer Board Widens Range of Online Journalism in Entries, จากเว็บไซต์ของรางวัลพูลิตเซอร์
  4. Guidelines and Forms, จากเว็บไซต์ของรางวัลพูลิตเซอร์
  5. Terminology, จากเว็บไซต์ของรางวัลพูลิตเซอร์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]