ข้ามไปเนื้อหา

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล
ชื่อย่อเอ็มจีไอ
(อังกฤษ: MGI)
คําขวัญยุติสงครามและความรุนแรง
(อังกฤษ: Stop the War and Violence)
ก่อตั้ง6 พฤศจิกายน 2013; 11 ปีก่อน (2013-11-06)
ผู้ก่อตั้งณวัฒน์ อิสรไกรศีล
ประเภทการประกวดความงาม
วัตถุประสงค์การบันเทิง
สํานักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้ง
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
ทั่วโลก
สมาชิก
มากกว่า 90 ประเทศและดินแดน
ภาษาทางการ
อังกฤษ
ผู้ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน
เรเชล คุปตะ
 อินเดีย
บุคลากรหลัก
ณวัฒน์ อิสรไกรศีล
(ประธานกองประกวด)
เทเรซ่า ชัยวิสุทธิ์
(รองประธานกองประกวด)
องค์กรปกครอง
บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
งบประมาณ
21.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ใน ค.ศ. 2020)[1]
เว็บไซต์missgrandinternational.com

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล (อังกฤษ: Miss Grand International) หรือ มิสแกรนด์ (อังกฤษ: Miss Grand) เป็นการประกวดนางงามระดับนานาชาติที่จัดขึ้นเพื่อรณรงค์การยุติสงครามและความรุนแรง ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งจัดประกวดครั้งแรกในปี ค.ศ. 2013 และมีณวัฒน์ อิสรไกรศีล เป็นประธานกองประกวด กับเทเรซ่า ชัยวิสุทธิ์ เป็นรองประธานกองประกวด มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลมีเวทีระดับประเทศที่อยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรโดยตรงคือมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ขณะที่มิสแกรนด์ระดับประเทศอื่น ทางองค์กรจะให้ลิขสิทธิ์แก่กองประกวดประเทศนั้นในการดูแล

ผู้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลคนปัจจุบันคือเรเชล คุปตะ จากประเทศอินเดีย โดยได้รับการคัดเลือกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2024 ณ เอ็มจีไอ ฮอลล์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ประวัติ

[แก้]

มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลเป็นเวทีการประกวดนางงามระดับนานาชาติ ซึ่งก่อตั้งโดยณวัฒน์ อิสรไกรศีล นักจัดรายการโทรทัศน์และนักธุรกิจชาวไทย[2] การประกวดได้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2013 ที่จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลไทย ณ เวลานั้น[3][4] โดยในครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมประกวดทั้งหมด 71 ประเทศและดินแดน ซึ่งผู้ที่ได้รับตำแหน่งมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลคนแรกคือเยเนลิ ชาปาร์โร จากปวยร์โตรีโก[5][6] ในปี ค.ศ. 2016 เป็นครั้งแรกที่ทางกองประกวดได้จัดการประกวดนอกประเทศไทย โดยได้มีการจัดขึ้นที่ลาสเวกัส รัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 25 ตุลาคม[7] ซึ่งนับตั้งแต่การประกวดในปี ค.ศ. 2015 ทางองค์กรจะจัดการประกวดรอบแกรนด์ไฟนอลทุกวันที่ 25 ตุลาคมของทุกปี แต่ทั้งนี้จากการระบาดทั่วของโควิด-19 ทำให้วันที่จัดแกรนด์ไฟนอลไม่เป็นไปตามเดิม โดยในปี ค.ศ. 2020 ตามกำหนดการเดิมแกรนด์ไฟนอลจะถูกจัดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม ปีดังกล่าว ณ ประเทศเวเนซุเอลา แต่จากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดทำให้ทางกองประกวดได้ตัดสินใจเลื่อนการประกวดออกไปก่อนที่จะทำการจัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2021[8] เช่นเดียวกันกับปี ค.ศ. 2021 ที่ทางองค์กรได้เลื่อนการจัดไปจากวันที่ 25 ตุลาคม ตามธรรมเนียมไปเป็นวันที่ 4 ธันวาคม[9] ต่อมาในปี ค.ศ. 2024 เริ่มแรกมีกำหนดจัดขึ้น ณ ประเทศพม่า แต่เนื่องจากความขัดแย้งภายในพม่า[10] ทำให้ทางองค์กรได้เปลี่ยนประเทศเจ้าภาพการประกวดไปยังประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ซึ่งถือเป็นการจัดงานร่วมกันระหว่างทั้งสองประเทศโดยมีกำหนดการประกวดตามเดิมในวันที่ 25 ตุลาคม[11] อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมาทางองค์กรได้ตัดสินใจยกเ���ิกสิทธิ์การเป็นประเทศเจ้าภาพของประเทศกัมพูชา และกลับมาจัดการประกวดที่ประเทศไทยเพียงประเทศเดียว[12][13]

นับตั้งแต่มีการจัดตั้งองค์กรมีเหตุการณ์ที่มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์และทำให้องค์กรได้ตัดสินใจให้รองชนะเลิศอันดับหนึ่งขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทนเพียง 1 ครั้ง หลังจากที่แคลร์ เอลิซาเบธ พาร์กเกอร์ จากประเทศออสเตรเลีย ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล ประจำปี ค.ศ. 2015 ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2016 แทนอาเนอา การ์ซิอา จากสาธารณรัฐโดมินิกัน ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งเดิม[14][15][2][16][17] ในเวลาต่อมาพาร์กเกอร์มีความประสงค์จะไปประกวด ณ เวทีอื่นต่อ ทำให้ทางองค์กรได้ออกแถลงการณ์ว่าเธอจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางองค์กรอีกต่อไปนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2019[18][17]

การคัดเลือกผู้เข้าประกวด

[แก้]

ผู้เข้าประกวดในแต่ละปีจะถูกคัดเลือกผ่านผู้ถือลิขสิทธิ์ในระดับประเทศ หรือ เนชันแนลไดเรกเตอร์ (อังกฤษ: National Director) ในการคัดเลือกของประเทศและดินแดนนั้นอาจจะมีความแตกต่างกันออกไปทั้งการจัดประกวดระดับประเทศ, การคัดเลือกภายใน หรือการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง[19][20] ซึ่งผู้เข้าประกวดจะต้องมีองค์ประกอบให้สอดคล้องกับหลัก 4 บี (อังกฤษ: 4B) ตามวัตถุประสงค์ขององค์กรซึ่งได้แก่ รูปร่าง (อังกฤษ: Body), ความงาม (อังกฤษ: Beauty), ความฉลาด (อังกฤษ: Brain) และธุรกิจ (อังกฤษ: Business)[21]

ทั้งนี้เนื่องจากมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลเป็นเวทีที่เกิดใหม่ได้ไม่นานทำให้ผู้เข้าประกวดอาจจะผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยที่ยังไม่มีการประกวดระดับประเทศ แต่การประกวดมิสแกรนด์ระดับประเทศนั้นได้รับความสนใจเป็นอย่างมากโดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันออกไกลและลาตินอเมริกา[22] ซึ่งผู้ที่ชนะการประกวดจะได้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์ตามประเทศของตนเองและมีสิทธิ์เข้าร่วมการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล[23] ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีทั้งอาทิ มิสแกรนด์กัมพูชา, มิสแกรนด์เนปาล, มิสแกรนด์ปารากวัย เป็นต้น[24][25][26] อย่างไรก็ตามในบางเวทีการประกวดระดับประเทศก็จะนิยมส่งผู้เข้าประกวดที่ได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศมาเข้าร่วม อาทิ เฟมินา มิสอินเดีย (ค.ศ. 2015 ถึง ค.ศ. 2021), บีนีบีนิงปีลีปีนัส (ค.ศ. 2013, ค.ศ. 2015 ถึง ค.ศ. 2022), มิสเม็กซิโก (ค.ศ. 2017 ถึง ค.ศ. 2020) เป็นต้น[27][28][29] ถึงแม้ว่าการประกวดความงามจะไม่ได้รับความนิยมมากในทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา แต่ก็มีหลายประเทศที่ทำการจัดประกวดในระดับประเทศ อาทิ มิสแกรนด์แอลเบเนีย,[30] มิสแกรนด์คอซอวอ,[31] มิสแกรนด์สเปน,[32][33] มิสแกรนด์ฝรั่งเศส,[34] มิสแกรนด์อิตาลี,[35] มิสแกรนด์แอฟริกาใต้, มิสแกรนด์กานา เป็นต้น

ในประเทศสเปน, ประเทศอิตาลี และหลายประเทศในทวีปเอเชียผู้เข้าประกวดจะต้องลงแข่งในระดับพื้นที่ (เช่น จังหวัด, รัฐ, แคว้น, ภูมิภาค) ให้ชนะก่อนจึงจะมีสิทธิ์เข้าประกวดในระดับประเทศ[32][35][36][37] นอกจากนี้ในประเทศสเปน, ประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย บางพื้นที่ยังมีการจัดประกวดในระดับเขตหรืออำเภอโดยผู้ชนะจะต้องมาแข่งกันในระดับจังหวัดและจะต้องชนะเลิศจึงจะมีสิทธิ์ไปแข่งในระดับประเทศ[32][38][37]

รูปแบบการประกวด

[แก้]

กิจกรรมก่อนรอบแกรนด์ไฟนอล

[แก้]

กิจกรรมก่อนรอบแกรนด์ไฟนอลหรือการประกวดใหญ่จะประกอบไปด้วย 3 กิจกรรมหลัก ซึ่งได้แก่ การประกวดรอบชุดว่ายน้ำ, การประกวดรอบชุดประจำชาติ และการประกวดรอบพรีลิมมินารี ซึ่งการประกวดรอบชุดว่ายน้ำจะถูกจัดขึ้นแยกจากสถานที่การประกวดรอบแกรนด์ไฟนอลขณะที่การประกวดรอบชุดประจำชาติและการประกวดรอบพรีลิมมินารีจะใช้สถานที่เดียวกับการประกวดรอบแกรนด์ไฟนอลในการแข่งขัน[39][40] โดยจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางเฟซบุ๊กและยูทูบของกองประกวด[40] สำหรับรอบพรีลิมมินารีนั้นผู้เข้าประกวดจะต้องสวมใส่และเดินประกวดทั้งในชุดว่ายน้ำและชุดราตรีต่อคณะกรรมการบนเวที[40] ซึ่งการเดินทั้ง 2 รอบจะเป็นการตัดสินรางวัลชุดว่ายน้ำยอดเยี่ยมและรางวัลชุดราตรียอดเยี่ยม ซึ่งจะประกาศผลผู้ชนะในวันประกวดรอบแกรนด์ไฟนอล ตลอดจนรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมและมิสป็อปปูลาร์โหวตที่ทางกองประกวดจะประกาศผลในวันประกวดรอบแกรนด์ไฟนอล ทั้งนี้ในการเข้ารอบ 20 คนสุดท้ายทางประกวดจะทำการเก็บคะแนนตั้งแต่รอบการทำกิจกรรมกับทางกองประกวด, รอบการประกวดพรีลิมมินารี และรอบการสัมภาษณ์แบบปิดกับคณะกรรมการ[41]

แกรนด์ไฟนอล

[แก้]

การประกวดรอบแกรนด์ไฟนอลหรือการประกวดใหญ่จะถูกถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ทั่วโลกและผ่านสื่อโซเชียลมีเดียของทางกองประกวด โดยรูปแบบการคัดเลือกผู้เข้าประกวด 20 คนสุดท้ายจะมาจากทั้งการสังเกตการณ์ของเจ้าหน้าที่ในกองประกวดระหว่างอยู่ในกอง, การสัมภาษณ์แบบปิดกับคณะกรรมการ, การประกวดรอบชุดว่ายน้ำ และการประกวดรอบพรีลิมมินารี[41] อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ในปี 2020 จะมีการประกาศรางวัลประเทศแห่งปี ซึ่งเป็นการคัดเลือกจากผู้รับชมทางออนไลน์[42][43] โดยผู้ที่ได้รับรางวัลจะสามารถเข้ารอบ 20 คนสุดท้ายไปโดยอัตโนมัติ[43] ในการแข่งขันรอบ 20 คนสุดท้ายนั้น ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 20 คนจะต้องมาเดินประกวดในรอบชุดว่ายน้ำเพื่อทำการคัดเลือกเข้าสู่รอบ 10 คนสุดท้ายแต่ทั้งนี้ผู้เข้าประกวดที่ชนะรางวัลมิสป็อปปูลาร์โหวตจะเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายไปโดยอัตโนมัติ[41][42] ทำให้การแข่งขันรอบชุดว่ายน้ำอาจจะคัดเลือกเหลือเพียงแค่ 9 คน ในรอบ 10 คนสุดท้ายนั้นผู้เข้าประกวดจะต้องประกวดรอบสุนทรพจน์ในหัวข้อ ยุติสงครามและความรุนแรง (อังกฤษ: Stop the War and Violence) และทำการเดินประกวดในรอบชุดราตรี[44][45] ซึ่งนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2022 ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายจะได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับห้าโดยอัตโนมัติ[46][47]

หลังจากการประกวดรอบสุนทรพจน์และรอบชุดราตรีเสร็จสิ้นคณะกรรมการจะทำการตัดสินให้เหลือเพียง 5 คนสุดท้ายเพื่อเข้าสู่ในรอบตอบคำถาม[44] ในการแข่งขันรอบนี้ทางประกวดจะใช้คำถามชุดเดียวกันทั้งหมดในการตัดสินโดยหัวข้อจะเป็นสถานการณ์ทั่วโลกในปัจจุบัน อาทิ การระบาดทั่วของโควิด-19,[48] การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 2016,[49][50] วิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา[51] เป็นต้น คณะกรรมการจะทำการตัดสินผู้ชนะจากคำตอบและภาพรวมในการทำกิจกรรมทั้งหมดของผู้เข้าประกวด ซึ่งพิธีกรจะทำการประกาศและมอบตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับห้าให้กับผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้าย[47] ก่อนที่จะประกาศตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับสี่, รองชนะเลิศอันดับสาม และรองชนะเลิศอันดับสองตามลำดับ[52][53] ก่อนที่จะเหลือเพียงแค่ 2 คนสุดท้าย ซึ่ง 1 ใน 2 คนสุดท้ายจะได้ดำรงตำแหน่งมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล[42][52][54][55][53]

สรุปกระบวนการคัดเลือกผู้เข้าประกวด
เกณฑ์การคัดเลือกมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล
กิจกรรม
รอบ/รางวัล
กิจกรรมเสริม กิจกรรมออนไลน์ สัมภาษณ์แบบปิด การประกวดย่อย พรีลิมมินารี แกรนด์ไฟนอล
การประกวดชุดว่ายน้ำ การประกวดชุดประจำชาติ รอบชุดว่ายน้ำ รอบชุดราตรี รอบชุดว่ายน้ำ รอบสุนทรพจน์ รอบชุดราตรี รอบตอบคำถาม
รอบก่อนรอบสุดท้าย (20 อันดับแรก) 1 ตำแหน่ง, 2020, 2022–ปัจจุบัน[i]
รอบถัดจากรอบสุดท้าย (10 อันดับแรก) 1 ตำแหน่ง, 2015–ปัจจุบัน[ii]
รอบสุดท้าย (5 อันดับแรก)
ผู้ชนะเลิศ
รางวัลพิเศษ
ประเทศแห่งปี 2020–ปัจจุบัน[i]
ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม 2016–ปัจจุบัน 2013–ปัจจุบัน
ชุดว่ายน้ำยอดเยี่ยม 2016–ปัจจุบัน 2013–ปัจจุบัน 2013–ปัจจุบัน
ชุดราตรียอดเยี่ยม 2021–ปัจจุบัน 2013–ปัจจุบัน
โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยม 2014–2022
มิสป็อปปูลาร์โหวต[ii] 2013–ปัจจุบัน
  การแข่งขัน/รอบ ที่ใช้ในการตัดสินคัดเลือก
  รางวัลดังกล่าวยังคงมีอยู่
  รางวัลดังกล่าวมีการเปลี่ยนชื่อสาขา
  รางวัลดังกล่าวไม่มีอีกต่อไป
  1. 1.0 1.1 ผู้ชนะรางวัล "ประเทศแห่งปี" จะเข้ารอบ 20 คนสุดท้ายโดยอัตโนมัติในปี 2020, 2022 ถึง ปัจจุบัน โดยไม่คำนึงถึงคะแนนสะสม
  2. 2.0 2.1 ผู้ชนะรางวัล "มิสป็อปปูลาร์โหวต" ได้รับการเสนอชื่อเข้ารอบ 10 อันดับแรกโดยอัตโนมัติตั้งแต่ปี 2015 โดยไม่คำนึงถึงคะแนนสะสม

มงกุฎและรางวัล

[แก้]

ตามธรรมเนียมของทางองค์กรมงกุฎของมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลจะถูกเรียกว่า โกลเดนคราวน์ (อังกฤษ: Golden Crown) ซึ่งมงกุฎประจำตำแหน่งจะมีการผลัดเปลี่ยนทุก 3 ปี[56] ตัวมงกุฎใหญ่ทุกมงกุฎจะมีโครงสร้างที่ทำจากทองคำและทองเหลืองเป็นส่วนประกอบซึ่งจะมีการตกแต่งด้วยเพชรและมรกต[57]

โกลเดนคราวน์รุ่นแรกนั้นได้ถูกจัดทำโดยก๊อดไดมอนด์ซึ่งมีชวลิต ชมเมือง ช่างทำอัญมณีชาวไทยเป็นผู้ดูแลการผลิตทั้งหมด[58] โดยมงกุฎได้มีการสวมใส่เพียงแค่ 3 ปี[57] ก่อนที่จะถูกผลัดเปลี่ยนไปในรุ่นที่สองซึ่งออกแบบและทำโดยบริษัทไม่ทราบชื่อ[57] โกลเดนคราวน์รุ่นที่สามได้ถูกใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 ถึงปี ค.ศ. 2021 โดยมีเฆออร์เฆ บิตเตลส์ ช่างทำอัญมณีชาวเวเนซุเอลาเป็นผู้ดูแลการผลิตทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันเขาเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบและผลิตโกลเดนคราวน์รุ่นที่สี่[59] ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้บิตเตลส์ยังได้ออกแบบและผลิตมงกุฎสำหรับรองชนะเลิศทั้ง 4 ตำแหน่งซึ่งได้เริ่มมีการให้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2019[59] อีกทั้งสำหรับผู้ที่ผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2022 ทางองค์กรได้เพิ่มตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับห้าให้กับผู้ที่ผ่านเข้ารอบดังกล่าว โดยผู้ได้รับตำแหน่งจะได้รับมงกุฎด้วยเช่นกัน[60]

ในส่วนของเงินรางวัลนั้นนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 ทางองค์กรได้ให้เงินรางวัลประจำปีกับผู้ที่ได้รับตำแหน่งมิสแกรนด์มิสเตอร์เนชันแนลเป็นจำนวน 40,000 ดอลลาร์สหรัฐพร้อมกับให้ปฏิบัติภารกิจกับทางองค์กรตลอดระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง[52][61] ซึ่งเงินรางวัลได้เพิ่มขึ้นจาก 30,000 ดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2013[6][61] แต่อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 2021 สื่อประเทศเวียดนามได้มีการเผยแพร่ว่าเหงียน ทุก ถวี่ เตียน มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล ประจำปี ค.ศ. 2021 ได้รับเงินรางวัลเป็นจำนวน 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ[56]

สำหรับเงินรางวัลของรองชนะเลิศสำนักข่าวเอบีเอส-ซีบีเอ็นของประเทศฟิลิปปินส์ได้ทำการรายงานว่าซาแมนธา เบอร์นาร์โด รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ประจำปี ค.ศ. 2020 ได้รับเงินรางวัลจำนวน 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ[62] ขณะที่สื่อของประเทศอินเดียก็ได้ออกมาเปิดเผยว่าวาร์ติกา สิงห์ รองชนะเลิศอันดับสอง ประจำปี ค.ศ. 2015 ได้รับเงินรางวัลจำนวน 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ[63][64] ขณะที่รองชนะเลิศอันดับสามและรองชนะเลิศอันดับสี่จะได้รับเงินรางวัลจำนวน 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ[64] นอกจากรองชนะเลิศแล้วผู้ที่ได้รับรางวัลในการประกวดรอบอื่นจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ถึง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อรางวัลโดยลำดับเงินรางวัลดังกล่าวอิงจากการประกวดในช่วงปี ค.ศ. 2013 ถึงปี ค.ศ. 2015[61][64][65][66]

หลังจากที่มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลได้ดำรงตำแหน่งจนครบวาระแล้ว ทางองค์กรจะทำมงกุฎที่ระลึกให้กับผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งออกแบบและผลิตโดยช่างทำอัญมณีคนเดียวกันกับมงกุฎที่มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลคนนั้นสวมใส่

ผู้ชนะการประกวดในช่วงไม่กี่ปี

[แก้]
ปี ประเทศและดินแดน ผู้ดำรงตำแหน่ง เวทีประกวดระดับชาติ สถานที่จัดประกวด ผู้เข้าประกวด
2024  อินเดีย เรเชล คุปตะ (Rachel Gupta) มิสแกรนด์อินเดีย กรุงเทพมหานคร, ไทย 68
2023  เปรู ลูเซียนา ฟุสเตร์ (Luciana Fuster) มิสแกรนด์เปรู นครโฮจิมินห์, เวียดนาม 69
2022  บ���าซิล อีซาแบลา เมนิง (Isabella Menin) มิสแกรนด์บราซิล ชวาตะวันตก, อินโดนีเซีย 68
2021  เวียดนาม เหงียน ทุก ถวี่ เตียน (Nguyễn Thúc Thùy Tiên) มิสแกรนด์เวียดนาม กรุงเทพมหานคร, ไทย 59
2020  สหรัฐอเมริกา อาเบนา อัปเปียห์ (Abena Appiah) มิสแกรนด์สหรัฐอเมริกา 63

ทำเนียบมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล

[แก้]

องค์กรมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล

[แก้]

ในปัจจุบันองค์กรมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)[67] ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยมีณวัฒน์ อิสรไกรศีล เป็นประธานกองประกวด[68] และเทเรซ่า ชัยวิสุทธิ์ เป็นรองประธานกองประกวด[69]

ผู้ได้รับตำแหน่งในองค์กรมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล

รายชื่อดังต่อไปนี้เป็นรายชื่อของผู้ได้รับตำแหน่งในองค์กรมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลโดยตรง ซึ่งประกอบไปด้วยมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลและมิสแกรนด์ไทยแลนด์[67]

ปี มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล ประเทศและดินแดน มิสแกรนด์ไทยแลนด์ จังหวัด
2024 เรเชล คุปตะ อินเดีย อินเดีย มาลิน ชระอนันต์ จังหวัดภูเก็ต ภูเก็ต
2023 ลูเซียนา ฟุสเตร์ เปรู เปรู ทวีพร พริ้งจำรัส จังหวัดชุมพร ชุมพร
2022 อีซาแบลา เมนิง บราซิล บราซิล อิงฟ้า วราหะ กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร
2021 เหงียน ทุก ถวี่ เตียน เวียดนาม เวียดนาม อินดี จอห์นสัน จังหวัดปทุมธานี ปทุมธานี
2020 อาเบนา อัปเปียห์ สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา พัชรพร จันทรประดิษฐ์ จังหวัดระนอง ระนอง
2019 บาเลนตินา ฟิเกรา เวเนซุเอลา เวเนซุเอลา อารยะ ศุภฤกษ์ จังหวัดนครพนม นครพนม
2018 กลารา โซซา ปารากวัย ปารากวัย น้ำอ้อย ชนะพาล จังหวัดภูเก็ต ภูเก็ต
2017 มาริอา โฆเซ โลรา เปรู เปรู ปาเมลา ปาสิเนตตี จังหวัดกระบี่ กระบี่
2016 อาริซกา ปูตรี เปอร์ตีวี อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย พีรญา มะลิซ้อน จังหวัดสงขลา สงขลา
2015 อาเนอา การ์ซิอา[a] สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐโดมินิกัน รัตติกร ขุนโสม  สงขลา[b]
แคลร์ เอลิซาเบธ พาร์กเกอร์[c] ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
2014 ลิส การ์ซิอา คิวบา คิวบา ปรภัสสร วรสิรินดา  นครราชสีมา[b]
2013 เยเนลิ ชาปาร์โร ปวยร์โตรีโก ปวยร์โตรีโก ญาดา เทพนม  ประจวบคีรีขันธ์[b]
หมายเหตุ
  1. สำหรับปี ค.ศ. 2015 การ์ซิอาได้ถูกปลดจากองค์กรมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล
  2. 2.0 2.1 2.2 มิสแกรนด์ไทยแลนด์เริ่มจัดประกวดด้วยระบบจังหวัดครั้งแรกในปี ค.ศ. 2016 จังหวัดดังกล่าวจึงเป็นจังหวัดภูมิลำเนาของผู้ได้รับตำแหน่ง
  3. พาร์กเกอร์ได้เข้าดำรงมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนลหลังจากที่การ์ซิอาได้ถูกปลดจากตำแหน่ง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เปิดอาณาจักรร้อยล้าน "ณวัฒน์ อิสรไกรศีล" เจ้าของเวทีมิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล". Sanook.com. 11 June 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2021. สืบค้นเมื่อ 18 October 2021.
  2. 2.0 2.1 Alexa Villano (October 23, 2019). "What you need to know about the Miss Grand International pageant". Rappler. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2021. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  3. "Miss Grand International 2015 winner Anea Garcia steps down". Rappler. 24 March 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  4. "Miss Grand International 2015 คึกคัก สาวงามร่วม 90 ประเทศ". Phuket Index. 9 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2016.
  5. "AJ สนับสนุนการประกวด Miss Grand International 2556". AJ Advance Technology Public Co., Ltd. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  6. 6.0 6.1 "สาวงามเปอร์โตริโก้คว้า "มิส แกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล 2013"". Teenee.com. 20 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2013. สืบค้นเมื่อ 20 October 2021.
  7. Khaosod (26 October 2016). ""มิสอินโดนีเซีย"น้ำตาคลอ คว้ามงกุฏมิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนลฯ "ฝ้าย-สุภาพร"ซิวรองอันดับ2(คลิป)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2021. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  8. Harry Rodríguez Caraballo (January 14, 2021). "¡Oficial! Miss Grand International 2020-2021 se realizará en Tailandia". Metro TV (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 25, 2021. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  9. Justin Coulibaly (29 September 2021). "Miss Grand International : Márcia Marilia représentera l'Angola". Afrik.com (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  10. Earl D.C. Bracamonte (31 May 2024). "Myanmar drops hosting Miss Grand International 2024 finals". The Philippine Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2024. สืบค้นเมื่อ 30 July 2024.
  11. "VIDEO: Miss Grand International 2024 to be co-hosted by Cambodia". Khmer Times. 30 July 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2024. สืบค้นเมื่อ 30 July 2024.
  12. "มิสแกรนด์อินเตอร์อินเตอร์เนชั่นแนล 2024 ยกเลิกกัมพูชาเป็นเจ้าภาพ". ข่าวสด. 7 October 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2024. สืบค้นเมื่อ 7 October 2024.
  13. "ณวัฒน์ อิสรไกรศีล งัดหลักฐานโต้ ทีมจัดมิสแกรนด์กัมพูชา โกหกทุกอย่าง". สปริงนิวส์. 8 October 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2024. สืบค้นเมื่อ 9 October 2024.
  14. "เปิดใจ "แคลร์" มิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนลคนล่าสุด นับจากนี้ 6 เดือนจะทำหน้าที่จนวันสุดท้าย (คลิป)". มติชน. 1 April 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 April 2023.
  15. "Miss Grand International 2015 winner Anea Garcia steps down". Rappler (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-06. สืบค้นเมื่อ 2021-02-22.
  16. Jenna Clarke (March 26, 2016). "Claire Parker takes over Miss Grand International crown after 'demanding' winner resigns". The Sydney Morning Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2020.
  17. 17.0 17.1 Thiên Anh (March 23, 2019). "Cựu Hoa hậu Hòa bình nhận 'vé vớt' thi Miss Universe Australia". iOne (ภาษาเวียดนาม). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2021. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  18. "Miss Grand International 2015 stripped of her title". Times of India. 23 February 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2022. สืบค้นเมื่อ 13 January 2022.
  19. "ณวัฒน์ ปั้น "มิสแกรนด์" ฟื้นชีพเวทีขาอ่อน "ธุรกิจนางงาม ก็เหมือนกับทีมฟุตบอล"". Positioning Magazine. 3 August 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2021. สืบค้นเมื่อ 28 December 2020.
  20. "เราไม่ฆ่ากัน! เทเรซ่า ลั่น! อีก 7 ปีจะชิงที่ 1 แทนมิสยูนิเวิร์ส". Thai Rath. 7 November 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2019. สืบค้นเมื่อ 24 December 2021.
  21. "ตัวเต็ง "มิสแกรนด์เปรู" ซิว "Miss Grand International 2023" ด้าน "อุ้ม ทวีพร" ตัวแทนจากไทยจอด Top 10". ผู้จัดการออนไลน์. 25 October 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2023. สืบค้นเมื่อ 5 April 2024.
  22. Fábio Luís de Paula (25 October 2019). "Brasileira é favorita ao Miss Grand International, que ocorre em meio à crise na Venezuela". Folha de S.Paulo (ภาษาโปรตุเกส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2019. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  23. "Paraibana torna-se primeira nordestina a vencer o Miss Grand Brasil". Clickpb.com.br (ภาษาโปรตุเกส). 31 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  24. "ចុងសប្តាហ៍នេះ នឹងឃើញស្រីស្អាតគ្រងមកុដកញ្ញាឯកដ៏អស្ចារ្យនៃកម្ពុជាឆ្នាំ ២០២១". Post Khmer (ภาษาเขมร). 24 September 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  25. "Ambika Joshi Rana crowned Miss Grand Nepal 2020". Glamour Nepal. 17 December 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  26. "Nerviosismo le jugó una mala pasada a señorita aspirante a Miss Grand Paraguay 2021". La Nación (ภาษาสเปน). 6 July 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  27. Press Trust of India (29 September 2019). "Feel confident I'll bring back Miss Universe crown: Vartika Singh". Business Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  28. "Binibining Pilipinas says 'full support' for Samantha Bernardo in Miss Grand International bid". Rappler. 9 February 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  29. "COVID-19 outbreak at Miss Mexico; 15 of 32 participants tested positiveCOVID-19 outbreak at Miss Mexico; 15 of 32 participants tested positive". Puerto Vallarta News. 5 July 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  30. "Kurorëzohet më e bukura e "Miss Grand Albania 2019"; Ja ku do garojë ajo më tej…!". Intervista (ภาษาแอลเบเนีย). 27 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2019. สืบค้นเมื่อ 18 April 2021.
  31. "Miss-i i përjashtuar nuk pranon të paguajë haraqin, shpjegon në detaje të gjitha padrejtësitë që i janë bërë". Syri GmbH (ภาษาแอลเบเนีย). 1 September 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2020. สืบค้นเมื่อ 13 November 2019.
  32. 32.0 32.1 32.2 "Natalia Quirós, Miss Grand Granada 2020". Viva Granada (ภาษาสเปน). 7 October 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  33. "Clara Navas, tercera finalista y representante de Cádiz clasificada en el top 5 en la final del certamen Miss Grand España 2021". La Voz de Cádiz (ภาษาสเปน). 17 May 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-19. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  34. "Francia no asistirá al Miss Grand Internacional por realizarse en Venezuela". La Verdad (ภาษาสเปน). 8 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  35. 35.0 35.1 "Miss Grand International Italy, prima vincitrice è di Terni". Tuttoggi.info (ภาษาอิตาลี). 7 June 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  36. Jude Toyat (18 July 2021). "Sarawakian brings in game-changing approach to nation's pageant industry". The Borneo Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  37. 37.0 37.1 "เปิดตัว 26 สาวงามชิงมิสแกรนด์ขอนแก่น มงจะลงใครวัดยอดไลก์ใน Tiktok". Manager Daily. 19 April 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  38. Cecilia Sman (12 February 2018). "Bank clerk clinches inaugural Miss Grand Miri crown". The Borneo Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  39. "Monique Thomas represents Jamaica in a beauty contest in Thailand". The Gleaner. 14 March 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2021. สืบค้นเมื่อ 1 September 2021.
  40. 40.0 40.1 40.2 "LOOK: Samantha Bernardo is a scene-stealer at the Miss Grand International preliminary competition". Rappler. 26 March 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2021. สืบค้นเมื่อ 4 September 2021.
  41. 41.0 41.1 41.2 Earl D.C. Bracamonte (22 March 2021). "Philippines' Samantha Bernardo slays in swimsuit walk, aces in Miss Grand International challenges". The Philippine Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2021. สืบค้นเมื่อ 1 September 2021.
  42. 42.0 42.1 42.2 Earl D.C. Bracamonte (28 March 2021). "Miss USA is first Black contender to win Miss Grand International crown". The Philippine Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2021. สืบค้นเมื่อ 1 September 2021.
  43. 43.0 43.1 Robert Requintina (20 March 2021). "Miss Grand Int'l 2020 pageant reveals first candidate who advances to top 20". Manila Bulletin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2021. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.
  44. 44.0 44.1 วรรษมน ไตรยศักดา (28 March 2021). "อัลเบน่า แอพเพีย มิสแกรนด์สหรัฐอเมริกา คว้ามงกุฎ Miss Grand International 2020". The Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2021. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.
  45. "Студентка КФУ представит Россию на конкурсе Miss Grand International". Kazan Federal University (ภาษารัสเซีย). 15 February 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.
  46. "Miss Grand International names Roberta Tamondong as new 5th runner-up". CNN Philippines. 30 October 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2022. สืบค้นเมื่อ 31 October 2022.
  47. 47.0 47.1 "สรุปรางวัล 'Miss Grand International 2023' มงลงเปรู - 'อุ้ม ทวีพร' คว้ารอง 5". คมชัดลึก. 26 October 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2023. สืบค้นเมื่อ 8 November 2023.
  48. "TRANSCRIPT: Miss Grand International 2020 Top 5 Q&A". Rappler. 27 March 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2021. สืบค้นเมื่อ 4 September 2021.
  49. "Indonesia's Ariska Putri Pertiwi crowned Miss Grand International 2016". The Indian Express. 26 October 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2021. สืบค้นเมื่อ 18 October 2021.
  50. "Miss Grand International 2016: Nicole Cordoves' answer in the Q&A". Rappler. 26 October 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2021. สืบค้นเมื่อ 18 October 2021.
  51. Asaree Thaitrakulpanich (28 October 2019). "Miss Grand Thailand 2019 'Coco' Finished as 2nd Runner-up". Khaosod. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2021.
  52. 52.0 52.1 52.2 Fábio Luís de Paula (27 March 2021). "Abena Appiah, dos EUA, é primeira mulher negra a vencer Miss Grand International". Folha de S.Paulo (ภาษาโปรตุเกส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.
  53. 53.0 53.1 Catalina Ricci S. Madarang (29 March 2021). "Miss Grand International queens Philippines, USA's casual interaction on stage takes spotlight during coronation night". InterAksyon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.
  54. Earl D.C. Bracamonte (5 July 2021). "Samantha Bernardo breaks silence over controversial Miss Grand International final Q&A answer". The Philippine Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.
  55. Stephanie Bernardino (28 March 2021). "How Samantha Bernardo answered during Q&A portion at Miss Grand International 2020". Manila Bulletin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2021. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.
  56. 56.0 56.1 "Ngắm đôi hoa tai ngọc lục bảo của các Hoa hậu Miss Grand International". Yan News (ภาษาเวียดนาม). 16 December 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2021. สืบค้นเมื่อ 21 December 2021.
  57. 57.0 57.1 57.2 "ณวัฒน์ ทุ่มงบ 60 ล้าน ลุยจัด "มิสแกรนด์อินเตอร์ฯ" ครั้งแรก ลาสวเกัส สหรัฐฯ-เปิดตัว "มงกุฎ" มูลค่า 8 หลัก". Matichon. 3 October 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  58. "ใครๆ ก็สวมมง (กุฎ) ได้". Post Today. 23 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  59. 59.0 59.1 "เปิดตัว "มงกุฎ MGI 2019" โดยนักออกแบบมงกุฎมือหนึ่งของโลก". Siam Rath. 24 October 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2021. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  60. "Roberta Tamondong officially crowned as Miss Grand International 5th runner-up". ABS-CBN. 10 November 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2022. สืบค้นเมื่อ 7 November 2023.
  61. 61.0 61.1 61.2 "A bigger cash prize for Miss Grand International 2014". Normannorman.com. 4 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2021. สืบค้นเมื่อ 18 October 2021.
  62. "After Miss Grand International, will Samantha Bernardo join another pageant?". ABS-CBN. 21 May 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2021. สืบค้นเมื่อ 18 October 2021.
  63. "Vartika Singh crowned second runner-up at Miss Grand International". News18 India. 26 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2019. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  64. 64.0 64.1 64.2 Srinjan Bhowmick (25 October 2015). "Vartika Singh crowned 2nd runner-up at MGI 2015". Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2022. สืบค้นเมื่อ 27 August 2022.
  65. "เสี่ยงอีก! "ณวัฒน์" เตรียมส่ง "มิสแกรนด์ฯ" ไปรณรงค์หยุดสงคราม 10 ประเทศ". Manager Daily. 24 October 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2021. สืบค้นเมื่อ 9 December 2021.
  66. "Miss Grand International Finals: Top 5 Contestants & Pageant Highlights". The Free Library. 9 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2022. สืบค้นเมื่อ 11 August 2022.
  67. 67.0 67.1 "7 เรื่องน่ารู้ "มิสแกรนด์ อินเตอร์เนช���่นแนล MGI" หุ้นไอพีโอน้องใหม่". Stockfocusnews.com. 19 July 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2023. สืบค้นเมื่อ 22 September 2023.
  68. ตุลย์ จตุรภัทร (14 June 2016). "ณวัฒน์ อิสรไกรศีล กับการประกวดนางงามแบบแกรนด์แกรนด์". โพสต์ทูเดย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2024. สืบค้นเมื่อ 7 November 2024.
  69. ""เทเรซ่า" แจงค่าลิขสิทธิ์มิสแกรนด์อินเตอร์ฯ ปลื้มกระแสนิยมทั่วโลกดีมาก". คมชัดลึก. 9 December 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2023. สืบค้นเมื่อ 22 September 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]