ข้ามไปเนื้อหา

มังกรคู่สู้สิบทิศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มังกรคู่สู้สิบทิศ
ผู้ประพันธ์หวงอี้
ชื่อเรื่องต้นฉบับ大唐雙龍傳
ผู้แปลน.นพรัตน์ หนังสือนิยาย
ไผ่เงิน ฉบับการ์ตูน
ภาษาจีน
ประเภทนิยายกำลังภายใน
ชนิดสื่อนิยาย

มังกรคู่สู้สิบทิศ (จีน: 大唐雙龍傳; อังกฤษ: Dragons of tang dynasty) วรรณกรรมจีนแต่งโดย หวงอี้[1] และถูกนำมาแปลและเรียบเรียงในไทยโดย น.นพรัตน์ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ เป็นเรื่องราวของการก่อตั้งราชวงศ์ถัง ซึ่งมีปฐมฮ่องเต้คือ ถังเกาจู่ หรือชื่อเดิม หลี่หยวน ตัวเอกของเรื่องเป็นเด็กกำพร้าคู่หนึ่ง ในเมืองหยางโจว ชื่อ โค่วจง และ ฉีจื่อหลิง, ไต่เต้าจากเป็นอันธพาลในตลาด จนกระทั่งรวบรวมกำลังเข้าช่วงชิงแผ่นดิน ความยาว 21 เล่ม สำหรับฉบับที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แบ่งเป็นสองภาค คือ ภาคแรก 10 เล่ม และภาคสมบูรณ์ 11 เล่ม [2]

เนื้อเรื่อง

[แก้]

ในยุคที่ราชวงศ์สุยใกล้ถึงกาลล่มสลาย ฮ่องเต้สุยหยางตี้เรียกเกณฑ์แรงงานอย่างหนัก พร้อมเกณฑ์คนไปรบเกาหลีจนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ประชาชนเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า บรรดาขุนศึกและผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยต่างตั้งตัวเป็นอิสระจากกษัตริย์สุยหยางตี้ ทั้งตัวโค่วจงและฉีจื่อหลิงซึ่งเป็นตัวเอกได้โลดเล่นท่ามกลางช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผันนี้ และสร้างตัวจากนักเลงลักเล็กขโมยน้อยในเมืองหยางโจว กลายมาเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการกุมชะตาแผ่นดินจีนช่วงผลัดราชวงศ์ เนื้อเรื่องเน้นไปที่ตัวหลี่ซื่อหมิน ซึ่งเป็นฮ่องเต้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของราชวงศ์ถัง อันเป็นราชวงศ์ที่เป็นฉากหลังในการดำเนินเรื่อง โดยที่ตัวเอกโค่วจงและฉีจื่อหลิงมีส่วนในการช่วยหลี่ซื่อหมินขึ้นครองราชย์ มีการต่อสู้กับชนเผ่านอกด่าน(ชาวถูเจี๋ย) และประเทศเกาหลี ซึ่งเกี่ยวข้องในระดับประเทศ และมีการต่อสู้ระหว่างพรรคมาร ซึ่งเกี่ยวข้องในระดับเนื้อเรื่อง

ตัวละคร

[แก้]

วรยุทธ์

[แก้]

ฝ่ายธรรมะ

[แ��้]
  • เคล็ดวิชาอมตะ (โค่วจง ฉีจื่อหลิง)
  • เลขหนึ่งที่หายไป (โค่วจง ฉีจื่อหลิง)
  • พลังลมปราณเกลียวเย็น (โค่งจง)
  • พลังลมปราณเกลียวร้อน (ฉีจื่อหลิง)
  • วิชาเก้าพิศดารสยบหิน (ปรมาจารย์ฟู่ฉ่ายหลิน ฟู่จวินชว่อ ฟู่จวินอี้ ฟู่จวินเฉียง)
  • ไม้เท้ามังกรเงิน (ซ่งลู่)
  • ฟ้าถาม 9 ดาบ (ซ่งเซวีย)
  • จักรวาลในแขนเสื้อ (ตู้ฝูเว่ย)
  • ประจัญบาน 10 กระบวน (หลี่จิ้ง)
  • กระบวนลับ เพลงดาบสกุลเสิ่น (เสิ่นไน่ถัง)
  • ฟงหันเจ็ดท่า (ปาฟงหัน)
  • กระบวนกระบี่ทะเลคลั่ง (โอวหยังซีอี๋)
  • ม้วนภาพเทพยุทธ์ (ตำนาน)
  • ตำนานกระบี่ (ตำนาน)
  • เคล็ดวิชาสุริยัน (ปี้เสียน)
  • เคล็ดกระบี่ (เรือนฌาณเมตไตย)
  • สิบดรรชนีประทับสิงขร (สี่วชิระ)
  • ค่ายกลแหธรรม พันพระหัตถ์ยูไลปิดฟ้าดิน (สี่วชิระ)
  • แส้ปัดเบญข (สตรีแส้ปัดแดง)


ฝ่ายอธรรม

[แก้]
  • วิชาประทับไม่ตาย (สือจือเสวียน)
  • พลังอสูรฟ้า (สำนักทศเย็น)
  • 12 กิ่งก้านกุสุมาลย์ (โหวชีไป๋)
  • ท่องแดนบุปผา
  • เคล็ดวิชาอสูรฟ้า (จู้อี้เอี๋ยน วาวา ไป๋ชิงเอ๋อ)
  • กระบี่ลวงตา (หยางซวี๋เอี้ยน)
  • กงเล็บเหยี่ยวบิน (ทวอปาอี้)
  • คลื่นพิโรธเจ็ดหนุนเนื่อง (ชวีอ้าว)
  • กระบี่ห่วงอสูรคล้องใจ (เปียนปู้ฟู่)
  • ไม้เท้าต้านลม 102 ท่า (สั้งกวนหลง)
  • วิชาโลหิตดำ (สั้งกวนหลง)
  • ไม้เท้าลมพายุเจ็ดพิฆาต (อิ๋วฉู่หง)
  • เพลงหมัดมารฟ้า (ตุ๋กูป้า)


อาวุธ

[แก้]
  • ดาบเทพพยัคฆ์คำราม (อวี่เหวินฮั่วจี๋)
  • กระบี่สังหารปี้เสียน (ปาฟงหัน)
  • กระบองพิฆาตดาบสวรรค์ (ปาฟงหัน)
  • กระบี่พิฆาตปลาวาฬ (โอวหยังซีอี๋)
  • ค้อนดาวตก (เยิ่นเส้าหมิง)
  • ดาบจันทร์ในบ่อ (โค่วจง)
  • กระบี่คงหลิง (ฟู่จวินอี้)
  • แพรอสูร (วาวา)
  • ดาบคู่อสูรฟ้า (วาวา)
  • กระบี่อวี่ซี (ฟู่จวินชว่อ ฉีจื่อหลิง)
  • ดาบฟ้าผ่าคนอง (หลี่ซื่อหมิน)
  • พัดหญิงงาม (โหวชีไป๋)
  • หอกสามคม (หลี่เสินทง)
  • ห่วงมารแม่ลูก (ตันเหมย)
  • กระบี่โลหิตทองคำ (เหวิ่นไฉ่ถิง)

บันเทิงคดี

[แก้]

มังกรคู่สู้สิบทิศ ออกวางจำหน่ายในรูปแบบของการ์ตูน ครั้งแรกในประเทศไทย โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2545 แปลโดย ไผ่เงิน ในรูปแบบหนังสือปกอ่อน จำนวน 50 เล่ม และแบบรวมเล่มโดย คิงส์ คอมมิกส์ จำนวน 32 เล่ม จำนวนตอน 252 ตอน ซึ่งมีเนื้อหาปรับเปลี่ยนจากต้นฉบับนิยายอยู่บ้าง[3]

ภาพหน้าปกหนังสือมังกรคู่สู้สิบทิศ ฉบับการ์ตูน ภาคภาษาจีน

ภาพยนตร์

[แก้]

ถูกนำมาสร้างเป็นทีวีซีรีส์ ในชื่อภาษาไทยว่า "'ศึกมังกรคู่จ้าวยุทธภพ'"(อังกฤษ: Twin of Brother) กำกับการแสดงโดย : Wong Jing โดยมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาของตัวละคร และมีการเรียกชื่อที่ผิดแปลกไปจากต้นฉบับที่แปลโดย น.นพรัตน์ และไผ่เงิน[4]

ภาพใบปิดซีรีส์จีน เรื่อง ศึกมังกรคู่จ้าวยุทธภพ

อ้างอิง

[แก้]
  1. วิถีสู่จอมคน[ลิงก์เสีย]
  2. 8 ยอดคนในมังกรคู่สู้สิบทิศ[ลิงก์เสีย]
  3. http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/11/K9944240/K9944240.html
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-26. สืบค้นเมื่อ 2017-08-06.