ข้ามไปเนื้อหา

มหาศิวราตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาศิวราตรี
กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ยามค่ำคืนสว่างไสวด้วยแสงไฟในคืนมหาศิวราตรี
ประเภทศาสนาฮินดู
ความสำคัญโยคะ[1]
การถือปฏิบัติการอดอาหาร, โยคะ, เฝ้ายามค่ำคืน, ลิงคบูชา[1]
วันที่Magha Krishna Chaturdashi
วันที่ในปี 202318 February (Saturday)
วันที่ในปี 20248 March (Friday) [2]
ความถี่รายปักษ์

มหาศิวราตรี (อักษรละติน: Mahā Shivarātri; อักษรเทวนาครี: महाशिवरात्रि; ค่ำคืนอันยิ่งใหญ่ของพระศิวะ) เป็นเทศกาลในศาสนาฮินดูที่เฉลิมฉลองพระศิวะ ที่พระองค์ได้ทรงสมรสกับพระปารวตี[3][4] ถือเป็นเทศกาลสำคัญหนึ่งในศาสนาฮินดู แสดงเป็นนับถึงความสว่างที่เอาชนะความมืดมิดและความไม่รู้ มีกิจกรรมเช่น การร้องบทสวด, การอดอาหาร, ทำสมาธิ[4] ผู้ที่เคร่งจะตื่นทั้งคืน บ้างเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญของพระศิวะ โดยเฉพาะที่ชโยติรลึงค์ เทศกาลนี้ถือว่ามีความเก่าแก่มากและไม่ทราบประวัติว่าเริ่มต้นเมื่อใด[4] ในลัทธิไศวะแบบกัศมีร์ เรียกว่า “หาร์-ราตรี”[5][6]

ตำนานพิธีมหาศิวราตรี

[แก้]

ตำนานที่แต่งในศาสนาพราหมณ์กล่าวไว้ว่า เคยมีนายพรานป่าคนหนึ่งกลับมาจากล่าสัตว์ในป่า ได้ปีนขึ้นไปสร้างห้างค้างแรมอยู่บนต้นมะตูมใหญ่เพื่อพักผ่อนในคืนก่อนจะกลับบ้าน

ปรากฏว่าคืนนั้นนายพรานสั่นหนาวเพราะน้ำค้างลงและความหิวโหย จึงนอนดิ้นกระสับกระส่ายตลอดคืน จนน้ำค้างที่เกาะใบมะตูมร่วงลงสู่ศิวลึงค์ที่ประดิษฐานอยู่ใต้ต้นมะตูมนั้นตลอดทั้งคืน ทำให้พระศิวะเจ้าผู้ประทับบนเขาไกรลาศคิดไปเองว่ามีผู้ทำการบูชาเซ่นสรวงพระองค์อยู่ด้วยใบมะตูมและน้ำค้างบริสุทธิ์ตลอดคืน พระองค์จึงประทานพรให้นายพรานนั้นพ้นจากบาปที่เกิดจากการล่าสัตว์มาตลอดชีวิต

จากนั้นเป็นต้นมาพิธีกรรมบวงสรวงบูชาองค์พระศิวะมหาเทพ โดยมีการโปรยใบมะตูมพวงมาลัยดอกไม้และมีการอดหลับอดนอน อดข้าวอดน้ำ เพื่อสังเวยองค์พระศิวะ จึงได้มีการกำเนิดขึ้นมาเพราะเหตุนี้[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Melton, J. Gordon (2011). Religious Celebrations: An Encyclopedia of Holidays, Festivals, Solemn Observances, and Spiritual Commemorations. ABC-CLIO. pp. 541–542. ISBN 978-1-59884-206-7.
  2. Govt of Odisha India, 2017 Holidays เก็บถาวร 2017-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, "Maha Shivarathri 2017".
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ dalal137
  4. 4.0 4.1 4.2 Constance Jones; James D. Ryan (2006). Encyclopedia of Hinduism. Infobase Publishing. p. 269. ISBN 978-0-8160-7564-5.
  5. Brunn, Stanley D. (2015). The Changing World Religion Map: Sacred Places, Identities, Practices and Politics. Springer. pp. 402–403. ISBN 978-94-017-9376-6.
  6. Maitra, Asim (1986). Religious Life of the Brahman: A Case Study of Maithil Brahmans. Munshilal. p. 125. ISBN 978-81-210-0171-7.
  7. เทศกาลมหาศิวาราตรี[ลิงก์เสีย]. เว็บไซต์ Lord Ganapati. สืบค้นวันที่ 23-1-52

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]