มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
ชื่อย่อ | RMUTL Nan |
---|---|
คติพจน์ | สร้างคนดี คนเก่ง สู้งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี |
ประเภท | วิทยาเขต |
สถาปนา | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2481 |
ที่ตั้ง | |
เว็บไซต์ | http://www.nan.rmutl.ac.th |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตน่าน เป็นวิทยาเขตในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญา ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2481 โดยจัดการศึกษาเน้นทางด้านการเกษตรกรรม
ประวัติ
[แก้]เดิมชื่อ "โรงเรียนเกษตรกรรมน่าน" ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2481 ซึ่งในขณะนั้นนโยบายการศึกษาของรัฐบาลในสมัยนั้นได้กำหนดให้มีการศึกษาวิชาชีพซึ่งจัดให้เหมาะสมกับภูมิประเภท เช่น กสิกรรม หัตถกรรม และพาณิชการ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้สำหรับประกอบการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ต่าง ๆ ต่อมาเมื่อระบบการศึกษามีการพัฒนาขึ้นทั้งบุคลากร ครู เครื่องมือ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ ในปี พ.ศ. 2517 โรงเรียนเกษตรกรรมน่าน จึงได้รับการยกฐานะให้เป็น วิทยาลัยเกษตรกรรมน่าน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 วิทยาลัยเกษตรกรรมน่าน ได้แยกตัวจากกรมอาชีวศึกษา และจัดตั้งเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรน่าน[1] ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วิทยาเขตเกษตรน่านได้ก้าวพัฒนาการศึกษาทางด้านอาชีพที่มีคุณภาพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญา และ ระดับปริญญา ตลอดจน การวิจัย ส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิชาชีพ และให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
จนในปี พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ากระหม่อม พระราชทานนามใหม่ว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล”
พ.ศ. 2548 จากแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานบันศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐบาลดำเนินการโดยอิสระและมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลจึงได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชงคล ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่าน วิทยาเขตน่าน จึงได้รับการสถาปนาเป็น “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน”
ปัจจุบัน (พ.ศ. 2566) มีจำนวนนักศึกษา 888 คน[2]
คณะที่เปิดสอน
[แก้]หน่วยงานของนักศึกษา
[แก้]มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้กำหนดให้มีองค์กรของนักศึกษาในระดับเขตพื้นที่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงาน และการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา[3] ได้แก่
- หน่วยดำเนินกิจกรรม
- สโมสรนักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับเขตพื้นที่ มีนายกสโมสรนักศึกษาคณะในเขตพื้นที่ และผู้แทนนักศึกษา เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
- สโมสรนักศึกษาคณะ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับคณะในแต่ละเขตพื้นที่ มีผู้แทนนักศึกษาในคณะ เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาคณะ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
- ชมรม เป็นหน่วยดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา โดยมีประธานชมรม เป็นผู้อำนวยการดำเนินงาน
- หน่วยตรวจสอบ
- สภานักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นตัวแทนรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของนักศึกษา ควบคุม ตรวจสอบการบริหารงานและการดำเนินงานขององค์กรนักศึกษา (สโมสรนักศึกษา และชมรม) เป็นศูนย์กลางในการรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเปลี่ยนชื่อสถานศึกษาและจัดตั้งเป็นวิทยาเขต (จำนวน 28 แห่ง)
- ↑ สรุปข้อมูลจำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 1/2566
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-08-27. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.