ข้ามไปเนื้อหา

มหายุคพาลีโอโซอิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหายุคพาลีโอโซอิก
541.0 ± 1.0 – 251.902 ± 0.024 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อทางการ
การสะกดแบบอื่นPalaeozoic
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีกาลของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลามหายุค
หน่วยลำดับชั้นหินหินมหายุค
คำนิยามขอบล่างการปรากฏของซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย Treptichnus pedum
ขอบล่าง GSSPแหล่งฟอร์จูนเฮด รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ประเทศแคนาดา
47°04′34″N 55°49′52″W / 47.0762°N 55.8310°W / 47.0762; -55.8310
การอนุมัติ GSSPพ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992)
คำนิยามขอบบนการปรากฎครั้งแรกของโคโนดอนต์ First appearance of the Conodont Hindeodus parvus.
ขอบบน GSSPเหมยชาน มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน
31°04′47″N 119°42′21″E / 31.0798°N 119.7058°E / 31.0798; 119.7058
การอนุมัติ GSSPพ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001)

มหายุคพาลีโอโซอิก (อังกฤษ: Paleozoic Era; จากภาษากรีก palaio (παλαιο), "เก่าแก่" และ zoe (ζωη), "ชีวิต", หมายถึง "ชีวิตโบราณ")) เป็นมหายุคแรกสุดจาก 3 มหายุคในบรมยุคฟาเนอโรโซอิก ซึ่งเป็นยุคทางธรณีกาลของโลก ช่วงเวลาของมหายุคพาลีโอโซอิกอยู่ในช่วง 542-251 ล้านปีมาแล้ว และแบ่งย่อยออกเป็นหกยุคเรียงตามลำดับเก่า-ใหม่ ได้แก่ ยุคแคมเบรียน ยุคออร์โดวิเชียน ยุคไซลูเรียน ยุคดีโวเนียน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส และ ยุคเพอร์เมียน

ชีวิตในมหายุคพาลีโอโซอิก

[แก้]
ไตรโลไบต์แพร่พันธุ์มากที่สุดในช่วงตอนต้นของมหายุคพาลีโอโซอิกแต่ก็สูญพันธุ์ในช่วงยุคเพอร์เมียน

มหายุคพาลีโอโซอิกครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ช่วงที่มีการปรากฏตัวเป็นจำนวนมากของซากดึกดำบรรพ์เปลือกอ่อนนุ่ม จนถึงช่วงเวลาที่ทวีปรวมตัวเป็นทวีปขนาดใหญ่ ซึ่งสัมพันธ์กับช่วงที่มีการพัฒนาขึ้นของสัตว์เลื้อยคลานและพืชสมัยใหม่ ช่วงเริ่มต้นของมหายุคเริ่มตั้งแต่มีการกำเนิดขึ้นเป็นจำนวนมากของสิ่งมีชีวิตจำพวกไตรโลไบต์และ Archeocyathid ส่วนช่วงปลายมหายุคเกิดในช่วง 300 ล้านปีถัดจากช่วงเริ่มมหายุค เป็นช่วงที่มีการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ซึ่งรู้จักกันในชื่อการสูญพันธุ์เพอร์เมียน การเรียนการสอนสมัยใหม่กำหนดให้ช่วงปลายมหายุคคือช่วงที่มีการปรากฏตัวครั้งแรกของรอยซากดึกดำบรรพ์ (trace fossil) ที่มีลักษณะเฉพาะ เรียกว่า Trichophycus pedum

ธรณีแปรสัณฐานเมื่อ 290 ล้านปีมาแล้ว

ทางธรณีวิทยา, มหายุคพาลีโอโซอิกเริ่มขึ้นไม่นานหลังจากการแยกของมหาทวีปที่ชื่อว่า แพนโนเทีย (Pannotia) และสิ้นสุดยุคน้ำแข็งของโลก ตลอดช่วงต้นมหายุคพาลีโอโซอิก แผ่นดินของโลกแยกออกเป็นทวีปเล็ก ๆ หลายทวีป จนกระทั่งสิ้นสุดมหายุค ทวีปต่าง ๆ เคลื่อนมารวมกันจนเป็นมหาทวีปที่มีชื่อว่าแพนเจีย ซึ่งประกอบด้วยพื้นดินส่วนใหญ่ของโลก

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิงและหนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • British Palaeozoic Fossils, 1975, The Natural History Museum, London.
  • "International Commission on Stratigraphy (ICS)". Home Page. สืบค้นเมื่อ September 19 2005. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dateformat= ถูกละเว้น (help)
ก่อนหน้า
บรมยุคโพรเทอโรโซอิก
บรมยุคฟาเนอโรโซอิก
541 Ma - ปัจจุบัน
มหายุคพาลีโอโซอิก
541 Ma - 252 Ma
มหายุคมีโซโซอิก
252 Ma - 66 Ma
มหายุคซีโนโซอิก
66 Ma - ปัจจุบัน
แคมเบรียน ออร์โดวิเชียน ไซลูเรียน ดีโวเนียน คาร์บอนิเฟอรัส เพอร์เมียน ไทรแอสซิก จูแรสซิก ครีเทเชียส พาลีโอจีน นีโอจีน ควอเทอร์นารี