ภาษาเปอร์เซียของชาวยิว
ภาษาเปอร์เซียของชาวยิว | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | อิสราเอล อิหร่าน อัฟกานิสถาน อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน อาเซอร์ไบจาน รัสเซีย จีน |
จำนวนผู้พูด | ไม่ทราบ (60,000 คนในอิสราเอล อ้างถึง1995)[1] |
ตระกูลภาษา | อินโด-ยูโรเปียน
|
ระบบการเขียน | ฮีบรู |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | jpr |
ISO 639-3 | jpr |
ภาษาเปอร์เซียของชาวยิว (Judæo-Persian)หรือ ภาษายีดี (Jidi; IPA: /ʤiːdiː/) เป็นภาษาเปอร์เซียที่พูดโดยชาวยิวที่อาศัยอยู่ในอิหร่าน และเอกสารภาษาเปอร์เซียของชาวยิวที่เขียนด้วยอักษรฮีบรู ถ้ามองในมุมกว้าง ภาษานี้จะรวมสำเนียงทั้งหมดของภาษาเปอร์เซียที่ใช้โดยชาวยิวในจักรวรรดิเปอร์เซีย ในมุมที่แคบลง ภาษานี้หมายถึงสำเนียงที่พูดในเตหะราน
คำภาษาเปอร์เซียในภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก
[แก้]หลักฐานแรกที่บ่งถึงการเข้ามาของคำในภาษาเปอร์เซียและเข้าสู่ภาษาในอิสราเอลพบในไบเบิล ภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิกมีคำเฉพาะจากภาษาเปอร์เซียเป็นจำนวนมาก ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในจักรวรรดิอาแคมินิด หลังจากสิ้นสุดราชวงศ์นี้ไป 500 ปี เกิดการแพร่กระจายของชาวยิว การใช้ภาษาเปอร์เซียของชาวยิวในตะวันออกเป็นเช่นเดียวกับการใช้ภาษากรีกของชาวยิวในตะวันตก ภาษาเปอร์เซียจึงเป็นภาษาสำคัญของชาวยิวในบาบิโลเนีย ชาวยิวเหล่านี้ไม่มีสิทธิ์ในการพูดภาษาอราเมอิกและจะใช้ภาษาฮียรูหรือภาษาเปอร์เซีย การใช้ภาษาอราเมอิกของชาวยิวจะพบในอิสราเอล ดังนั้น จึงมีคำภาษาเปอร์เซียในทัลมุดของบาบิโลเนีย ส่วนตาร์คุมที่ใช้ภาษาอราเมอิกจะพบศัพท์ภาษาเปอร์เซียน้อยมาก
วรรณคดี
[แก้]มีกวีนิพนธ์ทางศาสนาที่ใช้ภาษาเปอร์เซียของชาวยิว ใกล้เคียงกับกวีนิพนธ์ในภาษาเปอร์เซียคล��สสิก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาษาเปอร์เซียของชาวยิว ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
ข้อมูล
[แก้]- Judæo-Persian (from the 1906 Public Domain Jewish Encyclopedia)
- Vera Basch Moreen (tr. and ed.), In Queen Esther's Garden: An Anthology of Judeo-Persian Literature (Yale Judaica): Yale 2000, ISBN 978-0-300-07905-0
- Moreen, Vera B. "The Legend of Adam in the Judeo-Persian Epic" Bereshit [Nāmah]"(14th Century)." Proceedings of the American Academy for Jewish Research. American Academy of Jewish Research, 1990.