ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เชเนฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เชเนห์ เป็นผู้ปกครองบางส่วนของอียิปต์ในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง ซึ่งอาจเป็นไปได้ในช่วงศตวรรษที่ 17 ก่อนคริสตกาล และน่าจะอยู่ในราชวงศ์ที่สิบสี่[2][3] เช่นนี้พระองค์จะปกครองจากเมืองอวาริสเหนือดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออก และอาจจะเหนือดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฝั่งตะวันตกด้วย ตำแหน่งและตัวตนตามลำดับเวลาของพระองค์นั้นไม่ชัดเจน

หลักฐานยืนยัน

[แก้]

พระองค์เป็นหนึ่งในฟาโรห์ไม่กี่พระองค์ในราชวงศ์ที่ 14 ที่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับพระองค์ คือ ตราประทับสคารับจำนวนสามชิ้น อย่างไรก็ตาม[3] ตราประทับเหล่านี้ไม่ทราบแหล่งที่มา ซึ่งเป็นอุปสรรคในการการศึกษาเกี่ยวกับรัชสมัยของพระองค์ ปัจจุบันตราประทับชิ้นหนึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติอังกฤษ อีกตัวอยู่ในอะเบอร์ดีน แค็ตตาล็อกหมายเลข 21048 และตัวที่สามอยู่ในมอสโก แค็ตตาล็อกหมายเลข 2258[2][4]

ตราประทับชิ้นที่สามที่มอสโกนั้นมีรูปแบบตกแต่งที่ขอบด้วยรูปเชือก ซึ่งตกแต่งเช่นนี้ในตราประทับในราชสำนักของราชวงศ์ที่สิบสามเท่านั้น และสำหรับฟาโรห์เชชิและพระราชโอรสอิปกู ซึ่งอาจจะสืบเนื่องมาจากช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสี่ ดังนั้น พระองค์จึงอาจจะทรงปกครองในช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสี่เช่นกัน โดยไม่ปรากฏพระนามนำหน้าของพระองค์ที่อาจจะบันทึกอยู่ในบันทึกพระนามแห่งตูริน

การพิสูจน์ตัวตน

[แก้]
ตราประทับสคารับของฟาโรห์เชเนห์ ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติช BM EA 32392[5]

เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว พระองค์ได้รับการยืนยันว่าทรงเป็นผู้ปกครองของราชวงศ์ที่สิบสี่ และนักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลท์ จึงเสนอว่า พระองค์อาจจะถูกระบุตัวตนได้ว่าเป็นพระองค์กันกับฟาโรห์เซเฮบเรหรือฟาโรห์เมอร์ดเจฟาเร[2] โดยแท้จริงแล้ว ฟาโรห์ทั้งสองพระองค์ทรงครองราชย์พระองค์ละสามถึงสี่ป�� ซึ่งถือว่าเป็นการครองราชย์ที่ยาวนานที่สุดของราชวงศ์นี้ และไม่ค่อยปรากฏหลักฐานยืนยันมากนัก[3]

พระนามของพระองค์บางครั้งได้รับการแปลเป็น เชเนส เนื่องจากการอ่านสัญลักษณ์ที่แปลว่า ผู้ให้ชีวิต ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นฉายาที่มอบให้กับกษัตริย์โดยทั่วไป

อ้างอิง

[แก้]
  1. Percy E. Newberry: Scarabs, an introduction to the study of Egyptian seals and signet rings, with forty-four plates and one hundred and sixteen illustrations in the text, A. Constable and Co., ltd. in London, 1906, available online, see p. 124 and pl. X, num. 28.
  2. 2.0 2.1 2.2 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  3. 3.0 3.1 3.2 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 358-359
  4. Olga Tufnell: Studies on Scarab Seals, vol. II, Aris & Philips, Warminster, 1984
  5. Harry Reginald Hall: Catalogue of Egyptian scarabs, etc., in the British museum, 1913, n. 208 p. 50, available online copyright free