ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ21 ธันวาคม พ.ศ. 2452
สิ้นพระชนม์24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (90 ปี)
พระสวามีหม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล
พระบุตรหม่อมราชวงศ์อายุมงคล โสณกุล
หม่อมราชวงค์ถวัลย์มงคล โสณกุล
หม่อมราชวงศ์สุมาลยมงคล โสณกุล
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล
ราชสกุลบริพัตร (โดยประสูติ)
โสณกุล (โดยเสกสมรส)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ��์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
พระมารดาหม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์
ศาสนาพุทธ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน (21 ธันวาคม พ.ศ. 2452 — 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์

พระประวัติ

[แก้]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน เรียกโดยลำลองว่า "ท่านพระองค์หญิงสี่" หรือ "ท่านพระองค์สี่"[1] ประสูติเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2452 เป็นพระธิดาพระองค์ที่ห้าในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์ เมื่อแรกประสูติมีพระยศที่ หม่อมเจ้าจุไรรัตนศิริมาน มีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมพระมารดาเจ็ดพระองค์ และมีเจ้าน้องต่างพระมารดาอีกสามพระองค์ [2] ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ยกพระบุตรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สมเป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" ทั้งสายเมื่อปี พ.ศ. 2454[3] หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมานตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตไปที่เมืองบันดุง หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์[4]

ก่อนเริ่มสงครามโลกครั้งที่สอง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมานนิวัตประเทศไทย เพื่อเสกสมรสกับ พลตรี หม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล[4] พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา มีพระโอรส-ธิดาสี่คน ได้แก่

  1. หม่อมราชวงศ์อายุมงคล โสณกุล เป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น สมรสและหย่ากับอมรา เหรียญสุวรรณ
  2. หม่อมราชวงค์ถวัลย์มงคล โสณกุล สมรสกับสันทนา โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม หงสกุล) มีบุตรสองคน
  3. หม่อมราชวงศ์สุมาลย์มงคล โสณกุล สมรสกับจุลเสถียร โชติกเสถียร มีบุตรสามคน
  4. หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล สมรสและหย่ากับรัชนี คชเสนี และสมรสใหม่กับบูลย์วิภา โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ทองไข่มุกข์) มีบุตรจากการสมรสครั้งแรกหนึ่งคน และครั้งที่สองสองคน

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน เป็นคนไทยที่เปิดร้านอาหารไทยร้านแรกในประเทศอังกฤษ ชื่อร้าน Siam Rice ในกรุงลอนดอน เมื่อกว่า 40 ปีก่อน สูตรอาหารของพระองค์ได้รับการเรียบเรียงในหนังสือ "ตำรากับข้าว พระองค์เจ้าจุไรรัตนฯ และวังบางขุนพรหม" เขียนโดยหม่อมราชวงศ์สุมาลย์มงคล พระธิดา[5]

ในปัจฉิมวัยพระองค์ประชวรด้วยพระโรคเส้นพระโลหิตในไขพระสมองอุดตัน, โรคพระหทัย, ทางเดินพระปัสสาวะอักเสบ และไขพระสมองเสื่อม ไม่สามารถเคลื่อนไหวและรับสั่งได้ ปี พ.ศ. 2538 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจึงมีคำสั่งให้พระองค์เป็นบุคคลไร้ความสามารถ อยู่ในความอนุบาลของหม่อมราชวงศ์สุมาลย์มงคล และหม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล[6]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สิริพระชันษา 90 ปี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำสรงพระศพ ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

พระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • 21 ธันวาคม พ.ศ. 2452 — 6 มกราคม พ.ศ. 2454 : หม่อมเจ้าจุไรรัตนศิริมาน
  • 6 มกราคม พ.ศ. 2454 — 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. วิรัช จาตุรงคกุล. "ชีวิตในวังของสกุลจาตุรงคกุล". มูลนิธิสกุล ณ นคร และสายสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-03. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพิสิฐสบสมัย. กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.], พ.ศ. 2517. 50 หน้า.
  3. "ประกาศ ยกพระวรวงษ์เธอ เป็นพระเจ้าวรวงษ์เธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (1ก): 99. 8 มกราคม พ.ศ. 2453. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. 4.0 4.1 ฟ้ารุ่ง ศรีขาว (23 กุมภาพันธ์ 2565). "เปิดชีวิตข้าหลวงจากรั้ววังบางขุนพรหม อยู่กับ "เจ้านาย" อย่างไร หลัง 2475". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. วลัญช์ สุภากร (17 พฤษภาคม 2556). "เรียงมาลาออกมาเป็นจาน". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ประกาศศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เรื่อง คนไร้ความสามารถ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (99ง): 37. 12 ธันวาคม พ.ศ. 2538. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 (ตอน 22 ข): หน้า 8. 4 ธันวาคม 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2535" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 (ตอนที่ 154): ฉบับพิเศษ หน้า 16. 4 ธันวาคม 2535. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2522" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 96 (ตอนที่ 93): ฉบับพิเศษ หน้า 2247. 31 พฤษภาคม 2522. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตต์ภายใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 57 หน้า 1971 วันที่ 23 มิถุนายน 2474
  11. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 43: หน้า 4300. 24 กุมภาพันธ์ 2469 (นับสากล 2470). สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)