ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก
พระบรมสาทิสลักษณ์ เมื่อ ค.ศ. 1845
โดยโยฮัน วิลเฮล์ม แกร์ทเนอร์
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
ครองราชย์3 ธันวาคม ค.ศ. 1839 – 20 มกราคม ค.ศ. 1848
ราชาภิเษก28 มิถุนายน ค.ศ. 1840
ปราสาทเฟรเดอริกส์บอร์ก
ก่อนหน้าพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6
ถัดไปพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7
พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์
ครองราชย์17 พฤษภาคม – 10 ตุลาคม ค.ศ. 1814
ก่อนหน้าพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6
ถัดไปพระเจ้าคาร์ลที่ 2
พระราชสมภพ18 กันยายน พ.ศ. 2329
พระราชวังคริสเตียนเบอร์ก โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
สวรรคต20 มกราคม พ.ศ. 2391
พระราชวังอามาเลียนเบอร์ก โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
(พระชนมายุ 61 พรรษา)
พระราชบุตรเจ้าชายเฟรเดอริค คริสเตียน
พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์ก
ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก
พระราชบิดาเจ้าชายเฟรเดอริก รัชทายาทแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์
พระราชมารดาดัสเชสโซเฟีย เฟรเดอริกาแห่งเม็คเคลนบวร์ก-ชเวรีน
ลายพระอภิไธย

พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก (คริสเตียน เฟรเดอริค) (18 กันยายน พ.ศ. 2329 - 20 มกราคม พ.ศ. 2391) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กระหว่างพ.ศ. 2382 ถึงพ.ศ. 2391 และทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ในปีพ.ศ. 2357 เป็นพระโอรสในเจ้าชายเฟรเดอริก รัชทายาทแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์กกับพระมเหสีพระองค์ที่สองคือ ยูลีอาเนอ มารีอา แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล

พระองค์ทรงได้รับการสืบทอดจากพระมารดาในด้านพรสวรรค์ในการปกครอง ทรงมีอัธยาศัยไมตรี และบุคลิกที่สง่างามของพระองค์ทำให้ทรงเป็นที่นิยมในกรุงโคเปนเฮเกน คติพจน์ประจำรัชกาลของพระองค์คือ

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ

[แก้]

เจ้าชายคริสเตียน เฟรเดอริคเป็นพระโอรสพระองค์โตในเจ้าชายเฟรเดอริก รัชทายาทแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์กับดัสเชสโซเฟีย เฟรเดอริกาแห่งเม็คเคลนบวร์ก-ชเวรีน ประสูติในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2329 ณ พระราชวังคริสเตียนเบอร์ก โคเปนเฮเกน ราชอาณาจักรเดนมาร์ก พระบิดาของพระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์กกับพระมเหสีพระองค์ที่สองคือ ยูเลียนา มารีอาแห่งบราวน์ชไวก์-โวลเฟ่นบึทเท่ล สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กหรือพระพันปีหลวงยูเลียนา มารีอา ทางพระมารดาของพระองค์เป็นพระราชธิดาในดยุกหลุยส์แห่งเม็คเคลนบวร์ก-ชเวรีนกับเจ้าหญิงโซเฟียแห่งแซ็กซ์-โคบร์ก-ซาลฟิลด์ พระองค์ทรงได้รับการศึกษาจากพระมารดาทำให้พระองค์ทรงได้รับการมีอัธยาศัยไมตรีจากพระมารดาและทรงมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ด้วยการที่พระมารดาของพระองค์ทรงมีความเฉลียวฉลาดทำให้สมเด็จพระพันปีหลวงจูเลียนา มาเรียซึ่งเป็นพระอัยยิกาของเจ้าชายครอสเตียนทรงเกรงว่า ดัสเชสโซเฟียจะเข้ามามีอำนาจเหนือพระสวามี จึงพยายามกีดกันพระนางทุกทาง แต่เพียงไม่นานดัสเชสโซเฟียได้สิ้นพระชนม์และพระอัยยิกาก็สิ้นพระชนม์ในไม่กี่ปีหลังจากนั้น ทำให้พระองค์ได้รับการเลี้ยงดูจากพระบิดา

อภิเษกสมรสครั้งแรก

[แก้]
ดัสเชสชาร์ล็อต เฟรเดอริกาแห่งเม็คเคลนบวร์ก-ชเวรีน พระมเหสีพระองค์แรกในเจ้าชายเฟรเดอริค คริสเตียน

เจ้าชายคริสเตียน เฟรเดอริคทรงอภิเษกสมรสกับดัสเชสชาร์ล็อต เฟรเดอริกาแห่งเม็คเคลนบวร์ก-ชเวรีน ผู้เป็นพระญาติ ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2349 ณ เมืองลุดวิดสลัสท์ ดัสเชสชาร์ล็อตเป็นพระราชธิดาในแกรนด์ดยุกเฟรเดอริค ฟรานซิสที่ 2 แห่งเม็คเคลนบวร์กกับเจ้าหญิงหลุยส์แห่งแซ็กซ์-ก็อตธา-เอลเทนบูร์ก พระองค์มีพระโอรสร่วมกันสองพระองค์คือ เจ้าชายคริสเตียน เฟรเดอริคและเจ้าชายเฟรเดอริค คาร์ล คริสเตียน เจ้าชายคริสเตียน เฟรเดอริคทรงสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2350 ณ ปราสาทโพลน ส่วนเจ้าชายเฟรเดอริค คาร์ล คริสเตียนทรงดำรงพระชนม์ชีพต่อมาจนเจริญพระชันษาและในเวลาต่อมาคือ พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์ก การอภิเษกสมรสครั้งนี้เป็นไปไม่ได้ด้วยดี เนื่องจากดัสเชสชาร์ล็อตทรงมีเรื่องอื้อฉาวกับนักร้องชาวสวิส คือ ฌอง แบ็ปติสท์ เอตัวอาร์ต ดู พีย์ เมื่อเจ้าชายทรงรู้เข้าพระองค์ก็ทรงพิโรธมากและทรงหย่ากับดัสเชสชาร์ล็อตในปีพ.ศ. 2353 หลังจากทรงอภิเษกสมรสมาเป็นเวลา 4 ปี และพระองค์ทรงไม่อนุญาตให้ดัสเชสพบกับพระโอรสอีก แม้พระนางจะทรงวิงวอนก็ตาม หลังจากนั้นพระนางก็ยังทรงมีเรื่องอื้อฉาวมากมายจนกระทั่งสิ้นพระชนม์

สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งนอร์เวย์

[แก้]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2356 เจ้าชายเฟรเดอริค คริสเตียนทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาทโดยพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์ก และตามโบราณราชประเพณีเจ้าชายต้องเสด็จไปนอร์เวย์เพื่อรับพรอิศริยยศ "สตัตท์โฮลเดอร์"(stattholder) ซึ่งก็คือเป็นตัวแทนสูงสุดของกษัตริย์เดนมาร์กผู้มีอำนาจเต็มในนอร์เวย์ เป็นประเพณีที่ต้องเสด็จไปเพื่อความจงรักภักดีของชาวนอร์เวย์ต่อพระราชวงศ์ แต่ในเวลานั้นพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 6 ทรงนำพาเดนมาร์กเข้าสู่สงครามนโปเลียนโดยเข้าฝ่ายจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งนำมาสู่ความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิฝรั่งเศส เจ้าชายเฟรเดอริค คริสเตียนทรงพยายามที่จะกระตุ้นความจงรักภักดีของชาวนอร์เวย์ให้มีต่อพระราชวงศ์เดนมาร์ก เพราะชาวนอร์เวย์พยายามต่อต้านราชวงศ์เดนมาร์กจากการปราชัยในครั้งนี้ การลุกฮือขึ้นของชาวนอร์เวย์ได้รับการสนับสนุนจากสวีเดน ซึ่งสวีเดนพยายามรวมนอร์เวย์มาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร

เจ้าหญิงแคโรไลน์ อเมลีแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-ออกัสเตนเบิร์ก พระมเหสีพระองค์ที่สอง

สวีเดนโดยรัชทายาทคาร์ล จอห์นได้รีบดำเนินการอย่างรวดเร็วทรงส่งกองทัพที่ประจำอยู่ที่ฮ็อลชไตน์เพื่อการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพเดนมาร์กและสวีเดนในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2357 โดยในสนธิสัญญากำหนดให้เดนมาร์กต้องมอบนอร์เวย์ให้แก่สวีเดน และสวีเดนจะยกแคว้นโพเมราเนียและรูเกนให้เป็นส่วนหนึ่งของเดนมาร์กเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน และจ่ายเงินสมทบสำหรับการเสียนอร์เวย์แก่เดนมาร์ก ซึ่งเรียกว่า สนธิสัญญาเคล และเรียกเหตุการณ์นี้ว่า การสูญเสียนอร์เวย์ของเดนมาร์ก พระเจ้าเฟรเดอริคทรงต้องยอมในสนธิสัญญาเคลเพื่อป้องกันการรุกรานจากสวีเดน รัสเซีย เยอรมนีและอังกฤษ

สวีเดนต้องผิดหวังเนื่องจากชาวนอร์เวย์ประกาศแยกตัวจากสวีเดน เจ้าชายคริสเตียน เฟรเดอริคทรงได้รับการเลือกให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินนอร์เวย์ในมติของการประชุมแห่งบุคคลสำคัญในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2357 การเลือกตั้งครั้งนีเด้รับการเห็นชอบจากสภาร่างรัฐธรรมนูญนอร์เวย์ซึ่งประชุมกันที่เมืองอิดสโวล ในวันที่ 10 เมษายนและในวันที่ 17 เมษายน สภาร่างรัฐธรรมนุญได้ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งนอร์เวย์ พระนามว่า สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริค คริสเตียนแห่งนอร์เวย์

พระเจ้าคริสเตียนทรงพยายามดึงอำนาจในฐานะกษัตริย์แห่งนอร์เวย์และทรงพยายามสร้างอำนาจให้นอร์เวย์ แต่ไม่สำเร็จ เมื่อพระองค์ทรงถูกกดดันจากคณะกรรมการในเดนมาร์กที่มีอำนาจและฝักใฝ่ในสวีเดนซึ่งได้พยายามรวมนอร์เวย์เข้ากับสวีเดนตามสนธิสัญญาเคล พระเจ้าคริสเตียนเสด็จไปที่เดนมาร์กและทรงตอบว่า กษัตริย์ภายใต้รับธรรมนูญไม่จำเป็นต้องทำอะไรโดยผ่านความยินยอมจากรัฐสภา ซึ่งสร้างความตึงเครียดระหว่างนอร์เวย์และสวีเดน

สวีเดนปฏิเสธเงื่อนไขของพระองค์ในเอกราชของนอร์เวย์และได้มีการสู้รบเพียงระยะสั้น กองทัพนอร์เวย์ได้พ่ายแพ้กองทัพของรัชทายาทคาร์ล จอห์นแห่งสวีเดน หลังจากสงครามนี้ได้มีการประชุมแห่งมอสส์ในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2357 หลังจากการร่างสนธิสัญญาในการประชุมครั้งนี้ รัฐสภานอร์เวย์ได่บีบบังคับให้พระเจ้าเฟรเดอริค คริสเตียนสละราชสมบัติและต้องเสด็จกลับเดนมาร์ก ต่อมารัฐสภาได้มีมติให้นอร์เวย์สละเอกราชและรวมเข้ากับสวีเดน และในวันที่ 4 พฤศจิกายน สมเด็จพระเจ้าคาร์ลที่ 13 แห่งสวีเดน ได้รับเลือกให้เป็น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งนอร์เวย์

สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเดนมาร์ก

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 8
ตราประจำพระอิสริยยศ
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลHans Majestæt
(ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับDeres Majestæt
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)
สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์กและพระนางแคโรไลน์ อเมลีในพระราชพิธีครองราชสมบัติ

พระองค์อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 กับเจ้าหญิงแคโรไลน์ อเมลีแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-ออกัสเตนเบิร์ก ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2358 ที่ชลอส ออกัสเตนเบิร์ก การอภิเษกสมรสครั้งนี้ทรงไม่มีพระโอรสธิดาร่วมกัน และพระองค์ยังคงอยู่ในแวดวงสังคมในกรุงโคเปนเฮเกน

กระทั่งในปีพ.ศ. 2374 พระเจ้าเฟรเดอริคพระราชทานตำแหน่งในสภาแห่งรัฐแก่พระองค์ ต่อมาในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2382 ทรงครองราชบัลลังก์เดนมาร์กสืบต่อจากพระเจ้าเฟรเดอริคที่สวรรคตในวันที่ 3 ธันวาคม พระองค์มีพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก ซึ่งก็คือตำแหน่งสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเดนมาร์ก พรรคเสรีนิยมได้หวังว่าพระองค์จะเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญเพราะพระองค์ทรงยึดหลักในประชาธิปไตย แต่พรรคเสรีนิยมต้องผิดหวังเนื่องจากพระองค์ทรงปฏิเสธทุกโครงการแนวเสรีนิยม แม้ว่าพระองค์จะทรงให้คำสัญญาว่าจะริเริ่มปฏิรูปการปกครอง ในทัศนคติของพระองค์ทรงเห็นว่า เนื่องจากความสงบในประเทศที่กำลังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆในรัฐดัชชีแฝด บ่อยครั้งพระองค์ทรงรู้สึกลังเลพระทัยในเรื่องเหล่านี้ที่ซึ่งสามารถทำลายสถานะของพระองค์ได้ จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2389 พระองค์ทรงตัดสินพระทัยให้แคว้นชเลสวิชรวมเข้ากับเดนมาร์ก

นักประวัติศาสตร์บางคนลงความเห็นว่า แม้พระเจ้าคริสเตียนจะพระราชทานรัฐธรรมนูญในแนวทางเสรีซึ่งประกาศใช้เป็นเวลานานพอสมควร พระราชดำรัสสุดท้ายของพระองค์คือ "ข้าไม่ได้กระทำ" (Jeg nåede det ikke) ซึ่งหมายถึงรัฐธรรมนูญฉบับนี้

พระเจ้าคริสเตียนทรงให้การอุปถัมภ์ทางด้านดาราศาสตร์ มีการมอบเหรียญรางวัลสำหรับการค้นพบดาวหางด้วยกล้องดูดาว และทรงให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ ไฮน์ริช คริสเตียน ชูมาเชอร์ ในการตีพิมพ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ คือ Astronomische Nachrichten

สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก วาดโดย วิลเฮล์ม มาร์สแตนด์

จากการอภิเษกสมรสของพระโอรงของพระองค์ ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 7 แห่งเดนมาร์ก โดยทรงไม่มีรัชทายาท พระองค์จึงเริ่มตั้งกฎการสิบราชสันตติวงศ์ใหม่ ซึ่งต่อมาจะส่งผ่านราชบัลลังก์ไปได้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก ซึ่งได้รัเลือกเป็นเจ้าชายรัชทายาทในสมัยของพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 7 ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2396 หลังจากการทำสนธิสํญญาสันติภาพกับอังกฤษ

พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคภาวะพิษเหตุติดเชื้อในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2391 ณ พระราชวังอามาเลียนเบอร์ก โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก สิริพระชนมายุ 61 พรรษา พระบรมศพถูกฝังที่มหาวิหารร็อคสไลด์

พระโอรส

[แก้]
  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส (ประสูติและสิ้นพระชนม์) และพระโอรส-ธิดา
สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 7 แห่งเดนมาร์ก 18086 ตุลาคม
พ.ศ. 2351
186315 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2406
อภิเษกสมรสครั้งที่ 1 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2371
เจ้าหญิงวิลเฮลมิเน มารีแห่งเดนมาร์ก (พ.ศ. 2351–2434)

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 10 มิถุนายน พ.ศ. 2384
ดัสเชสแคโรไลน์แห่งแม็คเลนบูร์ก(พ.ศ. 2364–2419)

อภิเษกสมรสครั้งที่ 3 7 สิงหาคม พ.ศ. 2393
หลุยส์ ลาสมุสเซน (พ.ศ. 2358–2417)

มีพระโอรสนอกสมรส 1 พระองค์คือ เฟรเดอริค คาร์ล คริสเตียน พอลเซน

พระราชตระกูล

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
8. สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 6 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจ้าหญิงหลุยส์แห่งเม็คเคลนบวร์ก-กึสโทรว์
 
 
 
 
 
 
 
4. สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. คริสเตียน ไฮน์ริช มาร์เกรฟแห่งบรานเดนบูร์ก-เบย์เราท์-คลัมบาร์ช
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงโซฟี แม็กเดเลนแห่งบรานเดนเบิร์ก-คลัมบาร์ช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เคานท์เตสโซฟี คริสเตียเนแห่งวูล์ฟสไตน์
 
 
 
 
 
 
 
2. เจ้าชายเฟรเดอริค รัชทายาทแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. เฟอร์ดินานด์ อัลเบิร์ตที่ 1 ดยุกแห่งบรันสวิค-ลุนเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
10. แฟร์ดีนันด์ อัลเบร็คท์ที่ 2 ดยุกแห่งเบราน์ชไวก์-โวลเฟนบึทเทิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. แลนด์เกรฟวีนคริสทีนแห่งเฮสส์-เอสชเวก
 
 
 
 
 
 
 
5. ดัสเชสจูเลียนา มาเรียแห่งบรันสวิค-วอฟเฟนบุตเทล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. หลุยส์ รูดอล์ฟ ดยุกแห่งบรันสวิค-ลุนเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
11. เจ้าหญิงอังตัวเน็ตแห่งบรันสวิค-วอฟเฟนบุตเทล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงหลุยส์ คริสทีนแห่งโอเอททินเจน-โอเอททินเจน
 
 
 
 
 
 
 
1. สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. เฟรเดอริค ดยุกแห่งเม็คเคลนบวร์ก-กึสโทรว์
 
 
 
 
 
 
 
12. คริสเตียน ลุดวิกที่ 2 ดยุกแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. แลนด์เกรฟวีนคริสทีน วิลเฮลมีนแห่งเฮสส์-ฮอมบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
6. ดยุกหลุยส์แห่งเม็คเคลนบวร์ก-ชเวรีน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. อดอล์ฟ เฟรเดอริคที่ 2 ดยุกแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์
 
 
 
 
 
 
 
13. ดัสเชสกุสตาเว แคโรไลน์แห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. ดัสเชสมารีแห่งเม็คเคลนบวร์ก-กึสโทรว์
 
 
 
 
 
 
 
3. ดัสเชสโซเฟีย เฟรเดอริกาแห่งเม็คเคลนบวร์ก-ชเวรีน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. จอห์น เอิร์นเนสต์ที่ 4 ดยุกแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-ซาลฟิลด์
 
 
 
 
 
 
 
14. ฟรานซิส โจเซียส ดยุกแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-ซาลฟิลด์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เคานท์เตสชาร์ล็อต โจฮันนาแห่งวัลเด็ค-วิลดันเกน
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงชาร��ล็อต โซฟีแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-ซาลฟิลด์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. เจ้าชายหลุยส์ เฟรเดอริคที่ 1 แห่งชวาซบูร์ก-รูดอลสตัดท์
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงแอนนา โซฟีแห่งชวาซบูร์ก-รูดอลสตัดท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เจ้าหญิงแอนนา โซฟีแห่งแซ็กซ์-ก็อตธา-อัลเทนบูร์ก
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

[แก้]
  • Chisholm, Hugh, ed (1911). Encyclopædia Britannica (Eleventh ed.). Cambridge University Press.
  • MNRAS 8 (1848) 62
ก่อนหน้า พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก ถัดไป
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริคที่ 6
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเดนมาร์ก
(3 ธันวาคม พ.ศ. 2382 - 20 มกราคม พ.ศ. 2391)
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริคที่ 7
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริคที่ 6
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งนอร์เวย์
(17 พฤษภาคม พ.ศ. 2357 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2357)
นอร์เวย์รวมกับสวีเดน
สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 2
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริคที่ 6
ดยุกแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์
(ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก)

(3 ธันวาคม พ.ศ. 2382 - 20 มกราคม พ.ศ. 2391)
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริคที่ 7
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริคที่ 6
ดยุกแห่งแซ็กซ์-เลาว์บูร์ก
(ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก)

(3 ธันวาคม พ.ศ. 2382 - 20 มกราคม พ.ศ. 2391)
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริคที่ 7