ข้ามไปเนื้อหา

พระวิมลรัตนกิริณีฯ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระวิมลรัตนกิริณี
(พังขจร)
พระวิมลรัตนกิริณีฯ
สปีชีส์ช้าง
สายพันธุ์ช้างอินเดีย
เพศเมีย
เกิดพังขจร
ไม่ทราบ
ประเทศไทย
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2520–2559
เป็นที่รู้จักสำหรับช้างเผือกประจำรัชกาลที่ 9
ยศพระ
เจ้าของปรีชา และพิมพ์ใจ วารวิจิตร (พ.ศ. 2514-2520)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร​ (พ.ศ. 2520–2559)

พระวิมลรัตนกิริณีฯ เป็นช้างสำคัญในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นช้างเผือกตระกูลพรหมพงศ์ จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อ กมุท [1]

พระวิมลรัตนกิริณีฯ เป็นช้างพังเผือก นายปรีชาและนางพิมพ์ใจ วารวิจิตร ได้มาจากป่าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ให้ชื่อว่า พังขจร และนำไปเลี้ยงที่บ้าน แถบทุ่งสีกัน กรุงเทพมหานคร ต่อมานายปรีชาและนางพิมพ์ใจได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย โดยจมื่นสิริวังรัตน เป็นผู้ตรวจคชลักษณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ประกอบพระราชพิธีสมโภช และขึ้นระวางเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2520 พร้อมกับพระเศวตสุทธวิลาศฯ ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต และพระราชทานนาม เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ว่า [2]

พระวิมลรัตนกิริณี กมุทศรีพรรณโศภิต
อัฏฐทิศพงศ์กมลาสน์ อรรคราชทิพยพาหน
ถกลกิตติคุณกำจร อมรสารเลิศฟ้า ๚

ปัจจุบัน พระวิมลรัตนกิริณีฯ ย้ายไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ตั้งแต่ พ.ศ. 2538

อ้างอิง

[แก้]
  1. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. ๘๐ พรรษา มหามงคล. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บันทึกสยาม, พ.ศ. 2550. 224 หน้า. ISBN 978-974-09-4848-3
  2. คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. ช้างในชีวิตของผม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000, พ.ศ. 2549. 112 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-690-514-7