พระพุทธรูปหรงเซี่ยน
พระใหญ่หรงเซี่ยน (จีนตัวย่อ: 荣县大佛; จีนตัวเต็ม: 榮縣大佛; พินอิน: Róngxìan Dàfó; หรงเซี่ยนต้าฝอ) เป็นพระพุทธรูปความสูง 36.7 เมตร (120 ฟุต) สร้างจากการแกะสลักเข้าไปในหน้าผาหิน สร้างขึ้นประมาณปี ค.ศ. 817[1] ในสมัยราชวงศ์ถัง ตั้งอยู่ห่างไป 90 กิโลเมตรทางตะวันออกของพระใหญ่เล่อซาน[2] ตั้งอยู่ทางเหนืของหรงเซี่ยน มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ถือเป็นรูปปั้นที่สูงที่สุดในสมัยก่อนปัจจุบันเป็นอันดับสอง รองจากพระใหญ่เล่อซาน
พระพุทธรูปเริ่มสลักในประมาณปี ค.ศ. 817 โดยพระสงฆ์จีน โดยภายในองค์พระมีการสร้างระบบระบายน้ำเพื่อระบายน้ำฝนซึ่งยังคงทำงานจนถึงปัจจุบัน ด้านหน้าขององค์พระมีโครงสร้างทำจากไม้ความสูงสิบชั้น ปรากฏหลักฐานการกล่าวถึงพระใหญ่ในบันทึกของชาวตะวันตกย้อนไปได้ถึงปลายทศวรรษ 1870 ในบันทึกของ เอ็ดเวิร์ด ค็อลเบิร์น บาเบอร์ ได้รับคำบอกเล่าถึงพระใหญ่องค์นี้จากนักเดินทางชาวรัสเซียคนหนึ่ง กระนั้น ชาวตะวันตกคนแรกที่เดินทางมายังพระใหญ่และบันทึกไว้เป็นครั้งแรกอยู่ในปี 1910 ซึ่งคือ รอเจอร์ สปราก (Roger Sprague) จากมหาวิทยาลัยอเมริกัน[3] เขาบันทึกว่าลักษณะของพระใหญ่ที่นี่คล้ายกันกับที่เล่อซาน มีลักษณะประทับนั่งแบบ "ยุโรป ไม่ใช่ขัดสมาธิแบบที่นิยมพบในพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ"[4]
ข้อมูลจากซินหวาระบุว่าพระใหญ่เล่อซาน พระใหญ่หรงเซี่ยน ตลอดจนมรดกวัฒนธรรมอื่น ๆ ในภูมิภาค ประสบปัญหาการเสื่อมสภาพจากสภาพอากาศ มลภาวะ ตลอดจนปริมาณนักท่องเที่ยวมหาศาล[5]
พระพุทธรูปนี้แสดงรูปพระศรีอาริย์ประทับนั่ง ตัววัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนี้มีขนาด 80,000 ตารางกิโลเมตร ส่วนตัววัดที่ล้อมรอบพระพุทธรูปมีขนาด 2000 ตารางเมตร[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Rongxian". tripadvisor.co.uk. สืบค้นเมื่อ 29 September 2017.
- ↑ "Serenity, now visiting giant buddhas". thegreatrideofchina.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-25. สืบค้นเมื่อ 29 September 2017.
- ↑ Sprague, Roger (2016). From Western China to the Golden Gate: The Experiences of an American University Graduate in the Orient, With Thirty Illustrations. Palala Press. ISBN 978-1358794216. สืบค้นเมื่อ 29 September 2017.
- ↑ Sprague, Roger (1913). The Most Remarkable Monument in Western China (Vol LXXXIII December 1913 ed.). The Popular Science Monthly - The Science Press, New York. pp. 557–566. สืบค้นเมื่อ 29 September 2017.
- ↑ Reuters, article เก็บถาวร พฤศจิกายน 18, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Rongxian Giant Buddha of Sichuan and Lantern Festival". letter-light.com. สืบค้นเมื่อ 29 September 2017.