พระนางวีรลักษมี
พระนางวีรลักษมี หรือ พระนางนฤปตินนทรลักษมี (เขมร : វីរ៉ាឡាក់ស្មី, ណារូផាទីនថនឡាក់ស៊ី ; โรมัน : Viralakshmi, Narupatindralakshmi) (ศตวรรษที่ 10 - ศตวรรษที่ 11) เป็นพระราชินีแห่งอาณาจักรพระนคร อภิเษกสมรสกับพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 พระนามของพระนางวีรลักษมี หมายถึง โชคแห่งอำนาจ[1]
พระราชประวัติ
[แก้]พระองค์เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าชัยวีรวรมัน เป็นพระราชมารดาของพระเจ้าภูวนาทิตย์และพระเจ้าหรรษวรมันที่ 3[1]
ในจารึกได้กล่าวว่า “พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ได้เคยถวายมงกุฏ ต่างหู อาภรณ์ ทองคำ และของต่างๆ มากมาย และพระองค์ยังถวายเกี้ยวทองคำแก่พระนางวีรลักษมี เมื่อพระองค์ขออภิเษกกับพระนาง พระเจ้านรปตินทรวรมันและพระเจ้าภูวนาทิตย์พระเชษฐาของพระองค์ ได้รับสิทธิพิเศษอย่างมากและพระเชษฐาองค์ที่ 2 ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าชายแห่งวนาปุระ เชื่อว่าการอภิเษกสมรสครั้งนี้จะช่วยให้พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ในการขึ้นครองราชย์ได้อย่างง่ายขึ้น”[1]
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ขึ้นครองราชสมบัติในปี พ.ศ.1593 โดยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ซึ่งอาจจะพระโอรสของพระนางวีรลักษมี ซึ่งก่อนหน้านี้มีพระนามว่า ภูวนาทิตย์ พระองค์เป็นพระอัยยิกาของพระนางวิชเยนทรลักษมีพระธิดาของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2[1]