ผู้ใช้:Enjoynisachon/กระบะทราย
การสื่อสารการเมือง
การเมืองเบื้องต้น
[แก้]ธรรมชาติของการเมือง
[แก้]มีนักวิชาการที่พยายามให้ความหมายของคำว่า การเมือง ค่อนข้างมากตลอดมา แม้ว่าวิชาทางด้านการเมืองจะมีมานานกว่าสองพันปีและพัฒนาจนกลายเป็นศาสตร์ที่เฟื่องฟูมากในช่วงหลังสงครามโลกครั้ง 2 แล้วก็ตาม ด้วยเหตุนี้รัฐศาสตร์ในยุคหลังจึงเป็นผลิตผลจากสภาพแวดล้อมของยุคสมัยในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้นิยามทางการเมืองมักจะมีความหมายที่มุ่งถึง อำนาจ หรือ อิทธิพล เพราะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย ทฤษฎีของรัฐศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของอำนาจในเชิงปฏิบัติกำลังเจริญรุ่งเรืองดังเช่น ลัทธิ Nazism และ Fascism เพราะฉะนั้นนักรัฐศาสตร์ที่เขียนงานในช่วงนั้นย่อมหลีกไม่พ้นกับการที่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางการเมืองดังกล่าว งานเขียนทางการเมืองหลายชิ้นจึงมักเกี่ยวข้องกับคำว่าอำนาจ หลังจากคริสศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา เริ่มมีทฤษฎีและแนวปฏิบัติทางการเมืองใหม่ๆ ที่เน้นความหมายของขบวนการประชาชนมากขึ้นโดยนักปราชญ์หลายคนเริ่มมองว่า มีความเหมาะสมเพียงใดในการให้ผู้ปกครองซึ่งเป็นชนชั้นนำเท่านั้นเป็นเจ้าของรัฐาธิปไตย ความขัดแย้งทางความคิดดังกล่าว ทำให้เกิดการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบที่มั่นคงมากยิ่งขึ้นเช่นในทุกวันนี้ทั้งนี้เนื่องมาจากความแข็งแกร่งของกระบวนทัศน์ (concepts) ในเรื่องอำนาจหรือขบวนการของประชาชน นั่นหมายความว่าอำนาจรัฐาธิปัตย์ เริ่มมาจากบทบาทของคนเบื้องล่างด้วย การตระหนักถึงความสำคัญของประชาชนส่วนใหญ่ ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับธรรมชาติของมนุษย์ ที่ไม่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด หากธรรมชาติของมนุษย์โดยส่วนรวมเหมือนกันแล้วความเท่าเทียมกันหรือความเสมอภาคทางการเมือง ก็น่าจะเป็นคุณค่าหลักของระบอบการเมืองในแบบประชาธิปไตย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าธรรมชาติของการเมืองจะต้องถู���รองรับด้วยธรรมชาติของมนุษย์เสมอ โดยในทางรัฐศาสตร์แล้ว ธรรมชาติของมนุษย์หมายถึง ความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การที่มนุษย์เข้ามาอยู่ในสังคมการเมือง ซึ่งต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับของสังคมแบบรัฐ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการสูญเสียในความเป็นอิสระและสิทธิธรรมชาติที่มีอยู่เดิมก็เพราะมนุษย์เล็งเห็นว่า ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน[1]
รัฐบาล
[แก้]โดยหลักการแล้ว รัฐบาลอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนที่รับมอบอำนาจจากปวงชนเพื่อให้กระทำการตัดสินวินิจฉัยในการบริหารประเทศ การรับมอบอำนาจในทางการเมืองเกิดขึ้นจากความสำเร็จในการต่อสู้ทางการเมืองของชนส่วนมากโดยสันติ เพื่อให้ได้มาซึ่งความชอบธรรมต่อการปกครอง พื้นฐานของความชอบธรรมมักเริ่มต้นมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ที่ลงเอยด้วยผลของการยอมรับข้อยุติและการมีขันติธรรมทางการเมือง อย่างไรก็ตามภาวะความขัดแย้งทางการเมืองจะมีความถี่และรุนแรงน้อยลง ก็ต่อเมื่อการต่อสู้ทางการเมืองเป็นไปเพื่อรองรับ ความชอบธรรม ของผู้ที่ก้าวเข้ามาสู่การเป็นผู้ปกครองในห้วงระยะเวลาหนึ่งๆ ตราบเท่าที่ประชาชนยังเห็นถึงความเหมาะสมในการมอบอำนาจการตัดสินใจให้ โครงสร้างทางการปกครองแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ โครงสร้างการปกครองแบบรัฐสภา มีรากฐานมาจากวิวัฒนาการการปกครองของประเทศอังกฤษตั้งแต่ครั้งสมัยข้อตกลง magnacarta และผ่านการปรับปรุงเงื่อนไงต่างๆ นานเกือบ 700 ปี ก่อนการเป็นระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ซึ่งเป็นการปรับปรุงที่นำโดยชนชั้นปกครองของอังกฤษ โครงสร้างการปกครองแบบนี้ จะเห็นได้ว่า ฝ่ายบริหารซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า และคัดเลือกให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารจากเสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเสียงส่วนใหญ่หมายถึง พรรคการเมืองที่ครองเสียงข้างมากในสภา รัฐสภาไทยประกอบด้วย 2 สภา คือ วุฒิสภา ซึ่งเป็นสภาที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากอาชีพต่างๆ โดยเฉพาะข้าราชการทั้งนี้อาจเพื่อเป็นการผ่อนคลายอำนาจกำลังในระบบการเมือง ที่พัฒนามาจากระบอบอำมาตยาธิปไตยในอดีต ด้วยการทำหน้าที่เป็นสภาพี่เลี้ยงให้กับสภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฎร ส่วนสภาผู้แทนราษฎรเป็นสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกพรรคการเมืองเข้าไปดำรงตำแหน่งในสภา หน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจนิติบัญญัติโดยสมบูรณ์รวมทั้งการตรวจสอบ การควบคุมและการให้ความไว้วางใจ โครงสร้างการปกครองแบบประธานาธิบดี โครงสร้างการปกครองแบบนี้ ค่อนข้างจะเป็นที่นิยมในกลุ่มประเทศที่เกิดใหม่ ทั้งนี้เพราะว่าระบบการเมืองในประเทศเหล่านั้นมักจะมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่รุนแรง โดยเฉพาะการโค่นล้มเจ้าผู้ปกครองประเทศ จึงจำเป็นที่จะต้องแสวงหาโครงสร้างของอำนาจแบบใหม่ ที่สนับสนุนความชอบธรรมของผู้ปกครองชุดใหม่ซึ่งไม่ได้มีพื้นฐานมาจากเจ้าในระบอบเดิม ด้วยการหันมาให้ความสนใจอำนาจของประชาชนโดยตรงในการแต่งตั้งประมุกของประเทศแทนอำนาจประเพณีที่มีมาก่อนหน้านั้น แท้จริงแล้วโครงสร้างการปกครองเช่นที่ว่านี้เป็นการพัฒนาซึ่งมาจากระบบการเมืองการปกครองในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่ทำให้สหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศที่เกิดขึ้นใหม่ จำเป็นต้องวางโครงสร้างอำนาจในรูปแบบใหม่เมื่อกว่าสองร้อยปีที่แล้ว ท่ามกลางนานาประเทศที่ยังเป็นเอกราชอาณาจักรเกือบทั้งหมด โครงสร้างทางการปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา โครงสร้างทางการเมืองการปกครองแบบนี้ เป็นการนำโครงสร้างการเมืองทั้งสองแบบข้างต้นมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดความมั่นคงมากยิ่งขึ้นในการบริหารประเทศ เนื่องจากโครงสร้างแบบใดแบบหนึ่งอาจไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมทางการเมืองของบางประเทศ ฝรั่งเศสเป็นตัวอย่างของประเทศที่ใช้ระบบแบบนี้ ทั้งนี้เนื่องจากระบบสาธารณรัฐแบบฝรั่งเศสมักประสบปัญหาในด้านเสถียรภาพและความมั่งคงอยู่เสมอจึงได้มีการปรับปรุงกลไกของระบบการเมืองขึ้นใหม่ โดยการให้ประธานาธิบดี ให้มีฐานะเป็นผู้นำของฝ่ายบริหาร ด้วยการเป็นประธานของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและรับผิดชอบในการบริหารประเทศต่อที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งรัฐสภาได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน ข้อดีของโครงสร้างการปกคราองแบบนี้ก็คือว่า นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้กำหนดตัวรัฐมนตรีจะเป็นตัวกันชนในเรื่องความมั่นคงให้กับระบบการเมือง กล่าวคือ แม้รัฐสภาจะไม่ให้ความไว้วางใจจะกี่ครั้งก็ตามแก่คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า ก็ไม่กระทบกระเทือนต่อฐานะของประธานาธิบดีที่สามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทนได้เสมอ ซึ่งเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องของความไร้เสถียรภาพของรัฐบาลที่มีมาก่อนหน้านั้นได้[2]
ระบบการเมืองการปกครอง
[แก้]ระบบการเมืองการปกครองสามารถแบ่งเป็น 4 ระบบ ดังนี้ ทุนนิยม + เผด็จการ เป็นระบบการเมืองที่ชนชั้นปกครองสงวนอำนาจทางการเมืองไว้ แต่ให้เสรีภาพในทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นอันตรายต่อระบอบการปกครองแก่ชนชั้นอื่น ทุนนิยม + ประชาธิปไตย เป็นระบบการเมืองการปกครองที่เป็นเป้าหมายของรัฐส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการให้เสรีภาพทั้งในทางการเมืองและทางเศรษฐกิจแก่ประชาชนทั่วไป สังคมนิยม + ประชาธิปไตย เป็นระบบการเมืองที่ให้เสรีภาพทางการเมือง แต่รัฐก็สงวนอำนาจในการกำหนดกลไกทางเศรษฐกิจบางประการ เพื่อสงวนมาตรฐานชีวิตชนชั้นล่างซึ่งเป็นชนชั้นที่อ่อนแอ โดยเฉพาะในด้านสาธารณูปโภคที่กระทบต่อความเป็นอยู่ของคนส่วนรวม สังคมนิยม + เผด็จการ เป็นระบบการเมืองที่มีความเข้มงวดในเรื่องเสรีภาพไม่ว่าจะเป็นในด้านการเมือง และเศรษฐกิจ[3]
การพัฒนาทางการเมือง
[แก้]กระบวนการพัฒนาทางการเมือง
[แก้]นักสังเกตการณ์หลายท่านเห็นว่าในปัจจุบัน นักการเมืองและนักสื่อสารมวลชนขาดความน่าเชื่อถือจากประชาชนพอๆกัน นักหนังสือพิมพ์ถูกมองว่าทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่สัมภาษณ์และเสนอข่าวเพื่อให้เกิดความขัดแย้ง ทั้งนี้เพราะความขัดแย้งก่อให้เกิดความตื่นเต้นและ ขายได้ ส่วนนักการเมืองก็ถูกมองว่า มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองและพรรคพวก ที่กล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงการวิพากษ์วิจารณ์การสื่อสารทางการเมืองในสังคมปัจจุบันว่า รายงานข่าวแบบซ้ำๆซากๆ ครึ่งจริงครึ่งเท็จ ขาดความริเริ่มสร้างสรรค์ และทำให้การรณรงค์ทางการเมืองยากขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ถ้าเรามองโลกการเมืองตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการสื่อสารทางการเมืองเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้พัฒนาการที่รวดเร็วของการสื่อสารมวลชน การเติบโตของ สื่อใหม่ (new media) ในสังคมปัจจุบันทำให้วิธีการสื่อสารทางการเมืองแบบดั้งเดิมที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากยุทธวิธีด้านการตลาดกลายเป็นสิ่งพ้นสมัย[4]
การสื่อสารพื้นฐานทางการเมือง
[แก้]กระบวนการสื่อสาร
[แก้]การสื่อสาร เป็นกระบวนการสำคัญในการบ่งชี้ถึงความเป็นสิ่งมีชีวิตนอกเหนือจากปัจจัยในทางชีววิทยา ดังนั้นสิ่งมีชีวิตชั้นสูงย่อมมีระดับการสื่อสารที่ยิ่งซับซ้อนมากขึ้น การสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญมากทางการเมืองในปัจจุบัน การรายงานข่าวสาธารณะส่วนใหญ่กระทำผ่านสื่อมวลชน มีประชาชนไม่กี่คนที่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมืองด้วยตนเองโดยตรง สื่อมวลชนเป็นแหล่งสารสำคัญที่มี หรืออาจมีอิทธิพลต่อความรู้ ความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมของประชาชน การสื่อสารกับการเมืองมีลักษณะค่อนข้างสับสนและแตกต่างกันในประเทศต่างๆ ที่มีระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมแตกต่างกัน พฤติกรรมทางการเมืองเกือบทั้งหมดเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการสื่อสารไม่ลักษณะใดก็ลักษณะหนึ่ง[5]
การชวนเชื่อ
[แก้]การชวนเชื่อไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ แต่เกิดขึ้นมาคู่กับอำนาจทางการเมืองและศาสนา ทั้งนี้เพราะการเมืองและศาสนาเป็นเรื่องการเชื่อของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่พยายามหาเหตุผลรองรับความชอบธรรมในความเชื่อ รวมทั้งการปลูกศรัทธาใหผู้อื่นเชื่อตาม ดังเช่น การสร้างมายาทางการเมืองเพื่อให้ผู้ใต้ปกครองตระหนักถึงความศักดิ์สิทธิ์ของผู้ปกครองที่ไม่อาจละเมิดได้ ด้วยเหตุนี้ การชวนเชื่อจึงมักหมายถึง ความเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมของรัฐบาลหรือพรรคการเมืองที่ต้องการผลักดัน (reinfor-cement) ให้ประชาชนยอมรับแนวความเชื่อ (doctrines) ตลอดจนตัวผู้ปกครอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การชวนเชื่อเป็นการสร้างระบบความเชื่อ และพฤติกรรมให้กับประชาชนตามวัตถุประสงค์ของรัฐในแง่ของการสื่อสาร การชวนเชื่อจึงอาจถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือแก่ผู้ส่งสารซึ่งหมายถึงรัฐบาลไปถึงสาธารณชนเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างไม่โดยตรงก็โดยอ้อม[6]
มติชน
[แก้]มติชนหรือสาธารณะมติหรือประชามติเป็นถ้อยคำเพื่อแสดงถึงเจตน์จำนงของประชาชนไปยังรัฐบาล ทั้งนี้เพื่อให้รัฐบาลมีนโยบายและการปฏิบัติกิจกรรมที่สอดคล้องกับมติมหาชน มติ (opinion) เป็นความคิดเห็นของบุคคลที่พัฒนามาจากทัศนคติ (attitude) โดยทัศนคติเป็นความคิดเห็นที่เป็นการสื่อสารภายในบุคคล ในขณะที่มติเป็นการสื่อสารภายนอกของบุคคล ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่ามติเป็นทัศนคติที่แสดงออกมาให้ปรากฏเป็นที่รู้แก่ผู้อื่น ส่วนมหาชนหรือสาธารณะ หมายถึงเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับชนกลุ่มใหญ่ที่จำเป็นต้องให้มหาชนเหล่านั้นร่วมกันตัดสินวินิจฉัย หรือมีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการร่วมกัน มติชนจึงเป็นการแสดงออกซึ่งทัศนคติของมหาชนที่มีต่อสาธารณะ การแสดงความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่จะนำไปเป็นแนวในการวางแผน และปฏิบัติให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ดังกล่าว ดังนั้นมติชนจึงเปรียบเสมือนกับสื่อทางความคิดของสังคมที่ทำให้ปรากฏขึ้นโดยเปิดเผยและอย่างเป็นทางการ อันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รัฐ หรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องรับทราบและเข้าใจถึงเจตนารมณ์และความต้องการของสังคม
การสื่อสารทางการเมือง
[แก้]ความหมาย
[แก้]นิยามของการสื่อสารทางการเมือง มักเน้นประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการสื่อสารทางการเมืองมากว่าวิธีการสื่อสาร ดังเช่น นิยามของ Deustch ที่ว่าการสื่อสารทางการเมืองเป็นงานภารกิจทางการเมือง หรือการปกครองที่เป็นกระบวนการในการชี้นำและตรวจสอบพลังความพยายามของมนุษย์เพื่อให้บรรลุไปสู่เป้าหมายทั้งปวง ดังเช่น การสื่อสารทางการเมือง จึงตระหนักถึงการที่จะนำความพยายามของมนุษย์ไปสู้เป้าหมาย การคำนึงถึงพลังของมน��ษย์จึงเท่ากับมีความหมายว่า การสื่อสารทางการเมืองไม่เชื่อในเรื่องชะตาทางการเมือง แต่เชื่อมั่นในฝีมือและการกระทำจากมนุษย์ที่อาศัยผลประโยชน์จากธรรมชาติของการเมือง
กลไกของการสื่อสารทางการเมือง
[แก้]สัมฤทธิผลของการสื่อสารทางการเมือง ขึ้นอยู่กับกลไกของการสื่อสารทางการเมืองอันประกอบด้วยความสามารถในการประเมินการสื่อสารทางการเมืองว่า หนทางของการสื่อสารทางการเมืองไปสู่ความเป็นระบบทางการเมืองที่มีคุณภาพได้มากน้อยเพียงใด แม้ว่าจะมีนักวิชาการบางท่านพยายามจะบูรณาการ รัฐ กับ ประชาชน เข้าด้วยกันในการทำงานเพื่อส่วนรวม ดังเช่นการเสนอแนวคิด ประชารัฐ และการเมืองของพลเมือง แต่แนวคิดที่ประชาชนส่วนใหย่ซึมซับกับการเมืองประชาชน ก็คือ การลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจรัฐ จากความคิดฝังหัวที่ว่า รัฐเข้าไปมีบทบาทจัดการทรัพยากร โดยดำเนินโครงการพัฒนาต่างๆจนทำให้เกิดผลเสียต่อประชาชน ต่อชุมชน หรือพฤติกรรมทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง[7]
รัฐกับการประเมินกระบวนการสื่อสาร
[แก้]กลไกของการสื่อสารทางการเมือง ช่วยทำให้ระบบการเมืองเคลื่อนไหวไปสู่เป้าหมายแห่งรัฐ ด้วยเหตุนี้ การสื่อสารทางการเมืองจึงเป็นเครื่องมือของรัฐที่จำเป็น การประเมินการสื่อสารทางการเมืองจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้เพื่อระดมและตรวจสอบว่าวิศวกรรมในด้านต่างๆ อันเป็นส่วนประกอบของการสื่อสารทางการเมือง สามารถทำหน้าที่ได้โดยสมบูรณ์หรือไม่ การประเมินการสื่อสารทางการเมืองอาจพิจารณาถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของระบบการเมือง การไปสู่เป้าหมายแห่งรัฐ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเริ่มต้นจากแผนงานไปสู่เป้าหมายสุดท้าย หรือเป้าหมายในแต่ละขั้นตอน อัตราของการเปลี่ยนแปลงสามารถบ่งบอกได้ถึงระดับของการพัฒนาทางการเมืองว่าเป็นไปตามขั้นตอนตามที่กำหนดไว้หรือไม่ การเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาจะเกิดขึ้นได้ เมื่อถูกผลักดันโดยปริมาณและกระแสของสารสนเทศอันจะทำให้รัฐ กลุ่ม หรือผู้นำตระหนักถึง สถานการณ์ทางการเมือง
การสื่อสารเพื่อความมั่นคงของรัฐ
[แก้]สารสนเทศกับความมั่นคง
[แก้]การสื่อสารมวลชน มักถูกนำไปใช้เป็นปัจจัยหนึ่งในการวัดระดับของการพัฒนาการเมือง เช่นเดียวกับเสถียรภาพและความั่นคงทางการเมืองสามารถนำมาวัดระดับพลังงานทางสังคมได้ โดยระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง สามารถชี้วัดได้จากความแข็งแกร่งของสถาบันประชาธิปไตยหากการพัฒนาทางการเมืองเป็นผลพวงจากความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานทางสังคมกับการมี่วนร่วมทางการเมืองแล้ว ก็อาจจกล่าวได้ว่าการสื่อสารมวลชนมีความเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเมืองกับความแข็งแกร่งของสถาบันประชาธิปไตยในสังคมนั้น ดังนั้นในการศึกษาเรื่องความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมืองในสังคมประชาธิปไตย ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้กับการให้ความสำคัญในบทบาทของการสื่อสารมวลชน ทั้งนี้เพราะว่าการสื่อสารเป็นรากฐานไม่ว่าในด้านการสร้างสรรค์สถาบันทางการเมือง โอกาสของการเลื่อนชั้นทางสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจ และการระดมทางสังคม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นส่งเสริมความมั่นคงทางการเมืองทั้งสิ้น ถ้าโดยหลักการแล้ว ประชาธิปไตย หมายถึง การให้ประชาชนจำนวนมาเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองโดยเสรีแล้ว การขยายตัวของลัทธิประชาธิปไตยก็สอดคล้องหรือไปด้วยกันกับพัฒนาการสื่อมวลชน และการเมืองที่ผ่านสื่อมวลชนที่พัฒนาแล้ว ทำให้เกิดการสื่อสารการเมืองมวลชน (Mass political communication) หรือการสื่อสารการเมืองที่สามารถเข้าถึงมวลชนได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ทุกหนทุกแห่ง การนำสื่อมวลชนมาใช้ในทางการเมืองอย่างกว้างขวาง ทำให้กระบวนการทางการเมืองเปิดกว้างมากขึ้นไม่ใช่น้อยลง การขยายตลาดของข้อมูลข่าวสารให้กว้างขึ้น ไม่สามารถมองเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากดีสำหรับประชาธิปไตย[8]
การสื่อสารกับความมั่นคงของไทย
[แก้]การสื่อสารและกระบวนการข่าวสาร มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา ที่มีการเมืองการปกครองเติบโตมาจากระบอบประชาธิปไตย ย่อมทำให้หักไม่พ้นที่การสื่อสารและกระบวนการข่าวสารจะต้องถูกจำกัดบทบาทโดยอำนาจรัฐที่มาจากข้าราชการ ทั้งนี้เพราะกระบวนการสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดวาระสาร และการกล่อมเกลาสังคมที่ถูกชักจูงสาชิกของสังคมได้ในระดับหนึ่ง ผลสะท้อนของข้อบังคับทางกฎหมายย่อมทำให้สังคมมีสภาพและรูปลักษณะเฉพาะ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางการเมืองในเรื่องความมั่นคงของประเทศไทยมีอยู่หลายฉบับ ประมวลกฎหมายอาญาบางมาตรา พรบ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ หน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ใกล้ชิดมากที่สุดในด้านการสื่อสารเพื่อความมั่นคง ได้แก่ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ซึ่งเป็นเป็นหน่วยราชการการที่มีผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมทางด้านข่าวกรอง การต่อต้านข่าวกรอง การข่าวกรองทางการสื่อสาร และการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ทั้งนี้เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรักษาความั่นคงของชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติมีหน้าที่ดูแลกระบวนการข่าวสารทั้งในแง่ข่าวปิดและข่าวเปิด โดยมีระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 การศึกษาเกี่ยวกับการเมืองการปกครองนอกจากจะต้องศึกษาในแง่ของประวัติศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจถึงภาพรวมในแต่ละยุคสมัยแล้ว สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการศึกษาถึงสถาบันทางการเมือง (Political Institution) ซึ่งต้องศึกษาทั้งในแง่โครงสร้าง หน้าที่ พัฒนาการ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญๆ ของสถาบันทางการเมืองเป็นเสมือนส่วนย่อย (Section) ทางการเมืองที่มาประกอบกันขึ้นเป็นระบบการเมือง[9]
การสื่อสารเพื่อการพัฒนา
[แก้]คุณภาพของการสื่อสาร
[แก้]หลักเกณฑ์ต่อไปนี้ อาจเป็นมาตรวัดคุณภาพการสื่อสารว่า คืออะไร และอยู่ในระดับไหน โดยเหตุที่คุณภาพของการสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการถูกนำไปใช้ในฐานะ ที่เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาประเทศ และเช่นเดัยวกับประเทศที่ก้าวหน้าแล้ว การสื่อสารย่อมได้รับการพัฒนาไปสู่ความมีคุณภาพด้วย ในส่วนองค์ประกอบที่นำไปสู่คุณภาพของการสื่อสารดังกล่าว ความรวดเร็วในการกระจาย สารสนเทศ (speed) หมายถึงอัตราที่สารไปถึงปลายทางในช่วงเวลาที่กำหนด ดังนั้นยิ่งใช้เวลาสั้นเท่าไรในการไปถึงปลายทางในระยะไกลแล้ว ก็กล่าวได้ว่า การสื่อสารนั้นมีอัตราความเร็วสูง การเคลื่อนย้ายของสาร (shift) คุณภาพของการสื่อสารอีกประการหนึ่ง ก็คือ การที่สามารถเคลื่อนที่จากจุดหนึ่ง (แหล่งสาร) ไปยังอีกจุดหนึ่ง (ผู้รับสาร) ได้ตามที่ต้องการ การเคลื่อนย้ายของสารทำให้สารกระจายออกไปในปริมณฑลที่กว้างไกล ความถูกต้อง (accuracy) หมายถึง สารที่ถูกส่งออกไปนั้นตรงตามเจตนารมณ์ ในการส่งสารไม่เบี่ยงเบนออกไป อันเนื่องมาจากกระบวนการแะระบบการสื่อสารนั้น สภาพสื่อ (pressence) หมายถึง สื่อที่นำสารออกไปนั้นมีคุณสมบัติพื้นฐานที่เหมาะสมต่อจิตวิทยาการสื่อสารเพียงใด คุณสมบัติของสื่อที่ช่วยในด้านจิตวิทยาการสื่อสาร
ปัจจัยสำคัญในการสื่อสารพัฒนา
[แก้]การทำให้สังคมทันสมัยในปริมณฑลของการสื่อสารการพัฒนา ที่เป็นไปตามคตินิทัศน์และแบบจำลอง สามารถกระทำได้อย่างกว้างขวางไม่ว่าในด้านการพัฒนาการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาสังคมโดยเฉพาะการผสมผสานแนวความคิดเหล่านั้นเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาชนบท ชนกลุ่มน้อย และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสต่างๆเป็นสำคัญในการนี้ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการสื่อสารพัฒนา ได้แก่ ผู้นำการพัฒนา เป็นได้ทั้งกลุ่ม องค์กร หรือสถาบันที่เป็นผู้ส่งสารในกระบวนการสื่อสารการพัฒนา ทั้งที่เพื่อหวังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ สารสนเทศ ขอบเขตของสารสนเทศ ในการสื่อสารการพัฒนา มีความหมายที่กว้างขวางนอกจากจะหมายถึงวัจนภาษาที่ส่งออกไปแล้ว ยังมีความหมายที่ครอบคลุมถึงการกระทำ การฝึกอบรม และสัญญาณใดๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อความสำเร็จของรายการหรือโครงการที่จะไปถึงประชาชน ช่องทางการสื่อสาร ช่องทางการสื่อสารที่เป็นเครื่องมือการพัฒนา ได้แก่ สื่อมวลชน เป็นตัวจักรสำคัญในการกรุยทางการพัฒนาโดยการนำเสนอรายการที่เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม การสื่อสารระหว่างบุคคล มักเป็นสื่อที่รองรับการเปิดตัวของนวัตกรรมหลังจากที่ผ่านขั้นตอนของสื่อมวลชนแล้ว โดยทั่วไป การสื่อสารระหว่างบุคคลจะเป็นการสื่อสารระหว่างปากต่อปากที่เกิดขึ้นจากบุคคลที่อยู่ในฐานะผู้นำหรือตัวกลางนำสารไปสู่ชาวบ้าน ตัวกลางเหล่านี้เช่น พัฒนาการ วิศวกรสังคม นักพัฒนาเอกชน เป็นต้น การสื่อสารสาธารณะ ความก้าวหน้าของวิทยาการในด้านสื่อ อาจมีส่วนช่วยนักสื่อสารพัฒนาการให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภายใต้การเชื่อมโยงข้อมูลในระบบ ISDN แม้ว่าในอดีต นักสื่อสารพัฒนาการจะไม่ค่อยตระหนักถึงการสื่อสารประเภทนี้มาก่อน
บทบาทของการสื่อสารต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
[แก้]การสื่อสารและนักการสื่อสารได้เข้าไปมีบทบาทมากกว่าแต่ก่อน ดังจะเห็นได้จาก ได้มีการนำงานวิจัยทางการสื่อสาร ไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างจริงจังมากขึ้นกว่าแต่ก่อน การศึกษาวิชาการสื่อสารในมหาวิทยาลัยเริ่มมั่นคง เป็นสาขาวิชาที่เติบโตที่เช่นเดียวกับสาขาวิชาที่มีมาก่อนหน้านั้น อันได้แก่ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยา เป็นต้น งานทางด้านการสื่อสารได้รับการยอมรับว่า เป็นวิชาชีพความเป็นวิชาชีพจึงทำให้ต้องผ่านการฝึกอบรม มิใช่อาศัยแต่ประสบการณ์ส่วนตัวหรือความชอบส่วนบุคคลแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นจะเห็นได้ว่า มักมีการจัดอบรมด้านการสื่อสารขึ้นตามหน่วยงานต่างๆ นอกเหนือจากการฝึกฝนอบรมต่อผู้ที่ประกอบวิชาชีพนี้โดยตรงอยู่แล้ว[10]
- ↑ ที่มา ดร.สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. การสื่อสารกับการเมือง. หน้า 2-4, ประสิทธิ์ภัณฑ์ แอนด์ พริ้นติ้ง , 2537 , ISBN 974-85747-3-3
- ↑ ที่มา ดร.สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. การสื่อสารกับการเมือง. หน้า 7-19, ประสิท���ิ์ภัณฑ์ แอนด์ พริ้นติ้ง , 2537 , ISBN 974-85747-3-3
- ↑ ที่มา ดร.สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. การสื่อสารกับการเมือง. หน้า 28-29, ประสิทธิ์ภัณฑ์ แอนด์ พริ้นติ้ง , 2537 , ISBN 974-85747-3-3
- ↑ ที่มา เสถียร เชยประทับ. การสื่อสารการเมือง และประชาธิปไตยในสังคมที่พัฒนาแล้ว. หน้า 1, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551} ISBN 978-974-03-2252-8
- ↑ เสถียร เชยประทับ. การสื่อสารกับการเมืองเน้นสังคมประชาธิปไตย. หน้า 3, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540, ISBN 974-635-116-8
- ↑ ที่มา ดร.สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. การสื่อสารกับการเมือง. หน้า 66, ประสิทธิ์ภัณฑ์ แอนด์ พริ้นติ้ง , 2537 , ISBN 974-85747-3-3
- ↑ ศูนย์ข้อมูลแะวิชาการ พรรคชาติพัฒนา. การเมืองภาคประชาชน. หน้า 14, ห้างหุ้นส่วนจำกัด S.P.K. เปเปอร์ แอนด์ ฟอร์ม
- ↑ เสถียร เชยประทับ. การสื่อสาร การเมือง และประชาธิปไตยในสังคมพัฒนาแล้ว หน้า 208-209, บริษัท วี. พริ้นท์, 2551, ISBN 978-974-03-2252-8
- ↑ ผู้ช่วยศาสตราจารณ์ ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร. การเมืองการปกครองไทย หน้า 301, บริษัท มายด์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2557, ISBN 974-7877-44-9
- ↑ ดร. สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. การสื่อสารกับการเมือง. หน้า 334, แระสิทธิ์ภัณฑ์ แอนด์ พริ้นติ้ง, 2537, ISBN 974-85747-3-3