ผงซักฟอก
หน้าตา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ผงซักฟอก เป็นสารซักล้างที่ผลิตขึ้นมาใช้แทนสบู่ มีสารลดแรงตึงผิวชนิดสังเคราะห์และชนิดธรรมชาติเป็นส่วนประกอบหลัก เป็นเกลือโซเดียมซัลโฟเนตของไฮโดรคาร์บอน สำหรับใช้ซักผ้า ครอบคลุมถึงผงซักฟอกที่มีลักษณะเป็นผงเม็ดเล็ก ๆ หรือเกล็ดอัดขึ้นรูปกึ่งแข็งกึ่งเหลว แท่ง หรือลักษณะอื่น แต่ไม่ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ซักผ้าชนิดเหลว
ประวัติ
[แก้]ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มีปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน ผงซักฟอกสังเคราะห์ถูกทำขึ้นครั้งแรกในเยอรมนี [1][2]
ชนิดของผงซักฟอก
[แก้]แบ่งตามสารลดแรงตึงผิว ได้ 4 ประเภท
- ผงซักฟอกประเภทแอนอิออนิก มีสารลดแรงตึงผิวเป็นไอออนลบ สามารถชำระล้างคราบสกปรกประเภทดินโคลนออกจากผ้าฝ้ายและเส้นใยธรรมชาติอื่น ๆ ได้ดีเป็นพิเศษ มีฟองมาก และจะทำงานได้ดีในน้ำที่มีอุณหภูมิสูง
- ผงซักฟอกประเภทแคทอิออนิก มีสารลดแรงตึงผิวเป็นไอออนบวก
- ผงซักฟอกประเภทนันอิออนิก มีสารลดแรงตึงผิวเป็นสารที่ไม่เกิดการแตกตัวเป็นไอออน มีฟองน้อย ทำงานได้ดีในทุกสภาพน้ำ ไม่จำเป็นต้องเติมสารที่ทำให้น้ำอ่อน ดังเช่นประเภทแอนอิออนิก สารประเภทนันอิออนิกนี้จะมีความสามารถในการชำระคราบไขมันออกจากพอลิเอสเตอร์และเส้นใยสังเคราะห์อื่น ๆ ได้ดีเป็นพิเศษ
- ผงซักฟอกประเภทแอมโฟเทอริก มีสารลดแรงตึงผิวที่สามารถแตกตัวเป็นได้ทั้งไอออนบวกและไอออนลบ
ส่วนประกอบของผงซักฟอก
[แก้]ประกอบด้วย[3]
- สารลดความตึงผิว มีประมาณร้อยละ 12-30 เป็นสารทำให้วัสดุเปียกน้ำได้ง่าย ทำให้สิ่งสกปรกหลุดออกมาเป็นอนุภาคเล็ก ๆ แล้วสารจะล้อมรอบสิ่งสกปรกเล็ก ๆ เอาไว้ในสารลดความตึงผิว ส่วนมากจะเป็นสารประกอบของเกลือโซเดียมอัลคิลซัลเฟต และโซเดียมอัลคิลอะริลซัลฟอเนต
- ฟอสเฟต มีประมาณร้อยละ 30-50 ได้แก่ เตตระโซเดียมฟอสเฟต หรือโซเดียมไตรพอลิฟอสเฟต สารนี้ช่วยรักษาสภาพน้ำให้เป็นเบส ช่วยกระจายน้ำมัน สิ่งสกปรกออกเป็นอนุภาคเล็ก ๆ จนสามารถแขวนลอยได้ในน้ำและปรับสภาพน้ำกระด้างให้กลายเป็นน้ำอ่อน
- ซิลิเกต มีประมาณร้อยละ 5-10 ได้แก่ โซเดียมซิลิเกต ช่วยทำหน้าที่ป้องกันสนิมของชิ้นส่วนอะลูมิเนียมที่เป็นส่วนประกอบของเสื้อผ้า เช่น ซิป กระดุม และยังช่วยยึดสิ่งสกปรกเอาไว้ไม่ให้กลับไปจับเสื้อผ้า
- สารเพิ่มความสดใส (optical brightening agents) ช่วยดูดแสงอุลตร้าไวโอเลตไว้ ทำให้เกิดการเรืองแสงสะท้อนเข้าตา ผ้าดูขาวสะอาด ได้แก่ผงฟอกนวล
- สารเพิ่มฟอง (suds booster) เป็นสารที่จะทำให้เกิดฟองกับน้ำได้ดีสำหรับผงซักฟอกซักด้วยมือ
- โชเดียมคาบอกซีเมทิลเซลลูโลส มีประมาณร้อยละ 0.5-1 สารนี้ป้องกันการเกิดตะกอนในสารซักฟอก
ผลเสียที่เกิดจากการใช้ผงซักฟอก
[แก้]ทำให้เกิดมลภาวะของน้ำ ดังนี้[3]
- ทำให้ออกซิเจนละลายน้ำไม่ได้ สิ่งมีชีวิตในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์อาจตายได้เนื่องจากขาดออกซิเจน
- ผงซักฟอกชนิด C ใน R ไม่สามารถย่อยสลายได้ ทำให้เกิดสารตกค้างในน้ำ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดการเจ็บป่วย
- ไม่ควรนำน้ำผงซักฟอกรดน้ำต้นไม้[4] เพราะผงซักฟอกที่มีส่วนประกอบของเกลือโซเดียม ให้ต้นไม้ขาดน้ำจนตายได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Soaps & Detergent: History (1900s to Now)". American Cleaning Institute. Retrieved on 6th January 2015
- ↑ David O. Whitten; Bessie Emrick Whitten (1 January 1997). Handbook of American Business History: Extractives, manufacturing, and services. Greenwood Publishing Group. p. 221. ISBN 978-0-313-25199-3.
- ↑ 3.0 3.1 "ส่วนประกอบและโทษของผงซักฟอก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-04. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
- ↑ "ไม่ควรนำน้ำผงซักฟอกรดน้ำต้นไม้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-29. สืบค้นเมื่อ 2017-05-15.