ข้ามไปเนื้อหา

ปืนคาบศิลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปืนคาบศิลาและดาบปลายปืน

ปืนคาบศิลา (อังกฤษ: musket) เป็นปืนที่ใช้ดินปืน(ดิน"แรงดันต่ำ")ตำกรอกทางปากกระบอกปืน จากนั้นรอง"หมอน"นุ่น หรือผ้า แล้วใส่หัวกระสุนทรงกลม ปิดด้วยหมอนอีกชั้น ปืนชนิดนี้เมื่อบรรจุกระสุนไว้ต้องถือตั้งตรงตลอด ไม่งั้นกระสุนอาจไหลออกจากปากลำกล้อง เวลาจะยิงต้องใช้ หิน"คาบศิลา"(หินไฟ-Flint) ตอกกระทบโลหะ หรือกระทบกันเอง (มักทำเป็น คอนกติดหินไฟ ผงกด้วยสปริง) เพื่อจุดดินขับในถ้วยที่โคนปืน ให้ไฟแล่บติดดินขับ วิ่งเข้าไปทางรูที่ท้ายลำกล้อง แล้วจึงเกิดการลุกไหม้ในดินปืน ระเบิดกระสุนออกไป ปืนชนิดนี้เป็นต้นแบบของปืนไรเฟิลในปัจจุบันด้วย ไม่มีผู้ทราบว่าใครประดิษฐ์ขึ้น แต่ว่าในเอกสารทางการทหารของจีนได้มีการกล่าวถึงอาวุธชนิดหนึ่งเรียกว่า "หั่วหลงจิง (火龙经)" ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในแรกเริ่มปืนคาบศิลาได้มีการออกแบบให้ใช้กับทหารราบเท่านั้น และได้มีการปรับปรุงขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม เช่นมีเกลียวในลำกล้อง การมีกล้องเล็ง มีกระสุนปลายแหลมซี่งแต่เดิมนั้นเป็นลูกกลมๆ และในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ก็มีการประดิษฐ์ปืนชนิดที่บรรจุกระสุนทางท้ายรังเพลิงปืนซึ่งแต่เดิมนั้นบรรจุกระสุนทางปากลำกล้องเข้ามาแทนที่

หลักฐานการใช้ปืนไฟในช่วงแรก

[แก้]

ดินปืนค้นพบโดยชาวจีนโดยบังเอิญในสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ซีจิ้น) แต่ยังไม่ได้มีการใช้อย่างจริงจัง คงนำมาใช่ในลักษณะของพิธีกรรมขับไล่สิ่งชั่วร้าย และงานเฉลิมฉลองอย่างดอกไม้ไฟนั่นเอง แต่ชาวจีนเริ่มจะใช้ดินปืนอย่างจริงจัง ในสมัยราชวงศ์ซ่ง เพราะมีหลักฐานว่ากองทัพราชวงศ์ซ่งได้ประดิษฐ์อาวุธระเบิดแบบพกพา (ระเบิดขว้าง) ปืนไฟแบบจุดสายชนวน (แต่มิได้ใช้ระบบไกยิงอย่างปืนไฟในยุคหลัง เพียงแต่ใช้การจุดสายชนวนเท่านั้น) และเครื่องยิงที่ใช้กระสุนยิงแบบอัดดินปืนแล้ว แต่สาเหตุที่ดินปืนแพร่หลายไปสู่ดินแดนตะวันตกนั้น มีเหตุจากการรุกรานของพวกมองโกล เมื่อพวกมองโกลพิชิตแผ่นดินจีนทางเหนือได้สำเร็จแล้ว ก็ได้นำบรรดาช่างปืนใหญ่และปืนไฟจากจีนไปเป็นกำลังสำคัญในการขยายดินแดน โดยพวกมุสลิมในตะวันออกกลางเป็นชนกลุ่มแรกที่ได้ใช้อาวุธดินปืนในการสงคราม จากนั้นจึงแพร่หลายเข้าไปในยุโรป สำหรับรูปแบบอาวุธปืนไฟทรงกระบอกนั้น มีมาแต่เริ่มในสมัยซ่งแล้ว แต่เริ่มมีการประดิษฐ์อาวุธปืน โดยอาศัยระบบไกยิง (Trigger) ขึ้นในประเทศจีนในสมัยราชวงศ์หมิง ปืนคาบศิลาเริ่มปรากฏขึ้นในประเทศสเปน แต่จะรู้จักกันดีในนามของ ปืนคาบชุด (MATCH LOCK) ในทศวรรษที่ 1500 แต่ทหารเจนนิสซารี่ของจักรวรรดิออตโตมานก็ปรากฏว่ามีการใช้ปืนคาบศิลาในช่วงทศวรรษที่ 1440 แล้ว เทคโนโลยีปืนคาบศิลาได้พัฒนาขึ้นในยุโรปตะวันตกอย่างรวดเร็ว และเกิดอาวุธที่มีประสิทธิภาพการทำลายล้างมากกว่าแต่ก่อนทำให้เกิดการแสวงหาวัตถุดิบดินปืนซึ่งทำให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมขึ้น

ปืนคาบชุด หั่วหลงจิงของราชวงศ์หมิง

วิวัฒนาการของปืนคาบศิลา

[แก้]

ในคริสต์ศตวรรษที่15 ทหารราบของยุคกลางได้มีการใช้อาวุธดินปืนชนิดหนึ่งเรียกว่า "ปืนใหญ่ที่ยิงด้วยมือ" ถึงอย่างไรก็ดีอาวุธดังกล่าวก็ยุ่งยากในการใช้ซึ่งต้องใช้เวลานานในการบรรจุกระสุนปืนและไม่ค่อยจะมีประสิทธิภาพในการยิง เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็เริ่มมีการประดิษฐ์ปืนสั้นขึ้นและในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ปืนคาบศิลาก็ได้เข้ามาแทนที่หอกยาวซึ่งเคยเป็นอาวุธหลักของทหารราบในสมัยนั้น ปืนคาบศิลาในสมัยศตวรรษที่ 16 เรียกว่า อาร์กิวบัส (Arquebus) หรือปืนคาบชุด กลไกของปืนชนิดนี้คือใส่ดินปืนลงบนจานดินปืนแล้วใส่กระสุนกลมๆ และดินปืนทางปากกระบอกปืนแล้วกระทุ้งให้ดินปืนและกระสุนไปอยู่ในรังดินปืนทางท้ายลำกล้อง เมื่อเหนี่ยวไกก็จะมีเหล็กรูปงูตีที่จานดินปืนจะเป็นการจุดสายชนวนไปที่ท้ายลำกล้องทำให้ดินปืนระเบิดขึ้น แรงระเบิดจะทำให้กระสุนพุ่งออกไปทางปากลำกล้องอย่างรวดเร็ว

ปืนสั้นแบบลูกล้อ

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ก็มีการพัฒนาปืนคาบชุดเป็น "ปืนสั้นแบบลูกล้อ" (Wheellock) แต่อย่างไรก็ดีปืนคาบชุดก็มีข้อเสียอยู่มากเช่น บรรจุกระสุนช้า มีความแม่นยำน้อย ไม่สามารถ��ช้ได้เมื่ออากาศชื้นเพราะจะทำให้จุดชนวนดินปืนไม่ติด แต่อย่างไรก็ตามปืนคาบชุดก็เป็นสิ่งที่เปลี่ยนโฉมหน้าสงครามของยุโรป และทำให้กษัตริย์ยุโรปมีสถานภาพมั่นคงขึ้นเพราะทำให้มีผู้ก่อกบฏยากเนื่องจากสงครามที่ใช้ปืนไฟจะเสียค่าใข้จ่ายในการรบสูงมาก ปืนคาบชุดสามารถทำให้อาณาจักรที่สำคัญล่มสลายเช่นอินคา เอซเท็คเป็นต้นแต่มันก็สามารถสร้างอาณาจักรให้มีเอกราชได้ เช่นจักรวรรดิรัสเซียสามารใช้ปืนไฟขับไล่มองโกลออกไปได้แล้วสถาปนาราชวงศ์โรมานอฟ(Romanov) ขึ้น ต่อมาได้มีการดัดแปลงปืนคาบชุดให้พกพาได้สะดวกขึ้นเป็นปืนสั้นซึ่งเป็นที่นิยมของทหารม้าในสมัยนั้น

ทหารปืนคาบชุดของเนเธอร์แลนด์ในศตวรรษที่17
ปืนบราวเบสแบบสั่นสำหรับทหารบกของจักรวรรดิอังกฤษในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18และในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19
ปืนสั้นในศตวรรษที่ 16

ในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 ได้มีการพัฒนาปืนไฟแบบคาบชุด ให้เป็นปืนคาบศิลา (Flintlock อ่านว่าฟลิ้นท์ล็อก) ขึ้น ซึ่งมีกลไกคือใส่หินเหล็กไฟที่ตัวนกของปืนแล้วบรรจุกระสุนและดินปืนทางปากกระบอกแล้วกระทุ้งจากนั้น เมื่อเหนี่ยวไกเหล็กรูปนกสับหินเหล็กไฟทำให้เก็ดประกายไฟลามไปที่รังดินปืนทางท้ายกระบอกทำให้ดินปืนระเบิดและผลักกระสุนให้พุ่งไปข้างหน้า ต่อมาอาวุธชิ้นนี้ได้กลายเป็นอาวุธหลักของกองทัพยุโรปและอเมริกา เมื่อศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมได้มีการประดิษฐ์เกลียวในลำกล้องทำให้กระสุนพุ่งไปข้างหน้าในแนวตรง มีพิสัยไกลกว่าเดิม และมีความแม่นยำมากขึ้น และมีการประดิษฐ์แก๊บในตัวปืนทำให้ไม่ต้องคอยใส่ดินปืนอีกต่อไปเห็นได้จากสงครามไครเมีย การมีกล้องเล็งซึ่งทำมองเห็นเป้าหมายในระยะที่ใกล้และแม่นยำทำให้เกิดหน่วยซุ่มยิงขึ้น เห็นได้จากสงครามกลางเมืองอเมริกา

ปืนคาบศิลาในเอเชีย

[แก้]

จักรวรรดิออตโตมาน

[แก้]
ทหารแจนนิศซารี่ของอาณาจักรออตโตมาน

ในการระดมยิงกรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ทหารชาวเติร์กก็ใช้ปืนใหญ่และปืนคาบชุดรุ่นแรก ๆ ในการระดมยิงกำแพงเมืองทั้งจากทางบกและทางเรือ ในการรบขยายอาณาจักรของสุลต่านสุไลมานปืนคาบชุดก็เป็นอาวุธสำคัญในการปิดล้อมเมืองเห็นได้จากสงครามฮับส์เบิร์ก-ออตโตมาน ทหารปืนคาบชุดของจักรวรรดิออตโตมานเรียกว่าแจนนิสซารี่ซึ่งส่วนใหญ่จะสืบเชื้อสายมาจากพลทหารอาร์เมเนียน และ จอร์เจียน ที่ถูกจับมาเป็นทาสเชลย และแม่ทัพของอาณาจักรออตโตมานส่วนใหญ่จะครอบครองปืนสั้นเป็นจำนวนมากอีกด้วย ปืนคาบชุดยังคงเป็นอาวุธหลักของจักรวรรดิออตโตมานจนเมื่อจักรวรรดิปฏิรูปการทหารในทศวรรษที่1830

เปอร์เซีย

[แก้]

จากหลักฐานการบันทึกของพ่อค้าชาวเวนิสได้พบว่าปืนคาบชุดได้แพร่หลายในอาณาจักรเปอร์เซียอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากการค้ากับยุโรปและทหารม้าของราชวงศ์ซาร์ฟาวิดของเปอร์เซียจะนิยมพกปืนคาบชุดทุกคน ปืนคาบชุดของเปอร์เซียจะมีลวดลายประณีตบรรจงมาก ปืนคาบชุดยังคงเป็นอาวุธหลักของเปอร์เซียจนเมื่อราชวงศ์ซาร์ฟาวิดล่มสลาย

อินเดีย

[แก้]
พลปืนโมกุลในช่วงตันศตวรรษที่ 16

ในอินเดียสมัยราชวงศ์โมกุลเริ่มปรากฏว่ามีการใช้ปืนคาบชุดในช่วงทศวรรษที่ 1510 ซึ่งในสมัยนี้พระเจ้าบาบูร์และพระเจ้าอัคบาร์ได้ใช้ปืนคาบชุดเป็นอาวุธหลักของทหารราบในการปราบปรามหัวเมืองฮินดูและมุสลิมของเจ้าผู้ครองแคว้นทางภาคใต้ เสียงของปืนคาบชุดยังทำให้ช้างหลายเชือกของฝ่ายหัวเมืองทางใต้ตกใจอีกด้วยทำให้อาณาจักรโมกุลสามารถรวบรวมอินเดียเป็นเอกภาพในสมัยพระเจ้าอัคบาร์มหาราช ปืนไฟของโมกุลจะเป็นแบบคาบชุดซึ่งเป็นงานหัถกรรมอย่างหนึ่งมีการตีเหล็กอย่างประณีตไม่ได้มีการใช้เหล็กหล่อเหมือนทางตะวันตก ต่อมาเมืออินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ทางข้าหลวงชาวอังกฤษได้จัดตั้งทหารซีปอยซึ่งมีการจัดระเบียบแบบอังกฤษมีอาวุธหลักเป็นปืนคาบศิลาแบบฟรินท์ล็อกหรือปืนนกสับจนมีปืนแบบบรรจุกระสุนทางพานท้ายปืนมาแทนที่

ญี่ปุ่น

[แก้]
ปืนคาบชุดของญี่ปุ่นในศตวรรษที่16

ญี่ปุ่นได้เผชิญกับอาวุธปืนครั้งแรกเมื่อจักรพรรดิกุบไลข่านรุกรานญี่ปุ่นในปี 1259 ในสึชิมะ ต่อมาในปี 1543 ได้มีเรือโปรตุเกสเข้ามาเทียบท่านำโดยนักบวชชื่อ "ฟือร์เนา เมงดิช ปิงตู" ชาวโปรตุเกสได้นำปืนไฟแบบคาบชุดมาด้วย ไดเมียวโอะดะ โนะบุนะงะได้ซื้อปืนคาบชุดของชาวโปรตุเกสมาศึกษากลไกแล้วให้ช่างเหล็กตีเลียนแบบจนกระทั่งสามารถผลิตปืนคาบชุดได้มากที่สุดในโลกและสามารถสร้างกองทหารที่เกณฑ์มาจากชาวนาหรือ "อาชิการุ ((あしがる))" ที่ติดอาวุธปืนเหมือนชาวยุโรปได้เป็นจำนวนมาก จนเมื่อปี 1575 โนะบุนางะได้นำทหารอาชิการุที่ติดอาวุธปืนยึดปราสาทนางาชิโนได้ ยุทธวิธีของโอดะคือแบ่งทหารอาชิการุเป็นสามแถวอยู่หลังรั้วไม้ เมื่อแถวแรกยิงทหารม้าของทาเคดะแล้วบรรจุกระสุนใหม่แถวที่สองเข้ามายิงต่อเมื่อแถวที่สองบรรจุกระสุนแถวสามจะยิงทำให้ทหารม้าของทาเคดะตายเป็นจำนวนมาก อาวุธของทหารม้าเป็นอาวุธแบบเดิมคือธนู "ยูมิ" และดาบคาตานะ ชัยชนะครั้งนี้ทำให้โอดะได้ตั้งตนเป็นโชกุน เมื่อโนะบุนางะถึงแก่อนิจกรรม โตโยโตมิได้รับตำแหน่งโชกุนแทน ต่อมาเมื่อปี 1592 ญี่ปุ่นรุกรานเกาหลี ญี่ปุ่นได้ใช้ปืนคาบชุดเป็นอาวุธหลักในการรบแต่ต่อมาญี่ปุ่นต้องถอยทัพกลับเพราะโตโยโตมิถึงแก่อนิจกรรมในปี 1598 ต่อมาเมื่อโชกุน โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ดำเนินนโยบายปิดประเทศในปี 1603 ห้ามทำการค้ากับชาวต่างชาติและห้ามนำเข้าและผลิตอาวุธปืนเพราะอาจจะทำให้สถานภาพของโชกุนไม่มั่นคง ทำให้ปืนแบบคาบชุดอยู่ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเพียงห้าทศวรรษเท่านั้น จนกระทั่งในปี 1854 นายพลแมททิว เปอร์รี่บังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิได้ทำการยึดอำนาจของโชกุน โทะกุงะวะ โยะชิโนะบุและจัดตั้งกองทัพสมัยใหม่มีการนำเข้าปืนคาบศิลาแบบฟรินท์ล็อกจากสหรัฐอเมริกาจำนวนมาก ต่อมาญี่ปุ่นสามารถผลิตเองได้เป็นจำนวนมากและปืนคาบศิลายังคงเป็นอาวุธหลักของญี่ปุ่นจนมีปืนแบบบรรจุกระสุนทางพานท้ายปืนมาแทนที่

จีน

[แก้]

จีนเป็นชาติแรกที่ประดิษฐ์อาวุธปืนขึ้น ปืนที่เป็นต้นแบบของปืนคาบศิลาที่จีนประดิษฐ์ขึ้นมีลักษณะคล้ายปืนคาบศิลาแต่มีวิธียิงเหมือนปืนใหญ่ อาวุธปืนของจีนมักจะไม่ได้รับการพัฒนาเพราะในการรบกับชนเผ่าเร่ร่อนทางภาคเหนือจีนก็มีกำแพงเมืองจีนป้องกันอยู่แล้วและบ้านเมืองช่วงนี้มักจะสงบและในการรบจีนมักจะตั้งรับมากกว่ารุกราน จีนเผชิญกับอาวุธปืนครั้งแรกในสมัยราชวงศ์หมิงเมื่อสงครามอิมจินในปี 1592-1598 เกิดขึ้น โชกุนโตโยโตมิรุกรานเกาหลีเพื่อยึดเกาหลีซึ่งเป็นอาณานิคมของจีน จีนได้ส่งกองทัพจำนวนมากไปช่วยเกาหลีและสามารถรบชนะญี่ปุ่นได้หลายครั้งเพราะปืนคาบศิลาของโปรตุเกสที่ญี่ปุ่นใช้ในสมัยนั้นไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะสู้กับหน้าไม้กลของจีนได้ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง อาวุธปืนไม่แพร่หลายในจีนมากนักจนเมื่อปี่ 1839 ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวง จีนทำสงครามฝิ่นกับอังกฤษอังกฤษยกพลขี้นบกที่แหลมเกาลูนแล้วใช้ปืนคาบศิลายิงทหารจีนตายเป็นจำนวนมาก จีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จีนจึงจัดตั้งกองทัพ "เป่ย์หยาง" และ "หนานหยาง" ขึ้นซึ่งมีการบริหารกองทัพเป็นแบบยุโรปมีปืนคาบศิลาเป็นอาวุธหลัก ในการระดมยิงจากกำแพงกองทัพเป่ย์หยางจะใช้ปืนคาบศิลาขนาดใหญ่ยิงลงจากกำแพงเรียกว่า"จินกอล" เห็นได้จากสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ปืนคาบศิลายังคงเป็นอาวุธหลักของจีนจนกระทั่งสงครามกบฏนักมวยที่จีนซื้อลิขสิทธิ์ปืนเล็กยาวของเยอรมันมาผลิตเอง

เกาหลี

[แก้]
ปืนคาบชุดเกาหลี"โจชอง"และปืนใหญ่เกาหลี"ฮงยี่เปา"

เกาหลีได้รู้จักกับปืนคาบศิลาครั้งแ��กในสมัยราชวงศ์โชซ็อนเมื่อครั้งญี่ปุ่นรุกรานเกาหลีปี 1592-1598 (แต่ก่อนหน้านั้นกองทัพเกาหลียังคงใช้พลธนูและปืนคาบชุดแบบจีนและมีการตั้งกองปืนขึ้นแต่ก็ไม่ได้รับความไว้วางใจประสิทธิภาพของมันจึงยกเลิกไป) ถึงแม้ญี่ปุ่นจะพ่ายแพ้แต่แม่ทัพลีซุนชินก็เสียชีวิตจากกระสุนปืนคาบชุด เกาหลีตระหนักดีว่าปืนคาบชุดก่อให้เกิดความได้เปรียบในการรบ จึงจัดตั้งหน่วยปืนคาบชุดขึ้นโดยใช้ในกององครักษ์ หรือใช้เป็นหลักพอๆกับธนูในการทำศึก ต่อมาปี 1627 เผ่าแมนจูจากจีนรุกรานเกาหลีเป็นครั้งแรกกองกำลังปืนคาบชุดของเกาหลีสามารถทำลายกองทหารม้าของแมนจูซึ่งมีจำนวนมากกว่าจนแตกพ่ายต่อมาจีนมีกรณีพิพาทเรื่องเขตแดนกับรัสเซียในแมนจูเรีย จึงขอกำลังหน่วยปืนคาบชุด 400 นายของเกาหลีมารบซึ่งกองปืนคาบชุดของเกาหลีสามารถทำลายทหารม้าคอสแซกของรัสเซียได้อย่างง่ายดายต่อมาในปลายศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นพยายามมีอำนาจเหนือเกาหลีโดยมอบปืนคาบศิลาให้กบฏตงฮักซึ่งพยายามต่อต้านชนชั้นยางบานซึ่งเป็นชนชั้นสูงและขุนนางหัวเก่าของเกาหลี กบฏตงฮักต้องการปฏิรูปเกาหลีให้ทันสมัยโดยเอาญี่ปุ่นเป็นแบบอย่างจึงจับกุมพระเจ้าโกจง แล้วก็ได้ใช้ปืนคาบศิลาเป็นอาวุธในการบุกพระราชวังด้วย

ไทย

[แก้]

ประเทศไทยรู้จักกับปืนคาบชุดในกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชจากชาวโปรตุเกส "เฟอร์เนา เมนเดส ปินโต" เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่กล่าวไว้ข้างต้นปืนคาบชุดถูกใช้ครั้งแรกเมื่ออาณาจักรล้านนาคิดแข็งเมือง ทางอยุธยาจึงส่งกำลังไปปราบและได้ใช้ปืนคาบชุดเป็นอาวุธในครั้งนี้ด้วย ต่อมาเกิดสงครามเมืองเชียงกรานกับพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้อยุธยาได้ใช้ปืนคาบชุดในการรบจนชนะ อยุธยาได้ใช้ปืนคาบชุดในการรบเรื่อยมาปืนคาบชุดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสมัยนี้คือพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยิงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสะโตงถูกแม่ทัพสุรกรรมาตาย และหลังจากนั้นปืนคาบชุดก็มีใช้กองทัพสยามจวบจนสมัยรัตนโกสินตร์ ในขณะที่ในบรรดาประเทศข้างเคียงหันไปใช้ปืนคาบศิลากันเป็นปืนประจำการสิ้นแล้ว อาทิ พม่า ปืนคาบศิลาจึงมีใช้ในหมู่ขุนนางที่มีฐานะ และชนชั้นเจ้า ด้วยเหตุว่า มีราคาแพง และต้องสั่งจากนำเข้าหินเหล็กไฟ ซึ่งใช้ทำปฏิกิริยากับดินปืนซึ่งมีราคาแพงอีกเช่นกัน และประการสุดท้ายคือ ฝึกยิงและทำความเข้าใจได้ยากกว่า การยิงปืนคาบชุด นั่นเอง

ดูเพิ่ม

[แก้]