ข้ามไปเนื้อหา

แปเตอร์ แช็ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปีเตอร์ เช็ค)
แปเตอร์ แช็ค
แช็คกับเชลซีใน ค.ศ. 2013
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม แปเตอร์ แช็ค
วันเกิด (1982-05-20) 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1982 (42 ปี)
สถานที่เกิด เปิลแซ็ญ เช็กโกสโลวาเกีย
ส่วนสูง 1.97 เมตร (6 ฟุต 6 นิ้ว)[1]
ตำแหน่ง ผู้รักษาประตู
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
เชลซี
สโมสรเยาวชน
1989–1999 วิกโตริยาเปิลแซ็ญ
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1999–2001 เบลซานี 27 (0)
2001–2002 สปาร์ตาปราฮา 27 (0)
2002–2004 แรนส์ 70 (0)
2004–2015 เชลซี 333 (0)
2015–2019 อาร์เซนอล 110 (0)
2020 เชลซี 0 (0)
ทีมชาติ
1997–1998 เช็กเกีย อายุไม่เกิน 15 ปี 3 (0)
1998–1999 เช็กเกีย อายุไม่เกิน 16 ปี 15 (0)
1999 เช็กเกีย อายุไม่เกิน 17 ปี 3 (0)
1999–2000 เช็กเกีย อายุไม่เกิน 18 ปี 13 (0)
2000–2001 เช็กเกีย อายุไม่เกิน 20 ปี 7 (0)
2001–2002 เช็กเกีย อายุไม่เกิน 21 ปี 15 (0)
2002–2016 เช็กเกีย 124 (0)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

แปเตอร์ แช็ค (เช็ก: Petr Čech, เสียงอ่านภาษาเช็ก: [ˈpɛtr̩ ˈtʃɛx] ) เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวเช็กเกียตำแหน่งผู้รักษาประตู สโมสรสุดท้ายที่เล่นให้คือเชลซี​

ในพรีเมียร์ลีก ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของเชลซีในพรีเมียร์ลีก

แปเตอร์ แช็ค เป็นผู้รักษาประตูที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ เมื่อลงเล่นจะสวมหมวกป้องกันศีรษะกระแทก ซึ่งเป็นผลมาจากการลงเล่นให้กับเชลซีพบกับเรดิง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2006 ที่ถูกเข่าของสตีเวน ฮันต์ ผู้เล่นในตำแหน่งปีกซ้ายของเรดิง กระแทกเข้าที่ศีรษะอย่างรุนแรงจนถูกหามออกจากสนามทันที[2]

ประวัติ

[แก้]

แปเตอร์ แช็ค เป็นลูกชายของนักกีฬาทศกรีฑาระดับทีมชาติ สมัยเด็ก ๆ แช็คต้องเปลี่ยนใจหันมาเล่นฟุตบอลเพราะอุปกรณ์ฮอกกี้ซึ่งเป็นกีฬาที่แช็คชอบนั้นมีราคาแพงเกินไป ด้วยความสูงของเขาจึงถูกเพื่อน ๆ ให้เล่นตำแหน่งผู้รักษาประตู ซึ่งแช็คก็สามารถทำได้ดี ปัจจุบันแปเตอร์ เช็กสูง 7 ฟุต

แปเตอร์ แช็ค ได้เปิดเผยในภายหลังว่าตำแหน่งแรกเมื่อได้เล่นฟุตบอลครั้งแรกเมื่ออายุ 10 ขวบ คือ ปีกซ้าย แต่เปลี่ยนมาเป็นผู้รักษาประตู เนื่องจากผู้รักษาประตูขาดแคลน แต่ก่อนหน้านั้นก็เคยเป็นผู้รักษาประตูมาก่อนแต่เป็นกีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง[3]

1999–2001

[แก้]

แช็คเริ่มต้นชีวิตการเล่นฟุตบอลกับสโมสรท้องถิ่น วิกโตเรียเปิลแซ็ญ ก่อนจะได้รับโอกาสเทิร์นโปรกับชเมล บลาซานี่ สโมสรระดับดิวิชัน 1 ของสาธารณรัฐเช็ก และลงเล่นทั้งหมด 27 เกมจาก 2 ฤดูกาล พออายุ 19 ปี เช็ก ถูกขายให้สปาร์ตาปราฮา ด้วยค่าตัว 400,000 ปอนด์

2001–2002

[แก้]

ลงเล่นกับสปาร์ตาปราฮา 27 เกม แช็คได้สร้างสถิติไม่เสียประตูยาวนานที่สุดของประเทศ ด้วยเวลา 904 นาที ทำให้อีก 1 ปีให้หลัง แรน สโมสรระดับกลางของแดนน้ำหอมยอมควักเงิน 3 ล้านปอนด์แลกตัวเขาเข้ามาสู่ทีม

2002–2004

[แก้]

จากนั้นแช็คเริ่มฉายแววยอดนายทวารออกมาจนเป็นที่จับตาของวงการลูกหนังยุโรป เริ่มจากการพาทีมชาติชุดยู-21 คว้าแชมป์ยุโรปอายุต่ำกว่า 21 ปี ในเดือนพฤษภาคม ปี 2002 โดยรับบทฮีโร่เซฟจุดโทษในรอบชิงชนะเลิศ และเขาได้มีโอกาสสัมผัสเกมทีมชาติชุดใหญ่กับฮังการี ในเดือนกุมภาพันธ์

ด้วยฟอร์มที่ยอดเยี่ยม ทำให้แปเตอร์ แช็ค ต้องเก็บข้าวของอีกครั้งเพื่อย้ายสู่สโมสรใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมอย่างเชลซี

2004–2005

[แก้]

แช็คได้เซ็นสัญญากับสโมสรเชลซี 5 ปี ด้วยค่าตัว 7.1 ล้านปอนด์ และสามารถโชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมกับต้นสังกัด จนสามารถพาทีมคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก และแชมป์คาร์ลิงคัพในฤดูกาล 2004 - 2005

2009–2010

[แก้]

แช็คเริ่มต้นฤดูกาล 2009-2010 ด้วยการคว้าชัยกับเชลซีในการชนะเหนือ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในเกมคอมมิวนิตีชีลด์ รอบชิงชนะเลิศที่เวมบลีย์ ด้วยการเซฟการยิงจุดโทษของไรอัน กิกส์ และปาทริส เอวรา จากที่เสมอกันในเวลาปกติ 2-2 และในเกมพรีเมียร์ลีกนัดสุดท้าย แช็คพาเชลซี ถล่มวีแกน แอทเลติก ไป 8-0 ทำให้เชลซีคว้าแชมป์เหนือแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมาได้สำเร็จ ด้วยผลต่าง 1 แต้ม ซ้ำยังเซฟจุดโทษในเกมพบกับพอร์ทสมัท ในรอบชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพ ได้อย่างสวยงาม ทำให้เชลซีคว้าดับเบิลแชมป์เป็นปีแรกได้สำเร็จ ทำให้รางวัลผู้รักษาประตูยอดเยี่ยมจึงตกเป็นของเขาอย่างไม่ต้องสงสัย

2010–2011

[แก้]

วันอังคารที่ 8 มีนาคม 2011 ลงเล่นให้กับเชลซี เป็นเกมที่ 300 ในเกมเยือนพบกับ แบล็กพูล ที่สนาม บลูมฟิลด์ โร้ด แล้วสามารถเก็บชัยชนะออกมาได้

2011–2012

[แก้]

วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2012 แช็คช่วยให้เชลซี คว้าแชมป์เอฟเอคัพ สมัยที่ 7 ได้สำเร็จโดยเอาชนะ ลิเวอร์พูล 2 - 1

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม 2012 แช็คมีส่วนสำคัญในการพาเชลซีคว้าแชมป์ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ได้เป็นสมัยแรก โดยการเซฟลูกจุดโทษสำคัญของ อาร์เยิน โรบเบิน ในนาทีที่ 96 ทำให้เชลซีรอดพ้นจากการถูกขึ้นนำ ทำให้เสมอกันในเวลา 1-1 ต้องชี้ขาดในการดวลจุดโทษ เชลซีสามารถเอาชนะได้ด้วยสกอร์ 4-3 ซึ่งเป็นแชมป์ที่สองของเชลซีในฤดูกาล 2011-2012

และในฤดูกาลนั้นแช็คได้รับรางวัลโกลเดนบอล ของประเทศสาธารณรัฐเช็ก

2015–2016

[แก้]
ขณะเล่นให้กับเชลซี พบกับโบลตันวอนเดอเรอส์

ในฤดูกาล 2014–15 แช็คต้องตกเป็นตัวสำรองของตีโบ กูร์ตัว มาตลอดทั้งฤดูกาล ดังนั้นเมื่อจบฤดูกาล ถึงแม้ว่าเชลซีจะสามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ก็ตาม แต่แช็คซึ่งต้องการลงสนามเป็นตัวจริง ได้ตัดสินใจย้ายไปอาร์เซนอล แม้จะมีวัยถึง 33 ปีแล้วก็ตาม ด้วยค่าตัว 11 ล้านปอนด์ และสัญญา 4 ปี ทั้งที่มีหลายสโมสรต้องการตัว แต่ทว่าแช็คต้องการที่จะอยู่ในกรุงลอนดอนต่อไป เพราะครอบครัวได้ปักหลักลง ณ ที่นี่แล้ว [4]

ซึ่งในเรื่องนี้ ทำให้ผู้สนับสนุนเชลซีจำนวนหนึ่งไม่พอใจ และได้เผาเสื้อที่มีชื่อของแช็คในเชลซี เนื่องจากอาร์เซนอลเป็นสโมสรคู่แข่งร่วมเมืองที่สำคัญ[5]

กับอาร์เซนอล แช็คได้สวมเสื้อหมายเลข 33 ซึ่งตรงกับอายุของเจ้าตัว อีกทั้งยังเป็นการฉลองครบการเล่นในพรีเมียร์ลีกมาทั้งหมด 333 นัดอีกด้วย [6]

โดยก่อนเปิดฤดูกาล ในการแข่งขันรายการพิเศษทุกรายการของอาร์เซนอล แปเตอร์ แช็คได้ลงเล่นเป็นตัวจริงทุกนัด โดยเสียไปเพียงแค่ประตูเดียวเท่านั้น จากลูกยิงของรอสส์ บาร์กลีย์ ของเอฟเวอร์ตัน ในรายการพรีเมียร์ลีกเอเชียโทรฟี ฤดูกาล 2015[7] และทำให้อาร์เซนอลได้แชมป์ทุกรายการ รวมเป็นทั้งหมด 3 รายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2015 ที่แช็คต้องพบกับเชลซีต้นสังกัดเก่าด้วย แต่ทว่าแช็คก็ถือว่าเป็นผู้เล่นที่มีส่วนอย่างมากที่ทำให้อาร์เซนอลเอาชนะไปได้ [8]

แต่ในการแข่งขันจริงในพรีเมียร์ลีกนัดแรก ที่อาร์เซนอลพบกับ เวสต์แฮมยูไนเต็ด ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม ที่อาร์เซนอลสามารถเอาชนะมาได้ตลอดในระยะหลังนั้น ปรากฏว่าอาร์เซนอลเป็นฝ่ายแพ้ไปถึง 0-2 ประตู โดยเฉพาะลูกแรกนั้นแช็คมีส่วนผิดพลาดจนทำให้สโมสรต้องเสียประตู เมื่อเป็นฝ่ายออกไปตัดลูกฟรีคิกของเวสต์แฮมยูไนเต็ดช้ากว่าชิคู คูยาเต ผู้เล่นของเวสต์แฮมยูไนเต็ด ที่สอดเข้ามาโหม่งเป็นประตูไปในช่วงท้ายของครึ่งแรก[9]

ในการแข่งขันนัดที่ 3 ของฤดูกาล อาร์เซนอล พบกับ ลิเวอร์พูล ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม ซึ่งผลการแข่งขันเสมอกัน 0-0 ประตู แปเตอร์ แช็คกลับเล่นได้อย่างโดดเด่น สามารถป้องกันลูกยิงของผู้เล่นลิเวอร์พูลได้หลายต่อหลายครั้ง [10]

จนถึงวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2015 ที่การซื้อขายผู้เล่นในทวีปยุโรปจบลง อาร์เซนอลถือเป็นสโมสรเดียวในอังกฤษและทวีปยุโรปที่มีการซื้อตัวผู้เล่นมาเพียงคน��ดียว และเป็นตำแหน่งที่มิใช่ผู้เล่นตัวรุกด้วย คือ แปเตอร์ แช็ค[11]

ในการแข่งขันนัดที่ 8 ของฤดูกาล อาร์เซนอล พบกับ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม แช็คเล่นได้อย่างยอดเยี่ยม สามารถป้องกันลูกยิงอันตรายหลายครั้งของผู้เล่นแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้ ทำให้อาร์เซนอลชนะไป 3-0 ประตู และแซงแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดขึ้นไปเป็นทีมรองในอันดับตารางคะแนน โดยมีแต้มห่างจากทีมนำ คือ แมนเชสเตอร์ซิตี แค่ 2 แต้มเท่านั้น[12]

ในการแข่งขันนัดที่ 19 ของฤดูกาล อาร์เซนอล พบกับ บอร์นมัท ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม อาร์เซนอลชนะไป 2-0 ประตู ทำให้ขึ้นนำเป็นที่หนึ่งในตารางคะแนน ซึ่งเป็นช่วงครึ่งฤดูกาลพอดี และทำให้แช็คได้ทำสถิติใหม่ คือ เป็นผู้รักษาประตูที่ไม่เสียประตูเลยรวมทั้งสิ้น 170 นัด มากที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก จากการลงเล่น 352 นัด แซงหน้าเดวิด เจมส์ ที่ทำไว้ 169 ประตู จากการลงเล่น 572 นัด[13]

2016–17

[แก้]

ก่อนเริ่มฤดูกาล ในระดับทีมชาติ แช็คประกาศเลิกเล่นให้กับทีมชาติสาธารณรัฐเช็ก หลังจากฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ที่ฝรั่งเศส ซึ่งสาธารณรัฐเช็กตกรอบแรก หลังจากติดทีมชาติมาตั้งแต่ปี 2002 รวมเป็นการลงเล่นทั้งหมด 124 นัด[14]

ในนัดที่ 4 ของฤดูกาล ที่อาร์เซนอลพบกับเซาแทมป์ตัน ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม แช็คทำลูกเข้าประตูตัวเองในนาทีที่ 18 จากลูกฟรีคิกของดูซาน ทาดิช แช็คปัดลูกไปชนคานบนแล้ว แต่ทว่าลูกกลับปะทะกับหลังของแช็คเข้าประตูไป ทำให้เซาแทมป์ตันออกนำไปก่อน 0-1[15]

เกียรติประวัติ

[แก้]
เชลซี
อาร์เซนอล
นานาชาติ
รางวัลส่วนบุคคล
  • ผู้รักษาประตูยอดเยี่ยมลีกเอิงประจำปี 2003-2004
  • พีเอฟเอ ทีม ออฟ เดอะ เยียร์ 2005
  • ผู้รักษาประตูที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2005
  • รางวัลถุงมือทอง บาร์เคลย์ ปี 2004-2005, 2009-2010
  • ผู้เล่นประจำเดือนของพรีเมียร์ลีก ธันวาคม 2005, มีนาคม 2007
  • นักฟุตบอลชาวเช็กประจำปี 2005, 2008, 2009, 2010
  • ลูกฟุตบอลทองคำ (เช็ก) 2005-2008, 2010, 2012
  • ยูฟ่า ผู้รักษาประตูที่ดีที่สุดในยุโรป 2005, 2007, 2008
  • ยูฟ่า ผู้รักษาที่ดีที่สุดประจำทีม 2003, 2005, 2007, 2008
  • อีเอสเอ็ม ทีมประจำปี 2004-2005, 2005-2006, 2006-2007, 2007-2008
  • เวิร์ลด์ ฟุตบอล ชาลเล้นจ์ 2009
  • ผู้เล่นประจำปีของเชลซี : รางวัลพิเศษมอบให้ แช็ค เนื่องจาก อาการบาดเจ็บขั้นรุนแรงที่ปะทะกับ สตีเฟ่น ฮันท์ ในปี 2006

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Petr Čech" (ภาษาเยอรมัน). German Football Association. สืบค้นเมื่อ 24 April 2019.
  2. "สุดสยอง! เผยภาพสแกนกะโหลก "เช็ก" ครั้งแรก". ผู้จัดการออนไลน์. 20 May 2008. สืบค้นเมื่อ 30 June 2015.[ลิงก์เสีย]
  3. "เช็ก เผยตำแหน่งแรกในชีวิตก่อนเฝ้าเสา". arsenal.in.th. 2 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2 August 2015.
  4. "ชูเสื้อแล้ว! 'ปืนใหญ่' ประกาศคว้า 'เช็ก' เฝ้าเสา". ไทยรัฐ. 29 June 2015. สืบค้นเมื่อ 30 June 2015.
  5. "แฟนเชลซีเดือด! เผาเสื้อ 'เช็ก' หลังย้ายซบปืน (ชมคลิป)". ไทยรัฐ. 30 June 2015. สืบค้นเมื่อ 30 June 2015.
  6. ""เช็ก" ถือฤกษ์ สวมเบอร์ 33 เฝ้าเสาปืน". ผู้จัดการออนไลน์. 12 July 2015. สืบค้นเมื่อ 12 July 2015.[ลิงก์เสีย]
  7. ""เช็ก" โดนเปิดซิง แต่ปืนชนะ 3-1 แชมป์เอเชีย". ผู้จัดการออนไลน์. 18 July 2015. สืบค้นเมื่อ 3 August 2015.[ลิงก์เสีย]
  8. "5 สิ่งหลังเกมปืน-สิงห์จากศึก คอมมูนิตี ชิลด์". arsenal.in.th. 3 August 2015. สืบค้นเมื่อ 3 August 2015.[ลิงก์เสีย]
  9. ""เช็ก" เหวอ "ปืนโต" โดน "ค้อน" บุกทุบแหลกคาถิ่น 0-2". ผู้จัดการออนไลน์. 9 August 2015. สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.[ลิงก์เสีย]
  10. "สัมภาษณ์หลังเกมเจ๊าหงส์". arsenal.in.th. 24 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 25 August 2015.
  11. "พี่ห้อยเชื่อ เวนเกอร์ ตั้งใจหานักเตะใหม่ก่อนล้มเหลววันปิดตลาด". arsenal.in.th. 2 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 3 September 2015.
  12. "คะแนนนักเตะ อาร์เซนอล รัวโหดผีแดง 3-0". arsenal.in.th. 5 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 5 October 2015.
  13. ""ปีเตอร์ เช็ก" ทำสถิติคลีนชีตมากสุดพรีเมียร์ลีก". นาว 26. 30 October 2015. สืบค้นเมื่อ 29 October 2015.[ลิงก์เสีย]
  14. "เช็ก ประกาศอำลาทีมชาติอย่างเป็นทางการ". arsenal.in.th. July 8, 2016. สืบค้นเมื่อ July 9, 2016.[ลิงก์เสีย]
  15. หน้า 14 กีฬา ต่อจากหน้า 16, เรือเฮส่งผีลงหลุม ทะยานขึ้นจ่าฝูง. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,440: วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]