ประเทศปาเลา
สาธารณรัฐปาเลา Republic of Palau (อังกฤษ) Beluu er a Belau (ปาเลา) | |
---|---|
คำขวัญ: Rainbow's End | |
เพลงชาติ: เบเลา เรกิด (ปาเลาของเรา) | |
เมืองหลวง | เงรุลมุด 7°30′N 134°37′E / 7.500°N 134.617°E |
เมืองใหญ่สุด | คอรอร์ 7°20′N 134°29′E / 7.333°N 134.483°E |
ภาษาราชการ | ภาษาอังกฤษและภาษาปาเลา |
ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอาเงาร์ (ในรัฐอาเงาร์) ภาษาซอนโซรัล (ในรัฐซอนโซรัล) ภาษาโตบี (ในรัฐฮาโตโฮเบย์) | |
การปกครอง | สาธารณรัฐ |
• ประธานาธิบดี | Surangel Whipps Jr. |
• รองประธานาธิบดี | Uduch Sengebau Sr. |
พื้นที่ | |
• รวม | 459 ตารางกิโลเมตร (177 ตารางไมล์) (179th) |
น้อยมาก | |
ประชากร | |
• พ.ศ. 2560 ประมาณ | 21,503[1] (224) |
• สำมะโนประชากร 2013 | 20,918 |
46.7 ต่อตารางกิโลเมตร (121.0 ต่อตารางไมล์) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2018 (ประมาณ) |
• รวม | $300 ล้าน[2] |
• ต่อหัว | $16,296[2] (81) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2018 (ประมาณ) |
• รวม | $322 ล้าน[2] |
• ต่อหัว | $17,438[2] |
เอชดีไอ (2019) | 0.826[3] สูงมาก · อันดับที่ 50 |
สกุลเงิน | ดอลลาร์สหรัฐ (USD) |
เขตเวลา | UTC+ 9 |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | ไม่ใช้ |
รูปแบบวันที่ | วว/ดด/ปปปป |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +680 |
รหัส ISO 3166 | PW |
โดเมนบนสุด | .pw |
ปาเลา (อังกฤษ: Palau; ปาเลา: Belau) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐปาเลา (อังกฤษ: Republic of Palau; ปาเลา: Beluu er a Belau[4]) เป็นประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วยเกาะ 340 เกาะทางตะวันตกของหมู่เกาะแคโรไลน์ เนื้อที่รวมประมาณ 466 ตารางกิโลเมตร[5] เกาะที่มีประชากรมากที่สุดคือคอรอร์ เมื่องหลวงชื่อเงรุลมุด มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับประเทศไมโครนีเชียทางตะวันออก ประเทศอินโดนีเซียทางใต้ และประเทศฟิลิปปินส์ทางตะวันออกเฉียงหนือ ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2537 เป็นหนึ่งในชาติที่ใหม่ที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุดในโลก
ประวัติศาสตร์
[แก้]สันนิษฐานว่าชนพื้นเมืองของปาเลาเป็นพวกที่อพยพมาจากหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ส่วนชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางมาถึงปาเลาเป็นชาวสเปน แต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานจริงจังจนกระทั่งเรือของอังกฤษอัปปางนอกฝั่งปาเลา จึงทำให้ชาวอังกฤษเริ่มรู้จักเกาะนี้ และกลายเป็นคู่ค้าหลัก ในขณะเดียวกันโรคติดต่อที่มาจากชาวยุโรปก็คร่าชีวิตชาวเกาะเป็นจำนวนมาก
ต่อมาชาวสเปนได้มีอำนาจเหนือปาเลา แต่ภายหลังได้ขายหมู่เกาะนี้ให้แก่เยอรมนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีและบุกเข้ายึดครองปาเลาให้อยู่ภายใต้อำนาจจักรวรรดิญี่ปุ่นและได้โยกย้ายประชากรให้ไปอาศัยอยู่เกาะต่าง ๆ ของปาเลา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปาเลาจึงกลายเป็นสนามรบระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามสหรัฐอเมริกาเริ่มมีอำนาจแทนญี่ปุ่น ปาเลาต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาเกือบทุกด้าน หลังจากได้รับเอกราช ก็ยังได้รับการช่วยเหลือทางการเงินและการป้องกันจากสหรัฐอเมริกา
การเมือง
[แก้]ปาเลามีประธานาธิบดีซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเป็นทั้งประมุขของประเทศและหัวหน้าคณะรัฐบาลทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ปาเลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 16 หน่วยย่อย เรียกว่ารัฐ (states):
- กายาเงล (Kayangel)
- คอรอร์ (Koror)
- งเอซาร์ (Ngchesar)
- งัตปัง (Ngatpang)
- งาร์เอลอง (Ngarchelong)
- งาร์ดเมา (Ngardmau)
- งาราร์ด (Ngaraard)
- งีวัล (Ngiwal)
- เงเรมเลงุย (Ngeremlengui)
- ซอนโซรัล (Sonsoral)
- เปเลลิว (Peleliu)
- เมเลเกอ็อก (Melekeok)
- อาเงาร์ (Angaur)
- ไอเมลีก (Aimeliik)
- ไอไร (Airai)
- ฮาโตโบเฮย์ (Hatobohei)
ภูมิศาสตร์
[แก้]ภูมิประเทศ
[แก้]ประกอบด้วยหมู่เกาะ 26 เกาะ และมีเกาะเล็ก ๆ อีกประมาณ 300 เกาะ
ภูมิอากาศ
[แก้]ฝนตกชุก และอากาศร้อนตลอดปี
เศรษฐกิจ
[แก้]ปาเลาเป็นประเทศหมู่เกาะที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและมาตรฐานชีวิตที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศหมู่เกาะในแปซิฟิกด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามยังมีการกระจุกตัวของรายได้[ต้องการอ้างอิง] ทั้งนี้ รายได้หลักมาจากการ ท่องเที่ยว เกษตรกรรม การประมง โดยรัฐบาลเป็นผู้สร้างและจ้างงานหลัก ปาเลายังคงพึ่งพาเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาจากสหรัฐฯ และการประกอบธุรกิจจากนักลงทุนสหรัฐฯ ซึ่งทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัว อยู่ในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับสหพันธรัฐไมโครนีเซีย
ประชากร
[แก้]ปาเลา ร้อยละ 70 ชาวเอเชีย ร้อยละ 28 อื่น ๆ ร้อยละ 2 ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ประชากรรู้หนังสือร้อยละ 98 ประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมืองร้อยละ 71
วัฒนธรรม
[แก้]เป็นแบบวัฒนธรรมแบบชาวไมโครนีเซีย และก็ได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกเป็นอย่างมากแม้กระทั่งภาษาพูด และศาสนา ในฐานะอดีตเคยเป็นเมืองขึ้น ส่วนญี่ปุ่นเองก็มีส่วนสร้างวัฒนธรรมของชาวปาเลา เช่น ภาษาญี่ปุ่น ส่วนมากพูดกันในเกาะอาเงาร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Palau". www.imf.org.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ Constitution of Palau เก็บถาวร 26 พฤษภาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (PDF). palauembassy.com. Retrieved 1 June 2013.
- ↑ "Statistical Yearbook 2015". Republic of Palau Bureau of Budget and Planning Ministry of Finance (1 February 2016). Retrieved on 21 August 2018.