ปรากฏการณ์ขบวนแห่
ปรากฏการณ์ขบวนแห่ (อังกฤษ: bandwagon effect) เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลจะเริ่มพฤติกรรม ออกสไตล์ หรือมีทัศนคติบางอย่างเพียงเพราะว่า คนอื่น ๆ ก็ทำหรือมีด้วยเช่นกัน[1]
นี่เป็นความเอนเอียงทางประชานที่มติหรือพฤติกรรมของมหาชนสามารถเปลี่ยนไปได้เนื่องกับการปลุกระดมให้กระทำหรือให้เชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง[2] เป็นปรากฏการณ์ทางจิตที่การรับเอาความเชื่อ แนวคิด แฟชั่นสมัยนิยม และเทรนด์สามารถเพิ่มขึ้นเพราะเหตุที่มีคนยอมรับมากขึ้น[3] คือ เมื่อคนเริ่มเชื่ออะไรบางอย่างมากขึ้น ก็จะมีคนมาตามขบวนแห่ไม่ว่าจะมีหลักฐานที่สมเหตุสมผลกันหรือไม่
การทำตามหรือเชื่อตามคนอื่นเกิดเพราะบุคคลต้องการจะเหมือนกับคนอื่น หรือเพราะได้ข้อมูลจากคนอื่น อิทธิพลของปรากฏการณ์นี้โดยมากมาจากความต้องการเข้ากับสังคมได้ เพราะเมื่อเลือกทำเลือกเชื่อสิ่งเดียวกันกับคนอื่น ก็จะทำให้เข้ากับกลุ่มสังคมนั้นได้[4] ตัวอย่างก็คือเทรนด์แฟชั่น ที่ความนิยมยิ่ง ๆ ขึ้นของเสื้อผ้าอย่างหนึ่ง หรือสไตล์แบบหนึ่ง ทำให้คนเข้าร่วมขบวนแห่มากขึ้น[5]
เมื่อบุคคลเลือกทำตามเหตุผลโดยได้ข้อมูลจากคนอื่น นักเศรษฐศาสตร์เสนอว่า จะเกิดการสืบต่อข้อมูลเป็นหลั่น ๆ (information cascade) ในสังคม ซึ่งบุคคลจะละเลยข้อมูลที่ตนมีแล้วทำตามคนอื่น[6] เหตุการณ์สืบต่อเป็นหลั่น ๆ อธิบายได้ว่า ทำไมพฤติกรรมจึงไม่ค่อยแน่นอนเพราะทุกคนเข้าใจว่าพฤติกรรมของตนอาศัยข้อมูลที่จำกัดมาก ดังนั้น แฟชั่นสมัยนิยมจึงเกิดได้ง่าย แต่ก็ล้มลงได้ง่ายเช่นกัน
ปรากฏการณ์นี้ตรวจพบในวิชาการหลายสาขา เช่น เศรษฐศาสตร์ การเมือง แพทยศาสตร์ และจิตวิทยา[7] ในจิตวิทยาสังคม ความโน้มเอียงที่บุคคลจะปรับความเชื่อและพฤติกรรมให้เข้ากับบุคคลในกลุ่มเรียกว่า herd mentality หรือ groupthink[8] ส่วนปรากฏการณ์ตรงกันข้ามคือ reverse bandwagon effect หรือ snob effect (ปรากฏการณ์หยิ่ง) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่ทำให้บุคคลหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเพราะเชื่อว่า คนอื่นมีพฤติกรรมเช่นนั้น[9]
กำเนิด
[แก้]แต่การใช้คำอุปมาว่า bandwagon เริ่มขึ้นในปี 1848[10] รถแห่ (bandwagon) ก็คือรถที่วงดนตรีขี่ไปในขบวนแห่ ในวงละครสัตว์ หรือในเหตุการณ์บันเทิงอื่น ๆ[11][12]
คำว่า "jump on the bandwagon" (กระโดดขึ้นรถขบวนแห่) เริ่มใช้อย่างนิยมเป็นครั้งแรกในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปี 1848 เนื่องกับนายแซคารี เทย์เลอร์ เพราะตัวตลกละครสัตว์ที่มีชื่อเสียงในเวลานั้นคือนายแดน ไรซ์ ได้เชื้อเชิญให้นายเทย์เลอร์ขึ้นรถขบวนแห่ละครสัตว์ของเขา เมื่อนายเทย์เลอร์ได้รับความนิยมมากขึ้น และการหาเสียงของเขาประสบความสำเร็จยิ่ง ๆ ขึ้น ก็เลยเริ่มกล่าวกันว่า คู่แข่งของนายเทย์เลอร์น่าจ��� "กระโดดขึ้นรถขบวนแห่" เช่นกันถ้าต้องการจะประสบความสำเร็จเหมือน ๆ กัน
ต่อมาในปี 1900 ขบวนรถแห่จึงกลายเป็นปกติในการหาเสียงประธานาธิบดีสหรัฐ[13] หลังจากนั้น คำนี้จึงเริ่มใช้ในทางที่ไม่ดี เพราะแสดงนัยว่า เป็นคนที่สัมพันธ์ตัวเองกับความสำเร็จโดยไม่ได้คำนึงว่าไปเกี่ยวข้องกันในเรื่องอะไร
แม้จะมีกำเนิดเช่นนี้ แต่ตัวปรากฏการณ์เองก็ยังไม่ได้การศึกษาทางวิทยาศาสตร์จนกระทั่งไม่กี่ทศวรรษก่อน[12] การทดลองที่ดังสุดในเรื่องนี้เป็นของนักจิตวิทยาชาวโปแลนด์-อเมริกันในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950[14][9] แต่ต้องมาถึงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่การศึกษาทางวิชาการกลายเป็นที่นิยมเป็นพิเศษ เมื่อนักวิชาการศึกษาผลของโพล์มติมหาชนที่มีต่อความคิดเห็นของผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง[10]
เหตุปัจจัย
[แก้]ความกดดันและธรรมเนียมทางสังคมมีอิทธิพลต่อมนุษย์แต่ละคนเป็นอย่างมาก เมื่อแนวคิดหรือความเชื่อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น บุคคลมีโอกาสยอมรับมันเพิ่มขึ้น เมื่อดูเหมือนว่าทุกคนต่างทำอะไรอย่างหนึ่ง ๆ ก็จะมีความกดดันสูงให้ทำตาม[1] โดยความรู้สึกว่ามติหรือความชอบใจของมหาชนนั้นคืออะไรมีแหล่งที่มาหลายแหล่ง
เหตุบางอย่างที่ก่อปรากฏการณ์นี้รวมทั้ง
- ประสิทธิภาพ คือการทำตามคนอื่นเป็นทางลัดการตัดสินใจ (คือ ฮิวริสติก) อย่างหนึ่ง ทำให้ตัดสินใจได้เร็ว เพราะปกติจะเสียเวลาในการประเมินพฤติกรรมหรือแนวคิดแล้วตัดสินใจว่าควรจะทำอะไร[10]
- อิทธิพลทางสังคมให้เป็นเหมือนคนอื่น (normative social influence) คือบุคคลมักจะปรับตัวให้เหมือนคนอื่นเพื่อให้เข้าสังคมได้และได้การยอมรับทางสังคม[9] ดังนั้น บุคคลจึงยอมประพฤติหรือมีแนวคิดเช่นเดียวกันกับกลุ่มสังคมเพื่อไม่ให้แปลกต่างกับคนอื่น[1][10]
- Informational Social Influence (อิทธิพลทางสังคมเกี่ยวกับการมีข้อมูล) คือ บุคคลมักจะทำตามคนอื่นเพราะต้องการจะอยู่ในฝ่ายถูกต้อง โดยสมมติว่า คนอื่น ๆ อาจรู้อะไรมากกว่า หรืออาจเข้าใจสถานการณ์fuกว่า[9] กล่าวอีกอย่างก็คือ บุคคลจะสนับสนุมความเชื่อยอดนิยมเพราะคนส่วนมากเห็นว่าถูกต้อง[10] อนึ่ง เมื่อปรากฏว่าคนโดยมากมีพฤติกรรมอย่างหนึ่ง การไม่ทำเช่นเดียวกันอาจยากขึ้นเรื่อย ๆ[1] เมื่อบุคคลเลือกทำตามเหตุผลโดยได้ข้อมูลจากคนอื่น นักเศรษฐศาสตร์เสนอว่า จะเกิดการสืบต่อข้อมูลเป็นหลั่น ๆ (information cascade) ในสังคม ซึ่งบุคคลละเลยข้อมูลที่ตนมีแล้วทำตามคนอื่น[6]
- กลัวว่าจะพลาดโอกาส คือกลัวว่าจะพลาดโอกาสในสิ่งที่บุคคลอื่นได้จากการกระทำ จึงอาจถูกครอบงำโดยปรากฏการณ์นี้ได้ง่าย[9]
- ต้องการจะอยู่ในฝ่ายชนะ ซึ่งจะทำให้เสี่ยงให้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของปรากฏารณ์นี้ เช่น เมื่อลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแก่ผู้สมัครที่กำลังนำคะแนน[9][10]
การกระจาย
[แก้]ปรากฏการณ์นี้มีกลไกเป็นผลสะท้อนกลับอันเสริมแรงตนเอง กระจายไปได้อย่างรวดเร็วอย่างกว้างขวางโดยเป็นการป้อนกลับเชิงบวก ซึ่งเมื่อมีคนได้รับอิทธิพลเพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งเพิ่มทำให้คนอื่น ๆ ได้รับอิทธิพลด้วย[7][9] แนวคิดใหม่ ๆ ที่แรกเริ่มได้การโปรโหมตจากคน ๆ เดียวหรือคนกลุ่มน้อย ๆ สามารถขยายกลายเป็นเรื่องยอดนิยม แม้จะไม่มีหลักฐานอะไรมายืนยันความคิดนั้น ๆ คือ แนวคิดหนึ่งเริ่มต้นอาจมีคนติดตามเป็นกลุ่มน้อย ๆ แล้วก็ขยายจนกระทั่งถึงขีดที่ทำให้สื่อหลัก ๆ เริ่มกล่าวถึงแนวคิดนั้น ๆ ต่อจากนั้นก็จะเกิดปรากฏการณ์นี้ที่แพร่ไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้คนสนับสนุนแนวคิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจเป็นผลของกระบวนการ availability cascade เป็นกระบวนการอันเสริมกำลังตนเองที่ความเชื่อบางอย่างเพิ่มความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคม[9]
ตัวอย่างจริง
[แก้]ปรากฏการณ์นี้เกิดในการลงคะแนนเสียง[15] สามารถเกิดในระดับบุคคล คือเมื่อเปลี่ยนใจลงคะแนนเสียงเมื่อผู้สมัครรรับเลือกตั้ง[16] หรือนโยบายที่ลงคะแนนให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น[17] ที่เปลี่ยนใจก็เพราะต้องการอยู่ฝ่ายชนะ[18] ซึ่งเกิดบ่อยกว่าเมื่อลงคะแนนเสียงแบบไม่ลับ หรือเมื่อมีการเผยแพร่การลงคะแนนเสียงอย่างกว้างขวาง[19]
ปรากฏกการณ์นี้พบได้ในระบบที่นับคะแนนเสียงส่วนมาก เช่น ที่พบทางการเมือง เมื่อบุคคลเปลี่ยนความเห็นตนให้เหมือนกับคนส่วนมาก[20] ซึ่งอาจเกิดเพราะบุคคลอนุมานหาเหตุผลอาศัยสิ่งที่คนอื่นเลือก[21] เช่น "ฉันมีโอกาสผิดพลาดมากกว่าที่คนทั้งหมดนี้จะผิดพลาด"
สำหรับประเทศที่ให้อาสาสมัครทำงานร่วมกับนักการเมือง ความรู้สึกว่าพรรคไหนหรือใครเป็นที่นิยมอาจทำให้เลือกบริจาคเงินหรือร่วมเป็นอาสาสมัครให้ คือจะทำให้แก่นักการเมืองที่รู้สึกว่าเป็นที่นิยมและมีโอกาสได้รับเลือกตั้ง จึงทำให้นักการเมืองเหล่านั้นสามารถหาเสียงเลือกตั้งที่มีประสิทธิผลยิ่ง ๆ ขึ้น[12]
ในเศรษฐศาสตร์
[แก้]นักเศรษฐศาสตร์อเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบลแกรี่ เบ็กเกอร์อ้างว่า ปรากฏการณ์นี้มีอิทธิพลมากพอเปลี่ยนเส้นโค้งอุปสงค์ (demand curve) ให้กลับโค้งขึ้นได้ เส้นโค้งอุปสงค์ปกติจะโค้งลง คือเมื่อราคาสูงขึ้น อุปสงค์หรือความต้องการสิ่งนั้น ๆ ก็จะลดลง แต่ตามเบ็เกกอร์ เส้นโค้งที่โค้งขึ้นเท่ากับบอกว่า แม้เมื่อราคาจะสูงขึ้น แต่อุปสงค์ก็ยังเพิ่มขึ้นได้[7]
ตลาดการเงิน
[แก้]ปรากฏการณ์นี้พบในตลาดการเงินโดยลักษณะ 2 อย่าง อย่างแรกก็คือภาวะราคาฟองสบู่ ฟองสบู่มักเกิดในตลาดการงินที่ราคาของหลักทรัพย์ยอดนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อนักลงทุนเข้าแถวประมูลซื้อหลักทรัพย์แล้วทำให้ราคาเพิ่มขึ้น ก็กลับทำให้หลักทรัพย์น่าสนใจยิ่ง ๆ ขึ้น จนกระทั่งราคาพุ่งเกินขอบเขต ทำให้หลักทรัพย์มีมูลค่าทางตลาดเกินจริง[7]
อย่างที่สองคือสภาพคล่องที่ลดลง คือเมื่อมีเหตุการณ์หรือมีข่าวที่ไม่คาดฝัน นักลงทุนมักจะหยุดซื้อขายหลักทรัพย์จนกระทั่งเหตุการณ์ชัดเจนขึ้น ซึ่งลดจำนวนผู้ซื้อผู้ขายในตลาด และลดความคล่องตัวอย่างสำคัญ แล้วทำให้กระบวนการกำหนดราคา (price discovery) บิดเบือนไป ทำให้ราคาหลักทรัพยเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ เพิ่มความแตกตื่น เพิ่มความไม่แน่นอน แล้วก่อวงจรต่อ ๆ กันไป[7]
เศรษฐศาสตร์จุลภาค
[แก้]ในเศรษฐศาสตร์จุลภาค ปรากฏการณ์อาจมีผลต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์กับความชอบใจ[22] ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อความชอบใจซื้อสินค้าโภคภัณฑ์อย่างหนึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อจำนวนคนที่ซื้อเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคอาจเลือกผลิตภัณฑ์อาศัยความชอบใจของผู้อื่นโดยเชื่อว่ามันดีกว่า ซึ่งอาจเกิดเพราะเห็นคนอื่นซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ หรือเห็นว่า สินค้าขาดแคลนเทียบกับสินค้าอื่น ๆ เพราะคนอื่นได้ซื้อของนั้นไปแล้ว นี้เห็นได้กับร้านอาหารที่มีลูกค้ามาก แล้วทำให้ผู้อื่นมองว่าร้านนั้นต้องอร่อยกว่าร้านอื่น[4] ปฏิสัมพันธ์เช่นนี้อาจมีผลบิดเบือนค่าพยากรณ์ของทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานซึ่งสมมุติว่า ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าโดยอาศัยราคาและความชอบใจของตนเท่านั้น[7]
ในการแพทย์
[แก้]การตัดสินใจของแพทย์ก็อาจได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์นี้ด้วย โดยเฉพาะก็คือ มีวิธีการแพทย์ในอดีตซึ่งได้นิยมใช้อย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจุบันได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่สมเหตุผล ศาสตราจารย์กิตติคุณทางศัลยศาสตร์ชาวอเมริกันที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน[23] ได้เรียกวิธีการแพทย์เช่นนี้ว่า medical bandwagons (ขบวนแห่การแพทย์) ซึ่งเขานิยามว่า เป็นการยอมรับอย่าล้นหลามซึ่งแนวคิด (ทางการแพทย์) ที่ไม่ได้พิสูจน์แต่เป็นที่นิยม[10] ทำให้นำไปใช้รักษาคนไข้มากมายอย่างไม่สมควร และยังขัดขวางการพัฒน���วิธีการรักษาที่สมควรอีกด้วย[24]
งานศึกษาหนึ่งในปี 1979 เกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ทางการแพทย์ระบุว่า แนวคิดหรือการรักษาทางการแพทย์ใหม่ ๆ สามารถแพร่กระจายจนเป็นปกติ นี่เป็นอิทธิพลของปรากฏการณ์นี้ โดยอาจเป็นไปตามลำดับเช่นนี้คือ[25]
- สื่อข่าวพบวิธีการรักษาใหม่แล้วเผยแพร่ โดยมักตีพิมพ์บทความหลายบท
- องค์กรต่าง ๆ รวมทั้งองค์กรของรัฐ มูลนิธิที่สนับสนุนงานวิจัย และบริษัทเอกชนก็โปรโหมตการรักษานี้ด้วย โดยเฉพาะเมื่อมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
- มวลชนรับรู้เรื่องการรักษาใหม่นี้ แล้วกดดันให้แพทย์ใช้รักษา โดยเฉพาะเมื่อการรักษานี้เป็นของใหม่
- แพทย์มักจะต้องการยอมรับการรักษาใหม่ เพราะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดึงดูดใจสำหรับปัญหาที่แก้ยาก
- เพราะแพทย์ต้องรวมรวมข้อมูลทางการแพทย์อย่างมหาศาลเพื่อให้ทันสมัยในหลักวิชาของตน ๆ บางครั้ง จึงคิดวิเคราะห์เรื่องใหม่ ๆ อย่างไม่เพียงพอ
ในกีฬา
[แก้]บุคคลที่สนับสนุนทีมกีฬาหนึ่ง ๆ โดยไม่เคยสนใจมาก่อนจนกระทั่งทีมนั้นเริ่มประสบความสำเร็จ อาจจัดได้ว่าเป็นแฟนขบวนแห่[26]
ในเครือข่ายสังคม
[แก้]เมื่อมีคนใช้เว็บไซต์หรือแอ็ปเครือข่ายสังคมหนึ่ง ๆ มากขึ้น ก็จะทำให้คนอื่น ๆ มีโอกาสยิ่ง ๆ ขึ้นที่จะใช้เว็บไซต์หรือแอ็ปนั้น ๆ โดยเฉพาะเมื่อเห็นว่า สามารถเข้าถึงคนรู้จักออฟไลน์ของตนหลายคน[27]
ในแฟชั่น
[แก้]ปรากฏการณ์นี้มีอิทธิพลต่อแฟชั่นและเทรนด์แฟชั่น เพราะคนมักจะต้องใส่เสื้อผ้าให้ทันสมัย โดยมักจะได้รับอิทธิพลจากบุคคลที่ตนเห็นบ่อย ๆ เช่นคนดัง คนในสื่อมวลชนเช่นนั้นมักเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดสไตล์แฟชั่นปัจจุบัน เมื่อมีคนกลุ่มน้อยเริ่มเลียนแบบคนดังคนหนึ่ง คนอื่นก็มีโอกาสเลียนแบบมากขึ้นเพราะความกดดันทางสังคม หรือความต้องการเข้าสังคม หรือให้คนอื่นยอมรับ[ต้องการอ้างอิง]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Kiss, Áron; Simonovits, Gábor (2014). "Identifying the bandwagon effect in two-round elections". Public Choice. 160 (3/4): 327–344. doi:10.1007/s11127-013-0146-y. JSTOR 24507550. S2CID 155059990.
- ↑ Schmitt‐Beck, Rüdiger (2015), "Bandwagon Effect", The International Encyclopedia of Political Communication (ภาษาอังกฤษ), American Cancer Society, pp. 1–5, doi:10.1002/9781118541555.wbiepc015, ISBN 978-1-118-54155-5, สืบค้นเมื่อ 2021-04-25
- ↑ Colman, Andrew (2003). Oxford Dictionary of Psychology. New York: Oxford University Press. p. 77. ISBN 0-19-280632-7.
- ↑ 4.0 4.1 van Herpen, Erica; Pieters, Rik; Zeelenberg, Marcel (2009). "When demand accelerates demand: Trailing the bandwagon". Journal of Consumer Psychology. 19 (3): 302–312. doi:10.1016/j.jcps.2009.01.001. ISSN 1057-7408. JSTOR 45106190.
- ↑ D. Stephen Long; Nancy Ruth Fox (2007). Calculated Futures: Theology, Ethics, and Economics. Baylor University Press. p. 56. ISBN 978-1-60258-014-5. สืบค้นเมื่อ 2013-08-30.
- ↑ 6.0 6.1 Bikhchandani, Sushil; Hirshleifer, David; Welch, Ivo (1992). "A Theory of Fads, Fashion, Custom, and Cultural Change as Informational Cascades" (PDF). Journal of Political Economy. 100 (5): 992–1026. CiteSeerX 10.1.1.728.4791. doi:10.1086/261849. JSTOR 2138632. S2CID 7784814.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 "Bandwagon Effect - Overview, Economics and Finance, Examples". Corporate Finance Institute (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
- ↑ Bloom, Linda (2017-08-11). "The Bandwagon Effect | Psychology Today Canada". Psychology Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 9.7 "The Bandwagon Effect: Why People Tend to Follow the Crowd". Effectiviology (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 "Bandwagon Effect - Biases & Heuristics". The Decision Lab (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
- ↑ "Bandwagon". Dictionary.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12. สืบค้นเมื่อ 2007-03-09.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Schmitt‐Beck, Rüdiger (2015). "Bandwagon Effect". The International Encyclopedia of Political Communication. pp. 1–5. doi:10.1002/9781118541555.wbiepc015. ISBN 9781118290750. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-15.
- ↑ "Bandwagon Effect". สืบค้นเมื่อ 2007-03-09.
- ↑ Asch, Solomon. [1951] 1983. "Effects of Group Pressure upon the Modification and Distortion of Judgments." Pp. 260-70 in Organizational Influence Processes, edited by R. W. Allen and L. W. Porter. Glenview, IL: Scott, Foresman, and Company.
- ↑ Nadeau, Richard; Cloutier, Edouard; Guay, J.-H. (1993). "New Evidence About the Existence of a Bandwagon Effect in the Opinion Formation Process". International Political Science Review. 14 (2): 203–213. doi:10.1177/019251219301400204. S2CID 154688571.
- ↑ Barnfield, Matthew (2020-11-01). "Think Twice before Jumping on the Bandwagon: Clarifying Concepts in Research on the Bandwagon Effect". Political Studies Review (ภาษาอังกฤษ). 18 (4): 553–574. doi:10.1177/1478929919870691. ISSN 1478-9299. S2CID 203053176.
- ↑ Farjam, Mike (2020-06-14). "The Bandwagon Effect in an Online Voting Experiment With Real Political Organizations". International Journal of Public Opinion Research (ภาษาอังกฤษ). 33 (2): 412–421. doi:10.1093/ijpor/edaa008.
- ↑ Henshel, Richard L.; Johnston, William (1987). "The Emergence of Bandwagon Effects: A Theory". The Sociological Quarterly. 28 (4): 493–511. doi:10.1111/j.1533-8525.1987.tb00308.x. ISSN 0038-0253. JSTOR 4120670.
- ↑ Zech, Charles E. (1975). "Leibenstein's Bandwagon Effect as Applied to Voting". Public Choice. 21: 117–122. doi:10.1007/BF01705954. ISSN 0048-5829. JSTOR 30022807. S2CID 154398418.
- ↑ McAllister, Ian; Studlar, Donley T. (1991). "Bandwagon, Underdog, or Projection? Opinion Polls and Electoral Choice in Britain, 1979-1987". The Journal of Politics. 53 (3): 720–740. doi:10.2307/2131577. JSTOR 2131577. S2CID 154257577.
- ↑ "Beware of the bandwagon effect, other cognitive biases". dumaguetemetropost.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-24. สืบค้นเมื่อ 2017-12-08.
- ↑ Leibenstein, Harvey (1950). "Bandwagon, Snob, and Veblen Effects in the Theory of Consumers' Demand". Quarterly Journal of Economics. 64 (2): 183–207. doi:10.2307/1882692. JSTOR 1882692.
- ↑ Rikkers, L. (2002). "The Bandwagon Effect". Journal of Gastrointestinal Surgery. 6 (6): 787–794. doi:10.1016/s1091-255x(02)00054-9. PMID 12504215. S2CID 24723738.
- ↑ Paumgartten, Francisco José Roma (2016). "Phosphoethanolamine: anticancer pill bandwagon effect". Cadernos de Saúde Pública (ภาษาอังกฤษ). 32 (10): e00135316. doi:10.1590/0102-311X00135316. ISSN 0102-311X. PMID 27783758.
- ↑ Cohen, Lawrence; Rothschild, Henry (1979). "The Bandwagons of Medicine". Perspectives in Biology and Medicine. 22 (4): 531–538. doi:10.1353/pbm.1979.0037. PMID 226929.
- ↑ "bandwagon fan". Dictionary.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
- ↑ Fu, W. Wayne; Teo, Jaelen; Seng, Seraphina (2012). "The bandwagon effect on participation in and use of a social networking site". First Monday. 17 (5). doi:10.5210/fm.v17i5.3971. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-23.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Goidel, Robert K.; Shields, Todd G. (1994). "The Vanishing Marginals, the Bandwagon, and the Mass Media". The Journal of Politics. 56 (3): 802–810. doi:10.2307/2132194. JSTOR 2132194. S2CID 153664631.
- Mehrabian, Albert (1998). "Effects of Poll Reports on Voter Preferences". Journal of Applied Social Psychology. 28 (23): 2119–2130. doi:10.1111/j.1559-1816.1998.tb01363.x.
- Morwitz, Vicki G.; Pluzinski, Carol (1996). "Do Polls Reflect Opinions or Do Opinions Reflect Polls?". Journal of Consumer Research. 23 (1): 53–65. doi:10.1086/209466. JSTOR 2489665.
- Definition at Investopedia