ประพจน์ อัศววิรุฬหการ
ประพจน์ อัศววิรุฬหการ | |
---|---|
คณบดีคณะอักษรศาสตร์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2491ประเทศไทย |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประพจน์ อัศววิรุฬหการ เป็น กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา,กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา[1] นักวิชาการ นักภาษาศาสตร์ และ นักอักษรศาสตร์ชาวไทย
ประวัติ
[แก้]ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ เกิดที่ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณคดีบาลีและภาษาสันสกฤต พระไตรปิฎกฉบับภาษาจีน และพระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็น กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2]
ประวัติการศึกษา
[แก้]- จบชั้นประถมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเมืองอุทัยธานี
- จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวัดราชบพิธ มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- สำเร็จการศึกษาอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาบาลี-สันสกฤต จากภาควิชาภาษาตะวันออกคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จากคณะอักษรศาสตร์ สาขาเดียวกัน
- ได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล ไปศึกษาต่อด้านพุทธศาสน์ศึกษา ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา จนสำเร็จดุษฎีบัณฑิต ด้านพุทธศาสน์ศึกษา(PhD in Buddhist Studies)
- ก่อนไปทำปริญญาเอกที่อเมริกา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์เคยไปค้นคว้าวิจัยด้านพุทธศาสน์ศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส และหลังจากสำเร็จปริญญาเอกก็ได้ทุนไปทำวิจัยเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา
ความชำนาญพิเศษ
[แก้]พระพุทธศาสนา เถรวาท, พระพุทธศาสนามหายาน, ภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤต, พระไตรปิฎกภาษาจีน, พระพุทธศาสนาในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้, อิทธิพลความเชื่อทางศาสนาและปรัชญาในอินเดียที่มีต่อวรรณคดีไทย
ผลงานทางวิชาการ
[แก้]ผลงานที่สร้างชื่อให้ดร.ประพจน์เล่มแรกก็คือวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ที่นำเสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช โดยอธิบายอย่างละเอียดถึงความต่างระหว่างพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์ของฝ่ายเถรวาทและมหายาน หลังจากนั้นก็มีผลงานทางพระพุทธศาสนาที่เขียนขึ้นต่อยอดงานวิจัยอื่นๆ หลายเรื่อง วิทยานิพนธ์ที่นำเสนอต่อมหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์ในระดับปริญญาเอก ชื่อ "The Ascendency of Theravada Buddhism in Southeast Asia" นั้นเป็นงานที่น่าสนใจมากเพราะได้นำเอาประเด็น สุวรรณภูมิ มาวิเคราะห์อย่างละเอียด วิทยานิพนธ์เล่มนี้ เป็นการวิเคราะห์สุวรรณภูมิของนักภาษาและวรรณคดีบาลีและสันสกฤตเล่มแรกของไทยที่เขียนอย่างละเอียด โดยผู้วิจัยตรวจสอบทั้งหลักฐานที่อ้างถึงสุวรรณภูมิในภาษาบาลี, สันสกฤต, บันทึกประวัติศาสตร์ในภาษาจีน, หลักฐานทางโบราณคดี, หลักฐานจารึกและหลักฐานจากกรีกและอื่นๆ มาร่วมวิเคราะห์อีกมาก
- Curses and Benediction:An Epigraphical Study (ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสถาบันฮาร์วาร์ด-เย็นชิง (Harvard - Yenching Institute) ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในสหรัฐอเมริกา)
- แนวความคิดเรื่องพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์ของฝ่ายมหายานและเถรวาท
- The Ascendency of Theravada Buddhism in Southeast Asia
- การรวบรวมหมวดหมู่พุทธวจนะ: ระบบปิฎก
เกียรติภูมิ
[แก้]ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์เป็นหนึ่งในนักวิชาการด้านพุทธศาสน์ศึกษาในยุคใหม่ของไทยไม่กี่คนที่ทำงานได้ระดับนานาชาติ เน้นผลิตงานต่อยอด ดังนั้น จึงเป็นนักวิชาการที่ได้รับการจับตามองมากที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย ผลงานของอาจารย์ประพจน์แม้จะมีไม่มาก แต่เน้นคุณภาพ ทั้งได้ทำงานวิจัยร่วม��านกับ ดร. ปีเตอร์ สกิลลิง อยู่เป็นประจำ ได้เป็นหนึ่งในกรรมการประสานงานเพื่อความร่วมมือด้านการจัดการเรียนการสอนวิชาว่าด้วยพุทธธรรม หรือวงการพุทธศาสน์ศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยเมืองไทย 6 สถาบันกับศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา ของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดด้วย รางวัลบุคคลดีเด่นสถาบันขงจื้อ
การทำงาน
[แก้]- กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑
- ผู้อำนวยการฝ่ายไทยสถาบันขงจื่อของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- กรรมการบริหารคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- กรรมการแผนกอักษรศาสตร์ มูลนิธิอานันทมหิดล
- อาจารย์พิเศษ วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2565 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขามนุษยศาสตร์[5]
- พ.ศ. 2549 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/262/T_0003.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/034/36.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๕๑, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๕, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๔, ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๑๔๙, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2491
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- บุคคลจากอำเภอเมืองอุทัยธานี
- นักวิชาการจากจังหวัดอุทัยธานี
- นักภาษาศาสตร์ชาวไทย
- นักประวัติศาสตร์ชาวไทย
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาพุทธ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์
- นักเขียนชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนวัดราชบพิธ
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์