นครโตเกียว
นครโตเกียว 東京市 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
นครของจักรวรรดิญี่ปุ่น | |||||||||
1889 – 1943 | |||||||||
ร้านวาโกในกินซะ นครโตเกียวในปี 1933 | |||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• ก่อตั้ง | 1 พฤษภาคม 1889 | ||||||||
• สิ้นสุด | 1 กรกฎาคม 1943 | ||||||||
หน่วยย่อยทางการเมือง | 35 เขต | ||||||||
|
นครโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京市; โรมาจิ: Tōkyō-shi) เป็นอดีตเทศบาลนครแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京府; โรมาจิ: Tōkyō-fu; ทับศัพท์: โตเกียว-ฟุ) จัดตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 1889 จนกระทั่งยุบรวมเข้ากับจังหวัดโตเกียวเมื���อวันที่ 1 กรกฎาคม 1943[1] อาณาเขตเดิมของนครโตเกียว ในปัจจุบันกลายเป็นเขตพิเศษของโตเกียว (ญี่ปุ่น: 特別区; โรมาจิ: tokubetsu-ku) มีทั้งหมด 23 เขต ส่วนโตเกียวฟุกลายเป็นมหานครโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京都; โรมาจิ: Tōkyō-to)
ประวัติศาสตร์
[แก้]ในปี 1868 นครเอโดะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โตเกียว และได้เปิดทำการศาลากลางจังหวัดโตเกียว (โตเกียว-ฟุ)[1] อาณาเขตของจังหวัดโตเกียวในตอนแรกนั้นจำกัดอยู่ที่นครเอโดะเดิม แต่ต่อมาอาณาเขตได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนเทียบเท่ากับอาณาเขตของมหานครโตเกียวในปัจจุบัน ในปี 1878 การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นของรัฐบาลเมจิ[2] ได้แบ่งจังหวัดออกเป็นอำเภอ (กุง ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็นเมืองและหมู่บ้าน) และเขต (คุ) ซึ่งจะอยู่ภายในนครในจังหวัดทั่วไป เช่น นครฮิโรชิมะในปัจจุบัน (-ชิ) ตอนนั้นคือ ฮิโรชิมะ-คุ หรือนครใหญ่ทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ โตเกียว โอซากะ และเกียวโต ก็แบ่งออกเป็นหลายเขต ในจังหวัดโตเกียว ได้แบ่งออกเป็น 15 เขต (ตามรายชื่อด้านล่าง) และ 6 อำเภอ[3]
ในปี 1888 รัฐบาลกลางได้สร้างกรอบทางกฎหมายเกี่ยวกับระบบของนคร (ชิ)[4] ซึ่งให้สิทธิ์ในการปกครองตนเองขั้นพื้นฐานในท้องถิ่นบางส่วน โดยมีความคล้ายคลึงบางประการกับระบบการปกครองตนเองของปรัสเซีย เนื่องจากอัลเบิร์ต มอสส์ (Albert Mosse) ที่ปรึกษาของรัฐบาลเมจิได้มีอิทธิพลอย่างมากต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[5] แต่ภายใต้กฎข้อบังคับพิเศษของจักรวรรดิ[6] ในตอนแรกนั้น นครโตเกียวไม่ได้มีตำแหน่งนายกเทศมนตรีแยกออกมาต่างหาก แต่จะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดโตเกียว (มาจากการแต่งตั้ง) ที่ทำหน้าที่เป็นนายกเทศมนตรีนครโตเกียว เช่นเดียวกับในนครเกียวโตและนครโอซากะ มีการเลือกตั้งสภานครโตเกียว (Tōkyō-shikai) ครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 1889[3] แต่ละเขตยังคงมีสภาของตนอยู่ หน่วยงานบริหารของนครและจังหวัดถูกแยกออกจากกันในปี 1898[3] และรัฐบาลเริ่มออกคำสั่งให้มีนายกเทศมนตรีนครโตเกียวแยกออกมาต่างหากในปี 1898 แต่ยังคงฝ่ายนิติบัญญัติในระดับเขตไว้ และก็มีเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ที่เป็นระบบเขตพิเศษ ตั้งแต่ปี 1926 นายกเทศมนตรีได้รับเลือกจากสภานครที่ได้รับการเลือกตั้งมาอีกที ศาลากลางโตเกียวหลังเดิมตั้งอยู่ในย่านยูรากูโจ ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ของศูนย์การประชุมนานาชาติโตเกียว[7]
โตเกียวกลายเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก (ประชากร 4.9 ล้านคน) จากการกลืนเขตรอบนอกเป็นจำนวนหลายเขตในเดือนกรกฎาคม 1932 ทำให้นครโตเกียวมีทั้งหมด 35 เขต[1]
ในปี 1943 นครโตเกียวได้ถูกยุบและรวมเข้ากับจังหวัดโตเกียวเพื่อจัดตั้งมหานครโตเกียว[1] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลกลางของญี่ปุ่น ผู้ว่าราชการกรุงโตเกียวได้กลายเป็นรัฐมนตรีที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ระบบลักษณะนี้ยังคงอยู่จนถึงปี 1947 จนกระทั่งมีการจัดตั้งโครงสร้างปัจจุบันของมหานครโตเกียว[1]
จังหวัดโตเกียว (โตเกียว-ฟุ) | |||
นครโตเกียว (โตเกียว-ชิ) | นครอื่น ๆ (ชิ) | เมือง (มาจิ) และหมู่บ้าน (มูระ) (จนถึงทศวรรษ 1920 เมืองและหมู่บ้านขึ้นกับอำเภอ) (เทศบาลที่อยู่บนเกาะขึ้นกับกิ่งจังหวัด) | |
เขต (คุ) |
รายชื่อเขต
[แก้]ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "東京都年表". Tokyo Metropolitan Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-29.
- ↑ The 郡区町村編制法, gun-ku-chō-son hensei-hō, (ja) of 1878, the law on the organization of gun (counties/districts), ku (cities/districts/wards), towns and villages, one of the "three new laws" on local government of 1878 that also created prefectural taxation rights and prefectural assemblies (地方三新法, chihō san-shinpō, (ja))
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "東京のあゆみ" (PDF). Tokyo Metropolitan Government. p. 225. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 October 2013.
- ↑ 市制, shi-sei (ja), the municipal code for cities of 1888. In the same year, the municipal code for towns on villages, the 町村制, chō-son-sei (ja), was created. The county governments were reorganized in 1890 by the 郡制, gun-sei (ja)
- ↑ Akio Kamiko, Implementation of the City Law and the Town and Village Law (1881–1908) เก็บถาวร 2015-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Historical Development of Japanese Local Governance เก็บถาวร 2022-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Vol. 2 (Note on translations: This work and others consistently use the translation "assembly" for the elected prefectural and municipal assemblies (today generally [shi/to/etc.]-gikai, but in the Empire sometimes only [shi/fu/etc.]-kai), and "council" for the partially or completely unelected prefectural, county and municipal sanjikai (参事会). But other works follow modern usage and translate the elected body of shikai (as it is still named in some major cities) as city "council", and use other translations such as "advisory council" for the sanjikai.)
- ↑ 市制特例, shisei-tokurei (ja) of 1889
- ↑ "Map of Tokyo City, 1913". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-21. สืบค้นเมื่อ 2021-11-07.
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Steiner, Kurt. (1965). Local Government in Japan