ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
หน้าตา
สาขาธนาคารอิสลามฯ ในกรุงเทพฯ (2563) | |
ประเภท | รัฐวิสาหกิจ |
---|---|
อุตสาหกรรม | ธนาคารอิสลาม |
ก่อตั้ง | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2545 |
สำนักงานใหญ่ | |
จำนวนที่ตั้ง | 108 |
บุคลากรหลัก | ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์, กรรมการและผู้จัดการธนาคาร |
รายได้สุทธิ | -9.5 ล้านบาท (2557)[2]:5 |
สินทรัพย์ | 109.7 ล้านบาท (2557)[2]:3 |
บริษัทแม่ | กระทรวงการคลัง |
บริษัทในเครือ | บมจ.อะมานะฮ์ ลีสซิ่ง บจก.บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย |
เว็บไซต์ | www |
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Islamic Bank of Thailand) หรือ ไอแบงก์ เป็นธนาคารที่ดำเนินธุรกรรมโดยปราศจากดอกเบี้ย แต่อยู่บนหลักการกำไร-ขาดทุนร่วมกัน มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง ดำเนินธุรกิจตาม พ.ร.บ.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 โดยมีคณะที่ปรึกษาด้านศาสนาให้คำแนะนำ ตรวจสอบ เพื่อให้ธนาคารดำเนินงานถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม[3]
ประวัติ
[แก้]- พ.ศ. 2537
- รัฐบาลลงนามโครงการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ระหว่างไทย มาเลเซีย และอินโดนีเชีย[4]
- พ.ศ. 2540
- พ.ศ. 2541
- ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เปิดบริการทางเงินตามหลักศาสนาอิสลาม โดยเน้นเปิดในชุมนุมที่มีชาวมุสลิมอยู่หนาแน่น เช่น จังหวัดชายแดนภาคใต้ และที่เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เป็นต้น โดยเปิดเป็นแผนกหนึ่งในสาขาของธนาคาร[7]
- พ.ศ. 2545
- 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ธนาคารกรุงไทย เปิดบริการทางการเงินตามหลักศาสนาอิสลามเต็มรูปแบบสาขาแรก ที่ถนนวิจิตรไชยบูลย์ จังหวัดนราธิวาส โดยเปิดเป็นสาขาแยกการบริหาร สำนักงาน สาขาเป็นเอกเทศ และเปิดเคาน์เตอร์แยกในสาขาปกติที่ธนาคารกรุงไทยสาขาตันหยงมัส สาขาตากใบ และสาขาสุไหงโกลก[8] [9]
- 25 กันยายน พ.ศ. 2545 พ.ร.บ.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้รับการอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎร[10]
- พ.ศ. 2546
- 12 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เปิดสาขาแรก ที่อาคารยูเอ็ม ทาวเวอร์ ถนนรามคำแหง[11]
- 18 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้เปิดทำการอย่างเป็นทางการ และจัดพิธีเปิดที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมนานาชาติกรุงเทพไบเทค[12] [13]
- 15 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ธนาคารกรุงไทย ได้เปิดสำนักงานใหญ่ บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ (ธนาคารกรุงไทย ชาริอะฮ์)[14] ที่อาคารธญาณ ถนนพัฒนาการ
- พ.ศ. 2548
- 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ธนาคารกรุงไทย ได้โอนบริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ (ธนาคารกรุงไทย ชาริอะฮ์) ทั้งหมด รวมทั้งสาขา 18 แห่งทั่วประเทศ ให้กับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ตามน���ยบายกระทรวงการคลัง[15] ทำให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีสาขาเพิ่มขึ้นเป็น 27 สาขาโดยทันที
- พ.ศ. 2549
- 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ธนาคารได้ย้ายสำนักงานใหญ่มารวมที่ อาคารคิวเฮ้าส์ อโศก[16]
- 6 พฤศจิกายน 2549 ธนาคารได้รวมระบบเข้าด้วยกัน โดยใช้ระบบของธนาคารกรุงไทย ซาริอะฮ์ แทนระบบเดิมทั้งหมด ลูกค้าฝั่งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ต้องเปลี่ยนหมายเลขบัญชีทั้งหมด เปลี่ยนสมุดบัญชีใหม่ บัญชีเงินฝากเพื่อการลงทุน เปลี่ยนจากใบฝากกลายเป็นสมุดเงินฝาก และสามารถฝาก-ถอน ชำระสินเชื่อได้ทุกสาขาทั่วประเทศ[17]
- พ.ศ. 2550
- 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ธนาคารได้เพิ่มทุนจาก 1,000 ล้านบาท เป็น 31,230 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลัง ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย เป็นผู้ถือหุ้นหลัก รวม 98.183% ทำให้ธนาคารกลายเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง โดยอัตโนมัติ
- พ.ศ. 2552
- 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 ธนาคารเปิดตัวภาพลักษณ์ สัญลักษณ์ เครื่องแบบพนักงาน ชื่อย่อของธนาคารใหม่ ณ ห้องบอลรูม โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร[18]
สัญลักษณ์
[แก้]- เริ่มต้นก่อตั้งธนาคาร - 4 มีนาคม 2552 [19]
- สีเขียว : รูปโดมสีเขียว คือ มัสยิด ศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม คือ ความงดงามที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นจุดรวมทางด้านจิตใจ พลัง และความสามัคคี
- สีทอง : รูปเส้นตวัดสีทอง เป็นลักษณะลายกนกของศิลปะไทย แสดงถึงความสมานฉันท์ผูกพันของพี่น้องคนไทยทั่วประเทศ และความรุ่งโรจน์
- สีน้ำเงิน : รูปมือสีน้ำเงิน แสดงถึงการขอพรจากพระเจ้า เป็นลักษณะของการโอบอุ้ม เชิดชู การช่วยเหลือกันและกัน อันเป็นหลักปฏิบัติในทางศาสนาอิสลาม
- 5 มีนาคม 2552 - ปัจจุบัน [20] [21]
- ความหมายของสี
- สีเขียว หมายถึง ความเจริญ งอกงาม และมั่นคง
- สีเหลืองทอง หมายถึง พลังความสว่างของศาสนาอิสลาม ซึ่งให้ความสว่างไสวแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม
- ความหมายขององค์ประกอบ
- รูปตัว I ตวัดเป็นพระจันทร์เสี้ยว มองได้ 2 แบบ คือ
- พยัญชนะตัวแรกภาษาอาหรับ อลีฟ
- พยัญชนะภาษาอังกฤษ I (ไอ) ย่อมาจาก Islamic
- ดาวสีเหลืองทอง หมายถึง ความเป็นผู้นำที่ก้าวหน้ายั่งยืน
- รูปตัว I ตวัดเป็นพระจันทร์เสี้ยว มองได้ 2 แบบ คือ
- ความหมายของสี
ผลิตภัณฑ์และบริการ
[แก้]ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ และบริการทั้งหมด[22][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] มีผลิตภัณฑ์และบริการ ดังนี้
- เงินฝาก
- เงินฝากภายใต้หลัก วาดิอะฮ์ โดยผู้ฝากอาจจะได้หรือไม่ได้ผลตอบแทน ขึ้นแล้วแต่ประเภท มีดังนี้
- บัญชีออมทรัพย์ ชื่อเดิมคือบัญชีรักษาทรัพย์ เป็นบัญชีที่สามารถฝาก-ถอนได้ตามที่ต้องการ
- บัญชีเดินสะพัด เป็นบัญชีกระแสรายวัน สามารถเบิกถอนโดยใช้เช็ค
- บัญชีอัล-ฮัจญ์ เป็นบัญชีเงินฝากเพื่อสะสมเงินฝากเพื่อไปทำฮัจญ์ ผู้ฝากบัญชีนี้ต้องนับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น
- เงินฝากภายใต้หลัก มุฎอรอบะฮ์ เป็นเงินฝากที่มีผลตอบแทนตามสัดส่วนตามสัญญาของกำไรที่ธนาคารหามาได้ มีดังนี้
- บัญชชงนฝาก มุฎอรอบะฮ์ทั่วไป เปรียบเสมือนบัญชีเงินฝากประจำเพื่อการลงทุน โดยฝากขั้นต่ำในแต่ละครั้งต้องไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ที่ผู้ฝากจะได้ผลตอบแทนเมื่อครบกำหนดตามสัญญา ตามอัตราผลตอบแทนจากกำไรที่ธนาคารหามาได้ ระหว่างลูกค้ากับธนาคาร ถ้าฝากระยะเวลามาก สัดส่วนที่ลูกค้าจะได้รับกำไรก็มากกว่าระยะเวลาฝากที่น้อยกว่า โดยมีระยะเวลา ดังนี้
- 3 เดือน
- 6 เดือน
- 12 เดือน
- บัญชีเงินฝาก อัล อะมีน เปรียบเสมือนบัญชีเงินฝากประจำเพื่อการลงทุน โดยฝากขั้นต่ำเป็นเงินจำนวนที่สูง โดยผู้ฝากจะได้ผลตอบแทนทุกเดือน แต่ห้ามถอนจนกว่าจะครบกำหนดตามสัญญา ตามอัตราผลตอบแทนจากกำไรที่ธนาคารหามาได้ ระหว่างลูกค้ากับธนาคาร ถ้าฝากระยะเวลามาก สัดส่วนที่ลูกค้าจะได้รับกำไรก็มากกว่าระยะเวลาฝากที่น้อยกว่า โดยมีระยะเวลา ดังนี้
- 3 เดือน
- 6 เดือน
- 12 เดือน
- บัญชชงนฝาก มุฎอรอบะฮ์ทั่วไป เปรียบเสมือนบัญชีเงินฝากประจำเพื่อการลงทุน โดยฝากขั้นต่ำในแต่ละครั้งต้องไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ที่ผู้ฝากจะได้ผลตอบแทนเมื่อครบกำหนดตามสัญญา ตามอัตราผลตอบแทนจากกำไรที่ธนาคารหามาได้ ระหว่างลูกค้ากับธนาคาร ถ้าฝากระยะเวลามาก สัดส่วนที่ลูกค้าจะได้รับกำไรก็มากกว่าระยะเวลาฝากที่น้อยกว่า โดยมีระยะเวลา ดังนี้
- เงินฝากภายใต้หลัก วาดิอะฮ์ โดยผู้ฝากอาจจะได้หรือไม่ได้ผลตอบแทน ขึ้นแล้วแต่ประเภท มีดังนี้
- สินเชื่อ ลักษณะการให้สินเชื่อของธนาคารจะเป็นตามสัญญา โดยมีการกำหนดงวดการผ่อน อัตรากำไรอย่างชัดเจน ไม่มีการขึ้น-ลงเหมือนดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา การดำเนินการเป็นลักษณะการค้า-ขาย เช่น เมื่อลูกค้าต้องการของชิ้นหนึ่ง ธนาคารจะทำการซื้อให้ โดยขายต่อให้ลูกค้าเป็นราคาของ+กำไรที่ธนาคารต้องการ แล้วลูกค้าก็ผ่อนกับธนาคารตามสัญญา โดยธนาคารมีสินเชื่อดังนี้
- สินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค โดยมี สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, ซื้อรถยนต์, เพื่อการอุปโภค, เพื่อการเดินทาง, เพื่อการศึกษาต่อ,วงเงินสัจจวัฎ และวงเงินอเนกประสงศ์
- สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
- สินเชื่อระยะเวลา (Term Financing Facilities)
- สินเชื่อหมุนเวียน (Revolving Facilities)
- สินเชื่อเพื่อการเช่าและการเช่าซื้อ
- ตั๋วเงินและภาระผูกพัน
- สินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศ
- อื่น ๆ
- บัตร ATM
- ธุรกิจปริวรรตเงินตราต่างประเทศ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Islamic Bank of Thailand". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 31 December 2015.
- ↑ 2.0 2.1 "Auditor report and Financial Statements 2014". Islamic Bank of Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2016. สืบค้นเมื่อ 31 December 2015.
- ↑ พระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545,เว็บไซด์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประวัติ,เว็บไซด์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-24. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
- ↑ "ประวัติ,เว็บไซด์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-24. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
- ↑ "ประวัติ,เว็บไซด์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-24. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
- ↑ "ประวัติ,เว็บไซด์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-24. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
- ↑ "รวมข่าวสารเว็บ Readyplanet.net". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-10-02. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
- ↑ "Webboard Dserver.org". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-13. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
- ↑ "สำนักส่งเสริมและประสานงานคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
- ↑ "ประวัติ,เว็บไซด์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-24. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
- ↑ หนังสือพิธีเปิดธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, 18 สิงหาคม 2546
- ↑ "เว็บนิตยสารผู้จัดการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-06. สืบค้นเมื่อ 2009-03-27.
- ↑ เว็บนิตยสารผู้จัดการ
- ↑ "ข่าวสารธนาคาร,เว็บไซด์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-04. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
- ↑ "ข่าวสารธนาคาร,เว็บไซด์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-04. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
- ↑ ประกาศธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, ที่ ธอท รส.93/2549 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549
- ↑ เว็บไซด์มุสลิมไทย.คอม[ลิงก์เสีย]
- ↑ หนังสือพิธีเปิดธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, 18 สิงหาคม 2546
- ↑ เว็บไซด์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เว็บไซด์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-11-28. สืบค้นเมื่อ 2008-12-31.
- ↑ แผ่นพับแนะนำบริการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ปี 2550