ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007
ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 | |
---|---|
กำกับ | |
บทภาพยนตร์ |
|
สร้างจาก | คาสิโน รอยัล โดย เอียน เฟลมมิง |
อำนวยการสร้าง | |
นักแสดงนำ |
|
กำกับภาพ | |
ตัดต่อ | บิล เลนนี |
ดนตรีประกอบ | เบิร์ต บาคารัช |
บริษัทผู้สร้าง | เฟมัสอาร์ทิสต์สโปรดักชันส์[1] |
ผู้จัดจำหน่าย | โคลัมเบียพิกเจอส์ |
วันฉาย |
|
ความยาว | 131 นาที |
ประเทศ | สหราชอาณาจักร สหรัฐ |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
ทำเงิน | 41.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 (อังกฤษ: Casino Royale) เป็นภาพยนตร์แนวตลกสายลับ ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1967 สร้างโดย โคลัมเบียพิกเจอส์ มีนักแสดงจำนวนมาก โดยดัดแปลงบางส่วนจากนวนิยายบอนด์เล่มแรกของเอียน เฟลมมิง ภาพยนตร์แสดงนำโดย เดวิด นิเวน เป็น บอนด์ "ต้นฉบับ", เซอร์ เจมส์ บอนด์ 007 ถูกบังคับให้ออกจากการเกษียณ เพื่อสืบสวนการเสียชีวิตและการหายตัวไปของสายลับทั่วโลก ซึ่งต่อมาเขาได้ต่อสู้กับ ดร. โนอาห์ ผู้ลึกลับและองค์การ สเมอร์ช คำโปรยของภาพยนตร์: "คาสิโน รอยัลนั้นมากเกินไป... สำหรับเจมส์ บอนด์หนึ่งคน! (Casino Royale is too much... for one James Bond!)" หมายถึง แผนการของบอนด์ที่หลอกสเมอร์ชโดยใช้สายลับคนอื่นปลอมตัวเป็น "เจมส์ บอนด์" ได้แก่ เซียนไพ่บาคะรา เอเวอลีน เทรมเบิล (ปีเตอร์ เซลเลอร์ส), สายลับเศรษฐี เวสเปอร์ ลินด์ (เออร์ซูลา แอนเดรส), เลขานุการของบอนด์ มิสมันนีเพนนี (บาบารา บูเชต์), ลูกสาวของบอนด์กับมาตา ฮารี มาตา บอนด์ (โจอันนา เพ็ทเท็ต), สายลับอังกฤษ คูป (เทอเรนซ์ คูเปอร์) และ เดอะ ดีเทเนอร์ (ดาเลียห์ เลวี)
ผู้อำนวยการสร้าง ชาร์ลส์ เค. เฟลด์แมน ได้สิทธิ์ในการสร้างภาพยนตร์เมื่อปี ค.ศ. 1960 และพยายามที่จะให้ ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 เป็นภาพยนตร์บอนด์ที่สร้างโดยอีออนโปรดักชันส์ อย่างไรก็ตาม เฟลด์แมนและผู้อำนวยการสร้างของอีออน อัลเบิร์ต อาร์. บรอคโคลีและแฮรรี ซอลต์ซแมน ไม่สามารถตกลงกันได้ เฟลด์แมนเชื่อว่าเขาไม่สามารถแข่งขันกับภาพยนตร์บอนด์ของอีออนได้ เขาจึงแก้ปัญหาโดยการสร้างภาพยนตร์ให้เป็นแนวตลกเสียดสี ทุนสร้างของภาพยนตร์นั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดจากผู้กำกับและนักเขียนหลายคนมีส่วนร่วมในการสร้างและนักแสดงแสดงความไม่พอใจกับโครงการ
ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 ฉายเมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1967 สองเดือนก่อน จอมมหากาฬ 007 ภาพยนตร์บอนด์ของอีออนจะเข้าฉาย ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทางการเงิน โดยทำเงินมากกว่า 41.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก เบิร์ต บาคารัช ได้คำรับชมจากดนตรีประกอบภาพยนตร์ ทำให้เขาได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ด้วยเพลง "เดอะลุกออฟเลิฟ"
การตอบรับของนักวิจารณ์ต่อ ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 เป็นไปในแง่ลบ โดยนักวิจารณ์หลายคนกล่าวว่าภาพยนตร์นั้นมีความยุ่งเหยิงและสับสน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 ผู้ที่ถือสิทธิ์ในการจัดหน่ายภาพยนตร์เรื่องนี้คือ เมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์ ซึ่งก็เป็นผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์บอนด์อย่างเป็นทางการที่สร้างโดยอีออนโปรดักชันส์ด้วยเช่นกัน
โครงเรื่อง
[��ก้]เซอร์ เจมส์ บอนด์ 007 ตำนานสายลับอังกฤษ ได้เกษียณออกจากหน่วยสืบราชการลับเป็นเวลา 20 ปี โดยบอนด์ได้รับเยื่ยมเยือนจาก เอ็ม หัวหน้าเอ็มไอ6ของอังกฤษ, แรมซัม ตัวแทนจากซีไอเอ, สเมียร์นอฟ ตัวแทนจากเคจีบีและ เลอ กรานด์ ตัวแทนจากสำนักงานที่สองของฝรั่งเศส โดยทุกคนขอร้องให้บอนด์ออกจากการเกษียณเพื่อมารับมือกับ สเมอร์ช ซึ่งได้สังหารสายลับทั่วโลก บอนด์ปฏิเสธและไม่สนใจคำร้องขอ เอ็มจึงสั่งคนของเขาให้ยิงปืนครกระเบิดใส่คฤหาสน์ของบอนด์ ซึ่งทำให้เอ็มเสียชีวิตในการระเบิดนั้นด้วย
บอนด์เดินทางไปสกอตแลนด์เพื่อคืนชิ้นส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่ของเอ็มแก่แม่ม่ายที่เศร้าโศกของเขา เลดี ฟิโอนา แมกทาร์รี อย่างไรก็ตาม เลดี ฟิโอนา ตัวจริงถูกเปลี่ยนตัวเป็นสายลับมิมิของสเมอร์ช คนที่อาศัยอยู่ในบ้านน่าจะถูกเปลี่ยนตัวด้วยเช่นกัน โดยเป้าหมายของสเมอร์ช คือการทำลาย "ภาพลักษณ์คนโสด" ของบอนด์ให้เสื่อมเสีย ความพยายามในการใช้ความงามเพื่อล่อลวงบอนด์นั้นล้มเหลว แต่ มิมิ/เลดี ฟิโอนา ประทับใจในตัวบอนด์ ทำให้เธอแปรพักตร์จากสเมอร์ช และช่วยเหลือบอนด์ให้รอดพ้นจากแผนการที่จะทำร้ายเขา ในระหว่างทางกลับไปลอนดอน บอนด์รอดพ้นจากแผนการที่จะเอาชีวิตเขาอีกครั้งหนึ่ง
บอนด์ได้เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้าของเอ็มไอ6 เขาได้รับข่าวสารว่าสายลับอังกฤษหลายคนถูกสังหารทั่วโลกโดยสายลับฝ่ายศัตรู เพราะพวกเขาไม่สามารถต้านทานเรื่องทางเพศได้ บอนด์บอกว่าสายลับทุกคนกลายเป็นพวก บ้าเซ็กซ์ ไปหมดและบอนด์รับรู้ว่าสายลับที่ใช้ชื่อ เจมส์ บอนด์ ตอนที่เขากำลังเกษียณนั้นได้ออกจากงานสายลับไปทำงานเกี่ยวกับโทรทัศน์แล้ว เขาสั่งให้สายลับเอ็มไอ6 ที่เหลือเปลี่ยนชื่อเป็น เจมส์ บอนด์ 007 เพื่อสร้างความสับสนแก่สเมอร์ช นอกจากนี้เขายังสร้างโปรแกรมที่เข้มงวดในการฝึกสายลับผู้ชายให้เมินเฉยต่อเสน่ห์ของผู้หญิง มันนีเพนนีเกณท์คูป ผู้เชี่ยวชาญคาราเต้ซึ่งได้เริ่มฝึกฝนเพื่อต่อต้านผู้หญิงที่มีเสน่ห์ เขายังได้พบกับสายลับอีกคน รู้จักกันในนาม เดอะ ดีเทนเนอร์
นักแสดง
[แก้]- เดวิด นิเวน เป็น เซอร์ เจมส์ บอนด์: ตำนานสายลับอังกฤษ ถูกบังคับให้ออกจากการเกษียณเพื่อต่อสู้กับสเมอร์ช
- ปีเตอร์ เซลเลอร์ส เป็น เอเวอลีน เทรมเบิล / เจมส์ บอนด์: เซียนไพ่บาคะรา ถูกคัดเลือกโดย เวสเปอร์ ลินด์ เพื่อดวลกับเลอ ชีฟร์ที่ คาสิโน รอยัล
- เออร์ซูล่า แอนเดรส เป็น เวสเปอร์ ลินด์ / เจมส์ บอนด์: สายลับอังกฤษที่เกษียณแล้ว ถูกบังคับให้กลับเข้าประจำการเพื่อแลกกับการชำระภาษีที่เธอค้างอยู่
- โจอันนา เพ็ทเท็ต เป็น มาตา บอนด์ / เจมส์ บอนด์: ลูกสาวของบอนด์ เกิดจากความรักของเขากับ มาตา ฮารี
- ดาเลียห์ เลวี เป็น เดอะ ดีเทเนอร์ / เจมส์ บอนด์: สายลับอังกฤษที่ประสบความสำเร็จในการวางยาพิษดร. โนอาห์ด้วยยาเม็ดปรมาณูของเขาเอง
- วูดดี อัลเลน เป็น ดร. โนอาห์ / จิมมี บอนด์: หลานชายของบอนด์และหัวหน้าองค์การสเมอร์ช ภายใต้นามแฝง ดร. โนอาห์ เขากลายเป็นใบ้เมื่ออยู่กับลุงของเขา เขาใช้เสียงที่บันทึกไว้ก่อนโดย วาเลนไทน์ ดายล์ ในบางฉาก
- บาบารา บูเชต์ เป็น มิสมันนีเพนนี / เจมส์ บอนด์ 007: ลูกสาวคนสวยของ มิสมันนีเพนนี ต้นฉบับของบอนด์ ผู้ทำงานในตำแหน่งเดียวกันกับแม่ของเธอเมื่อหลายปีก่อน
- เทอเรนซ์ คูเปอร์ เป็น คูป / เจมส์ บอนด์: สายลับอังกฤษที่คัดเลือกมาโดยเฉพาะและฝึกฝนเพื่อต้านทานเสน่ห์ของผู้หญิง
- ดีโบราห์ เคอรร์ เป็น สายลับ มิมิ / เลดี ฟิโอนา แมคทาร์รี: สายลับของสเมอร์ช ซึ่งปลอมเป็นแม่ม่ายของเอ็ม ซึ่งตกหลุมรักบอนด์
- ออร์สัน เวลส์ เป็น เลอ ชีฟร์ – ตัวแทนด้านการเงินของสเมอร์ช ต้องการชนะเกมบาคะราเพื่อชดใช้เงินที่เขายักยอกเงินจากองค์การ
- วิลเลียม โฮลเดน เป็น แรนซัม: หัวหน้าซีไอเอ ที่มาพร้อมกับทีมรวมหัวหน้าสายลับเพื่อโ��้มน้าวให้บอนด์ออกจากการเกษียณ ซึ่งปรากฏตัวอีกครั้งในฉากต่อสู้ตอนสุดท้าย
- ชาร์ลส์ บอเยอร์ เป็น เลอ กรานด์: หัวหน้าสำนักงานที่สอง ที่มาพร้อมกับทีมรวมหัวหน้าสายลับเพื่อพบบอนด์
- จอห์น ฮูสตัน เป็น เอ็ม / แมคทาร์รี: หัวหน้าเอ็มไอ6 ซึ่งเสียชีวิตจากการระเบิดที่เกิดจากการทิ้งระเบิดของตัวเองที่บ้านของบอนด์ ตอนที่ทีมรวมหัวหน้าสายลับมาเยี่ยม
- คุรต คาสซนาร์ เป็น สเมียร์นอฟ: หัวหน้าเคจีบี ที่มาพร้อมกับทีมรวมหัวหน้าสายลับเพื่อพบบอนด์
- จอร์จ ราฟต์ เป็น ตัวเอง, ดีดเหรียญเหมือนกับที่เขาทำใน สการ์เฟซ[2]
- ฌอน-พอล เบลมุนดู เป็น ผู้นำกองทัพฝรั่งเศส
มีดาราดัง เช่น จอร์จ ราฟต์และฌอน-พอล เบลมุนดู มีชื่ออยู่ในการประชาสัมพันธ์ของภาพยนตร์และตัวอย่างภาพยนตร์ ถึงแม้ว่าความจริงแล้วพวกเขาปรากฏตัวแค่ไม่กี่นาทีในฉากสุดท้าย[3]
งานสร้าง
[แก้]การพัฒนา
[แก้]เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1955 เอียน เฟลมมิง ขายสิทธิ์ในการสร้างภาพยนตร์จากนวนิยายของเขา คาสิโน รอยัล นวนิยายเล่มแรกที่มีตัวละคร เจมส์ บอนด์ ปรากฏตัว แก่ผู้อำนวยการสร้าง เกรกอรี แรตออฟ จำนวน 6 พันดอลลาร์สหรัฐ[4] (หากคิดอัตราเงินเฟ้อแล้ว จะประมาณ 68,243 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 2023)[5] หลังแรตออฟซื้อสิทธิ์ในการสร้างภาพยนตร์ภายในระยะเวลาหกเดือนเมื่อปีก่อน[6] แรตออฟได้ว่าจ้างให้ ลอเรนโซ เซมเปิล จูเนียร์ เขียนบทภาพยนตร์ แต่ทั้งสองคนคิดว่าบอนด์นั้นไม่น่าเชื่อและโง่เขลา เซมเปิลกล่าวว่า แรตออฟพิจารณาโครงการว่าบอนด์นั้นต้องเป็นผู้หญิงและต้องการที่จะให้ ซูซาน เฮย์เวิร์ด แสดงเป็น 'เจน' บอนด์[7] เมื่อปี ค.ศ. 1956 เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงานว่าแรตออฟได้ก่อตั้งบริษัทร่วมกับ ไมเคิล การ์ริสัน เพื่อสร้างภาพยนตร์ แต่เขาไม่สามารถหาผู้สนับสนุนทางการเงิน ก่อนที่เขาเสียชีวิตเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1960[6]
ตัวแทนและผู้อำนวยการสร้าง ชาร์ลส์ เค. เฟลด์แมน เป็นตัวแทนของแรตออฟและซื้อสิทธิ์ในการสร้างภาพยนตร์ คาสิโน รอยัล จากแม่ม่ายของเขา[8][9]อัลเบิร์ต อาร์. บรอคโคลี มีความสนใจในดัดแปลง เจมส์ บอนด์ เป็นภาพยนตร์มานานหลายปี เขายื่นข้อเสนอซื้อสิทธิ์ในการสร้างภาพยนตร์ คาสิโน รอยัล จากเฟลด์แมน แต่เขาปฏิเสธ[10] เฟลด์แมนและเพื่อนของเขา ผู้กำกับ ฮาวเวิร์ด ฮอกส์ ซึ่งสนใจในการดัดแปลง คาสิโน รอยัล เป็นภาพยนตร์ โดยพิจารณาให้ ลีห์ แบรกเกตต์ เป็นผู้เขียนบทและให้ แครี แกรนต์ เป็น เจมส์ บอนด์ แต่พวกเขาตัดสินใจที่จะไม่ดำเนินการต่อ หลังพวกเขาชมภาพยนตร์ พยัคฆ์ร้าย 007 (1962) ซึ่งเป็นภาพยนตร์บอนด์เรื่องแรกของบรอคโคลีและหุ้นส่วนของเขา แฮรรี ซอลต์ซแมน สร้างโดยอีออนโปรดักชันส์ บริษัทของพวกเขาเอง[11]
ช่วงปี ค.ศ. 1964 เฟลด์แมนได้ลงทุนด้วยเงินของเขาเองจำนวน 5 แสนดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเตรียมงานถ่ายทำ ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 เขาตัดสินใจทำข้อตกลงกับอีออนโปรดักชันส์และผู้จัดจำหน่าย ยูไนเต็ดอาร์ทิสต์ส ความพยายามร่วมกันสร้างภาพยนตร์นั้นล้มเหลว เพราะเฟลด์แมนทะเลาะกับบรอคโคลีและซอลต์ซแมนบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการแบ่งผลกำไรและเมื่อการดัดแปลง คาสิโน รอยัล จะเริ่มการถ่ายทำ เฟลด์แมนเข้าหา ฌอน คอนเนอรี เพื่อให้แสดงเป็นเจมส์ บอนด์ แต่ปฏิเสธข้อเสนอของคอนเนอรีที่จะแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยค่าตัวหนึ่งล้านดอลลาร์[12] ในที่สุดเฟลด์แมนตัดสินใจเสนอโครงการของเขาให้แก่ โคลัมเบียพิกเจอส์ ผ่านบทภาพยนตร์ที่เขียนโดย เบน เฮชต์ และสตูดิโอตอบตกลง เมื่อภาพยนตร์ชุดบอนด์ของอีออนกลายเป็นภาพยนตร์สายลับที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น เฟลด์แมนเลือกที่จะสร้างภาพยนตร์ของเขาเป็นแนวตลกเสียดสีของภาพยนตร์ชุดบอนด์ แทนที่จะเป็นการดัดแปลงโดยตรง[13]
การพัฒนาบทภาพยนตร์
[แก้]เบน เฮชต์มีส่วนร่วมในโครงการ โดยเขาได้เขียนร่างฉบับสมบูรณ์ขึ้นมาหลายฉบับ ถึงแม้จะไม่ได้ถูกนำมาใช้ รายงานของนิตยสาร ไทม์ เมื่อปี ค.ศ. 1966 ระบุว่าเฮชต์มีร่างฉบับสมบูรณ์ "สามฉบับ" ในขณะที่เอกสารของเขามีเนื้อหาจากบทภาพยนตร์สี่บทที่หลงเหลืออยู่โดยเฮชต์[6] บทร่างของเขาเกือบจะเป็นการดัดแปลง โดยตรง จากนวนิยายมากกว่าจะเป็นผลงานที่ท้ายสุดแล้วสร้างเป็นภาพยนตร์ล้อเลียน บทร่างจากปี ค.ศ. 1957 ถูกค้นพบในเอกสารของเฮชต์ แต่ไม่ระบุชื่อผู้เขียน โดยบทร่างนั้นเป็นดัดแปลงโดยตรงจากนวนิยาย แม้ว่า ตัวละครบอนด์นั้นถูกแทนที่โดยนักเล่นโป๊กเกอร์ซึ่งเป็นนักเลงชาวอเมริกัน[6]
ในร่างต่อมามีเรื่องของอบายมุขเป็นจุดศูนย์กลางของเนื้อเรื่อง โดยตัวละคร เลอ ชีฟร์ กลายเป็นหัวหน้าเครือข่ายซ่องโสเภณี (ซึ่งเขาเป็นในนวนิยาย) โดยลูกค้านั้นถูกรีดเอาทรัพย์โดย เลอ ชีฟร์ เพื่อเอาเงินไปสนับสนุนสเปกเตอร์ (ผู้เขียนบทเป็นผู้คิด) การเปลี่ยนแปลงของเบื้องหลังเปิดโอกาสให้มีองค์ประกอบเนื้อเรื่องที่น่าตื่นเต้น ประกอบด้วย ฉากไล่ล่าในย่านโคมแดงของฮัมบวร์ค ทำให้บอนด์ต้องหนีโดยการปลอมตัวเป็นนักมวยปล้ำโคลนหญิง มีตัวละครใหม่ปรากฏตัวเช่น ลิลี วิง หญิงโสเภณีและอดีตคนรักของบอนด์ ซึ่งพบจุดจบโดยถูกบดขยี้ตรงด้านหลังของรถบรรทุกขยะ และ กีตา ภรรยาคนสวยของ เลอ ชีฟร์ บอนด์ใช้เธอเป็นเกราะระหว่างการดวลปืน ทำให้ใบหน้าและลำคอของเธอเสียโฉมอย่างน่าสังเวช เป็นฉากเดียวกับที่วิงพบจุดจบ กีตายังคงเป็นตัวเอกสำคัญในฉากการทรมานที่ปรากฎในหนังสือ ซึ่งบทเดิมเป็นของ เลอ ชีฟร์[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Casino Royale". American Film Institute. สืบค้นเมื่อ 12 September 2018.
- ↑ Vagg, Stephen (9 February 2020). "Why Stars Stop Being Stars: George Raft". Filmink.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อPlayboy
- ↑ Benson 1988, p. 11.
- ↑ 1634–1699: McCusker, J. J. (1997). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States: Addenda et Corrigenda (PDF). American Antiquarian Society. 1700–1799: McCusker, J. J. (1992). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States (PDF). American Antiquarian Society. 1800–present: Federal Reserve Bank of Minneapolis. "Consumer Price Index (estimate) 1800–". สืบค้นเมื่อ 1 January 2020.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Duns, Jeremy (2 มีนาคม 2011). "Casino Royale: discovering the lost script". The Telegraph. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2020.
- ↑ Gaydos, Steven (11 May 2012). "Jane Bond? Scribe's-Eye View of 007 Pic Birth". Variety. สืบค้นเมื่อ 20 April 2020.
- ↑ Barnes & Hearn 2001, p. 56.
- ↑ Field, Mark; Chowdhury, Ajay (2018) [2015]. Some Kind of Hero: The Remarkable Story of the James Bond Films. Stroud, Gloucs: The History Press. p. 20.
- ↑ Broccoli, Albert R.; Zec, Donald (1998). When the Snow Melts: The Autobiography of Cubby Broccoli. Boxtree. p. 199. ISBN 0752211625.
- ↑ McCarthy, Todd (2007). Howard Hawks: The Grey Fox of Hollywood. Grove Press. pp. 595, 629. ISBN 0802196403.
- ↑ Sellers, Robert Sean Connery: A Celebration Robert Hale, 1 December 1999, p. 62
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อMissing
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007
- ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส