ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลบ้านยาง (อำเภอเมืองนครปฐม)

พิกัด: 13°52′10.5″N 99°56′02.2″E / 13.869583°N 99.933944°E / 13.869583; 99.933944
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลบ้านยาง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Ban Yang
อดีตสถานียางประสาทในทางรถไฟสายสุพรรณบุรี
อดีตสถานียางประสาทในทางรถไฟสายสุพรรณบุรี
ประเทศไทย
จังหวัดนครปฐม
อำเภอเมืองนครปฐม
พื้นที่
 • ทั้งหมด23.70 ตร.กม. (9.15 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด9,167 คน
 • ความหนาแน่น386.79 คน/ตร.กม. (1,001.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 73000
รหัสภูมิศาสตร์730125
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง
อบต.บ้านยางตั้งอยู่ในจังหวัดนครปฐม
อบต.บ้านยาง
อบต.บ้านยาง
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง
พิกัด: 13°52′10.5″N 99°56′02.2″E / 13.869583°N 99.933944°E / 13.869583; 99.933944
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครปฐม
อำเภอเมืองนครปฐม
พื้นที่
 • ทั้งหมด23.70 ตร.กม. (9.15 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด9,167 คน
 • ความหนาแน่น386.79 คน/ตร.กม. (1,001.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06730118
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 53/2 หมู่ 8 ตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
เว็บไซต์www.banyang-npt.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บ้านยาง เป็นตำบลในอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นตำบลที่มีทางรถไฟสายสุพรรณบุรีผ่าน โดยเป็นที่ตั้งของอดีตสถานีรถไฟยางประสาท

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลบ้านยาง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองงูเหลือม
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลโพรงมะเดื่อ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองกบ และตำบลปากแรต (อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลท่าผา และตำบลกรับใหญ่ (อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี)

ประวัติ

[แก้]

บ้านยาง เดิมเป็นตำบลของอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ในปี พ.ศ. 2486 หลวงประชากรบริรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และขุนธรรมรัตนธุรทร (ธรรมรัตน์ โรจนสุนทร) ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดราชบุรีกับจังหวัดนครปฐม โดยโอนพื้นที่หมู่ 3,6–7,9–14 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านยาง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มาขึ้นกับอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยให้ถือคลองยางตั้งแต่บ้านปลายน้ำติดต่อเขตตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง เป็นเส้นแบ่งเขต[3]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

ตำบลบ้านยางแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านคลองยาง
  • หมู่ที่ 2 บ้านหนองไม้แดง
  • หมู่ที่ 3 บ้านยาง
  • หมู่ที่ 4 บ้านหนองไม้แดง
  • หมู่ที่ 5 บ้านเกาะ
  • หมู่ที่ 6 บ้านคอรัง
  • หมู่ที่ 7 บ้านยางประสาท
  • หมู่ที่ 8 บ้านหนองกระโดน
  • หมู่ที่ 9 บ้านห้วยหนองกร่าง
  • หมู่ที่ 10 บ้านดอน
  • หมู่ที่ 11 บ้านต้นมะเกลือ

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ตำบลบ้านยางเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลบ้านยาง ในปี พ.ศ. 2516[4] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลบ้านยางมี 11 หมู่บ้าน พื้นที่ 23.70 ตารางกิโลเมตร ประชากร 7,365 คน และ 1,585 ครัวเรือน[5] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลบ้านยางอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (ตอนพิเศษ 63 ง): 18–89. วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2543
  3. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดนครปฐม พุทธศักราช ๒๔๘๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (7 ก): 244–246. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  5. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539