ตระกูลบอร์เจีย
พระราชอิสริยยศ |
|
---|---|
ปกครอง | อิตาลี, สเปน |
เชื้อชาติ | สเปน, อิตาลี |
ประมุขพระองค์แรก | อัลฟองโซ บอร์เจีย |
สถาปนา | คริสต์ศตวรรษที่ 15 |
สิ้นสุด | |
ตระกูลบอร์เจีย หรือ บอร์จา (อังกฤษ: House of Borgia) เป็นตระกูลหนึ่งในยุโรป มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่แคว้นบาเลนเซีย ประเทศสเปน และย้ายไปตั้งรกรากในอิตาลีจนกระทั่งเรืองอำนาจในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ตระกูลบอร์เจียเป็นผู้อุปภัมป์ศิลปะหลากหลายแขนง ทำให้ศิลปินหลายคนในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการได้สร้างผลงานโดดเด่นและมีชื่อเสียง
ตระกูลบอร์เจียเริ่มมีบทบาททางด้านการเมืองและศาสนาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 การแสวงหาอำนาจทำให้ต้องเป็นศัตรูกับตระกูลอื่นๆ เช่น เมดิชิ สฟอร์ซา รวมทั้งนักบวชที่มีอิทธิพลมากในยุคนั้นอย่างจิโรลาโม ซาโวนาโรลา ชื่อเสียงของตระกูลบอร์เจียมักเป็นไปในทางไม่ดี เช่น การคบชู้ การลักขโมย การติดสินบน การสมสู่ร่วมสายโลหิต และการฆาตกรรม เป็นต้น
ประวัติ
[แก้]ตระกูลบอร์เจีย ถือกำเนิดขึ้นที่แคว้นบาเลนเซีย ประเทศสเปน ต้นตระกูลคืออัลฟองโซ บอร์เจีย (ภายหลังขึ้นเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 3) เคยทำงานในมหาวิทยาลัยเลย์ดา และเป็นทูตของกษัตริย์แห่งอารากอน ก่อนจะได้เป็นพระคาร์ดินัลในปี ค.ศ. 1444 และขึ้นเป็นพระสันตะปาปาในปี ค.ศ. 1455 หลังจากนั้นเครือญาติตระกูลบอร์เจียบางส่วนจึงย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศอิตาลี
ตระกูลบอร์เจียกลายเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะและดนตรีในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายรายมักแวะเวียนเข้าบ้านตระกูลบอร์เจียอยู่บ่อยครั้ง อาทิ เลโอนาร์โด ดา วินชี นอกจากนี้ โรดริโก้ บอร์เจียยังเป็นผู้สนับสนุนมหาวิทยาลัยและพัฒนากรุงโรมในช่วงที่ครองตำแหน่งพระสันตะปาปาอีกด้วย
มีข้อถกเถียงมากมายเกี่ยวกับตระกูลบอร์เจีย โดยเฉพาะเกี่ยวกับโรดริโก้ เชซาเรย์ และลูเครเซีย เป็นที่รู้กันดีว่าโรดริโก้มีภรรยาหลายคน เช่น วานอสซา คัตตาเน และจูเลีย ฟาร์เนเซ เขาเปิดเผยเรื่องภรรยาและลูกอย่างชัดเจน จึงมีข่าวลือแง่ลบเกี่ยวกับโรดริโก้มากมาย เช่น เรื่องที่เขามีความสัมพันธ์ทางเพศกับลูเครเซีย บอร์เจีย ลูกสาวแท้ๆของตน หรือเรื่องที่เขาติดสินบนพระคาร์ดินัลเพื่อให้ตนเองได้ขึ้นเป็นพระสันตะปาปา เป็นต้น
เชซาเรย์ บอร์เจีย ลูกชายคนรองของโรดริโก้ ได้ขึ้นเป็นคาร์ดินัลตั้งแต่อายุ 18 ปี เขาถูกสงสัยว่าเป็นผู้ก่อเหตุฆาตกรรมจิโอวานนีพี่ชายของตน เพราะความตายของจิโอวานนีทำให้เชซาเรย์ได้รับตำแหน่งต่างๆที่เคยเป็นของจิโอวานนีมาก่อน เขาลาออกจากตำแหน่งคาร์ดินัลและไปเป็นทหาร เชซาเรย์ตกเป็นผู้ต้องสงสัยคดีฆาตกรรมอีกครั้งเมื่ออัลฟองโซแห่งอารากอน สามีคนที่สองของลูเครเซียถูกลอบสังหารแต่ไม่สำเร็จ เขาจึงบีบคออัลฟองโซจนถึงแก่ความตาย นอกจากนี้ยังมีคดีของเปรอตโต คนรักของลูเครเซีย มีคนพบศพของเปรอตโตในแม่น้ำไทเบอร์ ว่ากันว่าเขาทำให้ลูเครเซียท้อง เชซาเรย์จึงโกรธและลอบสังหารเขา
ลูเครเซีย บอร์เจีย ลูกสาวเพียงคนเดียวของโรดริโก้ มีชื่อเสียงว่าเป็นนักวางยาพิษชั้นเยี่ยม เธอแต่งงานถึงสามครั้ง ทั้งสามครั้งล้วนเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของตระกูล บางกระแสเชื่อว่าชื่อเสียงแง่ลบของลูเครเซียเกิดขึ้นเพราะตระกูล ไม่ใช่เพราะนิสัยของเธอเอง
บุคคลที่มีชื่อเสียงของตระกูล
[แก้]- สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 3 (ค.ศ. 1378-ค.ศ. 1458)
- สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 (ค.ศ. 1431-ค.ศ. 1503)
- จิโอวานนี บอร์เจีย (ค.ศ. 1474-ค.ศ. 1497)
- เชซาเรย์ บอร์เจีย (ค.ศ. 1476-ค.ศ. 1507)
- ลูเครเซีย บอร์เจีย (ค.ศ. 1480-ค.ศ. 1519)
- ฟรานซิส บอร์เจีย (ค.ศ. 1510-ค.ศ. 1572)
- สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10 (ค.ศ. 1574-ค.ศ. 1655)
ตระกูลบอร์เจียในวัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]บทละคร
[แก้]- ลูเครเซีย บอร์เจีย โดย วิกตอร์ อูโก
- The Tyrant: An Episode in the Career of Cesare Borgia, a Play in Four Acts โดย ราฟาเอล ซาบาตินี
- ลูเครเซีย บอร์เจีย (โอเปร่า) โดย กาเอตาโน โดนีเซตตี
ภาพยนตร์
[แก้]- Prince of Foxes (1949) ออร์สัน เวลส์ รับบทเป็น เชซาเรย์ บอร์เจีย
- Contes immoraux (1974) ภาพยนตร์ฝรั่งเศส แบ่งเป็นเรื่องสั้น 4 เรื่อง โดยเรื่องที่ 4 มีชื่อเรื่องว่า ลูเครเซีย บอร์เจีย
- Los Borgia (2006) ภาพยนตร์สเปน
- The Conclave (2006) ภาพยนตร์แคนาดา-เยอรมัน เกี่ยวกับโรดริโก บอร์เจียกับการขึ้นเป็นพระสันตะปาปา
- Assassin's Creed: Lineage (2009) ภาพยนตร์สั้นสำหรับโปรโมตเกม Assassin's Creed II
ละครโทรทัศน์
[แก้]- The Borgias (1981) ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์บีบีซี
- The Borgias (2011) ออกอากาศทางช่อง Showtime ในสหรัฐอเมริกา
- Borgia (2011) ออกอากาศทางช่อง Canal + ในฝรั่งเศส
เกม
[แก้]- Assassin's Creed II (2009)
- Assassin's Creed II: Discovery (2009)
- Assassin's Creed: Brotherhood (2010)
การ์ตูน
[แก้]- คุณหญิงมงกุฎดอกไม้ (1993) โดย ไซโต้ จิโฮ
- พิษพยาบาท (2001) โดย ยู ฮิกุริ
- เชซาเรย์ (2006) โดย โซเรียว ฟุยุมิ
- " โนบุนากะ ผู้โง่เขลา ( Nobunaga the fool ) ( 2014 ) by Eiichi Sato
อ้างอิง
[แก้]- Raphael Sabatini, The Life of Cesare Borgia
- Frederick Rolfe, Chronicles of the House of Borgia (G. Richards, 1901)