ดนัย นพสุวรรณวงศ์
ดนัย นพสุวรรณวงศ์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (83 ปี) |
พรรคการเมือง | ประชาธรรม (พ.ศ. 2517) (2517—2519) ประชาธิปัตย์ (2519–2560) |
คู่สมรส | บังอร นพสุวรรณวงศ์ |
ดนัย นพสุวรรณวงศ์ (29 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ประวัติ
[แก้]ดนัย นพสุวรรณวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหลักสูตรเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ระดับบริหาร รุ่นที่ 1 จากโรงเรียนการประชาสัมพันธ์ สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี (ปัจจุบันคือ สถาบันการประชาสัมพันธ์)[1] สมรสกับ นางบังอร นพสุวรรณวงศ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส. บุรีรัมย์ หลายสมัย
ดนัย นพสุวรรณวงศ์ ทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดบุรีรัมย์[2] ต่อมาเข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรรับเลือกตั้งและได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ เขต 1 ในนามพรรคประชาธิปัตย์ เป็น ส.ส.คนแรกและคนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้งในจังหวัดบุรีรัมย์ในปี 2519 หลังจากนั้นเขาก็เว้นวรรคไปอีกเป็นระยะเวลานาน ในปี 2548 ก็ยังได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 79[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จนกระทั่งได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 4 เป็นลำดับที่ 2 ของพรรคประชาธิปัตย์[4] เป็นกลับเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ในรอบ 30 ปี และยังเป็น ส.ส.ที่พรรคประชาธิปัตย์มอบหมายให้ดูแลพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์[5] รวมทั้งได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่กรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หลังจากนั้นในปี 2554 เขาก็ยังได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 53[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ดนัย นพสุวรรณวงศ์ เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2526[7] ต่อมาเป็นที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์
ดนัย นพสุวรรณวงศ์ ถึงแก่กรรมในปี 2560 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดกลาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-05-16.
- ↑ "บพิตร นพสุวรรณวงศ์ 'ผมทำเพื่อความถูกต้อง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-05-16.
- ↑ รายชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (เลือกตั้งทั่วไปปี 2548)
- ↑ หลานผู้สมัครฯ ส.ส.โรคประสาทกำเริบ-คลั่งควงปืนไล่ยิงสนั่นเมืองบุรีรัมย์
- ↑ ส.ส.อีสานประชาธิปัตย์เคืองมาร์คไปบุรีรัมย์ไม่บอก
- ↑ รายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ปชป.อันดับ21-70
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/A/194/1.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2477
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2560
- บุคคลจากจังหวัดบุรีรัมย์
- นักธุรกิจจากจังหวัดบุรีรัมย์
- นักการเมืองจากจังหวัดบุรีรัมย์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- พรรคประชาธรรม (พ.ศ. 2517)
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.