ฌ็อง-เบแดล บอกาซา
ฌ็อง-เบแดล บอกาซา | |
---|---|
บอกาซาขณะเป็นจักรพรรดิ | |
จักรพรรดิแอฟริกากลาง | |
ครองราชย์ | 4 ธันวาคม 1976 – 21 กันยายน 1979 |
ราชาภิเษก | 4 ธันวาคม 1977 |
ก่อนหน้า | ตนเอง ในตำแหน่งประธานาธิบดี |
ถัดไป | ดาวีด ดักโก (ในตำแหน่งประธานาธิบดี) |
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแอฟริกากลางคนที่ 2 | |
ตำรงตำแหน่ง | 1 มกราคม 1966 – 4 ธันวาคม 1976 |
ก่อนหน้า | ดาวีด ดักโก |
ถัดไป | ตัวเขาเอง ในตำแหน่งจักรพรรดิ |
เกิด | 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 โบบังกี แอฟริกาศูนย์สูตรของฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996 บังกี สาธารณรัฐแอฟริกากลาง | (75 ปี)
คู่สมรส | แคเธอริน ด็องเกียดู |
บุตร | เจ้าชายฌ็อง-แซร์เช ฌ็อง-เบแดล บอกาซา จูเนียร์ |
ราชวงศ์ | บอกาซา |
บิดา | มิงโดกอน มบ็องดูลู |
มารดา | มารี โยโกโว |
ฌ็อง-เบแดล บอกาซา (ฝรั่งเศส: Jean-Bédel Bokassa) เป็นอดีตจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิแอฟริกากลาง (สาธารณรัฐแอฟริกากลางในปัจจุบัน) เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 ที่แอฟริกากลางขณะเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส เมื่อโตขึ้นจึงเข้าร่วมกับกองทัพแอฟริกากลางเพื่อต่อต้านและเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส ได้เป็นแนวหน้าสู้รบอย่างกล้าหาญ จนได้เหรียญกล้าหาญมาได้ จนในที่สุดแอฟริกากลางก็ได้รับเอกราช แต่บอกาซาก็ฉวยโอกาสตอนที่บ้านเมืองยังอ่อนแอจากการรับเอกราชใหม่ ๆ ก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลสาธารณรัฐแอฟริกากลางของดาวีด ดักโก ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1966 และบริหารประเทศในฐานะผู้นำประเทศ
จนกระทั่งในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1976 บอกาซาได้ปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิบอกาซาที่ 1 แห่งจักรวรรดิแอฟริกากลาง ใช้จ่ายบนสิทธิกษัตริย์อย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย มีฉลองพระองค์และฉลองพระบาทประดับมุก สร้างพระราชบัลลังก์ให้ทองคำรูปนกอินทรีขนาดยักษ์ สร้างพระราชวังหินอ่อน ประดับโคมไฟระย้าสุดวิจิตร สูบเงินประเทศชาติจนแทบล่มจม นอกจากนี้ยังมีการลงโทษศัตรูและนักโทษในประเทศอย่างโหดร้าย ตั้งแต่พระราชอาญาที่ไม่ถึงตาย เช่น การตัดใบหู จนถึงพระราชอาญาถึงตาย เช่น การทุบตีจนตายอย่างทรมาน โยนเข้าไปในกรงสิงโต โยนลงบ่อจระเข้ จนถึงการส่งตัวให้แก่ชนเผ่ากินคน แต่วิธีการลงโทษทั้งหมดเป็นความลับซึ่งมีแต่คนในเท่านั้นที่จะรู้ ส่วนความฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายไม่ใช่ความลับ เพราะบอกาซาเห็นว่าปกปิดไม่ได้ ประชาชนคนนอกจึงรู้ดี ทำให้ประชาชนเริ่มไม่พอใจ จนกระทั่งในที่สุด ประชาชนที่นำโดยดาวีด ดักโก ผู้ที่บอกาซาเคยโค่นล้มเมื่อสิบกว่าปีก่อน โค่นพระราชอำนาจจักรพรรดิบอกาซาที่ 1 และยกเลิกจักรวรรดิแอฟริกากลางแล้วรื้อฟื้นสาธารณรัฐแอฟริกาในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1979 ส่วนบอกาซาหลบหนีอออกนอกประเทศไปได้ และความลับเรื่องวิธีการที่เขาลงโทษฝ่ายตรงข้ามก็ถูกเปิดเผย ดังนั้น ในเวลาต่อมา ศาลของสาธารณรัฐแอฟริกากลางจึงตัดสินโทษบอกาซาให้สำเร็จโทษ แต่ตอนนั้นบอกาซายังไม่กลับเข้าประเทศ
ทางด้านบอกาซาแม้จะรู้ว่าหากกลับประเทศแล้วจะเจอโทษอะไร แต่ยังกลับสาธารณรัฐแอฟริกากลางในปี ค.ศ. 1987 เพราะคิดว่าตนเองเป็นวีรบุรุษของชาติ เขาจึงถูกจับขึ้นศาล แต่ศาลของรัฐบาลใหม่ได้แสดงความเมตตาโดยการลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต ก่อนที่ปีต่อมาจะถูกลดโทษให้เหลือจำคุก 20 ปี
ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1993 บอกาซาได้รับการนิรโทษกรรมจากปัญหาด้านสุขภาพจากประธานาธิบดีอองเดร โคลิงบา ซึ่งเป็นประธาธิบดีคนเดียวกับที่ตัดสินโทษแก่บอกาซา โดยเมื่อถูกปล่อยตัว เขาได้อ้างว่าเป็นอัครทูตองค์ที่สิบสาม พร้อมกับอ้างว่าเคยพบกับสมเด็จพระสันตะปาปาอย่างลับ ๆ
บอกาซาเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลวที่บ้านของตนเองเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996 รวมอายุ 75 ปี โดยได้รับการรายงานว่าเขามีภรรยา 17 คน และบุตรกับสตรีรวมกัน 50 คน
อ้างอิง
[แก้]- Appiah, K. A.; Gates, H. L., บ.ก. (1999). Encyclopedia Africana. New York: Basic Books. ISBN 978-0-465-00071-5.
- Bokassa, Jean-Bédel (1985), Ma vérité (ภาษาฝรั่งเศส), Paris: Carrére Lefon.
- Christenson, R. (1991). Political Trials in History. New Brunswick: Transaction Publishers. ISBN 978-0-88738-406-6.
- Crabb, J. C. (Jul 1978). "The Coronation of Emperor Bokassa". Afr. Today. 25 (3): 25–44. JSTOR 4185788.
- Decalo, S. (Mar 1973). "Military Coups and Military Regimes in Africa". J. Mod. Afr. Stud. 11 (1): 105–127. doi:10.1017/S0022278X00008107. JSTOR 159875. S2CID 154338499.
- Decalo, S. (1989). Psychoses of Power: African personal dictatorships. Boulder: Westview Press. ISBN 978-0-8133-7617-2.
- Delpey, R. (1981). La manipulation (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Jacques Grancher. ISBN 978-2-7339-0005-5.
- Kalck, P. (1971). Central African Republic: a failure in de-colonisation. London: Pall Mall Press. ISBN 978-0-269-02801-4.
- Kalck, P. (2005). Historical Dictionary of the Central African Republic. Lanham: Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-4913-6.
- Knappman, Edward W. (1997). "Jean-Bédel Bokassa Trial: 1986–87". Great World Trials. Detroit: Gale Research. pp. 437–440. ISBN 978-0-7876-0805-7.
- Lee, J. M. (1969). African Armies and Civil Order. New York: Praeger. OCLC 602291326.
- Lentz, H. M. (1994). Heads of States and Governments. Jefferson: McFarland. ISBN 978-0-89950-926-6.
- O'Toole, T. (1982). "Made in France: the Second Central African Republic". Fr. Col. Hist. Soc. 6–7: 136–146. JSTOR 42952119.
- Péan, P. (1977). Bokassa Ier (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Alain Moreau. OCLC 4488325.
- Shaw, K. (2004). Power Mad! A Book of Deranged Dictators. London: O'Mara. ISBN 978-1-84317-106-5.
- Shoumatoff, A. (1988). "The emperor who ate his people". African Madness. New York: Knopf. pp. 91–127. ISBN 978-0-394-56914-7.
- Titley, B. (1997). Dark Age: the political odyssey of Emperor Bokassa. Montreal: MQUP. ISBN 978-0-7735-1602-1.