จัตุรัสเทียนอันเหมิน
จัตุรัสเทียนอันเหมิน | |||||||||||||||||||||||||||||||
จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี ค.ศ. 2020 | |||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 天安门广场 | ||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 天安門廣場 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Tiān'ānmén Guǎngchǎng | ||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาแมนจู | |||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรแมนจู | ᡝᠯᡥᡝ ᠣᠪᡠᡵᡝ ᡩᡠᡴᠠ | ||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรโรมัน | elhe obure duka |
จัตุรัสเทียนอันเหมิน (จีนตัวย่อ: 天安门广场; จีนตัวเต็ม: 天安門廣場; พินอิน: Tiān'ānmén Guǎngchǎng) เป็นจัตุรัสกลางเมืองของกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้ชื่อมาจากประตูเทียนอัน (ประตูแห่งสันติภาพสวรรค์) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจัตุรัส และเป็นเขตแดนกั้นระหว่างจัตุรัสกับพระราชวังต้องห้าม จัตุรัสแห่งนี้ประกอบด้วยอนุสาวรีย์วีรชน มหาศาลาประชาชน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน และอนุสรณ์สถานประธานเหมา ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 เหมา เจ๋อตงได้ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จัตุรัสแห่งนี้ และปัจจุบันก็ยังคงมีการจัดงานฉลองครบรอบเหตุการณ์ดังกล่าว ณ สถานที่เดิม[1] จัตุรัสเทียนอันเหมินมีขนาดกว้าง 765 เมตร ยาว 282 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ 215,730 ตารางเมตร (53.31 เอเคอร์)[2] สถานที่แห่งนี้มีความสำคัญทางวัฒนธรรมอย่างยิ่ง เพราะเป็นจุดเกิดเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของจีนหลายเหตุการณ์
นอกประเทศจีน จัตุรัสแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะสถานที่เกิดเหตุการณ์การประท้วงและการสังหารหมู่ในปี ค.ศ. 1989 ซึ่งยุติลงด้วยการปราบปรามของทหาร เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนนานาชาติ การเชื่อมต่อของอินเทอร์เน็ต และการสื่อสารทั่วโลก ส่งผลให้เกิดผลกระทบทางการเมืองและปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย[3][4][5] ภายในประเทศจีน มีการควบคุมเนื้อหาข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างเข้มงวด[6]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ช่วงต้น
[แก้]ประตูเทียนอัน หมายถึง "ประตูแห่งสันติภาพสวรรค์" เป็นประตูในกำแพงนครจักรพรรดิ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1417 ตรงกับสมัยราชวงศ์หมิง ในช่วงศตวรรษที่ 17 การสู้รบระหว่างกองกำลังกบฏของหลี่ จื้อเฉิงและกองกำลังของราชวงศ์ชิงที่นำโดยชาวแมนจูได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักหรือถึงขั้นทำลายประตูแห่งนั้น จัตุรัสเทียนอันเหมินได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1951 และได้ขยายพื้นที่ออกเป็นสี่เท่าในช่วงทศวรรษที่ 1950[7][8]
ประตูซึ่งในอดีตมีชื่อเรียกว่า "ประตูต้าหมิง" เป็นประตูทางทิศใต้ของนครจักรพรรดิ และตั้งอยู่ใกล้ใจกลางจัตุรัส ในช่วงราชวงศ์ชิง ประตูแห่งนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ประตูต้าชิง" และในยุคสาธารณรัฐ ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "ประตูจงหฺวา" ประตูนี้แตกต่างจากประตูอื่น ๆ ในปักกิ่ง เช่น ประตูเทียนอัน และประตูเจิ้งหยาง ในแง่ที่ว่าเป็นประตูทางพิธีการแท้ ๆ มีซุ้มประตูสามช่อง แต่ไม่มีกำแพงล้อมรอบ มีลักษณะคล้ายคลึงกับประตูทางพิธีการที่พบในสุสานหลวงราชวงศ์หมิง ประตูนี้มีสถานะพิเศษในฐานะ "ประตูแห่งชาติ" ดังที่เห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงชื่อเรียกมาโดยตลอด โดยปกติแล้วประตูดังกล่าวจะปิดอยู่เสมอ เว้นแต่เมื่อจักรพรรดิเสด็จผ่านเท่านั้น สามัญชนจะต้องไปใช้ประตูทางด้านข้างทางทิศตะวันตกและตะวันออกของจัตุรัสแทน เนื่องจากการเบี่ยงเส้นทางจราจรดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาตลาดการค้าที่คึกคักขึ้นในบริเวณลานกว้างที่มีรั้วล้อมรอบทางทิศใต้ของประตูแห่งนี้ โดยตลาดดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า "ถนนตารางหมากรุก"[ต้องการอ้างอิง]
ศตวรรษที่ 19
[แก้]ในปี ค.ศ. 1860 ระหว่างสงครามฝิ่นครั้งที่สอง กองทัพอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองกรุงปักกิ่ง และได้ตั้งค่ายพักแรมใกล้ประตู โดยมีการพิจารณาในเบื้องต้นที่จะเผาประตูเมืองและพระราชวังต้องห้าม ในที่สุด พวกเขาก็ตัดสินใจรักษาพระราชวังต้องห้ามไว้ แต่กลับเลือกเผาพระราชวังฤดูร้อนเดิมแทน จักรพรรดิเสียนเฟิงทรงยอตกลงให้มหาอำนาจตะวันตกตั้งค่ายทหาร และต่อมาได้จัดคณะทูตในบริเวณดังกล่าว ส่งผลให้เกิดย่านสถานทูตขึ้นทางทิศตะวันออกของจัตุรัสโดยทันที เมื่อกองกำลังพันธมิตรแปดชาติล้อมกรุงปักกิ่งในเหตุการณ์กบฏนักมวยในปี ค.ศ. 1900 พวกเขาได้ทำลายอาคารสำนักงานต่าง ๆ และเผากระทรวงหลายแห่ง หลังการสิ้นสุดของกบฏนักมวย บริเวณดังกล่าวได้กลายเป็นพื้นที่สำหรับพันธมิตรแปดชาติในการรวบรวมกำลังทหาร[ต้องการอ้างอิง]
ศตวรรษที่ 20
[แก้]ในปักกิ่ง จัตุรัสเทียนอันเหมินได้รับการพัฒนาปรับปรุงใหม่จากเขตบริเวณภายในของราชวงศ์ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกับอุดมการณ์ทางการเมืองแบบสังคมนิยม[9]: 110 ในช่วงทศวรรษที่ 1950 ขนาดของจัตุรัสได้ขยายเพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่า[9]: 110
ในปี ค.ศ. 1954 ประตูจงหฺวาได้ถูกทุบทิ้งเพื่อเปิดพื้นที่สำหรับการขยายจัตุรัส ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1958 ได้มีการเริ่มดำเนินการขยายจัตุรัสเทียนอันเหมินครั้งใหญ่ ซึ่งโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จภายในระยะเวลาเพียง 11 เดือนในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1959 การดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเหมา เจ๋อตงที่ต้องการสร้างจัตุรัสแห่งนี้ให้ใหญ่และงดงามที่สุดในโลก โดยมีเป้าหมายที่จะรองรับผู้คนได้มากกว่า 500,000 คน ในกระบวนการดังกล่าว มีการรื้อถอนอาคารที่พักอาศัยและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ จำนวนมาก[10] ทางด้านทิศใต้ของจัตุรัสได้มีการสร้างอนุสาวรีย์วีรชนขึ้น พร้อมกันนั้น เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในระหว่างปี ค.ศ. 1958 ถึง 1959 ได้มีการก่อสร้างอาคารสำคัญสิบแห่งขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง โดยหนึ่งในนั้นคือมหาศาลาประชาชน และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การปฏิวัติ (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน) ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นทางด้านตะวันตกและตะวันออกของจัตุรัสแห่งนี้[10]
ตลอดทศวรรษแรกของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน วันชาติ (1 ตุลาคม) ของทุกปี ล้วนมีการจัดสวนสนามทหารครั้งใหญ่ในจัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยมีเจตนาเลียนแบบการฉลองครบรอบการปฏิวัติเดือนตุลาคมของโซเวียตซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หลังจากความล้มเหลวจากนโยบายก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ตัดสินใจลดค่าใช้จ่าย และจัดงานฉลองวันชาติในระดับที่เล็กลงในแต่ละปี พร้อมกับการจัดงานฉลองใหญ่ที่มีการสวนสนามทหารทุก 10 ปี อย่างไรก็ตาม ความวุ่นวายของการปฏิวัติทางวัฒนธรรมเกือบจะขัดขวางไม่ให้งานดังกล่าวเกิดขึ้นในวันชาติปี ค.ศ. 1969 แต่ก็สามารถจัดขึ้นได้ในปี ค.ศ. 1966 และ 1970[ต้องการอ้างอิง]
ในปี ค.ศ. 1971 มีการสร้างภาพเหมือนขนาดใหญ่ของคาร์ล มากซ์ ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ วลาดิมีร์ เลนิน โจเซฟ สตาลิน ซุน ยัตเซ็น และเหมา เจ๋อตงขึ้นในจัตุรัส โดยเป็นผลงานของศิลปินเกอ เสี่ยวกวง ผู้ซึ่งเป็นผู้สร้างภาพเหมือนอันโด่งดังของเหมาที่แขวนอยู่เหนือประตูเทียนอัน ในปี ค.ศ. 1980 ภาพเหล่านั้นจึงถูกถอดลงหลังจากการลดระดับอุดมการณ์ทางการเมืองหลังการถึงแก่อสัญกรรมของเหมา และนับแต่นั้นมาก็มีการนำกลับมาจัดแสดงเฉพาะในวันแรงงาน (1 พฤษภาคม) และวันชาติเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]
สิบปีต่อมาในปี ค.ศ. 1979 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ตัดสินใจไม่จัดงานฉลองใหญ่อีกครั้ง ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่เติ้ง เสี่ยวผิงกำลังรวบรวมอำนาจ และประเทศจีนเพิ่งประสบความพ่ายแพ้ในการสู้รบชายแดนกับเวียดนามในช่วงต้นปี ภายในปี ค.ศ 1984 เมื่อสถานการณ์เริ่มดีและมีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้สาธารณรัฐประชาชนจีนได้จัดการสวนสนามทหารเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 เหตุการณ์สังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินได้ส่งผลให้พิธีดังกล่าวถูกยกเลิกไปในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1989 แต่ในปี ค.ศ. 1999 และ 2009 ซึ่งตรงกับวาระครบรอบ 50 และ 60 ปี ของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้มีการจัดพิธีสวนสนามทหารขึ้นอีกครั้ง[11]
หนึ่งปีหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของเหมา ได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นใกล้กับบริเวณประตูจงหฺวาเดิม ซึ่งตั้งอยู่บนแนวแกนเหนือ–ใต้หลักของจัตุรัส ในการดำเนินโครงการนี้ จัตุรัสแห่งนี้ได้รับการขยายขนาดเพิ่มเติมเพื่อให้มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสมบูรณ์ และมีความจุในการรองรับผู้คนได้ถึง 600,000 คน[10]
การประท้วงและการสังหารหมู่ในปี ค.ศ. 1989
[แก้]ในปี ค.ศ. 1989 จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์การประท้วงในจัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989 ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นจนนำไปสู่การปราบปรามโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชน[12][13] หลังจากการปราบปรามอย่างรุนแรง ผู้นำนักศึกษาจำนวนมากได้หลบหนีไปยังสหรัฐ ด้วยความช่วยเหลือจากหน่วยงานข่าวกรองต่างชาติและบุคคลภายนอกผ่านปฏิบัติการที่เรียกว่า "ปฏิบัติการเยลโลเบิร์ด"[14]
บริบทในเมืองของจัตุรัสได้รับการเปลี่ยนแปลงในช่วงทศวรรษที่ 1990 ด้วยการก่อสร้างโรงละครแห่งชาติ ในบริเวณใกล้เคียง และการขยายอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ[10]
องค์ประกอบ
[แก้]สถานที่แห่งนี้ถูกใช้เป็นที่สำหรับการชุมนุมใหญ่มาตั้งแต่ถูกสร้างขึ้น และความเรียบของพื้นที่ตรงข้ามกับความสูงของอนุสาวรีย์วีรชน ซึ่งมีความสูงถึง 38 เมตร และอนุสรณ์สถานประธานเหมา[7] จัตุรัสตั้งอยู่ระหว่างประตูโบราณขนาดใหญ่สองประตู ได้แก่ ประตูเทียนอันทางทิศเหนือ และประตูเจิ้งหยางหรือที่รู้จักกันในชื่อเฉียนเหมินทางทิศใต้ ทิศตะวันตกของจัตุรัสเป็นที่ตั้งของมหาศาลาประชาชน ทิศตะวันออกของจัตุรัสเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน ซึ่งอุทิศให้แก่ประวัติศาสตร์จีนก่อนปี ค.ศ. 1919
ในปี ค.ศ. 1989 ได้มีการสร้างประติมากรรมเสรีภาพ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อันเป็นที่รู้จักของโลกตะวันตกขึ้น โดยประติมากรรมดังกล่าวได้เคยถือคบเพลิงไว้เหนือจัตุรัสแห่งนี้[15]
การเข้าถึง
[แก้]ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2021 เป็นต้นมา ผู้เข้าชมจะต้องทำการจองล่วงหน้าก่อนเข้าสู่บริเวณจัตุรัส[16]
เหตุการณ์
[แก้]จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ การประท้วงของนักศึกษา และความขัดแย้งด้วยอาวุธหลายครั้ง
ในบรรดาเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในจัตุรัสเทียนอันเหมิน ได้แก่ การประท้วงในระหว่างขบวนการ 4 พฤษภาคมในปี ค.ศ. 1919 การประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยเหมา เจ๋อตงในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1976 หลังการถึงแก่อสัญกรรมของนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล และการประท้วงและการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี ค.ศ. 1989 หลังการถึงแก่อสัญกรรมของหู เย่าปัง ซึ่งถูกปราบปรามลงโดยการปราบปรามทางทหาร[17] ไม่นานหลังจากการปราบปราม เหตุการณ์ที่โด่งดังก็ได้เกิดขึ้นเมื่อมีการบันทึกภาพชายคนหนึ่งซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในนาม "แทงค์แมน" กำลังยืนขวางขบวนรถถังบนถนนฉางอานใกล้กับจัตุรัส
เหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ การสวนสนามทหารประจำปีในวันครบรอบการประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949 จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1959 การสวนสนามทหารเนื่องในวาระครบรอบ 35 ปีของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1984 ซึ่งตรงกับช่วงที่เติ้ง เสี่ยวผิงขึ้นสู่อำนาจ การสวนสนามทหารและขบวนแห่เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปีของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1999 เหตุการณ์การเผาตัวเองประท้วงในจัตุรัสเทียนอันเหมินในปี ค.ศ. 2001 การสวนสนามทหารและขบวนแห่เนื่องในวาระครบรอบ 60 ปีของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 2009 และเหตุการณ์ก่อการร้ายในปี ค.ศ. 2013 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการขับรถชนผู้คนในจัตุรัส ในปี ค.ศ. 2023 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวบุคคลกว่า 20 ราย รวมถึงอเล็กซานดรา หว่อง นักกิจกรรม ในโอกาสครบรอบ 34 ปีเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยให้เหตุผลว่าเป็นการ "กระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย"[18]
พาโนรามา
[แก้]แกลเลอรี
[แก้]-
ประตูเทียนอัน ทางทิศเหนือของจัตุรัส
-
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน ทางทิศตะวันออกของจัตุรัส
-
มหาศาลาประชาชน ทางทิศตะวันตกของจัตุรัส
-
ประตูเจิ้งหยาง เป็นประตูที่ทำหน้าที่เป็นจุดสิ้นสุดทางทิศใต้ของจัตุรัส
-
อนุสาวรีย์วีรชนและอนุสรณ์สถานประธานเหมา ตั้งอยู่ใจกลางจัตุรัส
-
อนุสาวรีย์วีรชน
-
อนุสรณ์สถานประธานเหมา
-
อนุสาวรีย์หน้าอนุสรณ์สถานประธานเหมา
-
นักศึกษาเข้าร่วมพิธีก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949
-
อนุสาวรีย์ชั่วคราวในจัตุรัสเทียนอันเหมิน เพื่อฉลองครบรอบ 90 ปีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี ค.ศ. 2011
-
การไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวนในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2008
-
นักศึกษารวมตัวกันประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ราวปี ค.ศ. 1917–1919
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Columbia Encyclopedia, 6th ed
- ↑ "Tiananmen Square incident". Britannica. สืบค้นเมื่อ 11 February 2021.
- ↑ Miles, James (2 June 2009). "Tiananmen killings: Were the media right?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 3 November 2010.
- ↑ "Tiananmen Square protest death toll 'was 10,000'". BBC News. 23 December 2017. สืบค้นเมื่อ 3 June 2019.
- ↑ "The Truth Behind The Tiananmen Square Massacre - CBS News". www.cbsnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2009-06-04. สืบค้นเมื่อ 2023-06-30.
- ↑ Ruan, Lotus; Knockel, Jeffrey; Ng, Jason Q.; Crete-Nishihata, Masashi (December 2016). "One App, Two Systems". figure 9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2019. สืบค้นเมื่อ 30 September 2019.
- ↑ 7.0 7.1 Safra, J. (Ed.). (2003). Tiananmen Square. In New Encyclopædia Britannica, The (15th ed., Chicago: Vol. 11). Encyclopædia Britannica INC. p. 752. Britannica Online version
- ↑ "Tiananmen Square". Britannica Concise Encyclopedia. 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-08-03.
- ↑ 9.0 9.1 Curtis, Simon; Klaus, Ian (2024). The Belt and Road City: Geopolitics, Urbanization, and China's Search for a New International Order. New Haven and London: Yale University Press. doi:10.2307/jj.11589102. ISBN 9780300266900. JSTOR jj.11589102.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Li, M. Lilliam; Dray-Novey, Alison J.; Kong, Haili (2007) Beijing: From Imperial Capital to Olympic City, Palgrave, ISBN 978-1-4039-6473-1
- ↑ "1999 Tiananmen Square".
- ↑ "Tiananmen Square: What happened in the protests of 1989", BBC, 23 December 2021
- ↑ "Tiananmen killings: Were the media right?". BBC (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2009-06-02. สืบค้นเมื่อ 2023-06-29.
- ↑ "The lives of Tiananmen's most wanted, 30 years on". Quartz (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-31. สืบค้นเมื่อ 2023-06-29.
- ↑ Roberts, John Morris (1993). "The Chinese Enigma". History of the world. New York: Oxford University Press. p. 912. ISBN 0-19-521043-3. OCLC 28378422.
- ↑ "Visit to Tiananmen Square Will be by Reservation Only from December 15". english.beijing.gov.cn (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-11-24. สืบค้นเมื่อ 2023-08-08.
- ↑ Wong, Jan (1997). Red China Blues. Random House. p. 278.
- ↑ "Hong Kong police arrest pro-democracy figures on Tiananmen Square anniversary". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2023-06-04. สืบค้นเมื่อ 2023-06-07.