จักรวรรดิฆวอแรซม์
จักรวรรดิฆวอแรซม์ خوارزمشاهیان Khwārazmshāhiyān | |||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ป. 1077–1231 | |||||||||||||||||||||||
ดินแดนจักรวรรดิฆวอแรซม์ ป. ค.ศ. 1215 ในช่วงต้นการพิชิตของมองโกล | |||||||||||||||||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ | ||||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | กูร์กอนจ์ (1077–1212) ซามาร์กันต์ (1212–1220) กัซนี (1220–1221) แทบรีซ (1225–1231) | ||||||||||||||||||||||
เมืองใหญ่สุด | แชฮ์เรเรย์ | ||||||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | เปอร์เซีย (ทางการ, ราชสำนัก, พูด)[1][2] อาหรับ (เทววิทยา, เหรียญกษาปณ์[3]) เตอร์กิกคิปชาก (ราชวงศ์, พูด)[4] เติร์กโอฆุซ (พูด)[5] | ||||||||||||||||||||||
ศาสนา | อิสลามนิกายซุนนี | ||||||||||||||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||||||||||||||
ฆวอแรซม์ชอฮ์ | |||||||||||||||||||||||
• 1077–1096/7 | Anushtegin Gharchai | ||||||||||||||||||||||
• 1220–1231 | Jalal ad-Din Mingburnu | ||||||||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยกลาง | ||||||||||||||||||||||
• ก่อตั้ง | ป. 1077 | ||||||||||||||||||||||
1219–1221 | |||||||||||||||||||||||
1230 | |||||||||||||||||||||||
• สิ้นสุด | 1231 | ||||||||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||||||||
ประมาณ ค.ศ. 1210[6] or | 2,300,000 ตารางกิโลเมตร (890,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||||
ประมาณ ค.ศ. 1218.[7] | 3,600,000 ตารางกิโลเมตร (1,400,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||||||||||
• 1220[8][หมายเหตุ 1] | 5,000,000 | ||||||||||||||||||||||
สกุลเงิน | ดิรฮัม | ||||||||||||||||||||||
|
จักรวรรดิฆวอแรซม์[หมายเหตุ 2] เป็นจักรวรรดิมุสลิมนิกายซุนนีที่มีต้���ตอจากมัมลูกเตอร์กิก ซึ่งมีวัฒนธรรมแผลงเป็นเปอร์เซีย[9][10]ที่เคยปกครองพื้นที่ที่ปัจจุุบันอยู่ในเอเชียกลาง อัฟกานิสถาน และอิหร่านราวช่วง ค.ศ. 1077 ถึง 1231 ในตอนแรกเคยมีสถานะรัฐบริวารของจักรวรรดิเซลจุค[11] และคาราคิไต (ราชวงศ์เหลียวตะวันตก)[12] แล้วเป็นเอกราชประมาณ ค.ศ. 1190 จนกระทั่งมองโกลเข้าพิชิตใน ค.ศ. 1219–1221
หลังเอาชนะจักรวรรดิเซลจุคและจักรวรรดิฆูริด จนถึงขั้นขู่ขวัญรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ จักรวรรดิฆวอแรซม์จึงกลายเป็น "จักรวรรดิแผ่ขยายที่ทรงพลังและอุกอาจที่สุดในดินแดนเปอร์เซีย" ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 คาดว่าจักรวรรดินี้กลายเป็นมหาอำนาจสูงสุดในโลกมุสลิม[13] มีการประมาณการว่าจักรวรรดิกินพื้นที่ 2.3 ล้านตารางกิโลเมตร[14]ถึง 3.6 ล้านตารางกิโลเมตร[15] ซึ่งทำให้เป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่มีพื้นที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ จักรวรรดิที่มีต้นแบบจากจักรวรรดิเซลจุคเมื่อก่อนหน้า ได้รับการปกป้องจากกองทัพทหารม้าขนาดใหญ่ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวเติร์กคิปชาก[16]
จักรวรรดิฆวอแรซม์เป็นจักรวรรดิเติร์ก-เปอร์เซียสุดท้านก่อนการรุกรานเอเชียกลางโดยมองโกล ใน ค.ศ. 1219 จักรวรรดิมองโกลภายใต้การนำของเจงกิสข่านรุกรานจักรวรรดิฆวอแรซม์ โดยใช้เวลาพิชิตดินแดนทั้งหมดภายใน 2 ปี ชาวมองโกลใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนที่มีอยู่กับความขัดแย้งในจักรวรรดิ เข้าปิดล้อม และปล้นสะดมเมืองที่ร่ำรวยที่สุด ในขณะเดียวกันก็สังหารพลเมืองในหนึ่งในสงครามที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์
วันที่ก่อตั้งจักรวรรดิของฆวอแรซม์ชอฮ์ยังคงเป็นที่โต้แย้ง ราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิได้รับการสถาปนาโดย Anush Tigin (มีอีกชื่อว่า Gharachai) เดิมเป็นทาสชาวเตอร์กิกภายใต้ผู้ปกครองแฆร์จีสถาน (ภายหลังมัมลูก) ในการรับใช้เซลจุค อย่างไรก็ตาม ผู้ทำให้ฆวอแรซม์เป็นเอกราชจากเพื่อนบ้านคือ Ala ad-Din Atsiz (ครองราชย์ ค.ศ. 1127-1156) ผู้เป็นลูกหลานของ Anush Tigin
ประชากร
[แก้]ประชากรในจักรวรรดิฆวอแรซม์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนอิหร่านที่อยู่ประจำที่ และกลุ่มชนเตอร์กิกที่มีสภาพกึ่งร่อนเร่[17]
ประชากรในเขตเมืองของจักรวรรดิกระจุกตัวอยู่ในเมืองขนาดใหญ่จำนวนค่อนข้างน้อย (ตามมาตรฐานสมัยกลาง) เมื่อเทียบกับเมืองขนาดเล็กจำนวนมาก ประชากรในจักรวรรดิคาดว่ามีประมาณ 5 ล้านคนในการรุกรานของมองโกลช่วงต้นใน ค.ศ. 1220 ทำให้มีประชากรเบาบางสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่[8][หมายเหตุ 1] Tertius Chandler และเจรัลด์ ฟ็อกซ์ นักประชากรศาสตร์ในอดีต ระบุจำนวนประชากรในเมืองหลักของจักรวรดริโดยประมาณในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งมีอย่างน้อยสุดที่ 520,000 คน และอย่างมากสุดที่ 850,000 คน:[19]
- ซามาร์กันต์: 80,000–100,000 คน
- นีชอบูร์: 70,000 คน
- เรย์: 100,000 คน
- เอสแฟฮอน: 80,000 คน
- เมิร์ฟ: 70,000 คน
- แบลค์: ประมาณ 30,000 คน
- โบสต์: ประมาณ 40,000 คน
- เฮราต: ประมาณ 40,000 คน
- Otrar, อือร์เก็นช์ และบูฆอรอ: ไม่ทราบ แต่มีน้อยกว่า 70,000 คน[20]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 นอกจากนี้ ประชากรในพื้นที่เดียวกันโดยประมาณ (เปอร์เซียและเอเชียกลาง) เพิ่มอีกบางส่วน (คอเคเซียและอานาโตเลียตะวันออกเฉียงเหนือ) อยู่ที่ประมาณ 5–6 ล้านคน เกือบ 40,000 คนในภายหลังอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซาฟาวิด[18]
- ↑ มีอีกชื่อว่า ฆวอแรซม์ (เปอร์เซีย: خوارزم, อักษรโรมัน: Khwārazm) หรือ ฆวอแรซม์ชอฮ์ (เปอร์เซีย: خوارزمشاهیان, อักษรโรมัน: Khwārazmshāhiyān)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Babayan 2003, p. 14.
- ↑ Katouzian 2007, p. 128.
- ↑ Kuznetsov & Fedorov 2013, p. 145.
- ↑ Gafurov, B.G. Central Asia:Pre-Historic to Pre-Modern Times, Vol. 2, (Shipra Publications, 1989), p. 359.
- ↑ Vasilyeva, G.P. "Ethnic processes in origins of Turkmen people." Soviet Ethnography. Publishing house: Nauka, 1969. pp. 81-98.
- ↑ Turchin, Peter; Adams, Jonathan M.; Hall, Thomas D. (December 2006). "East-West Orientation of Historical Empires". Journal of World-Systems Research. 12 (2): 222. ISSN 1076-156X. สืบค้นเมื่อ 12 September 2016.
- ↑ Rein Taagepera (September 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 497. doi:10.1111/0020-8833.00053. JSTOR 2600793.
- ↑ 8.0 8.1 John Man, "Genghis Khan: Life, Death, and Resurrection", February 6, 2007. Page 180.
- ↑ Bosworth, C.E. (1 January 1998). History of Civilizations of Central Asia (ภาษาอังกฤษ). UNESCO. p. 164. ISBN 978-92-3-103467-1.
Mahm ̄ud and Masc ̄ud I of Ghazna had appointed Turkish slave commanders from their own army, Altuntash and his sons, as governors there with the ancient title of Khwarazm Shah." (...) "In order to secure these important regions, Malik Sh ̄ah had appointed the keeper of the royal washing bowls (tast-d ̄ar), his slave commander An ̄ush-tegin Gharcha’ ̄ı, as titular governor at least in Khwarazm. During Berkyaruk’s reign, the sultan appointed in 1097 another Turkishghul ̄am, Ekinchi b. Kochkar, with the historic title of KhwarazmShah. When, in that same year, Ekinchi was killed, Berkyaruk nominated in his stead An ̄ushtegin’s son Qutb al-D ̄ın Muhammad as governor, and Muhammad’s tenure of power there (1097–1127) inaugurates the fourth and most brilliant line of hereditary KhwarazmShahs
- ↑ C. E. Bosworth : Khwarazmshahs i. Descendants of the line of Anuštigin. In Encyclopaedia Iranica, online ed., 2009: "Little specific is known about the internal functioning of the Khwarazmian state, but its bureaucracy, directed as it was by Persian officials, must have followed the Saljuq model. This is the impression gained from the various Khwarazmian chancery and financial documents preserved in the collections of enšāʾdocuments and epistles from this period. The authors of at least three of these collections—Rašid-al-Din Vaṭvāṭ (d. 1182-83 or 1187-88), with his two collections of rasāʾel, and Bahāʾ-al-Din Baḡdādi, compiler of the important Ketāb al-tawaṣṣol elā al-tarassol—were heads of the Khwarazmian chancery. The Khwarazmshahs had viziers as their chief executives, on the traditional pattern, and only as the dynasty approached its end did ʿAlāʾ-al-Din Moḥammad in ca. 615/1218 divide up the office amongst six commissioners (wakildārs; see Kafesoğlu, pp. 5-8, 17; Horst, pp. 10-12, 25, and passim). Nor is much specifically known of court life in Gorgānj under the Khwarazmshahs, but they had, like other rulers of their age, their court eulogists, and as well as being a noted stylist, Rašid-al-Din Vaṭvāṭ also had a considerable reputation as a poet in Persian." Norman M. Naimark, Genocide: A World History (Oxford University Press, 2017), 20 "The Persian-speaking and Islamic Khwarezmian empire, which was founded in Central Asia south of the Aral Sea around its capital of Samarkand, and included such remarkable centers of trade and civilizations as Bukhara and Urgench, ..."
- ↑ Rene Grousset, The Empire of the Steppes:A History of Central Asia, Transl. Naomi Walford, Rutgers University Press, 1991, page 159.
- ↑ Biran, Michel, The Empire of the Qara Khitai in Eurasian history, (Cambridge University Press, 2005), 44.
- ↑ Bosworth, C.E. (1 January 1998). History of Civilizations of Central Asia (ภาษาอังกฤษ). UNESCO. p. 164. ISBN 978-92-3-103467-1.
This dynasty eventually built up, as the Seljuq empire in the east tottered to its close, the most powerful and aggressively expansionist empire in the Persian lands, in the end defeating their rivals for control of Khurasan, the Ghurids of Afghanistan, threatening western Persia and Iraq and the Abbasid caliphate itself, and only disintegrating under the overwhelming military might of the Mongol invaders in the opening decades of the thirteenth century.
- ↑ Turchin, Peter; Adams, Jonathan M.; Hall, Thomas D (December 2006). "East-West Orientation of Historical Empires". Journal of World-Systems Research. 12 (2): 222. ISSN 1076-156X. สืบค้นเมื่อ 12 September 2016.
- ↑ Rein Taagepera (September 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 497. doi:10.1111/0020-8833.00053. JSTOR 2600793.
- ↑ David Abulafia (2015). The New Cambridge Medieval History: Volume 5, C.1198-c.1300. p. 610.
- ↑ Gafurov, B.G. Central Asia: Pre-Historic to Pre-Modern Times. vol. 2. Shipra Publications, 1989. page 359.
- ↑ Dale, Stephen Frederic (15 August 2002). Indian Merchants and Eurasian Trade, 1600–1750. p. 19. ISBN 9780521525978. สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
- ↑ Tertius Chandler & Gerald Fox, "3000 Years of Urban Growth", pp. 232–236.
- ↑ Chandler & Fox, p. 232: Merv, Samarkand, and Nipashur are referred to as "vying for the [title of] largest" among the "Cities of Persia and Turkestan in 1200", implying populations of less than 70,000 for the other cities (Otrar and others do not have precise estimates given). "Turkestan" seems to refer to Central Asian Turkic countries in general in this passage, as Samarkand, Merv, and Nishapur are located in modern Uzbekistan, Turkmenistan, and northeastern Iran respectively.
ข้อมูล
[แก้]- Babayan, K. (2003). Mystics, monarchs, and messiahs: cultural landscapes of early modern Iran. Harvard Center for Middle Eastern Studies.
- Katouzian, Homa (2007). Iranian History and Politics: The Dialectic of State and Society. Routledge. ISBN 978-0415297547.
- Kuznetsov, Andrew; Fedorov, Michael (2013). "Late Drachms of the Khwārazmshāh Azkājvār and Imitations of such Drachms". Iran: Journal of the British Institute of Persian Studies. Taylor & Francis. 51 (1): 145–149.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Khwarazmian Empire