ข้ามไปเนื้อหา

ฆาบิเอร์ เอร์นันเดซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฆาบิเอร์ เอร์นันเดซ
เอร์นันเดซกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในปี 2010
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ฆาบิเอร์ เอร์นันเดซ บัลกาซาร์[1]
วันเกิด (1988-06-01) 1 มิถุนายน ค.ศ. 1988 (36 ปี)
สถานที่เกิด กัวดาลาฮารา เม็กซิโก
ส่วนสูง 1.75 m (5 ft 9 in)[2]
ตำแหน่ง กองหน้าตัวเป้า
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
กัวดาลาฮารา
หมายเลข 14
สโมสรเยาวชน
1997–2006 กัวดาลาฮารา
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2006–2010 กัวดาลาฮารา 64 (26)
2010–2015 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 103 (37)
2014–2015เรอัลมาดริด (ยืมตัว) 23 (7)
2015–2017 ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน 54 (28)
2017–2019 เวสต์แฮมยูไนเต็ด 55 (16)
2019–2020 เซบิยา 9 (1)
2020–2023 แอลเอ แกลักซี 74 (38)
2024– กัวดาลาฮารา 2 (0)
ทีมชาติ
2007 เม็กซิโก อายุไม่เกิน 20 ปี 2 (1)
2009–2019 เม็กซิโก 109 (52)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 2 มีนาคม 2024

ฆาบิเอร์ เอร์นันเดซ บัลกาซาร์ (สเปน: Javier Hernández Balcázar; เกิด 1 มิถุนายน ค.ศ. 1988) เป็นนักฟุตบอลชาวเม็กซิโก ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งกองหน้าตัวเป้าให้กับกัวดาลาฮาราในประเทศเม็กซิโกอดีตเคยเล่นกับสโมสรฟุตบอลเม็กซิโก ชีบัสโกรัส ในกัวดาลาฮารา และสร้างชื่อกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในพรีเมียร์ลีกของประเทศอังกฤษ เขาลงแข่งในฐานะนักฟุตบอลทีมชาติเม็กซิโกครั้งแรกในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 โดยแข่งขันกับทีมชาติโคลอมเบีย และยังเป็นตัวแทนแข่งขันในฟุตบอลโลก 2010 ซึ่งเขาทำประตูได้ 2 ประตู เขาเป็นบุตรชายของนักฟุตบอล ฆาบิเอร์ เอร์นันเดซ กูติเอร์เรซ และหลานชายของนักฟุตบอล โตมัส บัลกาซาร์

ชีวิตช่วงแรก

[แก้]

เอร์นันเดซ เกิดที่เมืองกัวดาลาฮารา รัฐฮาลิสโก เขาเริ่มเล่นในลีกสันทนาการเมื่อเขาอายุ 7 ปี พ่อของเขาชื่อ ฆาบิเอร์ เอร์นันเดซ กูติเอร์เรซ ซึ่งเป็นนักฟุตบอลทีมชาติเม็กซิโกตำแหน่งกองหน้าตัวเป้า พ่อของเขาพูดว่า เขาไม่คิดว่าลูกชายของเขาจะสามารถเล่นในระดับอาชีพได้ เอร์นันเดซได้ร่วมสโมสรเซเดกัวดาลาฮารา เมื่ออายุ 9 ปี โดยเซ็นสัญญาระดับอาชีพเมื่อเขาอายุ 15 ปี[3] ในปี ค.ศ. 2005 เขาร่วมลงแข่งฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 17 ปี แต่เขาเกิดบาดเจ็บ ไม่ได้ลงเล่นในฐานะทีมผู้ชนะเลิศ[4]

ระดับอาชีพ

[แก้]

เซเดกัวดาลาฮารา

[แก้]

เอร์นันเดซ เริ่มเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลชีบัสโกรัส ในเตปิก รัฐนายาริต ในฤดูกาล 2005–06 เขาลงเล่นครั้งแรกกับชีบัสในอาเปร์ตูรา 2006 โดยได้รับชัยชนะเหนือ เนกาชา ในสนามกีฬาฮาลิสโก กับประตู 3–0 เอร์นันเดซลงแทนโอมาร์ บราโบ ในนาทีที่ 82 ก่อนที่จะทำประตูที่ 4 ใน 5 นาทีต่อมา เป็นประตูเดียวในการลงสนาม 7 ครั้งในฤดูกาล 2006–07 จากนั้นเขาลงแข่งขันอีก 6 ครั้งในฤดูกาล 2007–08 แต่ไม่สามารถทำประตูได้

เอร์นันเดซลงแข่งในอาเปร์ตูรา 2008 จำนวน 10 นัดแต่ไม่สามารถทำประตูได้ แต่เขาทำประตูได้ 4 ประตูในการลงแข่ง 15 ครั้งใน เกลาซูรา 2009 และในอาเปร์ตูรา 2009 เอร์นันเดซเป็นผู้ทำประตูมากที่สุดลำดับที่ 3 กับ 11 ประตูในการลงแข่ง 17 นัด[5] เขาลงแข่งในตอร์เนโอบีเซนเตนารีโอ 2010 ทำประตูได้ 8 ประตูในการลงแข่ง 5 นัด[6] เมื่อจบเกม เขาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดใน ตอร์เนโอบีเซนเตนารีโอ 2010 กับจำนวน 10 ประตู ในการลงแข่ง 11 นัด[7]

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

[แก้]

เปิดตัว

[แก้]

สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในอังกฤษ เริ่มรู้ความสามารถของเอร์นันเดซ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2009 โดยแมวมองได้เดินทางไปเม็กซิโกในเดือนธันวาคมของปีนั้น และได้รายงานในทางบวกหลังจากดูกาลเล่นของเขาไม่กี่เกม แต่เพราะด้วยอายุของเอร์นันเดซ เดิมทีสโมสรตั้งใจจะรอก่อนที่จะเริ่มเซ็นสัญญา แต่เพราะว่าการพัฒนาอันโดดเด่นที่เขาเล่นให้กับทีมชาติในฟุตบอลโลก เป็นแรงผลักดันให้สโมสรเร่งที่จะประมูลค่าตัว จิม ลอว์เลอร์ หัวหน้าแมวมองของยูไนเต็ด ได้เดินทางไปเม็กซิโกเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม เพื่อดูการเล่นให้เอร์นันเดซ และได้รายงานด้านบวกอีกครั้งในตัวเขา หลังจากนั้นทนายของสโมสรได้เดินทางไปเม็กซิโกเพื่อดำเนินการเรื่องงานเอกสาร[8]

เอร์นันเดซในนัดเปิดตัวกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2010 เอร์นันเดซได้เซ็นสัญญากับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด กับค่าตัวที่ไม่เปิดเผย ภายใต้การขอใบอนุญาตทำงาน[9] ก่อนหน้านั้น เอร์นันเดซได้เปิดตัวกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบก่อนชิงชนะเลิศ นัดที่ 2 ที่ทีมแข่งขันกับสโมสรฟุตบอลบาเยิร์น มิวนิก ที่สนามกีฬาโอลด์แทรฟฟอร์ด[10] โดยการตกลงกันนี้เป็นไปด้วยความลับ เอเยนต์ของเอร์นันเดซ เก็บเป็นความลับ โดยที่ปู่ของเขา โตมัส บัลกาซาร์ คิดว่าเอร์นันเดซเดินทางไปที่แอตแลนตา ในสหรัฐอเมริกาเสียด้วยซ้ำ[11][12] และภายใต้สัญญา แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้แข่งขันนัดกระชับมิตรกับชีบั��� เพื่อเปิดสนามใหม่ ที่จุผู้ชมได้ 45,000 คน เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม[13] เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ใบอนุญาตทำงานผ่าน ทำให้เขาย้ายมาอยู่กับแมนเชสเตอร์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม[14]

ฤดูกาล 2010–11

[แก้]
เอร์นันเดซ กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

เอร์นันเดซได้ลงแข่งครั้งแรกกับยูไนเต็ดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ในนาทีที่ 63 เปลี่ยนตัวแทน นานี ในการแข่งขันกับทีมรวมดาวเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ 2010 จากนั้นเขาได้ทำประตูแรกใหักับสโมสรในอีก 18 นาทีต่อมา โดยเตะลูกโด่งข้าม นิก ริมานโด ผู้รักษาประตูจากนอกเขตโทษ โดยได้รับบอลผ่านจากดาร์เรน เฟล็ตเชอร์[15] 2 วันหลังจากนั้น เอร์นันเดซยิงประตูแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในนัดกระชับมิตรที่เขาเล่นให้กับสโมสรเก่า ชีบัส โดยทำประตูได้ในนาทีที่ 8 จากนั้นเขาก็เปลี่ยนข้าง แต่ก็ไม่สามารถทำให้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้ชัยชนะได้ โดยพ่ายไป 3-2[16] ในช่วงก่อนฤดูกาลเขาลงแข่งในครึ่งหลัง ยิงประตูที่ 3 ให้กับยูไนเต็ดในชัยชนะ 7–1 เหนือต่อลีกไอร์แลนด์ ในนัดการเปิดตัวสนามกีฬาเอวิวา เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม[17]

เอร์นันเดซเปิดตัวการแข่งขันเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม โดยทำประตูแรกในประตูที่ 3 ของยูไนเต็ด 3–1 ชนะเชลซีไปได้ ในเอฟเอคอมมูนิตีชีลด์ 2010 เขาลงในครึ่งหลัง โดยเอร์นันเดซได้รับผ่านบอลจากอันโตเนียว บาเลนเซีย พุ่งตัวยิงเข้าประตู[18] ในวันที่ 16 สิงหาคม เอร์นันเดสลงการแข่งขันในพรีเมียร์ลีกครั้งแรก โดยเปลี่ยนตัวแทนเวย์น รูนีย์ ในนาทีที่ 63 ในนัดที่ทีมชนะสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด[19] เมื่อวันที่ 29 กันยายน เอร์นันเดซทำประตูแรกในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ที่เขาทำให้ทีมชนะ 1–0 ต่อสโมสรฟุตบอลบาเลนเซีย[20] เขาทำประตูแรกให้กับยูไนเต็ดครั้งแรกในพรีเมียร์ลีกเสมอ 2–2 กับสโมสรฟุตบอลเวสต์บรอมมิชอัลเบียน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม[21] ต่อมาอีก 8 วัน เขาทำประตูแรกในฐานะทีมเยือน โดยทำ 2 ประตู ชัยชนะเหนือสโมสรฟุตบอลสโตกซิตี[22] 2 วันต่อมาเขาออกจากม้านั่งสำรองในนาทีที่ 81 เปลี่ยนตัวแทน เบเบ ทำประตูในนาทีสุดท้าย เป็นประตูแรกในลีกคัพของเขา โดยชนะเหนือสโมสรฟุตบอลวูล์ฟเวอร์แฮมป์ตันวันเดอเรอส์ ในบ้านตัวเอง 2–1[23] เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2011 เอร์นันเดซออกจากที่นั่งสำรองที่ฮอว์ทอร์นส นำทีมชนะ 2–1 ต่อเวสต์บรอมมิชอัลเบียน.[24] 3 วันต่อมาเอร์นันเดซถือสถิติชาวเม็กซิโกในพรีเมียร์ลีกที่ทำประตูมากที่สุด หลังจากทำประตู 2–1 ชนะสโตกซิตี[25]ในวันที่ 21 มกราคม เอร์นันเดซทำประตูตีเสมอ ในนัดกลับมาชนะ 3–2 เหนือสโมสรฟุตบอลแบล็กพูล[26] 4 วันต่อมา เขาทำประตูแรกในเอฟเอคัพ นำชัยชนะเหนือสโมสรฟุตบอลเซาแธมป์ตัน 2–1 ในการเยือน[27] เอร์นันเดซทำ 2 ประตูในการทำประตู 4–0 ในการเยือนสโมสรฟุตบอลวีแกนแอธเลติก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์[28] 8 วันต่อมาเขาทำประตูในนัดดาร์บีในการเยือนกับสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล แต่พ่ายไป 3–1[29] เมื่อวันที่ 15 มีนาคม เอร์นันเดซทำประตู 2 ประตูชนะโอแล็งปิกเดอมาร์แซย์ ทำให้ยูไนเต็ดเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ[30] ในวันที่ 2 เมษายน เขาทำประตูสุดท้ายในนัดเจอกับ เวสต์แฮมยูไนเต็ด ที่ตีตื้น 2 ประตู ในนัดที่แมนยูไนเต็ดชนะในการเยือน 4–2[31] เขายังเป็นผู้ทำประตูแรกใน 2–1 ของรอบก่อนชิงชนะเลิศ ชนะเหนือสโมสรฟุตบอลเชลซีในแชมเปียนส์ลีก จนจบการแข่งขันที่ 3–1 ทำให้ยูไนเต็ดผ่านสู่รอบรองชนะเลิศ[32]

เรอัลมาดริด

[แก้]

ในช่วงต้นฤดูกาล 2014–15 เอร์นันเดซ ได้ย้ายไปร่วมทีมเรอัลมาดริด ในลาลิกาของสเปน แบบยืมตัว หลังจากไม่อยู่ในแผนการทำทีมของลูวี ฟัน คาล ผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคนใหม่

เอร์นันเดซเคยทำประตูครั้งแรกในลาลิกาในนัดที่เรอัลมาดริดไปบุกถล่มลาคอรุ่นญา 8-2 เอร์นันเดซทำประตู 2 ประตูในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ จากการเปลี่ยนตัวเอากาแร็ธ เบล ออกจากสนามในนาทีที่ 77

ในยูฟ่าแชมเปียนลีกฤดูกาลเดียวกัน ในรอบก่อนรองชนะเลิศนัดที่ 2 ที่เรอัลมาดริด พบกับ แอตแลนติโกมาดริด ที่สนามซานเตียโกเบร์นาเบว เอร์นันเดซเป็นผู้ยิงประตูให้ทีมเอาชนะไปได้ 1–0 ในนาทีที่ 87 ซึ่งเป็นประตูที่ทำให้ทีมได้ผ่านเข้าไปสู่รอบรองชนะเลิศ เนื่องจากในการแข่งนัดแรกทั้งคู่เสมอกันไป 0–0 [33]

ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน

[แก้]

ในช่วงต้นฤดูกาล 2015–16 เอร์นันเดซได้ย้ายไปร่วมทีมไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน ในบุนเดิสลีกาของเยอรมนี หลังจากไม่อยู่ในแผนการทำทีมของลูวี ฟัน คาล ด้วยราคา 12 ล้านปอนด์ (ประมาณ 660 ล้านบาท) และระยะเวลาสัญญา 3 ปี

การแข่งขันระหว่างประเทศ

[แก้]

เม็กซิโก อายุไม่เกิน 20 ปี

[แก้]

เอร์นันเดซ เป็นหนึ่งใน 21 คนของฟุตบอลทีมชาติเม็กซิโกอายุไม่เกิน 20 ปี ในการแข่งขันฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี ปี 2007 ที่จัดขึ้นที่ประเทศแคนาดา โดยเขาสวมเสื้อเบอร์ 11[34]

ทีมชาติเม็กซิโก

[แก้]
ฆาบิเอร์ เอร์นันเดซ กับทีมชาติเม็กซิโก

เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2009 เอร์นันเดซ ลงแข่งเปิดตัวครั้งแรกในฐานะทีมชาติเม็กซิโก โดยแข่งกับฟุตบอลทีมชาติโคลอมเบีย เขาได้ช่วยส่งการทำประตูไปใน 2–1 แต่ก็แพ้ไป[35] เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 เอร์นันเดซ ทำประตู 2 ประตูในนัดแข่งกับโบลิเวีย และเขาได้ช่วยส่งทำประตูให้กับเบราเลียว ลูนา ต่อมา 3 มีนาคม เอร์นันเดซทำประตูทีมนิวซีแลนด์ ส่งผลให้เม็กซิโกชนะไป 2–0[36] เมื่อวันที่ 17 มีนาคม เอร์นันเดซทำประตูที่ 4 ในฐานะทีมชาติ โดยชนะทีมเกาหลีเหนือไป 2–1[37] เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม เขาทำประตูในนัดแข่งกับเนเธอร์แลนด์ แต่ก็พ่ายไป 2–1[38] วันที่ 30 พฤษภาคม เอร์นันเดซยิง 2 ประตู ในนัดชนะแกมเบีย 5–1[39]

ฟุตบอลโลก 2010

[แก้]

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2010 เอร์นันเดซ เปิดตัวเล่นในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก ในเกมนัดเปิดระหว่างฟุตบอลทีมชาติแอฟริกาใต้ โดยเสมอไป 1-1 เขาลงแข่งในนาทีที่ 73 แทนที่ กีเยร์โม ฟรันโก[40] เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน เอร์นันเดซ ออกจากที่นั่งตัวสำรอง ลงแข่ง ครั้งนี้เขาสามารถทำประตูแรกในฟุตบอลโลกได้ โดยได้รับชัยชนะเหนือฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส 2–0 เขาดีดตัวออกจากกับดักล้ำหน้า รับบอลจาก ราฟาเอล มาร์เกซ โดยหลบ อูโก โลลิส (Hugo Lloris) และแปเข้าตาข่ายไป[41][42] เช่นเดียวกับที่ปู่ของเขา โตมัส บัลกาซาร์ เคยทำประตูในฟุตบอลโลก 1954 เมื่อแข่งกับฝรั่งเศส[43] เขาได้รับเลือกให้เป็นนักเตะแห่งนัดนี้[44] ในวันที่ 27 มิถุนายน เอร์นันเดซทำประตูที่ 2 ในฟุตบอลโลก โดยหลบ มาร์ติง เดมีเชลิส ในสุดปลายเขตโทษ ก่อนที่จะใช้เท้าซ้ายยิงเข้าทะลุหลังคาประตู[45] แต่ในนัดนี้เม็กซิโกก็พ่ายให้กับอาร์เจนตินาไป 3-1 ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย[46] จากสถิติของฟีฟ่า แสดงให้เห็นว่าเอร์นันเดซเป็นผู้เล่นที่มีความไวที่สุดในฟุตบอลโลก 2010 กับความเร็วสูงสุด 32.15 กิโลเมตร/ชั่วโมง[47]

หลังฟุตบอลโลก

[แก้]

เขาทำประตูในนัดแรกหลังจากที่เม็กซิโกแข่งฟุตบอลโลก ในนัดกระชับมิตร แข่งกับฟุตบอลทีมชาติสเปน แชมป์ฟุตบอลโลก ในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2010 เขาทำประตูได้ในนาทีที่ 12 แต่ต่อมา ดาบิด ซิลบา ทำประตูเสมอในนาทีสุดท้าย ทำให้ผลเสมอกัน 1–1[48] เอร์นันเดซทำประตูในการแข่งขันระหว่างประเทศครั้งแรกของเม็กซิโกในปี ค.ศ. 2011 โดยเขาทำประตูแรกในชัยชนะ 2-0 ในการแข่งขันกับฟุตบอลทีมชาติบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์[49]

การทำประตูในการแข่งขันระหว่างประเทศ

[แก้]

ยู 20

[แก้]
ข้อมูลล่าสุดของเกมการแข่งขันวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2007[50]

ทีมชาติ

[แก้]
ข้อมูลล่าสุดของเกมการแข่งขันวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2011

สถิติ

[แก้]

สโมสร

[แก้]
ฆาบิเอร์ เอร์นันเดซ (2019)
สโมสร ฤดูกาล ลีก ถ้วย1 ลีกคัป ระดับทวีป2 อื่น ๆ3 รวม
ลงแข่ง ประตู ลงแข่ง ประตู ลงแข่ง ประตู ลงแข่ง ประตู ลงแข่ง ประตู ลงแข่ง ประตู
กัวดาลาฮารา 200607 7 1 0 0 1 0 1 0 9 1
200708 5 0 0 0 5 0 1 0 11 0
200809 22 4 3 0 7 3 0 0 32 7
2009–10 28 21 0 0 0 0 0 0 28 21
รวม 62 26 3 0 13 3 2 0 80 29
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 2010–11 27 13 5 1 3 1 9 4 1 1 45 20
2011-12 23 10 1 0 0 0 7 2 0 0 31 12
รวม 50 23 6 1 3 1 16 6 1 1 76 32
รวมทั้งหมด 114 49 9 1 3 1 28 9 2 1 156 60

สถิตินับถึงการแข่งขันในวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 2011[51][52][53][54][55]

ทีมชาติ

[แก้]
Mexico national team
ปีลงเล่นประตู
2009 1 0
2010 19 11
2011 1 1
รวม 23 14

สถิตินับถึงการแข่งขันในวันที่ 30 มีนาคม 2011[56]

เกียรติประวัติ

[แก้]

สโมสร

[แก้]
กัวดาลาฮารา
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

เกียรติประวัติส่วนตัว

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

เอร์นันเดซเป็นบุตรชายของฆาบิเอร์ เอร์นันเดซ กูติเอร์เรซ เล่นให้กับ 3 สโมสรในเม็กซิโก และเป็นนักฟุตบอลทีมชาติเม็กซิโก ในชุดฟุตบอลโลก 1986[57] ฆาบิเอร์ เอร์นันเดซ กูติเอร์เรซลาออกจากงานที่เป็นผู้จัดการทีมสำรองกัวดาลาฮารา เพื่อดูบุตรชายของตนแข่งขันในฟุตบอลโลก 2010 ในแอฟริกาใต้[58] เอร์นันเดซเป็นหลานของโตมัส บัลกาซาร์[59] ที่เล่นกับสโมสรเซเดกวาดาลาฮาลา และเล่นในฟุตบอลทีมชาติเม็กซิโก ชุดฟุตบอลโลก 1954[60] มีรายงานว่าครอบครัวของเขาได้ย้ายมาอยู่ที่อังกฤษ รวมถึงบัลกาซาร์ ปู่ของเขาด้วย[61][62]

ระหว่างที่เขาอยู่ที่ประเทศเม็กซิโกนั้น เขาได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยอาเตมากักและอาศัยอยู่กับครอบครัวเขา และด้วยภาษาสเปนเป็นภาษาพูดพื้นฐานของเขา เอร์นันเดซยังสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วด้วย[63]

ชื่อเล่น

[แก้]

"ชิชาริโต" คือชื่อเล่นอันเป็นที่รู้จักกันดีของเอร์นันเดซ มีความหมายคือ "ถั่วน้อย" ในภาษาสเปน เพราะว่าเขาเป็นบุตรชายของฆาบิเอร์ เอร์นันเดซ กูติเอร์เรซ ผู้ซึ่งมีชื่อเล่นว่า "ชิชาโร" (สเปน: Chicharo; ถั่ว) นั่นเป็นเพราะว่าเขามีตาสีเขียว[64]

สไตล์การเล่น

[แก้]

เอร์นันเดซ ได้รับการกล่าวถึงจากผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ว่า เป็นนักเตะ 2 เท้า ที่เร็วมาก ครองบอลกระโดดได้ดี และเป็นมือยิงโดยธรรมชาติ เฟอร์กูสันยังบอกว่า การเล่นของเอร์นันเดซ ทำให้เขานึกถึงอดีตนักเตะของยูไนเต็ดอย่างอูเลอ กึนนาร์ ซูลชาร์ ที่มีฉายาว่า เพชฌฆาตหน้าเด็ก[65] ส่วนอดีตเพื่อนร่วมทีม เฆซุส ปาดิยา กล่าวว่า "น่าอัศจรรย์มากในอากาศ" ในเรื่องการกระโดดสูง[3]

หมายเหตุ

[แก้]
1รวมถึง InterLiga และ FA Cup
2รวมถึง Copa Libertadores, Copa Sudamericana, North American SuperLiga และ UEFA Champions League
3รวมถึงการแข่งขันอื่น อย่าง The Playoffs, FA Community Shield, UEFA Super Cup, Intercontinental Cup และ FIFA Club World Cup

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Premier League clubs submit squad lists" (PDF). PremierLeague.com. Premier League. 2 February 2012. p. 23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 February 2012. สืบค้นเมื่อ 2 February 2012.
  2. "Javier Hernandez – Quote, Unquote". ManUtd.com. Manchester United. สืบค้นเมื่อ 27 April 2011.
  3. 3.0 3.1 Billy Witz (1 April 2010). "For World Cup, Javier Hernández Could Be Mexico's Next Big Thing". New York Times. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
  4. "Javier Hernández". ESPN Soccernet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-29. สืบค้นเมื่อ 1 July 2010.
  5. "Tabla de Goleo Individual". Femexfut. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
  6. "History awaits flawless Chivas". FIFA.com. 26 February 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-09. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
  7. "Estadística - Primera División Profesional - Temporada 2009-2010 Torneo Bicentenario". Femexfut. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-15. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
  8. Coppack, Nick (9 April 2010). "Boss: We had to move fast". ManUtd.com. ManUtd.com. สืบค้นเมื่อ 1 July 2010.
  9. Communications Dept. (8 April 2010). "Reds agree Hernandez deal". ManUtd.com. Manchester United. สืบค้นเมื่อ 8 April 2010.
  10. Thompson, Gemma (8 April 2010). "Chicharito's 'dream' move". ManUtd.com. Manchester United. สืบค้นเมื่อ 13 April 2010.
  11. Duncan White (11 April 2010). "Javier Hernandez, aka El Chicharito, living the Manchester United dream". London: The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
  12. T Marshall, S Bartram (9 June 2010). "United's covert operation". Maqn Utd.com. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
  13. Marshall, Tom (8 April 2010). "Manchester United to play Chivas at new stadium". guadalajarareporter.com. Guadalajara Reporter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ 8 April 2010.
  14. Tuck, James (27 May 2010). "Chicharito granted work permit". ManUtd.com. Manchester United. สืบค้นเมื่อ 27 May 2010.
  15. Thompson, Gemma (28 July 2010). "MLS All-Stars 2 United 5". ManUtd.com. Manchester United. สืบค้นเมื่อ 28 July 2010.
  16. Thompson, Gemma (30 July 2010). "Chivas 3 United 2". ManUtd.com. Manchester United. สืบค้นเมื่อ 1 August 2010.
  17. Coppack, Nick (4 August 2010). "Ireland XI 1 United 7". ManUtd.com. Manchester United. สืบค้นเมื่อ 4 August 2010.
  18. Fletcher, Paul (8 August 2010). "Chelsea 1-3 Man Utd". BBC Sport. British Broadcasting Company. สืบค้นเมื่อ 8 August 2010.
  19. Chowdhury, Saj (16 August 2010). "Man Utd 3-0 Newcastle". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 16 August 2010.
  20. Stevenson, Johnson (29 September 2010). "Valencia 0-1 Man Utd". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 29 September 2010.
  21. Sanghera, Mandeep (16 October 2010). "Man Utd 2-2 West Brom". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 16 October 2010.
  22. McNulty, Phil (24 October 2010). "Stoke 1-2 Man Utd". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 24 October 2010.
  23. Stevenson, Jonathan (26 October 2010). "Man Utd 3-2 Wolves". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 26 October 2010.
  24. Chowdhury, Saj (1 January 2011). "West Brom 1-2 Man Utd". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 1 January 2011.
  25. Stevenson, Jonathan (4 January 2011). "Man Utd 2-1 Stoke". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 4 January 2011.
  26. McNulty, Phil (25 January 2011). "Blackpool 2-3 Man Utd". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011.
  27. Hughes, Ian (28 January 2011). "Southampton 1-2 Man Utd". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 28 January 2011.
  28. Whyatt, Chris (26 February 2011). "Wigan 0-4 Man Utd". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 26 February 2011.
  29. McNulty, Phil (6 March 2011). "Liverpool 3-1 Man Utd". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 6 March 2011.
  30. McNulty, Phil (15 March 2011). "Man Utd 2-1 Marseille". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 15 March 2011.
  31. Sanghera, Mandeep (2 April 2011). "West Ham 2-4 Man Utd". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2 April 2011.
  32. McNulty, Phil (12 April 2011). "Man Utd 2-1 Chelsea". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  33. ""ชิชาริโต" ซัดชัย "ชุดขาว" เฉือน "ตราหมี" ลิ่วตัดเชือก". ผู้จัดการออนไลน์. 23 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015.
  34. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 2011-03-21.
  35. "Mexico 1-2 Colombia". mediotiempo.com. สืบค้นเมื่อ 30 September 2009.
  36. "Gutsy All Whites fall to fiery Mexicano". nzherald.co.nz. สืบค้นเมื่อ 6 March 2010.
  37. "Mexico 2-1 North Korea: Hernandez Strikes Again". goal.com. สืบค้นเมื่อ 18 March 2010.
  38. "Netherlands 2-1 Mexico". soccernet.espn.go.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-22. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  39. "Mexico 5-1 Gambia". soccernet.espn.go.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  40. "South Africa 1-1 Mexico". British Broadcasting Company. สืบค้นเมื่อ 11 June 2010.
  41. "Mexico subs shoot down France". FIFA. 17 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-20. สืบค้นเมื่อ 3 July 2010.
  42. "France 0-2 Mexico". British Broadcasting Company. สืบค้นเมื่อ 17 June 2010.
  43. Steve Bartram (17 June 2010). "Chicharito steals the show". Man Utd.com. สืบค้นเมื่อ 3 July 2010.
  44. "France-Mexico". 17 June 2010. FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-26. สืบค้นเมื่อ 3 July 2010.
  45. "Tevez shines as Argentina oust Mexico". FIFA. 27 June 2010. สืบค้นเมื่อ 3 July 2010.
  46. "Argentina 3-1 Mexico". British Broadcasting Company. สืบค้นเมื่อ 27 June 2010.
  47. "Statistical stars from the group stage". FIFA.com. 26 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-02. สืบค้นเมื่อ 6 March 2011.
  48. "Silva salvages draw for Spain". ESPNsoccernet. 11 August 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
  49. Guzmán, Sergio (9 February 2011). "México 2-0 Bosnia-Herzegovina... Debut esperanzador". MedioTiempo.com (ภาษาสเปน). Medio Tiempo. สืบค้นเมื่อ 9 February 2011.
  50. "World Youth Cup (U-20) 2007 (Canada)". RSSSF.com. Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 16 March 2011. สืบค้นเมื่อ 16 March 2011.
  51. "Javier Hernández Medio Tiempo". MedioTiempo.com. Medio Tiempo. 10 April 2010. สืบค้นเมื่อ 10 April 2010.
  52. "Javier Hernández ESPN". Soccernet.ESPN.go.com. ESPN. 1 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 1 June 2010.
  53. "Javier Hernández World Football". worldfootball.net. Worldfootball. 1 June 2010. สืบค้นเมื่อ 1 June 2010.
  54. "Javier Hernández Football Database". footballdatabase.eu. Football Database. 1 June 2010. สืบค้นเมื่อ 1 June 2010.
  55. Endlar, Andrew. "Javier Hernandez Stretford End". StretfordEnd.co.uk. สืบค้นเมื่อ 23 February 2010.
  56. "Javier Hernández International". National-Football-Teams.com. สืบค้นเมื่อ 30 January 2011.
  57. Tuck, James; Berkeley, Geoff (8 April 2010). "Get to know... Hernandez". Manchester United F.C. สืบค้นเมื่อ 15 June 2010.
  58. "Hernandez's father quits to see him play". ESPN Soccernet. 4 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-07. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
  59. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-17. สืบค้นเมื่อ 2011-03-20.
  60. Witz, Billy (1 April 2010). "For World Cup, Javier Hernández Could Be Mexico's Next Big Thing". The New York Times.
  61. Andrea Martinez (3 June 2010). "Javier 'Chicharito' Hernandez's Father Quits Managerial Job To Watch Son In South Africa". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
  62. Matt Monaghan (13 April 2010). "Goal.com Q&A: Manchester United's new signing Javier Hernandez could be the new Ole Gunnar Solskjaer". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 1 July 2010.
  63. White, Duncan (11 April 2010). "Javier Hernandez, aka El Chicharito, living the Manchester United dream". Telegraph.co.uk. The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 11 April 2010.
  64. http://bleacherreport.com/articles/375453-javier-chicharito-hernandez-manchester-united-new-prodigy
  65. http://www.tipsbladet.dk/nyhed/premier-league/javier-hernandez-bliver-den-nye-solskjaer

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]