พ.ศ. 2472
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 1929)
พุทธศักราช 2472 (นับแบบใหม่) ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1929 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน
- ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช 1291 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2478)
- เจ้านครประเทศราช (นครเชียงใหม่) : เจ้าแก้วนวรัฐ (พ.ศ. 2452-2482)
- เจ้านครประเทศราช (นครลำพูน) : เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (พ.ศ. 2454-2486)
เหตุการณ์
[แก้]- 2 มกราคม - แคนาดาและสหรัฐอเมริกา เห็นชอบร่วมกันที่จะพิทักษ์น้ำตกไนแอกะรา
- 11 กุมภาพันธ์ - สนธิสัญญาลาเตรัน ฉบับแรก กำหนดให้นครรัฐวาติกัน เป็นรัฐเอกราชของอิตาลี
- 1 เมษายน - พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 มีผลบังคับใช้
- 9 พฤษภาคม - เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงผ่านมหาสมุทรอินเดีย เกาะสุมาตรา ภาคใต้ของไทย และฟิลิปปินส์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีนาถ เสด็จทอดพระเนตรที่ตำบลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
- 16 พฤษภาคม - การมอบรางวัลอะแคเดมี จัดขึ้นครั้งแรกที่ฮอลลีวูด
- 7 มิถุนายน - นครรัฐวาติกันกลายเป็นรัฐเอกราช
- 24 ตุลาคม - ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกเริ่มขึ้น เมื่อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ถูกเทขายจนมีมูลค่าลดต่ำลงมาก
- 8 พฤศจิกายน - พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 3 รอบ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- 17 พฤศจิกายน - ทีมฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอเมริกาใต้ ครั้งที่ 12 ณ สนามกีฬากาโซเมโตร กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
- 18 พฤศจิกายน - เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.2 ริกเตอร์ ในมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้สายโทรเลขใต้น้ำเสียหาย และเกิดคลื่นสึนามิถล่มชายฝั่งประเทศแคนาดา
ไม่ทราบวัน
[แก้]- สงครามกลางเมืองในอัฟกานิสถาน
วันเกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 15 มกราคม - มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ศาสนาจารย์และนักต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองชาวแอฟริกัน-อเมริกัน (เสียชีวิต 4 เมษายน พ.ศ. 2511)
- 25 มกราคม - เบนนี กอลสัน นักแซกโซโฟนแจ๊ส นักแต่งเพลง นักเรียบเรียงเสียงประสาน และนักดนตรีชาย ชาวอเมริกัน
กุมภาพันธ์
[แก้]- 10 กุมภาพันธ์ - เจอร์รี โกลด์สมิธ นักแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2547)
- 21 กุมภาพันธ์ - กฤช สังขทรัพย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่า���ารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย (เสียชีวิต 5 กันยายน พ.ศ. 2524)
- 26 กุมภาพันธ์ - กลอเรีย ดอว์น (นักแสดง) นักแสดงและนักร้องหญิงชาวออสเตรเลีย (เสียชีวิต 2 เมษายน พ.ศ. 2521)
มีนาคม
[แก้]- 16 มีนาคม - สินีนาฏ โพธิเวส นักแสดงและนักพากย์หญิงชาวไทย (เสียชีวิต 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560)
เมษายน
[แก้]- 29 เมษายน - หม่อมเจ้าไกรสิงห์ วุฒิชัย (สิ้นชีพิตักษัย 3 มีนาคม พ.ศ. 2519)
พฤษภาคม
[แก้]- 2 พฤษภาคม - ชลูด นิ่มเสมอ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2541 (เสียชีวิต 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558)
- 4 พฤษภาคม - ออดรีย์ เฮปเบิร์น นักแสดงหญิงชาวอังกฤษเชื้อสายดัตช์ (เสียชีวิต 20 มกราคม พ.ศ. 2536)
- 22 พฤษภาคม - เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือและนักสังคมสงเคราะห์หญิงชาวไทย (เสียชีวิต 2 มกราคม พ.ศ. 2566)
- 24 พฤษภาคม - ส.พลายน้อย นักเขียนและศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2553 (เสียชีวิต 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565)
มิถุนายน
[แก้]- 12 มิถุนายน - อันเนอ ฟรังค์ ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว ผู้เขียนบันทึกประจำวันซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ (เสียชีวิต เดือนมีนาคม พ.ศ. 2488)
- 15 มิถุนายน - หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย หม่อมเจ้าชาย พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (ถึงชีพิตักษัย 27 สิงหาคม พ.ศ. 2536)
- 17 มิถุนายน - เพ็ญศรี พุ่มชูศรี นักร้องหญิงและศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2534 (เสียชีวิต 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2550)
กรกฎาคม
[แก้]- 5 กรกฎาคม - จิมมี่ คาร์รัทเธอร์ นักมวยสากลชาวออสเตรเลีย และแชมป์โลกคนแรกของออสเตรเลีย (เสียชีวิต 15 สิงหาคม พ.ศ. 2533)
- 28 กรกฎาคม - แจ็กเกอลีน เคนเนดี โอนาสซิส สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐ ภริยาของจอห์น เอฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐ (เสียชีวิต 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2537)
สิงหาคม
[แก้]- 11 สิงหาคม - จำรัส เขมะจารุ อดีตองคมนตรีและอดีตประธานศาลฎีกา (อสัญกรรม 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558)
- 19 สิงหาคม - พระครูอนุศาสน์กิจจาทร (เขียว กิตฺติคุโณ) พระเกจิอาจารย์ชาวไทย (มรณภาพ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
- 24 ส���งหาคม - ยัสเซอร์ อาราฟัต อดีตประธานาธิบดี รัฐปาเลสไตน์ (อสัญกรรม 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547)
กันยายน
[แก้]- 10 กันยายน - อาร์โนลด์ พาล์มเมอร์ นักกอล์ฟชายชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 25 กันยายน พ.ศ. 2559)
- 20 กันยายน - หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร พระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (อนิจกรรม 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2530)
พฤศจิกายน
[แก้]- 12 พฤศจิกายน - เกรซ เคลลี นักแสดงภาพยนตร์ชาวอเมริกัน ผู้ได้รับรางวัลออสการ์ พระชายาในเจ้าชายแรนีเยที่ 3 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก และพระมารดาในเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก (สิ้นพระชนม์ 14 กันยายน พ.ศ. 2525)
- 14 พฤศจิกายน - พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2541 (ถึงแก่กรรม 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561)
ธันวาคม
[แก้]- 3 ธันวาคม - ประภาพันธุ์ กรโกสียกาจ อดีตหม่อมเจ้าหญิง พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช (ถึงชีพิตักษัย 24 มีนาคม พ.ศ. 2563)
- 27 ธันวาคม - หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ หม่อมเจ้าชาย พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (สิ้นชีพิตักษัย 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567)
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- 20 มีนาคม - เฟอร์ดินันด์ ฟอช ผู้บัญชาการทหารชาวฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (เกิด พ.ศ. 2394)
- 9 มิถุนายน - เจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5 (เกิด พ.ศ. 2395)
- 24 มิถุนายน - พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดีและเจ้าจอมมารดาจีน (ประสูติ 4 กันยายน พ.ศ. 2406)
- 24 กันยายน - สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย (พระราชสมภพ 1 มกราคม พ.ศ. 2435)