คลองบางสะแก
คลองบางสะแก หรือ คลองสะแก เป็นคลองในท้องที่เขตธนบุรีและเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ปากคลองตั้งต้นโดยแยกจากคลองบางกอกใหญ่ในแขวงตลาดพลู ผ่านถนนเทอดไท วัดบางสะแกนอก วัดบางสะแกใน ไปออกคลองดาวคะนอง มีความยาวประมาณ 3.5 กิโลเมตร[1] คลองมีความกว้าง 4–15 เมตร[2] ปัจจุบันมีสภาพน้ำในคลองเน่าเสีย และเป็นคลองที่มีความสำคัญในการระบายน้ำ
เมื่อ พ.ศ. 2510 คณะรัฐมนตรีลงมติคลองบางสะแกเป็นหนึ่งในรายการคลองอนุรักษ์[3] ที่วัดบางสะแกนอกพบอาคารอุโบสถและใบเสมาสมัยอยุธยาตอนปลาย[4]
บริเวณปากคลองบางสะแกตรงจุดตัดกับคลองดาวคะนองเป็นที่ตั้งของย่านดาวคะนอง ในอนาคตจะเป็นที่ตั้งของสถานีดาวคะนองของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (โครงการช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-ครุใน) คาดว่าสถานีตั้งอยู่กลางถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินช่วงซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 44 และคลองบางสะแก[5] ส่วนปากคลองอีกฝั่งบริเวณตัดกับคลองบางกอกใหญ่เป็นที่ตั้งของย่านตลาดพลู มีชุมชนอาศัยมายาวนาน ในอดีตเป็นตลาดท้องน้ำ ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้า โดยเฉพาะมีชื่อเสียงเรื่องพลูและหมากที่ปลูกกันมากในสวนเมืองบางกอก อีกทั้งยังมีชื่อเสียงในเรื่องรสชาติ โดยเฉพาะพลูเหลืองที่ปลูกกันเป็นขนัดใหญ่ในแถบนี้[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร (2525). จดหมายเหตุการณ์อนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ่นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์. ISBN 974-7919-65-6.
- ↑ "บัญชีคลองในเขตกรุงเทพมหานคร". สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (xls)เมื่อ 23 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2022.
- ↑ "คลองบางสะแก". ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม.
- ↑ ประภัสสร์ ชูวิเชียร. "อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง". p. 340. ISBN 978-974-02-1594-3.
- ↑ "สายสีม่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะลุ้นเสนอประมูลปลายปีนี้". ฐานเศรษฐกิจ. 18 ตุลาคม 2018.
- ↑ ปิลันธน์ ไทยสรวง (26 เมษายน 2016). ""ตลาดพลู" ไชน่าทาวน์ฝั่งธนฯ ในวันไร้พลู". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่��� 13 กรกฎาคม 2022.