ข้ามไปเนื้อหา

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยพะเยา
School of Information and Communication Technology
University of Phayao
ชื่อย่อICT
คติพจน์ผลิตกำลังคนด้านดิจิทัลพร้อมใช้งาน พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมสู่ชุมชน ด้วยมาตรฐานสากล
สถาปนา22 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา)
พ.ศ. 2545 (สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา)
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553(คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา)
คณบดีผศ.ดร.พรเทพ โรจนวสุ
ที่อยู่
วารสารวารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ (JSID)
สี  สีทองเข้ม
สถานปฏิบัติอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
เว็บไซต์ict.up.ac.th

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา (อังกฤษ: School of Information and Communication Technology, University of Phayao) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของมหาวิทยาลัยพะเยา ก่อตั้งเมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สอดคล้องตามเป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) [1]

ประวัติ

[แก้]

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2544 โดยใช้ชื่อว่า กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สังกัดสำนักวิชาการวิทยาเขตสารสนเทศพะเยา มหาวิทยาลัยนเรศวร ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร[1]

ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้เป็น "มหาวิทยาลัยพะเยา" โดยสมบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป[2] มหาวิทยาลัยพะเยาจึงได้ออกประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่องการจัดตั้งส่วนงานวิชาการของมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 ข้อ 4 ให้จัดตั้งส่วนงานวิชาการ ตามมาตรา 7(3) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 จึงมีผลให้สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีฐานะเป็น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา[3] โดยมีโครงสร้างการบริหารงานในคณะแบ่งเป็น 7 สาขาวิชา 1 ศูนย์ และ 1 สำนักงานเลขานุการ

​สาขาวิชา

[แก้]

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา มี 8 สาขาวิชาดังนี้ ดังนี้

  1. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  2. สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
  3. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  4. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  5. สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล
  6. สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์
  7. สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย
  8. สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการประยุกต์

หลักสูตร

[แก้]
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการประยุกต์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่
  • สาขาวิชาภูมิสารสนเทศประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลเชิงพื้นที่

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาภูมิสารสนเทศประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลเชิงพื้นที่
  • สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ปริญญาตรีคู่ขนาน 2 ปริญญา
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

ทำเนียบคณบดี

[แก้]
ทำเนียบคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
ลำดับที่ รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2554 (รักษาการ) [4]
2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติรัตน์ เชี่ยวสุวรรณ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2558 [5]
11 มีนาคม พ.ศ. 2558 - 5 เมษายน พ.ศ. 2558 (รักษาการ) [6]
5 เมษายน พ.ศ. 2558 - 21 เมษายน พ.ศ. 2562 (วาระที่ 2) [7]
3
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ โรจนวสุ 22 เมษายน พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน [8]

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามในขณะนั้น

รายนามคณะผู้บริหารในปัจจุบัน

[แก้]
ทำเนียบผู้บริหารคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
ลำดับที่ รายนาม ตำแหน่ง
1
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ โรจนวสุ คณบดี
2
ดร.เกวรินทร์ จันทร์ดำ รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผน
3
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราพร ไชยวงศ์สาย รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม
4
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภา ราชตา รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

และประกันคุณภาพ

5
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ ชัยแก้ว รองคณบดีฝ่ายคุณภาพนิสิต
6
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ ศรีสังสิทธิสันติ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ
7
ผศ.ดร.กฤติกา กันทะวงศ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา

เชิงบูรณาการและพันธกิจสากล

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ประวัติคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-08. สืบค้นเมื่อ 2016-07-27.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. ๒๕๕๓, เล่ม 127 ตอน 44 ก หน้า 4 วันที่ 16 กรกฎาคม 2553
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานวิชาการของมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. ๒๕๕๓, เล่ม 127 ตอนพิเศษ 140 ง หน้า 61
  4. คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง แต่งตั้งคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
  5. คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง แต่งตั้งคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
  6. คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง แต่งตั้งรักษาการแทนคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา เก็บถาวร 2017-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
  7. คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา เก็บถาวร 2017-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
  8. คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา[ลิงก์เสีย], สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน พ.ศ. 2562

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]