มาลีฮวนน่า
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
มาลีฮวนน่า | |
---|---|
ปกซีดีชุดแรก บุปผาชน (2537) | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | สงขลา ประเทศไทย |
แนวเพลง | เพื่อชีวิต, เพลงปักษ์ใต้, โฟล์ค, อะคูสติก |
ช่วงปี | พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | ไมล์สโตน (พ.ศ. 2538 - 2543) ดรีม เรคคอร์ด (2543 - ปัจจุบัน) |
สมาชิก | คฑาวุธ ทองไทย (ไข่) |
อดีตสมาชิก | ธงชัย รักษ์รงค์ (ธง) สมพงค์ ศิวิโรจน์ (พงค์) เชิดชัย ศิริโภคา (โก๊ย) |
เว็บไซต์ | maleehuana.net |
มาลีฮวนน่า (อังกฤษ: Maleehuana) เป็นคำกลายมาจากภาษาอังกฤษ (Marijuana) แปลว่า กัญชา แต่ได้ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อวงดนตรีแนวเพลงเพื่อชีวิต ซึ่งหมายถึง การปลดปล่อยอิสรภาพจากกรอบกำบังของสังคม กรอบแห่งความคิด
อดีตสมาชิก
[แก้]• จรูญศักดิ์ วิวัฒนพงษ์ (ป้อม) - กลอง จ.สงขลา
• ไพฑูรย์ รักษ์รงค์ (ฑูรย์) - แอคคอร์เดียน ขลุ่ย จ.นครศรีธรรมราช
• ศุภชัย ชัยนุรักษ์ (ชัย) - กลอง จ.นครศรีธรรมราช
• สมเกียรติ หนูในน้ำ (แบงค์) - ระนาด ขลุ่ย แอคคอร์เดียน จ.ภูเก็ต
• สมคิด แซ่แต้ (มุด) - กลอง จ.ภูเก็ต
• อภิเชษ ฐานะกาญจน์ (นัน) - เพอร์คัสชั่น ทอมบ้า บองโก จ.นครศรีธรรมราช
• สุรพงศ์ เรืองณรงค์ (พงศ์) - เบส จ.พัทลุง
• ประวิทย์ ชุมจันทร์ (ติ) - เบส จ.นครศรีธรรมราช
• อรรณพ อินทรภักดี (ตุ้ย) - คีย์บอร์ด จ.พัทลุง
• เจริญชัย สมผลึก (น้อย) - กีตาร์/เสียชีวิต จ.พัทลุง
• ทศพร คำร้อง (มิว) - กีต้าร์/จ.นครศรีธรรมราช
• อรรถพล เยี่ยมสิริวุฒิ (อรรถ) - แอคคอร์เดียน จ.สงขลา
- อนุกูล นราพงศ์ (โอ๋) - เบส จ.นครศรีธรรมราช
- ธงชัย รักษ์รงค์ (ธง) - ร้องนำ/กีต้าร์/แต่งเพลง จ.นครศรีธรรมราช
- สมพงค์ ศิวิโรจน์ (พงค์) - แต่งเพลง , กีตาร์/ร้องเพลงเทียมฟ้าชุดกลับกลาย จ.สงขลา
- เชิดชัย ศิริโภคา (โก๊ย) - แต่งเพลง/ร่วมทุน
สมาชิก(ยุคปัจจุบัน)
[แก้]- คฑาวุธ ทองไทย (ไข่) - ร้องนำ/แต่งเพลง จ.สงขลา
- สุรศักดิ์ พันธ์ดี (น้อย) - แอดคอร์เดียน/คีบอร์ด จ.สงขลา
- สมประสงค์ โกละกะ (สงค์) - กีตาร์ จ.สุราษฎร์ธานี
- อนุเทพ ยี่รงค์ (เอ้) - กีตาร์ จ.สงขลา
- มณเฑียร แสงสุวรรณ (อ้วน) - เพอร์คัสชั่น จ.สงขลา
- นฤดล สุธีรศักดิ์ (น็อต) - เพอร์คัสชั่น
- ไชยาพร ธงสุทัศน์ (เต้) - เบส
- สมพงศ์ ภูววิมล (พงศ์) - กีตาร์
- สุชาต หิรัญวิญญ (เอก) - กลอง จ.ปัตตานี
ประวัติ
[แก้]คฑาวุธ ทองไทย เป็นชาวสงขลาเกิดที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2510 บิดามีอาชีพเป็นแพทย์แผนโบราณและช่างตัดผม มารดาเป็นแม่ค้า ฐานะทางบ้านยากจน เป็นลูกคนสุดท้องและเป็นลูกชายคนเดียวจากพี่น้องสามคน คฑาวุธจบการศึกษาระดับมัธยมต้นที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย และจบมัธยมปลายที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช ก่อนไปเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยเขาได้เกียรตินิยมอันดับ 1 อีกด้วย
ก่อกำเนิด
[แก้]มาลีฮวนน่าเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยคฑาวุธ ทองไทย ที่กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับธงชัย รักษ์รงค์ ซึ่งเล่นดนตรีอยู่ตามผับทางภาคใต้ และสมพงษ์ ศิวิโรจน์ ที่กำลังศึกษาที่โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป โดยสมพงษ์เป็นผู้ตั้งชื่อวง ซึ่งผันมาจากคำว่า มารีจัวน่า ที่แปลว่ากัญชา ด้วยความชื่นชอบในดนตรีแนวเร็กเก
ทั้งสามร่วมกันทำงานเพลงที่มีแรงขับมาจากความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อสภาพสังคม สภาพแวดล้อม เพื่อระบายความอัดอั้นอันเกิดจากความแตกต่างของวัย และปมด้อยทางสถานภาพสังคม แต่วงก็ต้องหยุดลงเพราะสมพงษ์เกิดท้อถอยกับปัญหาสังคม ทุกคนจึงจำต้องแยกย้ายกันไประยะหนึ่ง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 วงมาลีฮวนน่าได้ออกอัลบั้มแรกใช้ชื่อว่า "บุปผาชน" บันทึกเสียงที่ห้องอัดของฮิเดกิ โมริ ย่านบางบัวทอง โดยสมพงษ์เป็นผู้ออกแบบปกอัลบั้ม ส่วนคฑาวุธวาดภาพลายเส้นที่ปกใน และมีเชิดชัย ศิริโภคา เข้ามาช่วยเหลือเรื่องการเงินสำหรับการทำเทป โดยออกวางขายแบบใต้ดิน ฝากขายตามแผงเทปต่าง ๆ เช่น ร้านน้องท่าพระจันทร์ และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
มีชื่อเสียง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2538 บริษัทไมล์สโตน ของมาโนช พุฒตาล ได้ชักชวนวงมาลีฮวนน่าเข้าไปร่วมงาน ทำให้พวกเขาเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น และมีทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศในปีต่อมา จากนั้นในปี พ.ศ. 2540 พวกเขามีอัลบั้มชุดที่ 2 "คนเช็ดเงา" และอัลบั้มชุดที่ 3 "กลับกลาย" ในอีกสองปีหลังจากนั้น
ในปี พ.ศ. 2543 มาลีฮวนน่าย้ายเข้าสังกัด ดรีม เรคอร์ดส์ ซึ่งธงชัยก่อตั้งเมื่อปี 2540 โดยคฑาวุธร่วมเป็นหุ้นส่วนใหญ่[1] มีอัลบั้มชุดที่ 4 "เพื่อนเพ" ออกมาเป็นอัลบั้มแรก อัลบั้มชุดนี้มีที่มาจากการได้พูดคุยกับ กลุ่มศิลปิน นักประพันธ์ ที่หลายคนเขียนงานเพลงขึ้นมาแล้วไม่มีโอกาสที่จะได้เผยแพร่ มาลีฮวนน่าจึงนำบทเพลงของพวกเขามาใส่ในอัลบั้มนี้ เพื่อที่จะได้เผยแพร่ไปในที่ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
มาลีฮวนน่ายังสานต่อผลงานเพลงออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2545 พวกเขาออกอัลบั้มบันทึกการแสดงสด "ระบำสยาม" ซึ่งแสดงที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตามด้วย "ลมใต้ปีก" ในปี 2546
แยกวง
[แก้]หลังจากอัลบั้ม "ลมใต้ปีก" สมาชิกของวงได้พักการทำงานดนตรีในนามมาลีฮวนน่าลงชั่วคราว โดยต่างคนต่างก็หันไปทำงานประจำ หรืองานที่ตัวเองสนใจ คฑาวุธ ทองไทย เป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ทับแก้ว, ธงชัย รักษ์รงค์ ทำธุรกิจห้องอัดเสียง, สมพงษ์ ศิวิโรจน์ ใช้เวลากับการเขียนเพลง
ในปีเดียวกับที่อัลบั้มดังกล่าววางแผน มีกระแสข่าวว่าคฑาวุธและสมพงษ์ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง อันเนื่องจากจากการจัดสรรผลประโยชน์ของค่ายเพลงที่ไม่ลงตัว แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับวงระบุว่า ต่างคนต่างไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งหวาดระแวงถึงขั้นกล่าวหาว่ามีการจ้างมือปืนจากภาคใต้ และจากจังหวัดชลบุรีเพื่อลอบสังหารทั้งสอง[2] ด้านธงชัยกล่าวในปี พ.ศ. 2561 ว่ามีบุคคลระดับผู้บริหารนำคนในครอบครัวของตนเข้าทำงาน เพื่อหวังฮุบบริษัทเป็นของตัวเองแต่เพียงผู้เดียว[1]
อัลบั้มชุดต่อมาของวง จึงเหลือเพียงคฑาวุธเป็นสมาชิกหลักคนเดียวจนถึงปัจจุบัน
ผลงาน
[แก้]อัลบั้ม
[แก้]- บุปผาชน (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537)
- ลมเพ-ลมพัด
- หัวใจละเหี่ย
- วิถีคนจร
- นิรันดร์
- ไปไกล
- เรือรักกระดาษ
- หัวใจพรือโฉ้
- ลานนม-ลมเน
- รักสาวพรานนก
- ชุ่มฉ่ำในดวงใจ
- คนเช็ดเงา (1 มีนาคม พ.ศ. 2539)
- เขเรือ
- หมาหยอกไก่
- ร้องไห้กับเดือน
- เด็กน้อย
- คนเช็ดเงา
- ชะตากรรม
- โมรา
- ฝุ่น (CHIRI CHIRI)
- คนเลว
- คืนใจ
- กลับกลาย (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542)
- ลืม
- ถนนแปลกแยก
- ตุ้งแกวด
- ก้าวย่าง-ทางเดิน
- หมาล่าเนื้อ
- กลับกลาย
- อาวรณ์
- แปรเปลี่ยน
- สำนึก
- ยุควิบัติ
- เทียมฟ้า
- เพื่อนเพ (20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543)
- แสงจันทร์
- สมิหลา-รูสมิแล
- พร้าว
- คืนมา (SEASON IN LOVE)
- เรือน้อย (ขับร้องโดย สุพัณณดา พลับทอง อดีตสมาชิกวงเดอะซิส)
- น้ำตา
- พี่ชาย(ที่แสนดี)
- นักดนตรี
- นกกรงหัวจุก
- ขอทานน้อย
- MUK
- เปรือย (23 ธันวาคม พ.ศ. 2545-พ.ศ. 2546)
- ชบา
- ระบำชีวิต
- เรียนรู้
- มาลีฮวนน่าปาตี้
- สายน้ำ..สายเลือด
- ลัง
- ไกลบ้าน
- ละหมาดอารมณ์
- ธารหัวใจ
- ระยำชีวิต
- ลมใต้ปีก (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546) (อัลบั้มแรกที่ใช้ชื่อ คฑาวุธ ทองไทย)
- ลัง
- จันทร์ฉาย
- ว่าวจุฬา
- วัยรุ่น
- สายน้ำ (KILLING FIELD)
- มุดก้อนเมฆ
- มายา
- กลัว
- สหายสุรา
- รอยทาง
- บังใบ้ (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549)
- ไอ้ใบ้
- อีสาระภา
- โจใจ
- แผลเมือง
- พี พี มายเดียร์
- บางเงา
- หนาวเล
- เสียสาว
- โปรดทิ้งฉันไว้ที่ปลายขอบฟ้า
- มองอย่างนก
- คนโซ
- ออกเล
- ปรายแสด (19 กันยายน พ.ศ. 2549)
- กระท่อมกัญชา (ต้นฉบับโดย คำรณ สัมบุญณานนท์)
- บัวทอง
- เพียงลมพัดผ่าน
- ยิ้มให้กับฝัน
- ช่วยจันทร์(ราหูอมจันทร์)
- ถนนชีวิต
- เพ้อรัก
- แดดสุดท้าย
- นกบินลัดฟ้า
- ในฝัน (ต้นฉบับโดย ทูล ทองใจ)
- ลัง (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550) (เป็นการนำอัลบั้ม "ลมใต้ปีก" มาเปลี่ยนชื่อใหม่)[3]
- ลัง
- จันทร์ฉาย
- ว่าวจุฬา
- วัยรุ่น
- สายน้ำ (KILLING FIELD)
- มุด ก้อนเมฆ
- มายา
- กลัว
- สหายสุรา
- รอยทาง
อัลบั้มรวมเพลง
[แก้]- ลู-กะ-นู - เสียงฝัน..ปลาสองน้ำ (2550)
- รูปทรงแห่งสวรรค์ (2550)
- รวมเพลงฮิต ติดเพลงดัง (มีนาคม 2560)
- บันทึกความทรงจำ ดอกไม้ราตรี (1 มีนาคม 2562)
คอนเสิร์ต
[แก้]- คอนเสิร์ต ระบำสยาม (21 ธันวาคม พ.ศ. 2544)
- คอนเสิร์ต รักษ์เขาหลวง (13 เมษายน พ.ศ. 2546)
- คอนเสิร์ต พันธุ์เล-๑๐๐๐ โล..พรรลำ (22 สิงหาคม พ.ศ. 2552)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 1 (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 2 (11 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 3 (10 ธันวาคม พ.ศ. 2554)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 4 (8 ธันวาคม พ.ศ. 2555)
- ในสตูดิโอ "ยรํรํโฟล์ค Vol.1" (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556)
- คอนเสิร์ต โอโซน ดอกไม้ดนตรี มาลีฮวนน่า (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 5 (7 ธันวาคม พ.ศ. 2556)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 6 (6 ธันวาคม พ.ศ. 2557)
- คอนเสิร์ต กองทุนพิทักษ์ป่าแก่งกระจาน (16 มกราคม พ.ศ. 2558)
- ในสตูดิโอ "ยรํรํโฟล์ค Vol.2" (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 7 (6 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
- คอนเสิร์ต มาลีฮวนน่า แคมป์ไฟปีสุดท้าย (พ.ศ. 2559)
- คอนเสิร์ต มาลีฮวนน่า Exclusive กอดดินถิ่นพ่อ (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560)
- คอนเสิร์ด การกุศล มาลีฮวนน่า เพื่อมูลนิธิบัณฑิตอาสาสมัคร (13 กันยายน พ.ศ. 2560)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 8 (10 ธันวาคม พ.ศ. 2560)
- คอนเสิร์ต 50 ปี ม.อ. เพื่อชีวิตเพื่อนมนุษย์ (11 มีนาคม พ.ศ. 2561)
- คอนเสิร์ต การกุศล เพื่อเพื่อนมนุษย์ เพื่อโรงพยาบาลทหารผ่านศึก (22 สิงหาคม พ.ศ. 2561)
- คอนเสิร์ต มาลีฮวนน่า Exclusive 4 ย้อนเงา สีสรร ตะลุงเท่ (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
- คอนเสิร์ต เมื่อใจมันอ่อนล้า มาลีฮวนน่า คือคำตอบ (26 ตุลาคม พ.ศ. 2562)
- คอนเสิร์ต 26 ปี มาลีฮวนน่า เพื่อนกัญ ไว-ฉะ-กัญ (6 ธันวาคม พ.ศ. 2563)
- คอนเสิร์ต สหายสุรา มาลีฮวนน่า (6 กันยายน พ.ศ. 2565)
- คอนเสิร์ต เพื่อวัดพระบาทน้ำพุ กับ อ.ไข่ ดอกไม้ดนตรี (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 9 (3 ธันวาคม พ.ศ. 2565)
- คอนเสิร์ต เปีดลานกลางแจ้งนั่งกองฟาง ลงมือทำคือคำตอบ (11 มีนาคม พ.ศ. 2566)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566)
- คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 10 (2 ธันวาคม พ.ศ. 2566)
ภาพยนตร์
[แก้]- มหาลัยวัวชน (พ.ศ. 2560) รับบท ไข่
- คืนรัง (พ.ศ. 2562) รับบท ไข่
ซิงเกิล
[แก้]- ปลา2น้ำ - เพลง มารเวลา
- เพลง ศศิน
- เพลง บ้านฉัน
- เพลง เพื่อนกัญ
- เพลง คนปากบารา
- เพลง ลงมือทำคือคำตอบ
- เพลง ช่อมาลี
- เพลง มดในแก้วน้ำ
- มดในแก้วน้ำ (ร้องคู่กับ ดู-โอเมย์)
- มีสิทธิ์ไหมที่คิดถึง (ร้องคู่กับ เก่ง ธชย)
- สมิหลา-รูสมิแล (ร้องคู่กับ ไม้หมอน)
- เด็กน้อย (ร้องคู่กับ ฟ้า ขวัญนคร)
- บนพระจันทร์ (ร้องคู่กับ F.HERO)
- อีกฝั่งของพระจันทร์ (ร้องคู่กับ จิ๋ว สกุณชัย)
- สายลมกับความรัก (ร้องคู่กับ จิ๋ว สกุณชัย)
- ใจไม่มีราคา (ร้องคู่กับ เนสกาแฟ ศรีนคร)
- ฮัก (ร้องคู่กับ หนุ่ม มีซอ, อ้น แคนเขียว)
- หลบเริน (ร้องคู่กับ รัชนก ศรีโลพันธุ์)
- ทำวันนี้ให้ดีที่สุด (ร้องคู่กับ บ.เบิ้ล สามร้อย)
เพลงพิเศษ
[แก้]- ชีวิตสัมพันธ์ - ใครรักป่า ยกมือขึ้น (2561)
- จะอยู่กับเธอ (2564) - จัดทำขึ้นเพื่อสร้างกำลังใจให้คนไทยทุกคน ที่กำลังต่อสู้กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้ก้าวผ่านในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ด้วยเนื้อหาที่พูดถึงช่วงเวลาที่ทุกคนท้อแท้ เหนื่อยล้า ยังคงมีใครคนหนึ่ง ที่พร้อมจะอยู่กับคุณเสมอ
อัลบั้มของอดีตสมาชิก
[แก้]- ธงชัย รักษ์รงค์
- THC มาลีฮวนน่า
- THC ธงชัย รักษ์รงค์ - Yan in Bangkok (เถื่อน กรุงเทพมหานคร)
- Editor
- สมพงษ์ ศิวิโรจน์
- มาโนช พุฒตาล - บุตรของนายเฉลียงกับนางอำไพ & สมพงษ์ ศิวิโรจน์ บุตรของนายเลื่อนกับนางซุ่นลิ่น (ร่วมกับ มาโนช พุฒตาล)
- วิกฤติวัยกลางคน
- พ.ประสบโชคดีจริง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "เผยอดีตคาใจบุปผาชนเกือบ 20 ปี! สาเหตุที่ "มาลีฮวนน่า" วงแตก "พระเอกลิเก" ตัวละครสำคัญ". mgronline.com. 2018-05-08.
- ↑ Annop (2004-08-03). "มาลีฮวนน่า วงแตก!!". annop.me.
- ↑ "เว็บไซต์ siamsouth.com เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-05-08.
- มาลีฮวนน่า ดอกไม้แห่งเสียงดนตรี โดย musicza.com
- เก็บถาวร 2011-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- https://www.youtube.com/watch?v=1V6c8xlev2U&t=3355s
- มาโนช พุฒตาลพูดถึงความเป็นมาของมาลีฮวนน่า https://www.youtube.com/watch?v=SiyOmYwuBMM