ข้ามไปเนื้อหา

กูเกิล แปลภาษา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กูเกิล ทรานสเลต)
กูเกิล แปลภาษา
ประเภทการแปลด้วยเครื่องประสาท
ภาษาที่ใช้ได้133 ภาษา ดูข้างล่าง
เจ้าของกูเกิล
ยูอาร์แอลtranslate.google.com
เชิงพาณิชย์ใช่
ลงทะเบียนไม่จำเป็น
ผู้ใช้มากกว่า 500 ล้านคนต่อวัน
เปิดตัว28 เมษายน 2006; 18 ปีก่อน (2006-04-28) (ในรูปแบบการแปลด้วยเครื่องเชิงสถิติ)[1]
15 พฤศจิกายน 2016; 8 ปีก่อน (2016-11-15) (ในรูปแบบการแปลด้วยเครื่องประสาท)[2]
สถานะปัจจุบันเปิดบริการ

กูเกิล แปลภาษา (อังกฤษ: Google Translate) เป็นบริการแปลภาษาที่พัฒนาโดยกูเกิลในการแปลข้อความ เอกสาร และเว็บไซต์จากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง โดยให้บริการผ่านอินเตอร์เฟซเว็บไซต์ แอปโทรศัพท์สำหรับแอนดรอยด์กับไอโอเอส และเอพีไอที่ช่วงผู้พัฒนาสร้างส่วนขยายเบราว์เซอร์กับซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน[3] ณ ค.ศ. 2022 กูเกิล แปลภาษารองรับภาษาที่แปล 133 ภาษา[4] และอ้างว่า ข้อมูลเมื่อ เมษายน 2016 มีผู้ใช้งานมากกว่า 500 ล้านครั้ง[5] โดยมีคำแปลมากกว่า 100,000 ล้านครั้งทุกวัน หลังทางบริษัทกล่าวไว้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 ว่ามีผู้แปลมากกว่า 200 ล้านคนต่อวัน[6]

กูเกิล แปลภาษาใช้เอกสารและสำเนาหลายฉบับจากสหประชาชาติและรัฐสภายุโรปเพื่อรวบรวมข้อมูลภาษา โดยแปลข้อความเป็นภาษาอังกฤษก่อนแล้วแปลเป็นภาษาเป้าหมายในชุดภาษาส่วนใหญ่ที่อยู่ในตาราง แทนที่จะแปลแบบตรง ๆ[7] ยกเว้นบางภาษาอย่างกาตาลา–สเปน[8] ในระหว่างการแปล ระบบจะมองหารูปแบบในเอกสารนับล้านเพื่อช่วยตัดสินใจว่าจะเลือกคำใด และจะจัดเรียงคำเหล่านั้นในภาษาเป้าหมายอย่างไร ส่วนความถูกต้องในการแปลได้รับการตรวจวัดแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละภาษา[9] ซึ่งได้รับการวิจารณ์หลายครั้ง[10] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016 กูเกิลประกาศว่ากูเกิล แปลภาษาจะเปลี่ยนไปใช้ ระบบการแปลด้วยเครื่องประสาทของกูเกิล (GNMT) ซึ่งใช้เทคนิคการแปลด้วยเครื่องประสาท ที่แปล "ทั้งประโยคในเวลาเดียวกัน แทนที่จะเป็นแต่ละส่วน โดยใช้บริบทที่กว้างขึ้น เพื่อช่วยค้นหาคำแปลที่เกี่ยวข้องมากที่สุด จากนั้นจึงจัดเรียงและปรับแต่งให้เหมือนกับการสนทนาของมนุษย์ และมีไวยากรณ์ที่เหมาะสมมากขึ้น"[2]

การทำงาน

[แก้]

กูเกิล แปลภาษาสามารถแปลข้อความและสื่อหลายรูปแบบ ซึ่งรวมถึงข้อความ คำพูด และข้อความในภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว[11][12] โดยการทำงาน มีดังนี้:

  • แปลข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร: ฟังก์ชันแปลคำหรือข้อความเป็นภาษาต่างประเทศ[13]
  • แปลเว็บไซต์: คุณสมบัติที่แปลเว็บเพจทั้งหมดไปเป็นภาษาที่ต้องการ[14]
  • แปลเอกสาร: คุณสมบัติที่แปลเอกสารที่ผู้ใช้อัปโหลดไปยังภาษาที่ต้องการ เอกสารนั้นควรอยู่ในรูปแบบ: .doc, .docx, .odf, .pdf, .ppt, .pptx, .ps, .rtf, .txt, .xls, .xlsx.[14]
  • แปลคำพูด: คุณสมบัติที่แปลภาษาพูดเป็นภาษาต่างชาติที่เลือกไว้ในทันที[15]
  • แปลข้อความในแอปอื่น: ใน ค.ศ. 2018 กูเกิลเปิดตัวคุณสมบัติที่เรียกว่า "แตะเพื่อแปล" ซึ่งเข้าถึงการแปลในแอปใด ๆ ทันที โดยไม่ต้องออกหรือเปลี่ยนแอป[16]
  • การแปลภาพ: คุณสมบัติที่ระบุข้อความในภาพที่ผู้ใช้ถ่ายและแปลข้อความบนรูปภาพทันที[17]
  • แปลด้วยการเขียนด้วยลายมือ: คุณสมบัติที่แปลภาษาตัวเขียนด้วยมือบนหน้าจอโทรศัพท์หรือวาดบนแป้นพิมพ์เสมือน โดยไม่ใช้แป้นพิมพ์[18]
  • แปลการสนทนา 2 ภาษา: คุณสมบัติที่แปลประโยคสนทนาในหลายภาษา[19]
  • ถอดเสียง: คุณสมบัติที่ถอดเสียงคำพูดในภาษาต่าง ๆ[20]

สำหรับคุณสมบัติส่วนใหญ่ กูเกิล แปลภาษาให้รูปการออกเสียง พจนานุกรม และการฟังคำแปล นอกจากนี้ กูเกิล แปลภาษายังเปิดตัวแอปแปลภาษาของตัวเอง เพื่อที่สามารถใช้งานการแปลกับโทรศัพท์มือถือในโหมดออฟไลน์ได้[11][12]

ภาษาที่รองรับ

[แก้]

ณ เดือน มกราคม 2025 มีภาษาที่กูเกิล แปลภาษาสนับสนุนถึง 133 ภาษา:[21]

ภาษา ชื่อใน
กูเกิล แปลภาษา
เพิ่มลง สนับสนุน
การป้อนข้อมูลด้วยเสียง?
รองรับ
การแปลงข้อความเป็นเสียงสังเคราะห์?
อาฟรีกานส์ แอฟริกา 2009 ใช่ ใช่
แอลเบเนีย 2009 ใช่ ใช่
อามารา อัมฮาริก 2016[22] ใช่ ไม่
อาหรับ 2006 ใช่ ใช่
อาร์มีเนีย อาร์เมเนีย 2010[23] ใช่ ไม่
อัสสัม 2022[4] ไม่ ไม่
ไอมารา 2022[4] ไม่ ไม่
อาเซอร์ไบจาน อาร์เซอร์ไบจัน 2010[23] ใช่ ไม่
บัมบารา 2022[4] ไม่ ไม่
บาสก์ 2010[23] ใช่ ไม่
เบลารุส 2009 ไม่ ไม่
เบงกอล 2011 ใช่ ใช่
โภชปุระ โภชปุรี 2022[4] ไม่ ไม่
บอสเนีย 2013[24] ไม่ ใช่
บัลแกเรีย 2008 ใช่ ใช่
พม่า เมียนมา (พม่า) 2014[25] ใช่ ใช่
กาตาลา คาตาลัน 2008 ใช่ ใช่
เซบัวโน ซีบัวโน 2013[24] ไม่ ไม่
เชวา ชิเชวา 2014[25] ไม่ ไม่
จีน (ตัวย่อ) 2006 ใช่ ใช่
จีน (ตัวเต็ม) 2007 ใช่ ใช่
คอร์ซิกา คอร์สิกา 2016[22] ไม่ ไม่
โครเอเชีย 2008 ใช่ ใช่
เช็ก 2008 ใช่ ใช่
เดนมาร์ก 2008 ใช่ ใช่
โฑครี โดกรี 2022[4] ไม่ ไม่
ดัตช์ 2007 ใช่ ใช่
ภาษาอังกฤษ 2006 ใช่ ใช่
เอสเปรันโต เอสเปอแรนโต 2012[26] ไม่ ไม่
เอสโตเนีย เอสโทเนีย 2009 ใช่ ใช่
อีเว 2022[4] ไม่ ไม่
ฟิลิปีโน (ตากาล็อก) ฟิลิปปินส์ 2008 ใช่ ใช่
ฟินแลนด์ 2008 ใช่ ใช่
ฝรั่งเศส 2006 ใช่ ใช่
กาลิเซีย กาลิเชียน 2009 ใช่ ไม่
จอร์เจีย 2010[23] ใช่ ไม่
เยอรมัน 2006 ใช่ ใช่
กรีก 2007 ใช่ ใช่
กวารานี 2022[4] ไม่ ไม่
คุชราต 2011 ใช่ ใช่
ครีโอลเฮติ เฮติครีโอล 2010 ไม่ ไม่
เฮาซา ฮัวซา 2013[27] ไม่ ไม่
ฮาวาย 2016[22] ไม่ ไม่
ฮีบรู 2008 ใช่ ใช่
ฮินดี 2008 ใช่ ใช่
ม้ง 2013[24] ไม่ ไม่
ฮังการี 2009 ใช่ ใช่
ไอซ์แลนด์ 2009 ใช่ ใช่
อิกโบ 2013[27] ไม่ ไม่
อีโลกาโน 2022[4] ไม่ ไม่
อินโดนีเซีย 2008 ใช่ ใช่
ไอริช ไอร์แลนด์ 2009 ไม่ ไม่
อิตาลี 2006 ใช่ ใช่
ญี่ปุ่น 2006 ใช่ ใช่
ชวา 2013[24] ใช่ ใช่
กันนาดา 2011 ใช่ ใช่
คาซัค 2014[25] ใช่ ไม่
เขมร 2013[28] ใช่ ใช่
คินยาเรอวานดา คินยารวันดา 2020[29] ใช่ ไม่
กงกัณ กงกณี 2022[4] ไม่ ไม่
เกาหลี 2006 ใช่ ใช่
คริโอ 2022[4] ไม่ ไม่
เคิร์ด (กุรมันชี) 2016[22] ไม่ ไม่
เคิร์ด (โซรานี) 2022[4] ไม่ ไม่
คีร์กีซ 2016[22] ไม่ ไม่
ลาว 2012[30] ใช่ ไม่
ละติน 2010 ไม่ ใช่
ลัตเวีย 2008 ใช่ ใช่
ลิงกาลา 2022[4] ไม่ ไม่
ลิทัวเนีย 2008 ใช่ ไม่
ลูกันดา 2022[4] ไม่ ไม่
ลักเซมเบิร์ก 2016[22] ไม่ ไม่
มาซิโดเนีย มาซีโดเนีย 2009 ใช่ ไม่
ไมถิลี 2022[4] ไม่ ไม่
มาลากาซี 2014[25] ไม่ ไม่
มลายู มาเลย์ 2009 ใช่ ใช่
มลยาฬัม มาลายาลัม 2014[25] ใช่ ใช่
มัลดีฟส์ ดิเวฮิ 2022[4] ไม่ ไม่
มอลตา มัลทีส 2009 ไม่ ไม่
มาวรี เมารี 2013[27] ไม่ ไม่
มราฐี มาราฐี 2013[24] ใช่ ใช่
มณีปุระ มณีปุระ (มานิพูรี) 2022[4] ไม่ ไม่
มีโซ มิโซ 2022[4] ไม่ ไม่
มองโกเลีย 2013[27] ใช่ ไม่
เนปาล 2013[27] ใช่ ใช่
โซโทเหนือ 2022[4] ใช่ ไม่
นอร์เวย์ (Bokmål) นอร์เวย์ 2008 ใช่ ใช่
โอริยา โอเดีย (โอริยา) 2020[29] ไม่ ไม่
โอโรโม 2022[4] ไม่ ไม่
ปาทาน พาชตู 2016[22] ไม่ ไม่
เปอร์เซีย 2009 ใช่ ไม่
โปแลนด์ 2008 ใช่ ใช่
โปรตุเกส 2006 ใช่ ใช่
ปัญจาบ (คุรมุขี) ปัญจาป 2013[27] ใช่ ไม่
โรมาเนีย 2008 ใช่ ใช่
รัสเซีย 2006 ใช่ ใช่
ซามัว 2016[22] ไม่ ไม่
สันสกฤต 2022[4] ไม่ ไม่
เกลิกสกอต 2016[22] ไม่ ไม่
เซอร์เบีย เซอร์เบียน 2008 ใช่ ใช่
โชนา 2016[22] ไม่ ไม่
สินธ์ สินธี 2016[22] ไม่ ไม่
สิงหล 2014[25] ใช่ ใช่
สโลวัก 2008 ใช่ ใช่
สโลวีเนีย 2008 ใช่ ไม่
โซมาลี 2013[27] ไม่ ไม่
โซโท เซโซโท 2014[25] ใช่ ไม่
เคชัวใต้ เคชัว 2022[4] ไม่ ไม่
สเปน 2006 ใช่ ใช่
ซุนดา 2014[25] ใช่ ใช่
สวาฮีลี สวาฮิลี 2009 ใช่ ใช่
สวีเดน 2008 ใช่ ใช่
ทาจิก 2014[25] ไม่ ไม่
ทมิฬ 2011 ใช่ ใช่
ตาตาร์ ทาทาร์ 2020[29] ไม่ ไม่
เตลูกู 2011 ใช่ ใช่
ไทย 2009 ใช่ ใช่
ทือกรึญญา ทีกรินยา 2022[4] ไม่ ไม่
ซองกา 2022[4] ใช่ ไม่
ตุรกี 2009 ใช่ ใช่
เติร์กเมน 2020[29] ไม่ ไม่
ทวิ 2022[4] ไม่ ไม่
ยูเครน 2008 ใช่ ใช่
อูรดู 2010[23] ใช่ ใช่
อุยกูร์ 2020[29] ไม่ ไม่
อุซเบก อุซเบกิสถาน 2014[25] ใช่ ไม่
เวียดนาม 2008 ใช่ ใช่
เวลส์ 2009 ไม่ ไม่
ฟรีเซียตะวันตก ฟริเชียน 2016[22] ไม่ ไม่
โคซา 2016[22] ใช่ ไม่
ยิดดิช 2009 ไม่ ไม่
โยรูบา 2013[27] ไม่ ไม่
ซูลู 2013[27] ใช่ ไม่

ภาษาที่กำลังพัฒนาและรุ่นเบตา

[แก้]

ความถูกต้อง

[แก้]

กูเกิล แปลภาษาไม่น่าเชื่อถือเท่ากับการแปลโดยมนุษย์ เมื่อข้อความมีโครงสร้างที่ดี เขียนโดยใช้ภาษาที่เป็นทางการ พร้อมประโยคง่าย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เป็นทางการ ซึ่งมีข้อมูลการฝึกที่เพียงพอ มักจะทำให้เกิดการแปลงที่คล้ายกับการแปลโดยมนุษย์ระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาที่มีทรัพยากรสูงจำนวนหนึ่ง[31][32] เมื่อมีเงื่อนไขน้อยลง ภาษาเหล่านั้นจะมีความแม่นยำลดลง เช่น เมื่อเพิ่มความยาวของประโยค หรือข้อความที่มีการใช้ภาษาที่คุ้นเคยหรือภาษาวรรณกรรม สำหรับภาษาอื่น ๆ หลายภาษาเมื่อเทียบกับภาษาอังกฤษ สามารถสร้างส่วนสำคัญของข้อความในแบบหลักการได้[33]

การวิจัยที่ดำเนินการใน ค.ศ. 2011 แสดงให้เห็นว่า กูเกิล แปลภาษามีคะแนนสูงกว่าคะแนนขั้นต่ำสำหรับการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสเพียงเล็กน้อย[34] เนื่องจากการเลือกใช้คำที่เหมือนกันโดยไม่คำนึงถึงความยืดหยุ่นในการเลือกคำหรือสำนวนอื่น ทำให้เกิดการแปลที่ค่อนข้างคล้ายกับการแปลโดยมนุษย์จากมุมมองของความเป็นทางการ การเชื่อมโยงกันในการอ้างอิง และการเชื่อมโยงทางแนวคิด[35] นอกจากนี้ ยังมีการแปลหลายภาษาเป็นโครงสร้างและความยาวของประโยคคล้ายกับการแปลโดยมนุษย์[35] และที่มากไปกว่านั้น ทางกูเกิลได้ทำการทดสอบ โดยกำหนดให้เจ้าของภาษาแต่ละภาษาให้คะแนนการแปลในระดับ 0 ถึง 6 และกูเกิล แปลภาษาได้คะแนนเฉลี่ย 5.43 คะแนน[32]

ข้อจำกัด

[แก้]

เช่นเดียวกันกับเครื่องมือแปลภาษาอัตโนมัติอื่น ๆ กูเกิลแปลภาษามีข้อจำกัด บริการนี้จำกัดจำนวนย่อหน้าและขอบเข��ศัพท์ทางเทคนิคที่สามารถแปลได้ และแม้ว่าบริการนี้สามารถช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาทั่วไปของข้อความภาษาต่างประเทศได้ แต่ก็ไม่ได้ให้คำแปลที่ถูกต้องเสมอไป

เนื่องจากความแตกต่างระหว่างภาษาตามการลงทุน การวิจัย และขอบเขตของทรัพยากรดิจิทัล ความแม่นยำของกูเกิล แปลภาษาในแต่ละภาษาจึงแตกต่างกันอย่างมาก[32] บางภาษาให้ผลได้ดีกว่าอีกภาษา ภาษาส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกา เอเชีย และแถบแปซิฟิกมีแนวโน้มที่จะได้คะแนนต่ำเมื่อเทียบกับคะแนนของภาษาในยุโรปที่ได้รับทุนสนับสนุนจำนวนมาก ยกเว้นภาษาอาฟรีกานส์และจีนที่มีคะแนนสูงจากทวีปนั้น[9][36]

การรีวิว

[แก้]

หลังเปิดตัวบริการแปลภาษาครั้งแรกเพียงไม่นาน กูเกิลชนะการแข่งขันการแปลภาษาอังกฤษ-อาหรับ และภาษาอังกฤษ-จีนด้วยเครื่องมือในระดับนานาชาติ[37]

ความผิดพลาดและแปลกประหลาดทางการแปล

[แก้]

เนื่องจากกูเกิล แปลภาษาใช้การจับคู่ทางสถิติในการแปล ข้อความที่แปลมักมีข้อผิดพลาดที่ดูเหมือนไม่สมเหตุสมผลและชัดเจน[38] มักจะสลับคำศัพท์ทั่วไปไปเป็นศัพท์ทั่วไปในภาษาอื่นที่คล้ายกันแต่ไม่เทียบเท่า[39] เช่นเดียวกับการกลับความหมายประโยค[40] เว็บไซต์อย่างแบดแทรนส์เลเตอร์และแทรนส์เลชันปาร์ตีมีบริการจัดทำข้อความตลกขบขันโดยการแปลกลับไปกลับมาระหว่างหลายภาษา[41] ซึ่งคล้ายกับเกมคุยโทรศัพท์ของเด็ก[42]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Och, Franz Josef (April 28, 2006). "Statistical machine translation live". Google AI Blog. Google Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2018. สืบค้นเมื่อ February 15, 2011.
  2. 2.0 2.1 Turovsky, Barak (November 15, 2016). "Found in translation: More accurate, fluent sentences in Google Translate". The Keyword Google Blog. Google Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 7, 2017. สืบค้นเมื่อ December 1, 2016.
  3. "Translations Made Simple: The Usefulness of Translation Apps". Ulatus. April 8, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 29, 2020. สืบค้นเมื่อ April 29, 2020.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 4.16 4.17 4.18 4.19 4.20 4.21 4.22 4.23 4.24 Caswell, Isaac (2022-05-11). "Google Translate Learns 24 New Languages". The Keyword (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
  5. Turovsky, Barak (April 28, 2016). "Ten years of Google Translate". Google Translate Blog. Google Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2019. สืบค้นเมื่อ December 24, 2019.
  6. Shankland, Stephen (May 18, 2013). "Google Translate now serves 200 million people daily". CNET. Red Ventures; CBS Interactive (at the time of publication). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2019. สืบค้นเมื่อ October 17, 2014.
  7. Benjamin, Martin (April 1, 2019). "How GT Pivots through English". Teach You Backwards. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 13, 2021. สืบค้นเมื่อ December 24, 2019.
  8. Benjamin, Martin (April 1, 2019). "Catalan to Spanish Translations". Teach You Backwards. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2019. สืบค้นเมื่อ December 24, 2019.
  9. 9.0 9.1 Benjamin, Martin (March 30, 2019). "Source data for Teach You Backwards: An In-Depth Study of Google Translate for 108 Languages". Teach You Backwards. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2019. สืบค้นเมื่อ December 24, 2019.
  10. Hofstadter, Douglas (January 30, 2018). "The Shallowness of Google Translate". The Atlantic. Emerson Collective. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 22, 2020. สืบค้นเมื่อ March 24, 2020.
  11. 11.0 11.1 "Google Translate - A Personal Interpreter on Your Phone or Computer". Google Translate. Google Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2021. สืบค้นเมื่อ May 28, 2013.
  12. 12.0 12.1 "Google Translate Help". Google Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2014. สืบค้นเมื่อ June 4, 2014.
  13. "Translate written words". Google Translate Help. Google Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2016. สืบค้นเมื่อ December 1, 2016.
  14. 14.0 14.1 "Translate documents & webpages". Google Translate Help. Google Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2016. สืบค้นเมื่อ December 1, 2016.
  15. "Translate by speech". Google Translate Help. Google Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2016. สืบค้นเมื่อ December 1, 2016.
  16. "Translate text in other apps". Google Translate Help. Google Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 13, 2022. สืบค้นเมื่อ February 4, 2022.
  17. "Translate images". Google Translate Help. Google Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2018. สืบค้นเมื่อ November 20, 2018.
  18. "Translate with handwriting or virtual keyboard". Google Translate Help. Google Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2016. สืบค้นเมื่อ December 1, 2016.
  19. "Translate a bilingual conversation". Google Translate Help. Google Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 13, 2022. สืบค้นเมื่อ February 4, 2022.
  20. "Transcribe in Google Translate". Google Translate Help. Google Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2022. สืบค้นเมื่อ February 4, 2022.
  21. "See which features work with each language". Google Translate. Google Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2021. สืบค้นเมื่อ July 13, 2015.
  22. 22.00 22.01 22.02 22.03 22.04 22.05 22.06 22.07 22.08 22.09 22.10 22.11 22.12 Kelman, Sveta (2016-02-17). "From Amharic to Xhosa, Introducing Translate in 13 New Languages — Now Over 100 in Total!". The Keyword (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 Venugopal, Ashish (2010-05-13). "Five More Languages on translate.google.com". Google Translate Blog (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 24.4 Kelman, Sveta (2013-05-08). "More than 70 of the World's Languages in the Blink of an Eye". The Keyword (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
  25. 25.00 25.01 25.02 25.03 25.04 25.05 25.06 25.07 25.08 25.09 "Google Translate – 10 More Languages with Your Help". Google Translate Blog (ภาษาอังกฤษ). 2014-12-11. สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
  26. Brants, Thorsten (2012-02-22). "Tutmonda helplingvo por ĉiuj homoj". Google Translate Blog (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 27.4 27.5 27.6 27.7 27.8 Mauser, Arne (2013-12-10). "Google Translate – now in 80 Languages". Google Translate Blog (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
  28. Mauser, Arne (2013-04-18). "Google Translate Now Supports Khmer". Google Translate Blog (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
  29. 29.0 29.1 29.2 29.3 29.4 Caswell, Isaac (2020-02-26). "Google Translate Adds Five Languages". The Keyword (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
  30. Brants, Thorsten (2012-09-13). "Translating Lao". Google Translate Blog (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
  31. Benjamin, Martin (March 30, 2019). "The 5 conditions for satisfactory approximations with Google Translate - Conclusions: Real Data, Fake Data & Google Translate". Teach You Backwards. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2019. สืบค้นเมื่อ December 26, 2019.
  32. 32.0 32.1 32.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ McGuire, Nick
  33. Benjamin, Martin (March 30, 2019). "Empirical Evaluation of Google Translate across 107 Languages". Teach You Backwards. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2019. สืบค้นเมื่อ December 26, 2019.
  34. Aiken, Milam; Balan, Shilpa (April 2011). "An Analysis of Google Translate Accuracy". Translation Journal. 16 (2). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 20, 2018. สืบค้นเมื่อ November 29, 2018.
  35. 35.0 35.1 Li, Haiying; Graesser, Arthur; Cai, Zhiqiang (May 3, 2014). "Comparison of Google Translation with Human Translation" (PDF). Proceedings of the Twenty-Seventh International Florida Artificial Intelligence Research Society Conference. FLAIRS Conference. S2CID 14905135. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 5, 2018. สืบค้นเมื่อ November 29, 2018.
  36. Freitas, Connor; Liu, Yudong (December 15, 2017). "Exploring the Differences between Human and Machine Translation". Western Washington University: 5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2020. สืบค้นเมื่อ December 5, 2018.
  37. Nielsen, Michael A. (October 3, 2011). Reinventing discovery: the new era of networked science. Princeton, NJ: Princeton University Press. p. 125. ISBN 978-0-691-14890-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 26, 2023. สืบค้นเมื่อ February 24, 2012.
  38. Gomes, Lee (July 22, 2010). "Google Translate Tangles With Computer Learning". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2020. สืบค้นเมื่อ July 22, 2010.
  39. Weinberg, Nathan (September 10, 2007). "Google Translates Ivan the Terrible as "Abraham Lincoln"". Blog News Channel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2007. สืบค้นเมื่อ July 22, 2010.
  40. Twisted Translations (February 10, 2015). "Google Translate Sings: "Bohemian Rhapsody" by Queen". YouTube. Google Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2016. สืบค้นเมื่อ April 26, 2016.
  41. Topolyanskaya, Alyona (January 28, 2010). "Google Lost in Translation". The Moscow News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 13, 2010. สืบค้นเมื่อ July 22, 2010.
  42. Kincaid, Jason (August 7, 2009). "Translation Party: Tapping Into Google Translate's Untold Creative Genius". TechCrunch. AOL. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 22, 2021. สืบค้นเมื่อ March 17, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]