ข้ามไปเนื้อหา

การเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2567

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2567

← พ.ศ. 2562 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ทั้งหมด 650 ที่นั่งในสภาสามัญชน
ต้องการ 326 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ผู้ใช้สิทธิ59.9% (ลดลง 7.4 จุด)[1]
  First party Second party Third party
 
Prime Minister Sir Keir Starmer Official Portrait (cropped).jpg
Portrait of Prime Minister Rishi Sunak (cropped).jpg
Ed Davey election infobox.jpg
ผู้นำ เคียร์ สตาร์เมอร์ ริชี ซูแน็ก เอ็ด เดวีย์
พรรค แรงงาน อนุรักษนิยม เสรีประชาธิปไตย
ผู้นำตั้งแต่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เขตของผู้นำ ฮอลบอร์นและเซนต์แพนคราส ริชมอนด์และนอร์ธแฮลเลอร์ตัน คิงสตันและเซอร์บิตัน
เลือกตั้งล่าสุด 202 ที่นั่ง, 32.1% 365 ที่นั่ง, 43.6% 11 ที่นั่ง, 11.6%
ที่นั่งก่อนหน้า 205 344 15
ที่นั่งที่ชนะ 411 121 72
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 209 ลดลง 244 เพิ่มขึ้น 61
คะแนนเสียง 9,712,011 6,814,469 3,499,969
% 33.8% 23.7% 12.2%
%เปลี่ยน เพิ่มขึ้น 1.7% ลดลง 19.9% เพิ่มขึ้น 0.6%

แผนที่แสดงผลเลือกตั้งรายเขต

องค์ประกอบสภาสามัญชนหลังจากการเลือกตั้ง

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

ริชี ซูแน็ก
อนุรักษนิยม

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

เคียร์ สตาร์เมอร์
แรงงาน

การเลือกตั้งทั่วไปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2567 เกิดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2567[2] โดยจะกำหนดองค์ประกอบของสภาสามัญชน ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกสมาชิกแห่งรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้งที่สำคัญจะมีผลใช้บังคับ โดยถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อน การเลือกตั้งทั่วไปปี 2553 นอกจากนี้ จะเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของสหราชอาณาจักรที่การระบุตัวตนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในรูปแบบทางกายภาพจะเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายในการลงคะแนนเสียงที่หน่วยเลือกตั้งในบริเตนใหญ่[a]

การเลือกตั้งทั่วไปนี้เป็นครั้งแรกของสหราชอาณาจักรในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ซึ่งเสด็จขึ้นครองราชสมบัติหลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 และเป็นครั้งแรกที่การเลือกตั้งจะจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคมนับตั้งแต่ พ.ศ. 2488 นอกจากนี้ยังเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกนับตั้งแต่สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลตั้งแต่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563 อีกด้วย

พรรคแรงงานโดยการนำของเคียร์ สตาร์เมอร์ ชนะการเลือกตั้งนี้อย่างถล่มทลาย ในขณะที่ พรรคอนุรักษนิยมโดยการนำของนายกรัฐมนตรี ริชี ซูแน็ก เสียที่นั่งในสภาสามัญชนไป 244 ที่นั่ง ซึ่งรวมถึง ลิซ ทรัสส์ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ไม่สามารถรักษาตำแหน่งสมาชิกสภาไว้ได้ นับเป็นการสิ้นสุดระยะเวลา 14 ปี ที่พรรคอนุรักษนิยมได้บริหารประเทศ

หลังการเลือกตั้ง ซูแน็กต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และสตาร์เมอร์ได้เข้าดำรงตำแหน่งนี้แทน ซูแน็กยังประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม แต่เขายังต้องรักษาการตำแหน่งดังกล่าวรวมถึงผู้นำฝ่ายค้านต่อไป จนกว่าการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่จะเสร็จสิ้น

ภูมิหลัง

[แก้]

ก่อนการประกาศจัดการเลือกตั้งใหม่ รัฐสภาจากการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้า จำนวน 650 ที่นั่ง ประกอบด้วยพรรคอนุรักษนิยม 344 ที่นั่ง, พรรคแรงงาน 205 ที่นั่ง และพรรคอื่น ๆ อีก 101 ที่นั่ง

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ริชี ซูแน็ก ประกาศว่าเขาได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ให้ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2567[3] ทำให้การเลือกตั้งนี้เป็นครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และเป็นครั้งแรกที่จัดในเดือนกรกฎาคมนับตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1945

ระบบการเลือกตั้ง

[แก้]

การเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักรจัดขึ้นโดยใช้ ระบบคะแนนสูงสุด พรรคอนุรักษ์นิยมซึ่งได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อห้าปีก่อนหน้านั้น ได้ให้คำมั่นที่จะยกเลิกข้อจำกัด 15 ปีในการลงคะแนนเสียงสำหรับพลเมืองบริติชที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ และจะนำข้อกำหนดการระบุตัวตนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาใช้ในบริเตนใหญ่[4] การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้รวมอยู่ในพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง พ.ศ. 2565

วันเลือกตั้ง

[แก้]

เดิมการเลือกตั้งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ภายใต้พระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลารัฐสภา พ.ศ. 2554 อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคอนุรักษ์นิยมซึ่งได้รับเสียงข้างมาก 80 ที่นั่ง มีเป้าหมายที่จะยกเลิกพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลารัฐสภา เนื่องจากไม่ต้องการเผชิญ "การหยุดชะงักของรัฐบาลในเวลาที่จำเป็นต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญของประเทศ"[5] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 รัฐบาลได้เผยแพร่ร่างกฎหมายยกเลิกพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลารัฐสภา ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นพระราชบัญญัติการยุบและเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2565[6] ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 โดยตามพระราชบัญญัติใหม่นี้ นายกรัฐมนตรีสามารถกราบบังคมทูลต่อพระมหากษัตริย์เพื่อขอรับพระบรมราชวินิจฉัยประกอบการตัดสินใจยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนสภาครบวาระได้ ทั้งนี้ ต้องกำหนดวันเลือกตั้งที่ห่างจากวันยุบสภาไม่น้อยกว่า 25 วันทำการ อนึ่ง มาตรา 4 ของพระราชบัญญัตินี้ระบุว่า "หากไม่ยุบสภาเร็วกว่ากำหนด รัฐสภาจะสิ้นสุดวาระตั้งแต่วันถัดจากวันครบรอบ 5 ปีของการประชุมสภาครั้งแรก"

คณะกรรมการการเลือกตั้งสหราชอาณาจักรระบุว่าจะต้องยุบรัฐสภาซึ่งตั้งเมื่อปี 2562 อย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2567 และการเลือกตั้งทั่วไปครั้งถัดไปจะต้องเกิดขึ้นไม่เกินวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2568[7] [8]

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ซูแน็กระบุว่าการเลือกตั้งจะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2567 แทนที่จะเป็นเดือนมกราคม พ.ศ. 2568[2] สองสัปดาห์ถัดมาเขาคาดการณ์ว่าการเลือกตั้งทั่วไปน่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2567[9] ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 หลังจากการคาดเดาของสื่อมวลชน[10][11][12] ซูแน็กประกาศว่าการเลือกตั้งจะมีขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม[13]

หลังการประกาศวันเลือกตั้งแล้ว ได้มีการยุบสภาสามัญชนในวันที่ 30 พฤษภาคม จากนั้นมีการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งตลอดเดือนมิถุนายน และกำหนดลงคะแนนในวันที่ 4 กรกฎาคม ตั้งแต่เวลา 07.00–22.00 น. โดยจะประกาศผลสมาชิกสภาสามัญชนในวันรุ่งขึ้น และมีการประชุมสภาเพื่อเลือกประธานสภาสามัญชนในวันที่ 9 กรกฎาคม รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาจะมีขึ้นแปดวันถัดจากนั้น[14]

การประกาศวันเลือกตั้ง

[แก้]

ในช่วงบ่ายของวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ซูแน็กประกาศว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 4 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[15] การประกาศการเลือกตั้งนี้ได้รับการตอบสนองอย่างดีจากเคียร์ สตาร์เมอร์ ผู้นำฝ่ายค้าน และ พรรคแรงงาน[16] รวมถึงเอ็ด เดวีย์ ผู้นำของพรรคเสรีประชาธิปไตย[17]

ผลการเลือกตั้ง

[แก้]

ต่อไปนี้เป็นสรุปผลการเลือกตั้งจำแนกตามพรรคและเขตเลือกตั้ง โดยพรรคแรงงานชนะอย่างถล่มทลาย ในขณะที่พรรคอนุรักษนิยมพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรค เคียร์ สตาร์เมอร์ เป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรคนที่สี่ในรอบสองปี ทั้งนี้ ร้อยละของจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งอยู่ที่ 59.9% ต่ำที่สุดตั้งแต่การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544

หลังการการเลือกตั้ง

[แก้]

เวลาประมาณ 16:45 ของวันที่ 5 กรกฎาคม ซูแน็กได้ประกาศยอมรับความพ่ายแพ้ต่อสตาร์เมอร์ และประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม ก่อนที่จะมีการยืนยันชัยชนะอย่างเป็นทางการของพรรคแรงงาน โดยซูแน็กได้ขอโทษต่อผู้สนับสนุนและสมาชิกพรรคจากการแพ้การเลือกตั้งของพรรค และแสดงความยินดีให้กับเคียร์ สตาร์เมอร์ ที่ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งนี่ถือเป็นการแถลงการณ์สุดท้ายในฐานะนายกรัฐมนตรีของซูแน็ก

ต่อมา สตาร์เมอร์ก็ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากซูแน็ก สิ้นสุด 14 ปี ภายใต้รัฐบาลพรรคอนุรักษ์นิยม โดยในสุนทรพจน์แรกของเขาในฐานะนายกรัฐมนตรี เขาได้ยกย่องซูแน็ก โดยกล่าวว่า “ความสำเร็จของเขาในฐานะนายกรัฐมนตรีชาวเอเชียคนแรกของอังกฤษไม่ควรถูกมองข้าม“ และยังยอมรับถึง “ความทุ่มเทต่องานของเขา ทำให้เขามีความเป็นผู้นำ“ แต่เขาก็ได้กล่าวว่าบัดนี้ ชาวอังกฤษได้ลงคะแนน เพื่อความเปลี่ยนแปลงแล้ว

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ในไอร์แลนด์เหนือได้มีการระบุตัวตนของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมาก่อนที่จะใช้บังคับทั้งสหราชอาณาจักร

อ้างอิง

[แก้]
  1. "General Election 2024". Sky News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2024. สืบค้นเมื่อ 5 July 2024.
  2. 2.0 2.1 "Rishi Sunak announces 4 July general election". BBC News. 22 May 2024.
  3. "General election latest: Rishi Sunak announces 4 July vote in Downing Street statement". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 22 May 2024. สืบค้นเมื่อ 22 May 2024.
  4. "Our Plan - Conservative Manifesto 2019". Conservative Party. สืบค้นเมื่อ 17 December 2019.
  5. Kettle, Martin (12 December 2019). "If the exit poll is right, this election will transform British politics". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
  6. "Government to fulfil manifesto commitment and scrap Fixed-term Parliaments Act". GOV.UK (ภาษาอังกฤษ). 1 December 2020. สืบค้นเมื่อ 6 December 2020.
  7. "Electoral administration bulletin" (PDF). Electoral Commission. 22 March 2023.
  8. "London Playbook: Strikes hope — Budget fallout — Labour's election prep". POLITICO (ภาษาอังกฤษ). 17 March 2023. สืบค้นเมื่อ 26 March 2023.
  9. "Rishi Sunak suggests general election in second half of year". BBC News. 4 January 2024.
  10. "Rishi Sunak to call general election for 4 July, Sky News understands" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 22 May 2024. สืบค้นเมื่อ 22 May 2024.
  11. "Rishi Sunak will call general election for July in surprise move – sources" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 22 May 2024. สืบค้นเมื่อ 22 May 2024.
  12. "Rishi Sunak expected to announce summer general election shortly" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 22 May 2024. สืบค้นเมื่อ 22 May 2024.
  13. "Rishi Sunak announces 4 July vote in Downing Street statement". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 22 May 2024.
  14. "All the key General Election dates and deadlines". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2024. สืบค้นเมื่อ 23 May 2024.
  15. "Rishi Sunak announces 4 July vote in Downing Street statement".
  16. Hooper, Sarah (2024-05-22). "Keir says Labour will 'stop the chaos' in speech after General Election date set". Metro (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-05-22.
  17. "People are crying out for change - Ed Davey". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-05-22.