ข้ามไปเนื้อหา

การบรรเลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของชอสตโกวิชรอบปฐมทัศน์ที่เลนินกราด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รูปชอสตโกวิชและโน้ตเพลงบนไปรษณียากรที่ระลึกของสหภาพโซเวียต

การบรรเลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของชอสตโกวิชรอบปฐมทัศน์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2485 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในขณะที่นครเลนินกราด (ปัจจุปันคือเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก) อยู่ภายใต้การปิดล้อมโดยกองกำลังเยอรมนีนาซี

ดมีตรี ชอสตโกวิช ต้องการให้วงเลนินกราดฟิลฮาร์มอนิกออร์เคสตราเป็นวงที่จะมาบรรเลงซิมโฟนีในรอบปฐมทัศน์ แต่เนื่องจากการปิดล้อม กลุ่มคนดังกล่าวได้อพยพออกจากเมืองเช่นเดียวกับผู้ประพันธ์เอง การบรรเลงรอบปฐมทัศน์ของโลกของซิมโฟนีบทนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่คูบืยเชียฟ โดยวงดุริยางค์โรงละครบอลชอย การบรรเลงรอบปฐมทัศน์ดำเนินการโดยนักดนตรีจากวงดุริยางค์วิทยุเลนินกราดที่ยังหลงเหลืออยู่ เสริมด้วยนักดนตรีที่เป็นทหาร โดยมีคาร์ล อีเลียซบูร์ก ทำหน้าที่เป็นวาทยากร นักดนตรีส่วนใหญ่กำลังทุกข์ทรมานจากความอดอยาก ซึ่งทำให้การซ้อมเป็นไปอย่างยากลำบาก นักดนตรีมักจะล้มลงระหว่างการซ้อม และมี 3 คนเสียชีวิต วงออร์เคสตราสามารถเล่นซิมโฟนีได้จนจบคอนเสิร์ตเพียงครั้งเดียว

แม้ว่าสภาพของนักดนตรีจะย่ำแย่ แต่คอนเสิร์ตก็ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยได้รับการปรบมือนานหนึ่ง��ั่วโมง คอนเสิร์ตได้รับการสนับสนุนโดยกองทัพโซเวียตในปฏิบัติการพิเศษ ชื่อรหัสว่า "พายุ" โดยตั้งใจจะหยุดกองทัพเยอรมันในระหว่างการบรรเลง ซิมโฟนีถูกเผยแพร่ไปยังแนวเยอรมันโดยลำโพงเป็นรูปแบบของสงครามจิตวิทยา การบรรเลงรอบปฐมทัศน์ได้รับการพิจารณาโดยนักวิจารณ์ดนตรีให้เป็นหนึ่งในการแสดงศิลปะที่สำคัญที่สุดของสงครามเนื่องจากผลกระทบด้านจิตวิทยาและทางการเมือง วาทยากรกล่าวว่า "ในขณะนั้นเราได้รับชัยชนะเหนือเครื่องจักรสงครามของนาซีที่ไร้จิตวิญญาณ"[1] มีการจัดคอนเสิร์ตอีกครั้งโดยนักดนตรีที่รอดซีวิตใน พ.ศ. 2507 และ พ.ศ. 2535 เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์นี้

พื้นหลัง

[แก้]
ศพอยู่ข้างรถเข็นข้างถนน
การล้อมทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากความหนาวเย็นและความอดอยาก

ดมีตรี ชอสตโกวิช คีตกวีชาวโซเวียต ประพันธ์ซิมโฟนีหมายเลข 7 เสร็จในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2484 และอุทิศให้กับนครเลนินกราดซึ่งบ้านเกิดของเขา ในเวลานั้น นครเลนินกราดอยู่ในสัปดาห์ที่ 16 ของการปิดล้อม 125 สัปดาห์โดยกองทัพนาซีเยอรมนีซึ่งจะสังหารประชากรประมาณหนึ่งในสามของเมืองก่อนสงคราม[2]

ชอสตโกวิชต้องการให้วงเลนินกราดฟิลฮาร์มอนิกออร์เคสตราบรรเลงซิมโฟนีในรอบปฐมทัศน์ แต่กลุ่มนักดนตรีของวงถูกอพยพไปยังเมืองโนโวซีบีสค์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการอพยพทางวัฒนธรรมที่นำโดยรัฐบาล[3] การแสดงรอบปฐมทัศน์โลกจัดขึ้นที่เมืองคูบืยเชียฟในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2485 ซึ่งบรรเลงโดยวงออร์เคสตราโรงละครบอลชอย ภายใต้การบรรเลงของซามูอิล ซาโมซุด[3] รอบปฐมทัศน์ของกรุงมอสโกจัดขึ้นโดยการบรรเลงผสมระหว่างวงออร์เคสตราโรงละครบอลชอยและวิทยุมวลสหภาพในวันที่ 29 มีนาคมที่โถงคอลัมน์ทำเนียบสหภาพ[4][5]

ไมโครฟิล์มโน้ตของซิมโฟนีถูกส่งไปยังกรุงเตหะรานในเดือนเมษายนเพื่อให้มีการเผยแพร่ไปยังประเทศตะวันตก[6] ซิมโฟนีได้การบรรเลงรอบปฐมทัศน์ทางวิทยุในยุโรปตะวันตกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ในการออกอากาศบรรเลงโดยเฮนรี วูดและวงลอนดอนฟิลฮาร์มอนิกออร์เคสตราและการแสดงคอนเสิร์ตรอบปฐมทัศน์ที่คอนเสิร์ตพรอมานาดที่รอยัลอัลเบิร์ตฮอลล์ในกรุงลอนดอนในวันที่ 29 มิถุนายน[3] รอบปฐมทัศน์ในอเมริกาเหนือออกอากาศจากนครนิวยอร์กในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 โดยวงเอ็นบีซีซิมโฟนีออร์เคสตราภายใต้การบรรเลงโดยอาร์ตูโร ตอสกานีนี[7]

การเตรียมการ

[แก้]

วงดุริยางค์วิทยุเลนินกราดภายใต้การนำของคาร์ล อีเลียซบูร์กเป็นวงซิมโฟนิกวงเดียวที่เหลืออยู่ในเมืองหลังจากที่วงฟิลฮาร์มอนิกรถูกอพยพออกไป[8] การแสดงครั้งสุดท้ายของวงดุริยางค์วิทยุมีขึ้นในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2484 และออกอากาศครั้งสุดท้ายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2485[9] บันทึกจากการซ้อมตามกำหนดครั้งต่อไปอ่านว่า "การซ้อมไม่ได้เกิดขึ้น สราเบียนตาย เปตรอฟป่วย โบรีเชฟตายแล้ว ออร์เคสตราไม่ทำงาน"[10]

วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2485 โบริส ซากอร์สกีและยาชา บาบูชกินจากแผนกศิลปะของเมืองเลนินกราดได้ประกาศเตรียมการแสดงซิมโฟนี[11] ช่องว่างในการออกอากาศทางดนตรีสิ้นสุดลงอย่างรวดเร็วโดยอันเดรย์ จดานอฟ นักการเมืองโซเวียตที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันเมืองเลนินกราดเพื่อให้มีการซ้อมและสร้างขวัญกำลังใจให้กับเมือง[12] การแสดงซิมโฟนี "กลายเป็นเรื่องของพลเมือง แม้แต่ทหาร ความภาคภูมิใจ"[13] ตามที่สมาชิกวงออร์เคสตรากล่าว "ทางการเลนินกราดต้องการให้ผู้คนกระตุ้นอารมณ์เพื่อที่พวกเขาจะได้รู้สึกห่วงใย"[14] ถือเป็นการกระทำทางการเมืองที่สำคัญเนื่องจากอาจมีคุณค่าในฐานะการโฆษณาชวนเชื่อ[15]

สมาชิกวงดุริยางค์วิทยุเลนินกราดจากเดิมที่มี 40 คน มีเพียง 14 หรือ 15 คนเท่านั้นที่ยังคงอาศัยอยู่ในเมือง โดยคนอื่น ๆ เสียชีวิตจากการอดอยากหรือไม่ก็ออกไปต่อสู้กับศัตรู[16][17][18] ซิมโฟนีของชอสตโกวิชต้องการวงออร์เคสตราที่มีนักดนตรีเพิ่มขึ้น 100 คน ซึ่งหมายความว่าบุคลากรที่เหลืออยู่ไม่เพียงพออย่างไม่มีนัยสำคัญ[18] อีเลียซบูร์กซึ่งกำลังเข้ารับการรักษาด้ว��อาการ "เสื่อม"[19] ได้ไปตามบ้านเพื่อตามหานักดนตรีที่ไม่ตอบสนองต่อการรวมวงออร์เคสตรากันอีกครั้งเนื่องจากความอดอยากหรือความอ่อนแอ[9] "พระเจ้า พวกเขาผอมแค่ไหน" หนึ่งในผู้จัดงานจำได้ "ผู้คนเหล่านั้นมีชีวิตชีวาขึ้นอย่างไรเมื่อเราเริ่มคุ้ยเขี่ยพวกเขาออกจากอพาร์ทเมนต์มืด ๆ ของพวกเขา เราแทบน้ำตาไหลเมื่อพวกเขานำเสื้อผ้าสำหรับคอนเสิร์ต ไวโอลิน เชลโลและฟลุตของพวกเขาออกมา และการซ้อมเริ่มขึ้นใต้ร่มเย็นของสตูดิโอ"[20] เครื่องบินที่บรรทุกเสบียงจากเมืองคูบืยเชียฟได้ส่งโน้ตดนตรี 252 หน้าของซิมโฟนีไปยังเลนินกราด[21][22]

การซ้อมครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2485 ตั้งใจจะให้มีความยาว 3 ชั่วโมง แต่ต้องหยุดลงหลังจากผ่านไป 15 นาที เนื่องจากนักดนตรีที่เข้าร่วมการบรรเลงอ่อนแอเกินไปที่จะเล่นเครื่องดนตรีได้[23][19] พวกเขามักจะล้มลงระหว่างการซ้อมโดยเฉพาะการเล่นเครื่องเป่าทองเหลือง[17] อีเลียซบูร์กเองต้องถูกลากไปซ้อมบนเลื่อน และในที่สุดเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์ก็ย้ายไปยังอพาร์ตเมนต์ใกล้ ๆ และมอบจักรยานสำหรับขนส่ง ความพยายามในการบรรเลงครั้งแรกของเขาเป็นเหมือน "นกที่บาดเจ็บซึ่งปีกซึ่งกำลังจะหลุดร่วงได้ทุกเมื่อ"[18][24] รายงานของบาบูชกินระบุว่า "ไวโอลินตัวแรกกำลังจะตาย กลองเสียชีวิตระหว่างทางไปทำงาน เฟรนช์ฮอร์นอยู่ที่ประตูแห่งความตาย..."[25] นักดนตรีวงออร์เคสตราได้รับการปันส่วนเพิ่มเติม (บริจาคโดยพลเรือนผู้ที่ชื่นชอบดนตรี) เพื่อต่อสู้กับความอดอยาก และอิฐร้อนถูกนำมาใช้เพื่อแผ่ความร้อน อย่างไรก็ตาม มีนักดนตรีสามคนเสียชีวิตระหว่างการซ้อม[26][24][27][28] มีการติดโปสเตอร์ไปทั่วเมืองเพื่อขอให้นักดนตรีทุกคนรายงานต่อคณะกรรมการวิทยุเพื่อรวมเข้าร่วมวงออร์เคสตรา นักดนตรียังถูกเรียกตัวกลับมาจากแนวหน้าหรือมอบหมายใหม่จากกองทัพโซเวียตด้วยการสนับสนุนของเลโอนิด โกโวลอฟ ผู้บัญชาการแนวรบเลนินกราดของโซเวียต[11][23]

นอกจากซิมโฟนีหมายเลข 7 แล้ว วงออร์เคสตราชั่วคราวยังได้บรรเลงงานซิมโฟนีดั้งเดิมของเบทโฮเฟิน ไชคอฟสกี และริมสกี-คอร์ซาคอฟ คอนเสิร์ตของไชคอฟสกีที่ตัดท่อนมาบางส่วนจัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน[19][29][30] นักดนตรีบางคนประท้วงการตัดสินใจบรรเลงซิมโฟนีของชอสตโกวิชโดยไม่ต้องการใช้กำลังเพียงเล็กน้อยไปกับงานที่ "ซับซ้อนและไม่สามารถเข้าถึงได้" อีเลียซบูร์กขู่ว่าจะยกเลิกการปันส่วนเพิ่มเติม และระงับความไม่เห็นด้วยใด ๆ[30] ในระหว่างการซ้อม อีเลียซบูร์กถูกวิพากษ์วิจารณ์จากพฤติกรรมที่รุนแรง นักดนตรีที่พลาดการซ้อม มาสาย หรือไม่ได้แสดงตามความคาดหวังจะสูญเสียการปันส่วนไป นักดนตรีคนหนึ่งสูญเสียการปันส่วนเพราะเขาไปร่วมงานฝังศพของภรรยาและไปซ้อมสาย[31] แม้ว่าบางแหล่งข้อมูลจะมุ่งเสนอว่ามีการว่าจ้างทีมงานของนักคัดลอก แต่ตามแหล่งข้อมูลอื่น ๆ นักดนตรีถูกสั่งให้คัดลอกแต่ละท่อนด้วยมือจากโน้ตเพลง[26][13]

การซ้อมจัดขึ้นหกวันต่อสัปดาห์ที่โรงละครพุชกิน เวลา 10.00 น. ถึง 13.00 น. ตามปกติ การซ้อมมักถูกขัดจังหวะด้วยเสียงไซเรนเตือนการโจมตีทางอากาศ และนักดนตรีบางคนจำเป็นต้องทำหน้าที่ต่อต้านอากาศยานหรือดับเพลิง เพื่อให้พวกเขาเข้าร่วมการซ้อมได้ นักดนตรีจะได้รับบัตรประจำตัวของวงออร์เคสตราเพื่อแสดงที่จุดตรวจ สมาชิกวงดุริยางค์ทหาร (และทหารธรรมดาบางส่วน) ถูกส่งเข้าร่วมการซ้อมเพื่อเสริมการบรรเลง การซ้อมถูกย้ายไปที่หอฟิลฮาร์มอเนียในเดือนมิถุนายน และเวลาซ้อมถูกเพิ่มเป็น 5–6 ชั่วโมงในปลายเดือนกรกฎาคม[32][27][33] เครื่องมืออยู่ในสภาพที่แย่และมีช่างซ่อมไม่กี่คน นักดนตรีที่เล่นโอโบคนหนึ่งถูกขอแมวหนึ่งตัวเพื่อแลกกับการซ่อมแซม เนื่องจากช่างซ่อมที่หิวโหยได้กินไปหลายตัว[14][34]

วงออร์เคสตราบรรเลงซิมโฟนีทั้งเพลงจนจบเพียงครั้งเดียวก่อนการแสดงรอบปฐมทัศน์ในการซ้อมใหญ่ในวันที่ 6 สิงหาคม[35]

การบรรเลง

[แก้]
เวทีพร้อมแท่นวางดนตรีและนักดนตรีบางส่วน
เวทีสมัยใหม่ของหอแกรนด์ฟิลฮาร์มอเนียซึ่งเป็นสถานที่แสดงคอนเสิร์ต

คอนเสิร์ตจัดขึ้นที่หอแกรนด์ฟิลฮาร์มอเนียในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นวันที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมนีเคยกำหนดให้เฉลิมฉลองการล่มสลายของเมืองด้วยงานเลี้ยงอันหรูหราที่โรงแรมอัสโตเรียในเลนินกราด[36] การแสดงกล่าวนำด้วยสารทางวิทยุที่บันทึกไว้ล่วงหน้าโดยอีเลียซบูร์กซึ่งออกอากาศเวลา 18.00 น.:[37][38]

สหาย เหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของเมืองของเรากำลังจะเกิดขึ้น ในอีกไม่กี่นาที คุณจะได้ยินเสียงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของดมีตรี ชอสตโกวิช พลเมืองดีเด่นของเราเป็นครั้งแรก เขาประพันธ์องค์ประกอบที่ยอดเยี่ยมนี้ในเมืองในช่วงวันที่ศัตรูพยายามเข้าสู่เลนินกราดอย่างบ้าคลั่ง เมื่อหมูฟาสซิสต์ทิ้งระเบิดและระดมยิงทั่วยุโรป และยุโรปเชื่อว่าวันของเลนินกราดจบลงแล้ว แต่การแสดงครั้งนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงจิตวิญญาณ ความกล้าหาญ และความพร้อมในการต่อสู้ของพวกเรา สหายจงฟัง!

พลโทโกโวลอฟสั่งระดมยิงปืนใหญ่ของเยอรมันก่อนคอนเสิร์ตในปฏิบัติการพิเศษ ชื่อรหัสว่า "พายุ"[20] เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองโซเวียตพบกองอาวุธและฐานสังเกตการณ์ของเยอรมันเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการโจมตี[15] กระสุนขนาดสูงสามพันนัดถูกระดมยิงใส่กองทัพเยอรมัน[39] จุดประสงค์ของปฏิบัติการคือเพื่อป้องกันไม่ให้พุ่งเป้าไปที่คอนเสิร์ตฮอลล์ และเพื่อให้แน่ใจว่ามันจะเงียบพอที่จะได้ยินเสียงเพลงผ่านลำโพงที่พลโทโกโวลอฟสั่งให้ติดตั้ง นอกจากนี้เขายังสนับสนุนให้ทหารโซเวียตฟังคอนเสิร์ตผ่านทางวิทยุ[40] ในเวลาต่อมา นักดนตรีนามอันเดรย์ ครูคอฟได้กล่าวชื่นชมการกระทำของพลโทโกโวลอฟว่าเป็น "สิ่งจูงใจ" สำหรับคอนเสิร์ต โดยเสริมว่าการเลือกของเขาที่จะอนุญาตให้ทหารมีส่วนร่วมนั้นเป็น "การตัดสินใจที่ยอดเยี่ยมทีเดียว"[41] ภายหลังโกโวลอฟเองตั้งข้อสังเกตกับอีเลียซบูร์กว่า "เราเล่นเครื่องดนตรีของเราในซิมโฟนีด้วย คุณก็รู้" โดยอ้างอิงถึงการยิงของปืนใหญ่[11] การสนับสนุนทางทหารในเรื่องนี้ไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจนกระทั่งหลังสงครามสิ้นสุดลง[14]

มีผู้ชมคอนเสิร์ตจำนวนมาก ประกอบด้วยผู้นำพรรค เจ้าหน้าที่ทหาร และพลเรือน พลเมืองเลนินกราดที่ไม่สามารถเข้าไปในห้องโถงได้รวมตัวกันรอบ ๆ หน้าต่างและลำโพงที่เปิดอยู่ นักดนตรีที่อยู่บนเวที "แต่งตัวเหมือนกะหล่ำปลี" หลาย ๆ ชั้นเพื่อป้องกันอาการหนาวสั่นที่เกิดจากความอดอยาก[42][27] ก่อนที่คอนเสิร์ตจะเริ่มขึ้นไม่นาน แสงไฟฟ้าเหนือเวทีก็ถูกเปิดขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การซ้อมเริ่มขึ้น[42] ในขณะที่ห้องโถงเงียบลง อีเลียซบูร์กก็เริ่มการบรรเลง การแสดงมีคุณภาพทางศิลปะต่ำ แต่มีความโดดเด่นในด้านอารมณ์ที่ยกระดับขึ้นในกลุ่มผู้ชมและสำหรับท่อนจบ เมื่อนักดนตรีบางคน "ละล่ำละลัก" เนื่องจากความอ่อนล้า ผู้ชมยืนขึ้น "ด้วยท่าทางที่น่าทึ่งและเป็นธรรมชาติ... เต็มใจให้พวกเขาไปต่อ"[27][38]

การบรรเลงได้รับการปรบมือนานหนึ่งชั่วโมง[43] โดยอีเลียซบูร์กได้รับช่อดอกไม้ที่ปลูกในเลนินกราดจากเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง[44][24] ผู้ชมหลายคนน้ำตาไหลเนื่องจากผลกระทบทางอารมณ์ของคอนเสิร์ต ซึ่งถูกมองว่าเป็น "ชีวประวัติทางดนตรีของเลนินกราดที่ทุกข์ทรมาน"[45] นักดนตรีได้รับเชิญไปงานเลี้ยงร่วมกับเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์เพื่อเฉลิมฉลอง[11]

ลำโพงถ่ายทอดการบรรเลงไปทั่วเมืองเช่นเดียวกับกองทัพเยอรมันในการเคลื่อนไหวสงค���ามจิตวิทยา "การโจมตีทางยุทธวิธีเพื่อทำลายขวัญกำลังใจของเยอรมัน"[13][46] ทหารเยอรมันคนหนึ่งจำได้ว่าฝูงบินของเขา "ฟังซิมโฟนีแห่งวีรชน" ได้อย่างไร[47] ต่อมาอีเลียซบูร์กได้พบกับชาวเยอรมันบางคนที่ตั้งค่ายนอกเมืองเลนินกราดในระหว่างการแสดง ซึ่งบอกเขาว่าสิ่งนี้ทำให้พวกเขาเชื่อว่าพวกเขาจะไม่มีวันยึดเมืองได้: "พวกเรากำลังทิ้งระเบิดใคร? เราจะไม่สามารถยึดเลนินกราดได้ เพราะผู้คนที่นี่เสียสละ"[14][43]

การตอบรับและมรดก

[แก้]

ลอเรล เฟย์ นักวิชาการที่ทำเรื่องเกี่ยวกับชอสตโกวิชเสนอว่า "คอนเสิร์ตครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่มีตำนานความสำคัญโดยตัวมันเองทั้งหมด"[6] ไมเคิล ทูเมลตี นักข่าวเรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็น "ช่วงเวลาอันเป็นตำนานในประวัติศาสตร์การเมืองและการทหารของโซเวียต"[18] นักวิจารณ์สหรัฐ ดูกา เสนอว่าการแสดงนี้ "เป็นที่นิยมและแน่นอน อย่างเป็นทางการ - ได้รับการยอมรับว่าเป็นการแสดงนำสู่ชัยชนะเหนือชาวเยอรมันอย่างแท้จริง"[48] การล้อมถูกคลายในต้น พ.ศ. 2486 และสิ้นสุดใน พ.ศ. 2487 อีเลียซบูร์กเห็นด้วยกับการประเมินของดูกาโดยกล่าวว่า "ทั้งเมืองได้พบความเป็นมนุษย์ของตนแล้ว... ในขณะนั้น เราได้รับชัยชนะเหนือเครื่องจักรสงครามของนาซีที่ไร้จิตวิญญาณ"[1] ไม่มีการรับรู้ถึงความสำคัญของคอนเสิร์ตอย่างเป็นทางการ: นักดนตรีคนหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่าหลังจากนั้น "ไม่มีการตอบรับ ไม่มีอะไรเลย จนกระทั่ง พ.ศ. 2488"[49]

ซิมโฟนีหมายเลข 7 ของชอสตโกวิชได้รับความนิยมทั่วโลกตะวันตกในช่วงสงคราม แต่ตั้งแต่ พ.ศ. 2488 เป็นต้นมา ซิมโฟนีไม่ค่อยมีการบรรเลงนอกสหภาพโซเวียต มันกลายเป็นประเด็นถกเถียงในช่วงทศวรรษที่ 1980 หลังจากที่หนังสือ Testimony ของโซโลมอน วอลคอฟบอกว่าไม่ใช่คำวิจารณ์ของพวกนาซี แต่เกี่ยวกับรัฐบาลโซเวียต[45] ความจริงของบันทึกของวอลคอฟซึ่งเขาอ้างว่ามีที่มาจากการสัมภาษณ์ชอสตโกวิชนั้นถูกโต้แย้ง[50] ประเด็นข้อโต้แย้งอื่น ๆ เกี่ยวกับซิมโฟนีรวมถึงว่าได้รับแรงบันดาลใจจากการโจมตีที่เลนินกราด (ตามที่ทางการโซเวียตและบันทึกอย่างเป็นทางการได้กล่าวอ้าง) หรือมีการวางแผนไว้ก่อนหน้านี้และมีวัตถุประสงค์ใหม่เพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ เช่นเดียวกับผลงานศิลปะเมื่อเทียบกับงานอื่น ๆ ของชอสตโกวิช[50][51]

การบรรเลงซิมโฟนีทำให้อีเลียซบูร์กเป็น "วีรบุรุษของเมือง" หลังจากการบรรเลงไม่นาน เขาแต่งงานกับนีนา โบรนนีโควา ซึ่งเคยเล่นเปียโนมาก่อน แต่เมื่อการล้อมสิ้นสุดลงและวงฟิลฮาร์มอนิกกลับมาที่เลนินกราด ความชื่นชอบในตัวเขาก็หายลง อีเลียซบูร์กเป็นวาทยกรเดินทางที่ "ยากจนและถูกลืม" เมื่อเขาเสียชีวิตใน พ.ศ. 2521 อย่างไรก็ตาม ในวันครบรอบ 50 ปีของการบรรเลงรอบปฐมทัศน์ ศพของเขาถูกเคลื่อนย้ายไปฝังอย่างมีเกียรติที่สุสานวอลคอฟสโคเย หรือสุสานอะเลคซันดร์ เนฟสกี[11][52] ซาราห์ ควิกลีย์ได้สร้างตัวละครสมมติอาชีพในช่วงสงครามของอีเลียซบูร์กในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง The Conductor[17]

นักดนตรีที่รอดชีวิตได้เข้าร่วมคอนเสิร์ตพบกันอีกครั้งใน พ.ศ. 2507 และ พ.ศ. 2535 โดยเล่น "จากที่นั่งเดียวกันในห้องโถงเดียวกัน"[53] ชอสตโกวิชเข้าร่วมคอนเสิร์ตพบกันอีกครั้งครั้งแรกในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2507[54] นักดนตรี 22 คนและอีเลียซบูร์กบรรเลงซิมโฟนีและเครื่องดนตรีถูกวางไว้บนเก้าอี้อีกตัวเพื่อเป็นตัวแทนของนักดนตรีที่เสียชีวิตตั้งแต่รอบปฐมทัศน์[52] การบรรเลงใน พ.ศ. 2535 บรรเลงโดยผู้รอดชีวิต 14 คนที่เหลืออยู่[53] คอนเสิร์ตใน พ.ศ. 2485 ยังถูกกล่าวระลึกถึงในภาพยนตร์เรื่อง The War Symphonies: Shostakovich Against Stalin ใน พ.ศ. 2540[55] มีพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กที่อุทิศให้กับงานที่โรงเรียนหมายเลข 235 ในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ซึ่งมีรูปปั้นของชอสตโกวิชและสิ่งของจากการแสดง[56]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Jones 2008, p. 261.
  2. "1944: Leningrad siege ends after 900 days". BBC. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2012. สืบค้นเมื่อ 13 December 2012.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Programme notes". London Shostakovich Orchestra. 18 May 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2013. สืบค้นเมื่อ 13 December 2012.
  4. Fay 2000, p. 131.
  5. Robinson 1995, p. 69.
  6. 6.0 6.1 Fay 2000, p. 132.
  7. von Rein, John (31 October 1993). "Shostakovich: Symphonies Nos. 1, 5 and 7". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2014. สืบค้นเมื่อ 14 December 2012.
  8. Ford 2011, p. 103.
  9. 9.0 9.1 Reid 2011, pp. 360–361.
  10. Vulliamy 2020, p. 217.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 Vulliamy, Ed (25 November 2001). "Orchestral manoeuvres (part 2)". The Guardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2013. สืบค้นเมื่อ 13 December 2012.
  12. Vulliamy 2020, p. 223.
  13. 13.0 13.1 13.2 Fay 2000, p. 133.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Stolyarova, Galina (23 January 2004). "Music played on as artists died". The St. Petersburg Times. 937 (5). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2013.
  15. 15.0 15.1 Volkov 1997, p. 440.
  16. Sollertinsky 1980, p. 107.
  17. 17.0 17.1 17.2 Bathurst, Bella (15 July 2012). "The Conductor by Sarah Quigley – review". The Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2021. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 Tumelty, Michael (7 October 2009). "The musical monster that defied Nazi invaders". The Herald. p. 16.
  19. 19.0 19.1 19.2 Salisbury 2003, p. 512.
  20. 20.0 20.1 Sollertinsky 1980, p. 108.
  21. Trudeau, Noah Andre (Spring 2005). "A Symphony of War". The Quarterly Journal of Military History. 17 (3): 24–31.
  22. Lincoln 2009, p. 293.
  23. 23.0 23.1 Vulliamy 2020, p. 225.
  24. 24.0 24.1 24.2 Viktorova, Natalia (9 August 2012). "Victory day in war-torn Leningrad". Voice of Russia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2012. สืบค้นเมื่อ 13 December 2012.
  25. Axell 2002, p. 94.
  26. 26.0 26.1 Vulliamy 2020, p. 227.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 Robinson 1995, p. 70.
  28. Jones 2008, p. 257.
  29. Reid 2011, p. 361.
  30. 30.0 30.1 Volkov 2004, pp. 179–180.
  31. Vulliamy 2020, pp. 227–228.
  32. Vulliamy 2020, pp. 226–228.
  33. Simmons & Perlina 2005, pp. 148–149.
  34. Simmons & Perlina 2005, p. 147.
  35. Vulliamy 2020, pp. 228–229.
  36. Vulliamy, Ed (25 November 2001). "Orchestral manoeuvres (part 1)". The Guardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2014. สืบค้นเมื่อ 13 December 2012.
  37. Vulliamy 2020, p. 229.
  38. 38.0 38.1 Jones 2008, p. 260.
  39. Volkov 2004, p. 180.
  40. Jones 2008, pp. 265–266.
  41. Jones 2008, p. 295.
  42. 42.0 42.1 Vulliamy 2020, p. 230.
  43. 43.0 43.1 Colley, Rupert (9 August 2011). "The Leningrad Symphony". History in an Hour. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2017. สืบค้นเมื่อ 13 December 2012.
  44. Vulliamy 2020, p. 231.
  45. 45.0 45.1 Robinson 1995, p. 71.
  46. Ross 2008, p. 269.
  47. Dimbleby 2010, "Siege of Leningrad".
  48. Dhuga, U. S. (2004). "Music Chronicle". The Hudson Review. 57 (1): 125–132. doi:10.2307/4151391. JSTOR 4151391.
  49. Vulliamy 2020, p. 232.
  50. 50.0 50.1 Fay, Laurel (1980). "Shostakovich versus Volkov: Whose Testimony?". The Russian Review. 39 (40): 484–493. doi:10.2307/128813. JSTOR 128813.
  51. Fairclough, Pauline (May 2007). "The 'Old Shostakovich': Reception in the British Press". Music & Letters. 88 (2): 266–296. doi:10.1093/ml/gcm002.
  52. 52.0 52.1 Colley, Rupert (10 June 2012). "Karl Eliasberg". History in an Hour. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2017. สืบค้นเมื่อ 13 December 2012.
  53. 53.0 53.1 Vulliamy 2020, p. 210.
  54. Vulliamy 2020, pp. 233–234.
  55. McCannon, John (1999). "The War Symphonies: Shostakovich Against Stalin". Journal for Multimedia History. 2.
  56. Jones 2008, p. 7.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]