กะบังลม
หน้าตา
กะบังลม (Diaphragm) | |
---|---|
อวัยวะระบบทางเดินหายใจ (กะบังลมอยู่ด้านล่างของภาพ) | |
รายละเอียด | |
คัพภกรรม | septum transversum, pleuroperitoneal folds, body wall [1] |
หลอดเลือดแดง | Pericardiacophrenic artery, Musculophrenic artery, Inferior phrenic arteries |
หลอดเลือดดำ | Superior phrenic vein, Inferior phrenic vein |
ประสาท | phrenic and lower intercostal nerves |
การกระทำ | respiration |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | diaphragma |
MeSH | D003964 |
TA98 | A04.4.02.001 |
TA2 | 2327 |
FMA | 13295 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
กะบังลม (อังกฤษ: Diaphragm หรือ Thoracic diaphragm) เป็นแผ่นของกล้ามเนื้อโครงร่างในร่างกาย[2]ขึงอยู่ด้านล่างของซี่โครง กะบังลมกั้นระหว่างช่องอก (ประกอบด้วยหัวใจ ปอด และซี๋โครง เป็นต้น) และช่องท้อง ทำหน้าที่สำคัญในการหายใจ ในทางกายวิภาคศาสตร์กะบังลมบางครั้งอาจหมายถึงโครงสร้างแบนอื่นๆ เช่น กะบังลมเชิงกรานหรือฐานเชิงกราน (pelvic diaphragm; เช่นในโรค "กะบังลมหย่อน" ที่หมายถึงการหย่อนของฐานเชิงกรานทำให้ทวารหนัก มดลูก หรือกระเพาะปัสสาวะยื่นออกมานอกช่องคลอด) แต่โดยทั่วไปแล้วคำว่า "กะบังลม" หมายถึงกะบังลมหน้าอก สัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นเช่นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีกะบังลมหรือโครงสร้างคล้ายกะบังลมแต่มีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตำแหน่งของปอดในช่องท้อง เป็นต้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ mslimb-012 — Embryology at UNC
- ↑ Campbell, Neil A. (2009). Biology: Australian Version (8th ed.). Sydney: Pearson/Benjamin Cummings. pp. 334. ISBN 978-1-4425-0221-5.