ข้ามไปเนื้อหา

กระทรวงความมั่นคงภายในสหรัฐ

พิกัด: 38°56′17″N 77°4′56″W / 38.93806°N 77.08222°W / 38.93806; -77.08222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงความมั่นคงภายใน
United States Department of Homeland Security
ตรากระทรวง
ธงประจำกระทรวง
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 (22 ปี)
เขตอำนาจ สหรัฐอเมริกา
สำนักงานใหญ่วอชิงตัน ดี.ซี.
38°56′17″N 77°4′56″W / 38.93806°N 77.08222°W / 38.93806; -77.08222
บุคลากร240,000 คน
งบประมาณต่อปี60.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (FY 2014)
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ลูกสังกัด
  • กองบริการสัญชาติและตรวจคนเข้าเมือง
  • สำนักศุลกากรและป้องกันชายแดน
  • สำนักจัดการภาวะฉุกเฉินส่วนกลาง
  • กองบังคับศุลกากรและด่านขาเข้า
  • สำนักบริหารความมั่นคงการคมนาคม
  • กองกำลังรักษาการณ์ชายฝั่ง
  • สำนักอำนวยการแผนงานและป้องกันประเทศ
  • สำนักบริการข้อมูลลับ
เว็บไซต์www.DHS.gov

"The DHS March"

กระทรวงความมั่นคงภายในสหรัฐ[1](อังกฤษ: United States Department of Homeland Security) เป็นกระทรวงหนึ่งของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อแรกก่อตั้งในปี พ.ศ. 2544 มีสถานะเป็นคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติ (Commission on National Security)[2][3] การตั้งคณะกรรมการนี้เป็นผลมาจากเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน ก่อนที่ในอีกหนึ่งปีต่อมาจะได้รับการยกฐานะเป็นกระทรวง มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันแผ่นดินสหรัฐจากการก่อการร้าย, อุบัติภัยโดยฝีมือมนุษย์ ตลอดจนภัยพิบัติต่างๆ กระทรวงความมั่นคงภายในนี้ อาจเทียบได้กับ กระทรวงมหาดไทย หรือกระทรวงกิจการภายในของหลายๆประเทศ

กระทรวงความมั่นคงภายในไม่มีอำนาจในการสั่งการกองทหารโดยตรง ซึ่งปฏิบัติการทางทหารเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงกลาโหม กระทรวงมาตุภูมิมีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในแผ่นดินแม่เท่านั้น ทั้งนี้แต่ในเหตุภัยพิบัติธรรมชาติ กระทรวงกลาโหมอาจยินยอมให้อำนาจสั่งการกองทหารส่วนหนึ่งแก่กระทรวงความมั่นคงภายในในการบรรเทาทุกข์ประชาชน

ด้วยจำนวนเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงกว่า 240,000 คน ทำให้กระทรวงความมั่นคงภายในเป็นกระทรวงขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของรัฐบาล รองจากกระทรวงกิจการทหารผ่านศึก และกระทรวงกลาโหมที่มีจำนวนคนในสังกัดมากสุด

อ้างอิง

[แก้]
  1. คำศัพท์–คำย่อทางการทูตและการต่างประเทศ (PDF) (3 ed.). กรุงเทพมหานคร: สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ. กันยายน 2556. p. 100. ISBN 978-616-341-003-0. สืบค้นเมื่อ 9 July 2024.
  2. "Road Map for National Security: Imperative for Change The Phase III Report of the U.S. Commission on National Security/21st Century" (PDF). www.nssg.gov/phaseIII.pdf. US Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-06-02. สืบค้นเมื่อ 2015-03-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  3. Jelinek, Pauline. "Panel: US soil to be cite of catastrophic attack". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2015-03-09.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]