กรรณภว์ ธนภรรคภวิน
กรรณภว์ ธนภรรคภวิน | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (5 ปี 60 วัน) | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (4 ปี 294 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2493 |
กรรณภว์ ธนภรรคภวิน (นามเดิม เชาวลิต รัตนาวิวัฒน์วงศ์ ; 29 สิงหาคม พ.ศ. 2493) สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน อดีตผู้พิพากษาสมทบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
ประวัติ
[แก้ไขต้นฉบับ]กรรณภว์ ธนภรรคภวิน เกิดเมื่อ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2493 เดิมชื่อเชาวลิต รัตนาวิวัฒน์พงศ์[1]สมรสกับ นางยาใจ นิมมานันทน์ จบการศึกษาจาก Bachelor Degree (Science in Commerce) Medina College, ฟิลิปปินส์ และจบหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและการลงทุน รุ่นที่ 1 จากสถาบันวิทยาการธุรกิจและอุตสาหกรรม หลักสูตรนักบริหารยุทธศาสตร์ป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง รุ่นที่ 4 จาก สถาบันป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง รุ่นที่ 2 จาก สถาบันพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานคร หลักสูตรภูมิพลังแผ่นดิน รุ่นที่ 1 จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ จากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ รุ่นที่ 3 จาก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 13 จาก สถาบันข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ เอกชน และการเมือง (วปม.) รุ่นที่ 2546 จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร[2]
การทำงาน
[แก้ไขต้นฉบับ]ผู้แทนฝ่ายการค้าและการลงทุนของสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ประธานบริษัท วีนนีเม้กซ์อุตสาหกรรม จำกัด กรรมการบริษัท อุบลไบโอเอทานอล จำกัด กรรมการบริษัท อินะบาตะไทย จำกัด กรรมการบริษัท เอสไปเค (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการกีฬา รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและติดตามร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษในคณะกรรมาธิการต่างประเทศ ที่ปรึกษาวิทยาลัยการยุติธรรม ผู้พิพากษาสมทบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ กรรมการส่งเสริมกิจการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ
งานการเมือง
[แก้ไขต้นฉบับ]ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[3] และในปี พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้ไขต้นฉบับ]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[7]
อ้างอิง
[แก้ไขต้นฉบับ]- ↑ ประวัติ กรรณภว์ ธนภรรคภวิน
- ↑ นายกรรณภว์ ธนภรรคภวิน[ลิงก์เสีย] ข้อมูลประวัติของสมาชิก
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๕, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๔, ๒๒ ��กราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖